Moringa Herb
 
 
 
 
    สินค้าในตะกร้า [ 0 ชิ้น ]
 
การรับประทานมะรุม

  

การรับประทานใบมะรุม
       ใบมะรุมสด ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยขน์เต็มที่  ในเด็กแรกเกิด -1 ปี ให้คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน ในใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ  เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารหรือเป็นอัดแคปซูลก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่   หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก 

          การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป ใบมะรุมสดก็เหมือนผักใบเขียวทุกชนิด ไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมาก เพราะใบมะรุมจัดเป็นยาถ่ายประเภทหนึ่ง เมื่อรับประทานมากอาจทำให้มี อาการท้องเสียได้  ผู้ที่มีอาการแพ้ภายหลังรับประทานใบมะรุม จะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ในกรณีนี้ให้แนะนำให้รับประทานใบแมงลัก อาการเวียนศีรษะก็จะหายไป  การรับประทานใบตากแห้งจะให้ผลดีกว่าใบสด เพราะสามารถรับประทานได้มากกว่า ผลย่อมดีกว่า การรับประทานใบแห้งอาจชงดื่มเป็นน้ำชาซึ่งอาจให้ผลช้ากว่าในรูป แบบแคปซูล

            การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้ จะได้ผลดีมาก  ใช้ทำสลัดรวมกับผักสด หรือวางบนแซนวิช   สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวัน

          การเก็บใบมะรุม ก่อนเก็บหนึ่งวันให้ฉีดน้ำล้างใบให้สะอาด จากนั้นนำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ถ้าตากแดดต้องคลุมผ้าให้มิดไม่ให้โดนแสงเพื่อป้องกันการสูญสลายของพวกวิตามินต่างๆ ใบแห้งสนิทจะสังเกตุได้ง่ายคือใบจะกรอบ ถ้าจะเก็บไว้ดื่มเป็นชาหรือจะบดเป็นผงเพื่อบรรจุแคปซูลในลำดับต่อไป การเก็บรักษา ควรเก็บในภาชนะที่ทึบแสงหรือบรรจุลงแคปซูลภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากการเก็บใบมะรุมมาจากต้น ป้องกันการเสื่อมคุณภาพและการสูญเสียวิตามินต่างๆในใบมะรุม เช่น วิตามิน C ที่ไวต่อแสงและความร้อนมาก

     

ข้อควรระวัง สำหรับการรับประทานมะรุม

เป็น โรค G6PD ห้าม ทานมะรุม G6PD Deficiency (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase deficiency) เป็นภาวะพร่องเอนซัยด์ G6PD ที่พบบ่อยในมนุษย์ มีประชากรประมาณ 400 ล้านคนทั่วโลก ที่มีภาวะนี้

        ภาวะนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ โรคแพ้ถั่วปากอ้า(Favism) G6PD Deficiency มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านทางโครโมโซมเอกซ์ (X-linked recessive fashion) ทำให้มีผลกระทบต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง การวินิจฉัยโรคนี้ใช้การตรวจสอบทางพันธุกรรม  สิ่งสำคัญคือ ถ้าคุณมีภาวะนี้ เมื่อไม่สบายคุณจะต้องบอกแพทย์ พยาบาล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในทีมสุขภาพ เพื่อจะได้ระมัดระวังในการใช้ยารักษา   ถ้าคุณขาดเอนซัยด์ G6PD จะเป็นอย่างไร?  ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโลหิตจางและภาวะเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดสาร nicotinamide dinucleotide phosphaste (NADPH) ซึ่งต้องอาศัยเอนซัยด์ G6PD เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในเซลปกติ NADPH จะทำหน้าที่ในการกำจัดสาร อ๊อกซิแดนซ์ที่จะทำลายเซลต่างๆ ของ

 

  www.moringaherb.com                     

 

 
   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved