Moringa Herb
 
 
 
 
    สินค้าในตะกร้า [ 0 ชิ้น ]
 
บทความจากร้านค้า
น้ำมันมะรุม
บทความ ณ. วันที่ : 25/2/2011        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 2975 ครั้ง   

น้ำมันมะรุม

ในปัจจุบันการผลิตน้ำมันมะรุมของไทยจะใช้เทคโนโลยีในการสกัดเย็นจะใช้สำหรับผิวหน้าได้ เพราะน้ำมันมะรุมบ้านเราสีออกน้ำตาล และเครื่องสกัดเป็นแบบสกรูเพรส(ที่มีความร้อนผ่านเกิน 60 องศาเซ็นเซียส)

ส่วนที่ประเทศอินเดียมีการปลูกมะรุมเป็นฟาร์มขนาดใหญ่มีสายพันธุ์มะรุมที่ให้เมล็ดที่สมบูรณ์มีขนาดใหญ่กว่าบ้านเราหลายเท่า ปลูกแบบอุตสหกรรม และเทคโนโลยีในการบีบน้ำมันพัฒนาสูงมาก ทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพสีอำพัน ใส บริสุทธิ์ กลิ่นเฉพาะของมะรุม ไม่มีกลิ่นไหม้ Properties ของน้ำมันยังอยู่ครบถ้วน จึงเหมะสำหรับใช้ผิวหน้าและรับประทานได้อย่างยิ่ง

1.เมล็ดมะรุมสายพันธุ์แท้เพื่อการเพาะปลูก เป็นเมล็ดมะรุมสายพันธ์แท้ไม่กลายพันธุ์ พัฒนาจากเมล็ดแม่พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอ ทนแล้งได้ดี หากดูแลอย่างดีและตามขั้นตอนสามารถผลิตฝักได้ถึง 300-600 ฝักต่อต้นต่อปี และแต่ละฝักอาจมีเมล็ดได้มากถึง 30 เมล็ดต่อฝัก ควรปลูกในดินที่มีค่า pH5.5-8.0   อุณหภูมิในบริเวณเพาะปลูก 25-35  องศาเซลเซียส

 2.เมล็ดมะรุมเกรดคัดเพื่อการบีบน้ำมันเป็นเมล็ดมะรุมเกรด A สำหรับบีบน้ำมันโดยเฉพาะ มีปริมาณน้ำมันมากกว่าเมล็ดทั่วไป สามารถผลิตน้ำมันได้ 250-300 ซีซี ต่อเมล็ด 1 กก. ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของเครื่องสกัดน้ำมันและเทคนิคในการบีบน้ำมันด้วย

                                    

 

น้ำมันมะรุม

สรรพคุณ..ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหูรักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

 

ชะลอความแก่

กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutinและ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids)ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

 

ฆ่าจุลินทรีย์

สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหูปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pyloriกำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

 

การป้องกันมะเร็ง

สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin)จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลองโดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

    ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

www.moringaherb.com            






 
   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved