ซีดี ตำนานสุนทรี
จำนวนคนเข้าชม : 2159 ครั้ง

ซีดี ตำนานสุนทรี

ทั้ง ๔ แผ่นนี้ ราคาแผ่นละ ๒๙ บาท(ยี่สิบเก้าบาท)

(หมายเหตุ:             ที่ผมเลือกซีดี ทั้ง ๔ แผ่นนี้มาแนะนำเพราะว่ามั้ง ๔ แผ่นนี้เพราะมีผู้หลักผู้ใหญ่เล่าว่าทั้ง ๔แผ่นนี้ปัจจุบันมีค่า SV สูงมากครับเหมาะมาสำหรับนักสะสมที่เอาจริงเอาจัง  เดิมราคาหน้าปกของซีดีทั้ง ๔ แผ่นนี้ คือแผ่นละ ๑๙๐ บาท  ต่อมาลดราคาลงครั้งแรก เป็นราคา ๑๒๐ บาท จากนั้น ลดลงเหลือ ๘๕ บาท แล้วก็ ลดราคาลงไปเป็น ๕๕ บาท สุดท้าย ไม่บรรจุกล่องแต่ใส่ซองแล้วขายในราคา แผ่นละ ๒๙ บาท  ซึ่งผมเองไม่แน่ใจว่าราคา ณ เวลานี้ ว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นเท่าใด  ส่วนท่านใดสงสัยเรื่องค่า SV โปรดอ่านท้ายจดหมายฉบับนี้ครับ)

หาซื้อได้ที่

บริษัท PGM

โทร                        02        2744910

02        2744373-4

ที่อยู่                        657 ซอย ธรณินทร์ 6 ถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง กทม 10320

 

ซีดี ตำนานสุนทรี ๑

ซีดี แผ่นนี้ประกอบด้วยเพลง

๑ ลูกป้อจาย

๒ เจิญต่างหน้าปี๋จาย

๓ กแม่

๕ ฮู้เธอเป่อเร๊อะ

๖ สาวหลายดอย

๗ บ้านเฮา

๘ สิ้นสายปลายฟ่า

๙ กึ๊ดกอย

๑๐ ละอ่แนวัยน้อย

๑๑ ตึงฮักเตียว

๑๒ เจียงดาว

๑๓ แม่ปิง

 

 

 

 

 

ดอกเอื้องแซะ

ซีดี ตำนานสุนทรีย์ ๒เอื้องแซะ

คำร้อง/ทำนอง ทุกเพงโดย   ปริญญา  ตั้งคระกูล

ซีดี แผ่นนี้แระกอบด้วย เพลง๑๒ เพลง

๑ เอื้องแซะ

๒ ไผ่หามาเจอ

๓ เจ้นดินเจ้นฟ้า

๔ ปันผัน

๕ ยินดีเจ้า

๖ งามแต๊

๗ แอ่วดอย

๘ เฮาขอ

๙ น้ำทิพย์

๑๐ อู้แต๊

๑๑ แม่อุ้ยแก้ว

๑๒ คนขี้เฝ่า

ปฏิญญา ตั้งตระกูล

 

ซีดีตำนานสุนทรีย์ ๓ชุดกุหลาบเวียงพิงค์

 

หรือ

Suntree  Vachanon Revolution

                เป็นชุดเดียวกันแต่ต่างกันที่ชื่ออัลบั้ม) คุณ สุนทรีย์  เวชานนท์ อดีตนักร้องคู่กับ คุณ จรัล มโนเพ็ชร (ผู้ล่วงลับ) ได้นำบทเพลงที่เกี่ยวกับภาคเหนือทั้งเก่าและใหม่ มาขับร้องทั้งภาษากลางและภาษาพื้นเมือง ส่วนเครื่องดนตรีก็ใช้ทั้งเครื่องคนตรีท้องถิ่นและเครื่องดนตรีสากล แต่ละบทเพลงก็มีเสน่ห์ต่างกันไป ควบคุมการผลิต โดย ปฏิญญา ตั้งตระกูล(ข้ามฟ้าแดนดอย) อำนวยการผลิต โดย ชัยรัตน์ ตั้งนิรันดร เรียบเรียงเสียงประสาน/ผสมเสียง/กีตาร์ โดย นคร ทิพย์ปัญญาควบคุมเสียง ตั้ม/โอ/น้อง ห้องบันทึกเสียง SOUNDSHAKE STUDIO (เชียงใหม่)

 

ซีดี แผ่นนี้แระกอบด้วย เพลง๑๒ เพลง

๑ กุหลาบเวียงพิงค์(3.43) คำร้อง/ทำนอง โดย ครู มงคล อมาตยกุล คุณ วงจันทร์ ไพโรจน์ ได้เคยขับร้องไว้    แต่ในชุดนี้ คุณ สุนทรีย์ ได้ขับร้องในสำเนียงของคนเหนือทำให้ได้รับอรรถรสที่แตกต่างไปอีกอย่าง เริ่มต้นของการบรรเลงเครื่องดนตรีก่อนถึงบทร้องที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองมาประกอบ เสียงเครื่องดนตรีพื้นเมืองประโคมออกมาก็ให้บรรยากาศที่แสดงถึงวัฒนธรรมดนตรีของชาวล้านนาและด้วยสำเนียงของผู้ขับร้องทำให้บทเพลงไพเราะมากขึ้น

 

๒ น้ำใจสาวเหนือ(3.00)  คำร้อง/ทำนองโดย  นาวาตรี พยงค์  มุกดา รน. (ศิลปินแห่งชาติ) เพลงนี้นำทำนองบางส่วนมาจากทำนองเพลงไทยเดิมที่ชื่อว่า “พม่าเขว” หรือที่ได้ยินกันบ่อยๆคือ เพลง “ช้าง ช้าง ช้าง”เพลงนี้อ้างถึงตัวละครตัวเอกในเรื่อง “สาวเครือฟ้า” เป็นบทละครที่ดัดแปลงมาจาก ละครเรื่อง Madam Butterfly ดัดแปลงโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ เป็นนิยายรักที่จบลงด้วยความเศร้า

 

๓ มนต์เมืองเหนือ(3.18) คำร้อง/ทำนอง โดย ครู ไพบูลย์  บุตรขัน ที่เคยมีผู้ขับร้องไว้เช่น คุณ ทูล ทองใจ หรือ คุณ สมยศ  ทัศนพันธ์  จักรพรรณ์  อาบครบุรี เสรี  รุ่งสว่าง ถนอม  สามโทน อุเทน  พรหมินทร์ ลองฟังด้วยน้ำเสียงของสุภาพสตรีที่เป็นชาวเหนือแท้ๆที่ ขับร้องบทเพลงเชิญชวนให้ชาวต่างถิ่นให้ไปชมความงามของดินแดนล้านนา บทเพลงนี้บรรยายจนเห็นภาพความงามของดินแดนแห่งคอกเอื้อง ภูเขาสูง น้ำตกอากาศที่เย็นสบาย หญิงชายที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไมตรี

 

๔ นิราศเวียงพิงศ์(3.26) คำร้อง/ทำนอง โดย สิทธิ โมระกรานต์  เพลงนี้เคยขับร้องโดย ทูล ทองใจ บทเพลงกล่าวถึงผู้ที่เคยไปเยือนนครแห่งนี้แล้วหลงรักมนต์เสน่ห์แห่งดินแดนนี้ ถึงแม้ต้องจากไปแต่ก็จะกลับมาชื่นชมความงามที่มิอาจลืมเลือนไปจากใจของดินแดนนี้

 

๕ แม่สอดสะอื้น(3.42) คำร้อง/ทำนองโดย  นาวาตรี พยงค์ มุกดา รน. (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้ขับร้องท่านแรกคือ คุณ รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ในเพลงนี้ใช้ ฟลุค(Flute) บรรเลงนำให้บรรยากาศดั่งเรามองสายน้ำไหลผ่านโตรกเขาอยู่เบื้องล่าง ด้วยน้ำเสียงปนเศร้าของผู้ขับร้องที่สอดแทรกอารมณ์ได้ยอดเยี่ยม  ทำให้เรารู้สึกคล้อยตามความเศร้าไปด้วย

 

เที่ยวทั่วไทยไปกับ พล.อ.โอภาส โพธิแพทย์

ข้อมูลของ อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก  อยู่ติดชายแดนไทยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ  การเดินทางไปมายังอำเภอนี้ในสมัยสัก ๔๐ ปีมานี้  เรียกได้ว่ายากลำบากแสนสาหัสเลยทีเดียว  เพราะได้แก่ตัวเองที่เคยเดินทางมาแล้วและไปติดต่อกันหลายครั้งด้วยความจำเป็น  จึงทำให้รู้รสชาดดี  แต่ปัจจุบันการไปแม่สอดสะดวกสบายมาก  ระยะทางจากทางแยกของถนนพหลโยธินประมาณ กม. ๔๑๔.๕ ไปยังแม่สอด ๘๐ กม.  ราดยางแจ่มแจ๋วตลอดทาง  และก่อนที่จะถึงอำเภอแม่สอดก็ยังมีทางแยกทางขวามือ  ไปยังอำเภอแม่ละเมา  ซึ่งคงจะตั้งใหม่ไม่กี่ปีมานี้  และชื่ออำเภอนี้คงจะคุ้นหูแต่อาจจะไม่คุ้นนักสำหรับเด็กยุคปัจจุบัน  ยุคที่กระทรวงศึกษาธิการไม่เรียกวิชาประวัติศาสตร์ไปเรียกรวมกับวิชาอะไรไม่ทราบชื่อแปลก ๆ  เด็กไทยจึงคงจะไม่ซึ้งนักกับประวัติศาสตร์ชาติไทย  ที่ว่าคุ้นหูเพราะแม่ละเมาคือที่ตั้งของด่านแม่ละเมาซึ่งเมื่อก่อนนี้ตั้งแต่สมัยกษัตรีย์พม่าที่ชื่อตะเบงชเวตี้ยกทัพมาเพื่อจะตีกรุงศรีอยุธยา  ก็จะยกมาทางด่านแม่ละเมา  ทางหนึ่งและทางด่านพระเจดีย์สามองค์  จังหวัดกาญจนบุรี  อีกเส้นทางหนึ่งกับอีกเส้นทางหนึ่งก็มาทางด่านสิงขร  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  กับมาทางเรือ  แต่สองทางหลังนี้จะใช้เป็นเส้นทางเดินทัพน้อยมากไม่เหมือนแม่ละเมากับพระเจดีย์สามองค์
            เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐  ผมยังรับราชการอยู่ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่  ลพบุรี  มียศร้อยตรี  เดินทางไปแม่สอด โดยออกเดินทางโดยรถด่วนจากลพบุรี  แล้วไปลงที่พิษณุโลก  นอนค้างที่พิษณุโลก ๑ คืน  พอรุ่งขึ้นก็นั่งรถเมล์หลังคาเตี้ย ๆ  ผมจะยืนไม่ได้ติดศีรษะ  ผ่านจังหวัดสุโขทัยไปยังจังหวัดตาก รวม ๑๔๐ กม.  ดูเหมือนเกือบจะไม่มีถนนราดยางเลย  เมื่อถึงตากแล้วต้องนอนโรงแรมโกโรโกโสอีกหนึ่งคืนและต้องกะให้ไปนอนตากในวันคู่  เช่นวันที่ ๒ พอวันรุ่งขึ้นเป็นวันคี่  จึงจะมีรถเข้าไปยังแม่สอด  ไม่ใช่รถเมล์แต่เป็นรถบรรทุกสินค้า  สมัยนั้นรถ ๑๐ ล้อ ยังไม่มี  คงมีแต่รถบรรทุก ๖ล้อ  ออกเดินทางกันตั้งแต่เช้า  การข้ามแม่น้ำปิงในเวลานั้นข้ามได้  แต่เวลาน้ำลงมาก ๆ  เป็นสะพานไม้ไผ่ที่เรียกว่าสะพานเรือกหรือเฝือก  คือเอาไม้ไผ่ปูลงไปในแม่น้ำเหมือนมัดเป็นแพ  แต่วางราบติดดินให้รถวิ่งข้ามไปได้แต่จะเก็บสตางค์ค่ารถผ่านสะพานนี้สะพานกิตติขจรยังไม่มี
            เมื่อข้ามแม่น้ำไปแล้วรถจะวิ่งวนเวียนไปตามถนน  ที่ลัดเลาะไปตามไหล่เขาหาราดยางแม้แต่เมตรเดียวก็ไม่มี  และแคบมากจนรถสวนกันไม่ได้  จึงให้รถวิ่งในวันเลขคี่  และวิ่งออกมาในวันเลขคู่  หากวันของใครเจอฝนตกหนักทางจะปิด และต้องรอไปอีก ๒ วัน  จนถึงวันเลขของตัวจึงจะวิ่งรถเข้าออกได้
            เมื่อไม่มีรถโดยสาร  ก็นั่งกันบนรถบรรทุกนั่นแหละ มีชั้น ๑ - ๒  เสียด้วย  ชั้น ๑นั่งหน้ากับคนขับ  คงจะนั่งได้สัก ๓ คน  รวมกับคนขับเป็น ๔ คน  ค่าโดยสารข้างหน้านั้นหากจำไม่ผิดคนละ ๕๐ บาท  ส่วนชั้น ๒ก็นั่งข้างหลังกับกองสินค้าที่ขนไป  ค่ารถคนละ ๓๐ บาท  นั่งกันไปทั้งวันจึงจะถึงแม่สอด  มีโรงแรมไม้ ๒ ชั้น  ให้เช่าพักได้เพียงแห่งเดียวนี่คือแม่สอดที่ผมไปเมื่อ ๔๓ปีที่แล้ว
            ต่อมามีโอกาสไปกับรุ่นพี่ที่รับราชการอยู่ที่พิษณุโลก  เอารถทหารไป มีปืนผาหน้าไม้ไปด้วยสนุกพิลึกกับถนนเส้นที่ว่าเพราะทุกคนยังหนุ่มแน่น  เฮไหนก็เฮนั่น  ไปถึงแม่สอดแล้วก็พักที่โรงแรมที่มีอยู่แห่งเดียว  และพอกลับได้ ๒ วัน  กะเหรี่ยงก็เข้าปล้นแม่สอด  เผาวอดไปทั้งตลาดรวมทั้งโรงแรมไม้ ๒ ชั้น  ที่อาศัยพักด้วย หากพวกเรายังอยู่ก็คงตายเรียบ  เพราะยังหนุ่มมีอาวุธครบมือคงไม่หนีคงสู้และคน ๕ - ๖ คน  จะไปสู้อะไรกับคนที่ยกมาเป็นร้อยและมาแบบกองโจรด้วย
            คราวนี้ไปแม่สอด  ขอชมเชย  แขวงการทางไว้ก่อน  เพราะสังเกตเห็นว่าเดี๋ยวนี้มีแขวงการทางหลายแห่งที่เขียนป้ายแขวนว่า  ห้องน้ำสะอาด  ผมก็ไม่เคยแวะเข้าไปอาศัยสักแห่งเดียว  คนสูงอายุนั้นจะเป็นโรคปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ไม่ว่าหญิงหรือชาย  เขาว่าชายยังเป็นน้อยกว่าหญิง  พอถึงหลัก กม.ที่ ๔๐๘.๕  ฝั่งซ้ายมือก็เลี้ยวซ้ายเข้าไปในบริเวณของแขวงการทางที่ ๑  เขตการทางตาก  ทั่วบริเวณร่มรื่นสะอาดมาก  ห้องสุขาเขาทำไว้หลังสำนักงาน  ไม่ต้องไปผ่านสำนักงานเข้าด้านหลังได้  สะอาดมากหรือมากๆ  แบ่งเป็นสุขาชาย หญิง  ห้องสีสวยเป็นสากล  มีกระดาษชำระ  มีสายฉีดน้ำ  สบู่เหลวไว้บริการพร้อม "ฟรี"แถมหน้าห้องตรงอ่างล้างมือยังมีกล่องใส่โบชัวร์นำเที่ยว  จังหวัดตาก  ใสไว้อีกหลายเล่มไม่รู้ว่าเอาไว้แจกหรือเปล่า  ตอนออกมามีเจ้าหน้าที่เข้าใจว่าอยู่เวรนั่งอยู่ใต้ร่มไม้  คงเห็นผมเดินชมสถานที่  ด้วยความชื่นชมจึงโค้งให้ผมด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม  ขอให้ข้าราชการไทยเป็นอย่างนี้เถิดน่ารักจริง ๆ
            เมื่อเลี้ยวเข้าถนนสาย ตาก-แม่สอด แล้ว  พอถึงหลัก กม.๑๙ ก็จะถึงอุทยานแห่งชาติลานสาง  มีป้ายใหญ่โตเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก ๓ กม.  จะถึงประตูทางเข้า  มีเจ้าหน้าที่คอยเก็บสตางค์ค่าบำรุง  มีสิทธิ์เก็บได้ตาม พ.ร.บ. เก็บค่ารถคันละ ๓๐บาท  ค่าคนเข้าคนละ ๑๐ บาท  ขอให้รีบจ่ายโดยดี  เมื่อเข้าประตูไปแล้ว  ทางขวามือคือที่ทำการอุทยาน  ตรงต่อไปตามถนนราดยางนิดเดียวทางซ้ายคือน้ำตกผาลาด  และน้ำตกลานเลี้ยงม้า  ตรงนี้ยังเป็นน้ำตกขนาดเล็ก  วิ่งต่อไปตามถนนราดยางจนสุดทางจะถึงศูนย์บริการมีเจ้าหน้าที่หญิง ๒ คน  คอยชี้แจงและให้ความสะดวก  และที่พักเป็นบ้านมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่  อยู่บริเวณป่าอันร่มรื่นแห่งนี้  ติดต่อที่พักซึ่งน่าจะไม่แพง ๐๒ ๕๗๙-๗๒๒๓, ๐๒ ๕๗๙-๕๗๓๔หรือ ๐๕๕  ๕๑๙๒๗๙  จากจุดนี้เดินไปยังน้ำตกลานสางได้ไม่ไกล  และเดินต่อไปได้ยังน้ำตกผาผึ้งและผาเท  ซึ่งผาเทอยู่ไกลออกไปประมาณ ๒,๒๐๐ เมตร  เดินขึ้นเขาผมเดินชมแค่ลานสาง  และมาทีไรก็เดินชมได้แค่นี้ทุกทีไป
            ที่ศูนย์บริการแห่งนี้  มีนิทรรศการมีต้นหญ้า"ถอดปล้อง"  ซึ่งเป็นพืชโบราณนานก่อนยุคไดโนเสาร์ คือ ๔๐๕ ล้านปี  และขึ้นอยู่บริเวณริมลำธาร  ยังขยายพันธุ์ต่อไปไม่ได้  ขึ้นอยู่ฝั่งเดียวด้วย  กรมป่าไม้ก็ขึ้นกับกระทรวงเกษตร ฯ  ควรหาทางให้กรมวิชาการ  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  มาหาทางขยายพันธุ์หญ้าถอดปล้องนี้เอาไปให้กว้างขวาง  อยู่มาได้ถึง ๔๐๕ ล้านปี  จะหยุดแค่นี้หรือ
            ที่ศูนย์บริการแห่งนี้  เขามีหนังสือเดินทางผ่านอุทยาน  คือมีช่องรายชื่ออุทยานต่างๆ  ทั่วประเทศ  ใครผ่านไปยังอุทยานไหน  ไปให้ที่ศูนย์บริการเขาประทับตราให้  หนังสือราคาเล่มละ ๓๐ บาท  โก้ดีเหมือนกัน
            ออกจากอุทยานแห่งชาติลานสางแล้ว  พอถึง กม. ๒๘ทางซ้ายก็เป็นตลาดใหม่ของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอมากกว่าเผ่าอื่น  แต่ตลาดยังไม่ค่อยติด คนน้อย แต่พอเลยไปหน่อยเดียว กม.๒๘.๕ ตลาดชาวไทยภูเขาเช่นกัน  ตลาดติดแล้ว มากทั้งของขายและคนซื้อ  พวกผักต่าง ๆ  ที่ปลูกกันบนเขาถูกมาก เช่น  ฝักแม้ว ๓ กก. ๑๐ บาท  หากซื้อร้านซูเปอร์ในกรุงเทพ ฯ กก.ละ ๒๔ บาท  ขิง กก.ละ๑๐บาท  แคร็อท กก.ละ ๑๐ บาท  ยังมีพวกส้มต่าง ๆ  แคตาลูป  ยอดฟักแม้ว  หรือยอดมะระกำละ ๑๐ บาท  ร้านอาหารเมืองเหนือเอามาผัดกับหมูกรอบจะขายกันจานละไม่ต่ำกว่า ๘๐บาท  ยังมีของขายอีกแยะ  เหมาะสำหรับแวะขากลับจะได้แบกกลับมา

http://61.19.220.3/heritage/nation/tour/maesod.htm

 

๖ กล้วยไม้(4.42) คำร้อง/ทำนอง โดย พรานบูรณ์(จวงจันทร์ จันทร์คณา) เดิมเพลงนี้ชื่อ กล้วยไม้ลืมดอย เพลงนี้ พรานบูรณ์ แต่งไว้ให้ผู้ชายขับร้องตัดพ้อต่อว่าหญิงสาวชาวชนบทที่มาหลงเมืองกรุง คุณ อารีย์ นักดนตรี เคยบันทึกเสียงไว้เป็นท่านแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘  ในแผ่นเสียงตราโทรทัศน์ ช่อง ๔ คุณ สุนทรีย์  ขับร้องเพลงนี้ก็เพราะไปอีกแบบ

 

๗ ข้ามฟ้าแดนดอย(3.51) คำร้อง/ทำนอง โดย ปฏิญญา ตั้งตระกูล เนื้อร้องบอกถึงความห่วงหาอาลัยที่ชายคนรักจากไป โดยเธอรอวันกลับของเขา

สุดฟ้าหนใดหัวใจใฝ่หา         ฝากความรักมาให้ชื่นใจ
สุดแคว้นดอยแดนดินใด                 หัวใจไม่ไกลห่างกัน
ข้ามฟ้าข้ามไปหัวใจเจ้าเอย               อย่าลาร้างเลยเคยร่วมฝัน
ห่วงใยใจเอยผูกพัน                      ถึงวันที่ต้องจากลา

*สายลมซึ้งเสียงซึงคลึงเคล้าช่างเงียบเหงาช่างเศร้าอุรา
ยามข้ามพ้นจนสุดตาหล้า                 ดอยเด่นสูงมั่งใจใฝ่เพ้อ
คอยเจอะเจอละเมอใฝ่หา                ความรักเอยมิเคยสร่างซา...ไปจากใจ

สุดฟ้าหนใดไม่ไกลห่างกัน  สักวันรักมั่นไม่ร้างไป
ข้ามฟ้าแดนดอยลอยไกล                หัวใจข้ามไปใฝ่หา
(ซ้ำ*)

 

๘ สามปอยหลวง(3.40) คำร้อง/ทำนอง มนัส ปิติสานต์ เปรียบน้ำใจสาวเชียงใหม่ที่งดงามประดุจเอื้องสามปอยหลวง ที่มีเฉพาะดอยสูงมิใช่ดอกไม้พื้นบ้านที่ไม่มีราคาค่างวดที่ร่วงหล่นตามพื้นดินทั่วไป  ดอกสามปอยหลวงซึ่งงดงามน่าทะนุถนอมกว่าจะได้มาเชยชมนั้นแสนยากให้สาวเหนือทั้งหลายควรเห็นคุณค่าของตนเองว่าควรมีค่าเท่าเอื้องสามปอยหลวง

(ประวัติของ มนัส  ปิติสานต์ เริ่มเรียนดนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ โดยเป็นศิษย์ของท่านพระเจนดุริยางค์(ปิติ  วาทยกร) และอาจารย์ทรงสอางค์  ทิฆัมพร ในรุ่นนี้ก็มีครูสง่า  อารัมภีร  เป็นเป็นรุ่นพี่มาช่วยแนะนำมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง  ท่านเป็นผู้ประพันธ์เพลงให้ละครโทรทัศน์หายช่องจนได้รับรางวัลเมฆขลาจากละครเรื่อง “ดาวพระศุกร์”)

สวยงามหาใดปานเปรียบเทียบเอื้องน้อยสามปอยหลวง
ดอกลดหลั่นเป็นชั้นเป็นพวง เอื้องหลวงเจ้างามตาแต๊
เหลืองดังสีทองทาบทาเอื้องเมืองฟ้าชวนใฝ่ตาแล
ฮักหลงกลิ่นและสีเจ้าแต้เจ้าเอื้องน้อยสามปอยหลวง

เป็นศรีเอื้องไพรขาวเจียงใหม่ซาบซึ้งซ่านทรวง
เอื้องสามปอยหลวง เป็นขวัญคู่งามเหลือ
ชิดชมไม่มีวันหน่าย เฮื้องสดใสเหมือนใจสาวเหนือ
บริสุทธิ์ไม่ปนไม่เจือ เมื่อฮักไผหัวใจมั่นเอย

 

๙ เจ้าจันท์ผมหอม(3.08) คำร้อง โดย มาลาคำจันทร์ ทำนอง ซอพม่า เป็นบทเพลงที่มาจาก หนังสือเรื่อง “เจ้าจันท์

ผมหอม นิราศอินทร์แขวน”โดย มาลา คำจันทร์ 

 ก้อยฟังเน้อหมู่จุมปี้น้อง     จักไขทำนองเรื่องเจ้าคนงาม
ได้ฮักได้ฮ้างทุกข์โศกติดต๋าม                       เจ้าจันทน์คนงามเลี้ยงผมยาววา
ผมหอมเจ้านั้นหอมงามหนักหนา      จักตัดปูจาอินทร์แขวนธาตุเจ้า
ขอผาถะนาอินถาท่านเจ้า                มาเป๋นเก๊าเหง้าปกห่มหัวนาง
หื้อลอดหื้อพ้นตางอ้ายขัดขวาง        ลอดแล้วเจ้านางจักสมปี้อ้าย
หากลอดบ่ผดจักลาต๋ายพ่าย                        ลาจากเจ้าชายขึ้นฟ้าเมืองบน
เจ้าก่อขึ้นจ๊างเที่ยวหว่างไพรสณฑ์     ระเหเววนขมหมองใจไหม้
กอบปลายผมงามซ้ำวางอกไหว้        ขออินทร์เทพไท้หันใจ๋เต๊อะนา
ขอปารมีบุญตี้ฮักษา                      หื้อพ้นพาลาอาธรรมบาปใบ้
แต่บุญบ่สมผมลอดบ่ได้                  เจ้าดวงดอกไม้เหมือนต๋ายวางลงแลเฮย

ลองฟังได้ที่ http://lannasong.blogspot.com/2008/08/blog-post_18.html

 

 

                นวนิยายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นเรื่องที่ประพันธ์โดยใช้ขนบของนิราศและวรรณคดีเก่าของล้านนามาสานสอดเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง การกำหนดเวลาของเนื้อเรื่องให้จบสิ้นภายใน ๑วัน ของเจ้าหญิงเชียงใหม่ ที่เดินทางไปไหว้สาพระธาตุประจำปีเกิด(ปีจอ คือ พระธาตุอินทร์แขวน) โดยได้บนไว้ว่าจะตัดผมซึ่งมีความหอมคล้ายกลิ่นดอกไม้ถวายแก่พระธาตุเมื่อคราวที่ป่วยหนักว่าถ้าหายป่วยจะนำผมที่มีกลิ่นหอมไปตัดถวาย และจะเสี่ยงทายว่าถ้าหากเส้นผมของนางที่ตัดเพื่อแก้บนสามารถลอดใต้พระธาตุได้ก็จะแสดงว่าเจ้าชาย “เจ้าหล้าอินทะ”คนรักซึ่งป่วยหนักขณะที่นางเดินทางมาไหว้สาพระธาตุอินทร์แขวนอยู่ที่เชียงใหม่ก็จะหายไข้และจะได้กลับไปแต่งงานกันแต่ถ้าหากผมลอดไม่ได้ก็ต้องแต่งงานกับพ่อเลี้ยงผู้ซึ่งหมายปองนางไว้เรื่องราวจะเป็นอย่างไรคงต้องฟังและอ่านจากหนังสือเล่มนี้ จากสำนักพิมพ์เคล็ดไทย แล้วท่านจะได้รับความซาบซึ้งทั้งความงดงามในภาษาทั้งในเพลงและหนังสืองดงามมากครับ

ข้อมูลของ มาลา  คำจันทร์ เจริญมาลาโรจน์ (พ.ศ.๒๔๙๕- )

นายเจริญ มาลาโรจน์นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียนของประเทศไทยประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ (รางวัลซีไรท์)
ใช้นามปากกาว่ามาลา คำจันทร์
เป็นบุตรคนที่ ๔ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๗ คน เกิดวันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ บ้านเลขที่๑๙๖ หมู่ที่ ๕ ต. เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย  
ในวัยเด็กเข้ารับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ ที่โรงเรียนบ้านสันติวัน ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงรายซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐบาลที่อยู่ใกล้บ้าน
ต่อมาก็ไปศึกษาต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ที่โรงเรียนศิริมาตย์เทวีซึ่งเป็นโรงเรียนของ คณะซีสเตอร์ โรงเรียนศิริมาตย์ฯตั้งอยู่ ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ขณะที่เรียนจบชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๗นั้นได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรพำนัก ณ วัดชัยมงคล อ.พาน จ.เชียงรายเป็นเวลา ๑ พรรษาทำให้เข้าศึกษา ในชั้นมัธยมศึกษาช้าไป ๑ ปี หลังจากนั้นก็เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ในหลักสูตร ป.กศ.ชั้นต้น
หลังจบสอบบรรจุเข้ารับราชการครูครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ที่โรงเรียนสุวรรณราชวิทยาคาร ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ต่อมาย้ายไปสอน ณ โรงเรียนศรีอรุณอ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สอนอยู่สองเดือนก็ขอย้ายสับเปลี่ยนไปอยู่โรงเรียนวัดกู่คำอำเภอเดียวกัน ทำการสอนที่วัดกู่คำตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๘จึงลาเพื่อศึกษาต่อ ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙กลับมาทำการสอนที่โรงเรียนวัดกู่คำจนต้นปี พ.ศ.๒๕๒๒จึงได้สมัครไปเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านห้วยตอง ต.แม่วิน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่บนยอดเขาไม่มีไฟฟ้า น้ำประปากลางคืนต้องจุดไม้สน(ไม้เกี๊ยะ) แทน ทำการสอนได้เพียง ๑ ปีก็ขอย้ายลงมาสอนโรงเรียนพื้นราบเพราะป่วยเป็นโรคหินปูนเกาะไขสันหลังแพทย์ผู้รักษาแนะนำให้อยู่ในที่ที่ไม่หนาวจัด โรงเรียนที่ย้ายลงมาก็คือโรงเรียนบ้านห้วยขวาง ต.แม่วิน อ.สันป่าตอง ทำการสอนได้เพียง ๑ ปีจึงลาออกเพราะสอบเรียนต่อปริญญาโทได้ในสาขาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากรและสาขาวิชาจารึกภาษาไทยนี้ไม่ใช่สาขาวิชาที่ทางสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติอนุมัติให้ข้าราชการครูในสังกัดศึกษาต่อ

หลังจากลาออกเพื่อเรียนต่อในปี พ.ศ. ๒๕๒๕จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ ระหว่างนั้นได้เข้าไปทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการให้กับนิตยสารถนนหนังสือซึ่งเป็นหนังสือรายเดือนในเครือของบริษัทเคล็ดไทยทำหน้าที่ผู้ช่วยกองบรรณาธิการเพียง ๓ เดือนก็ลาออกเพื่อทำวิทยานิพนธ์เรื่องลังกาสิบหัวของไทลื้อระหว่างทำวิทยานิพนธ์ได้รับจ้างคุมงานก่อสร้างในบริษัทรับเหมาก่อสร้างของ อ.ทวีสว่างปัญญางกูร ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ต่อมารับจ้างทำการค้นคว้าเอกสารภาษาล้านนา

หลังจบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตแล้วก็ทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยที่ภาควิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทำการสอนอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ ถึง พ.ศ.๒๕๓๒จึงลาออกมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทำการสอนได้เพียง ๖เดือนก็ลาออกเพื่อประกอบอาชีพนักเขียนอิสระ ปี พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔เขียนหนังสือเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียว พอปี พ.ศ.๒๕๓๕ จึงร่วมกิจการกับบริษัทคณาธรจำกัด โดยรับผิดชอบในส่วนของสำนักพิมพ์โล่ - หวาย และ สำนักพิมพ์คณาธรโดยไปทำงานเดือนละประมาณ ๑๕ วันอีก ๑๕ วันกลับมาเขียนหนังสือที่บ้านสันป่าตองเชียงใหม่  

ในด้านงานเขียนนั้นเริ่มส่อแววเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ของโรงเรียนศิริมาตย์ฯ ในขณะที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ผลงานเขียนชิ้นแรกที่เขียนยาวคือ นิราศผาโขงงานชิ้นนี้เขียนกลอนแปดไม่ได้รับการเผยแพร่ (ตีพิมพ์รวมเล่ม)

การเขียนงานและการจัดกิจกรรมทางด้านวรรณศิลป์ เช่น ด้านกลอนสด ประกวดกลอนฯได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนอย่างดีจาก อ.ประสิทธิ์ พลเยี่ยม อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมฯ
งานเขียนยุคแรกของเขาเป็นกลอนแปดคือนิราศผาโขงต่อมานิราศลานนา, นิราศธุลี และนิราศพระลอซึ่งวิวัฒนาการเชิงฉันทลักษณ์มาเป็นโคลงงานนิราศทั้งหมดเขียนเมื่อเรียนชั้นมัธยมศึกษามักใช้นามปากกว่า รุ่ง นภาลัย , มนต์นภาลัย

ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๕ได้เขียนงานร้อยแก้วเป็นครั้งแรกคือเขียนเรื่องสั้นเรื่อง"คนผมยาว"เริ่มต้นตีพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ซึ่งมี อาจินต์ปัญจพรรค์เป็นบรรณาธิการใช้นามปากกาว่า "ก้าว จันคำน้อย"จากนั้นเขียนเรื่องสั้นมาเรื่อย ๆ ต่อมาได้เรียนวิชาศิลปการเขียน กับอาจารย์วิทยาวงศ์ดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงเริ่มรู้หลักการเขียนอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เรื่องสั้นของเขาเรื่อง"เจ้าที่"ได้รับรางวัลช่อการะเกดจากนิตยสารถนนหนังสืองานเขียนประเภทเรื่องสั้นของเขาได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกคือรวมเรื่องสั้นวันเวลาที่ผ่านเลย (กรุงเทพฯ: ดวงกมล,๒๕๒๑) โดยมี สุชาติ สวัสดิ์ศรีเป็นบรรณาธิการ แรกสุดเขาจะตั้งนามปากกาตัวเองว่า "คำจันทร์"แต่บรรณาธิการเห็นว่าเป็นนามปากกาที่ไปซ้ำกับผู้อื่นเลยเติมคำว่า "มาลา"ลงไปจึงกลายมาเป็นมาลา คำจันทร์นามปากกาที่ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนบ้านแม่วินนั้นเขาเริ่มงานเขียนนวนิยายเป็นเรื่องแรกคือเรื่องหมู่บ้านอาบจันทร์ซึ่งตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ จากนั้นก็มุมานะเขียนงานออกมามากมายงานเขียนที่ตีพิมพ์รวมเล่มมีดังนี้
๒๕๒๑ วันเวลาที่ผ่านเลย (เรื่องสั้น)กรุงเทพฯ : ดวงกมล
๒๕๒๓ หมู่บ้านอาบจันทร์ กรุงเทพฯ : ต้นหมาก
๒๕๒๔เด็กบ้านดอย กรุงเทพฯ : ต้นหมาก
๒๕๒๕ ไอ้ค่อม กรุงเทพฯ : ต้นหมาก
๒๕๒๖นกแอ่นฟ้า กรุงเทพฯ : ต้นหมาก
๒๕๒๗ วิถีคนกล้า กรุงเทพฯ : คนวรรณกรรม
๒๕๒๙ลมเหนือและป่าหนาว(เรื่องสั้น) กรุงเทพฯ : คนวรรณกรรม
๒๕๓๑ เขี้ยวเสือไฟกรุงเทพฯ : กำแพง
๒๕๓๒ ท้าสู้บนภูสูง (งานแปล) แปลจากduet in the high hell ของArther Cathealu กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ
๒๕๓๓ แมวน้อยตกปลา กรุงเทพ : ต้นอ้อ
๒๕๓๔เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน กรุงเทพฯ : คณาธร
๒๕๓๕ ล้านนาฮาเฮกรุงเทพฯ : คณาธร
๒๕๓๘ เมืองลับแล กรุงเทพ|มติชน และเรื่องเล่าในดงลึกกรุงเทพ|มติชน
๒๕๓๙ ดาบอุปราช และสร้อยสุคันธา
นอกจากนี้เขายังแปลผลงานออกมาในนามปากกาว่า "สิทธันต์ ชินทัต"เป็นนักเขียนที่ประสบผลสำเร็จมากในด้านรางวัลวรรณกรรมเขาได้รางวัลทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติดังนี้
รางวัลช่อการะเกดจากนิตยสารถนนหนังสือในปี พ.ศ.๒๕๒๑
รางวัลรองชนะเลิศเรื่องสั้นของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.๒๕๒๓ จากเรื่อง "ใช้ไม้สีเหลือง"
รางวัลดีเด่นประเภทบันเทิงคดี หนังสือสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นจาก คณะกรรมการพัฒนา หนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๒๓ จากเรื่องหมู่บ้านอาบจันทร์
รางวัลดีเด่นประเภทบันเทิงคดี หนังสือสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นจาก คณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๖จากเรื่องลูกป่า
รางวัลดีเด่นในการผลิตผลงานเพื่อเยาวชน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประ สานงานเยาวชนแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีพ.ศ.๒๕๒๕ จากเรื่องลูกป่า
รางวัล IBBY จากมูลนิธิ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สันปี พ.ศ.๒๕๓๒ จากเรื่อง เขี้ยว เสือไฟ
รางวัลดีเด่นประเภทบันเทิงคดีหนังสือสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น จาก คณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๒ จากเรื่องเขี้ยวเสือไฟ
รางวัลดีเด่นประเภทบันเทิงคดีหนังสือสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น จาก คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๓จากเรื่อง หุบเขากินคน
รางวัลดีเด่นประเภทบันเทิงคดี หนังสือสำหรับเด็กอายุ ๖-๑๑ปี จาก คณะกรรมการพัฒนา หนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๔ จากเรื่องแมวน้อยตกปลา
รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน : ประเทศไทย ประจำปีพ.ศ.๒๕๓๔ จากเรื่อง เจ้าจันท์ผมหอม
รางวัลดีเด่นประเภทบันเทิงคดีหนังสือสำหรับเด็กอายุ ๖-๑๑ ปี จาก คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๕ จากเรื่อง ฝีกว้างเท่าปากบ่อ


ทางด้านชีวิตครอบครัวแต่งงานเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๓ กับนางสาวณัฐยาภรณ์ ไชยหล้า หรือ "กระถิน"ปัจจุบันมีลูก ๒ คน คือ เด็กชาย รักพล มาลาโรจน์ และเด็กหญิง ภิรภรณ์ มาลาโรจน์ครอบครัวของเขาอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๕๖ หมู่ ๑๑ บ้านศาลา ต.ยุหว่า อ.สันป่าตองจ.เชียงใหม่

 

 

 

 

 

 

 

นแวดวง : ตามรอยเจ้าจันท์ ฝันหามาเมียะ

๒๔ มีนาคม ๒๕๔๕เวลาราวบ่ายสอง เครื่องบินลำเล็กของสายการบินแอร์มัณฑะเลย์เชิดหัวขึ้นจากสนามบินเชียงใหม่ ใจหายแว้บเลยเพราะมันโคลงเคลงและหล่นวูบเป็นบางครั้ง แต่การเดินทางก็ราบรื่นดีพอเครื่องใกล้ถึงสนามบินกาลาที่เมืองย่างกุ้งก็เริ่มมองเห็นพื้นดินเป็นที่ราบกว้างขวางสุดลูกหูลูกตา บางแห่งก็เห็นเขียว ๆเพราะมีการเพาะปลูก บางแห่งก็แห้งแล้งแห้งเหลืองเพราะไม่มีการเพาะปลูก ลงจากเครื่องถูกต้อนเข้าไปอัดกันในอาคารสนามบิน ที่หน้าตากระเดียดไปทางโรงลิเก หากนึกไม่ออกขอให้จินตนาการถึง หน้าคนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วใส่ชฎาแถมมีกระบังหูหรือกรรเจียกจรอีกสองอัน เหน็บสองข้างแก้ม ไอ้ที่ควรจะงามก็เลยบ่งามแต่อย่างว่านั่นแหละ ของกินลำอยู่ที่คนมัก ของฮักอยู่ที่คนเพิงใจงามเขา อาจไม่งามเรา งามเราอาจไม่งามเขาของอย่างนี้แล้วแต่ความนิยมชมชอบของใครของมัน เขาเห็นงามในทัศนะของเขาก็สร้างสิ่งที่สวยงามสำหรับสายตาเขาเขาไม่เอาสายตาภายนอกมากำหนดทัศนะค่านิยมของเขาอันนี้เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมาก เป็นความคิดอิสระที่แปลว่าเป็นใหญ่ในตัวเองคิดมาถึงเราก็ใจหาย เราชื่อว่าไทที่แปลว่าอิสระหรือเป็นใหญ่ในตัวเองแต่เราคนไทยกลับไม่มั่นใจในวิถีไท ไม่ต้องดูอะไรดูแต่การแต่งตัวเราก็ลืมความงามแบบไทยไปหมดแล้วเราถูกกำหนดให้เห็นดีเห็นงามตามฝรั่งไปหมดแล้ว

เราสูญเสียอิสรภาพทางค่านิยม และความนึกคิดไปนานแล้วคณะทัวร์ตามรอยเจ้าจันท์ ฝันหามะเมียะประกอบด้วยผู้คนสามสิบกว่าชีวิต โต้โผใหญ่คืออาจารย์เครือมาศ วุฒิการณ์ แห่งสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี่เอง ลูกทัวร์เกือบทั้งนั้นเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย มีอาจารย์วิถี พานิชพันธ์จากคณะวิจิตรศิลป์เป็นไกด์กิตติมศักดิ์ ท่านเป็นผู้รู้จริง รู้แท้การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้จึงเพลิดเพลิน และได้รับประโยชน์เชิงการศึกษาเต็มที่

ออกจากย่างกุ้ง เดินทางล่องใต้ไปเมืองพะโคหรือหงสาวดีที่เรารู้จักกันดีจากนิยายเรื่องผู้ชนะสิบทิศของยาขอบเมืองหงสาวดีอยู่ห่างย่างกุ้งราว ๘๐ กิโลเมตร ไปถึงก็เย็นย่ำแล้ว จุดแรกที่แวะชมคือพระเจดีย์ชเวมอตอหรอ ที่เรารู้จักในหนังสือราชาธิราชก็คือ พระเจดีย์มุเตานั่นเององค์ใหญ่มาก เห็นได้แต่ไกล สิ่งก่อสร้างทางศาสนาของพม่ามักใหญ่ ๆ โต ๆ ทั้งนั้นอยู่แต่ไกลก็ดูสวย แต่พอเข้าใกล้มักหยาบขรุขระเหมือนอย่างเจ้าจันท์มองเห็นพระเจดีย์อินทร์แขวน ไม่เหมือนกันนั่นแหละอยู่แต่ไกลราวกับพระพระมหาจุฬามณีลอยฟ้ามาลงพอเข้าใกล้กลับกลายเป็นอิฐเก่าปูนเก่า

คืนแรกของการเดินทาง เราพักที่โรงแรมพะโค อยู่นอกเมืองหงสาวดีเป็นโรงแรมเล็ก ๆ ชั้นเดียว พอมือค่ำก็มืดจริง ๆออกไปได้แค่หน้าโรงแรมก็ไม่กล้าไปไหน เพราะเปลี่ยวร้างวังเวงเหมือนแถวป่าตัน ป่าแดดเมื่อสัก ๓๐ ปีก่อน กลับเข้านอน ได้ยินเสียงสวดทั้งคืนตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าเป็นบทสวดของศาสนาไหน เพราะตอนนั่งรถผ่านมาเมื่อเย็นเห็นมีทั้งโบสถ์คริสต์ เทวาลัยฮินดูหรือสุเหร่าอิสลาม ฟัง ๆไปชักแน่ใจว่าเป็นพุทธของเรานี่เอง เพราะจับได้บางคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ

ไม่รู้จะทุไปถึงไหน ทั้งคืนจริง ๆ กระทั่งสาย ๆราวสิบโมงเช้าก็ยังไม่เลิกสวด ช่างมีน้ำอดน้ำทนจริง ๆ ต่อมาเมื่อไปถึงมะละแหม่งไจ้ทีโย และที่อื่นถึงได้รู้ว่าไอ้ที่เราเข้าใจว่าเป็นบทสวดมนต์ไม่ใช่ที่แท้เป็นการกล่าวเชิญชวนให้ทำบุญสร้างวัดวาอาราม

ออกจากโรงแรมพะโค พวกเราไปดูพระนั่งสี่ทิศเรียกเป็นภาษาพม่าว่าไจ้ปุ่น ไกด์ท้องถิ่นชี้ให้ดูรูปปั้นผีนัตตนหนึ่งชื่อว่าโบเมงเข่ เขาปั้นเป็นรูปผู้ชายท่าทางดุ ๆ ได้ความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์วิถีว่าผีนัตก็เหมือนเจ้าหรือเทพารักษ์ของไทย ไกด์ว่าแต่เดิมพม่าไม่ได้นับถือพุทธแต่นับถือลัทธิผีสางที่เรียกเป็นภาษาพม่าว่า อเยจีลัทธินี้เชื่อถือในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติความคิดความเชื่อเรื่องนัตเกิดในลัทธิศาสนานี้ แม้ทุกวันนี้พม่าจะนับถือพุทธแนบแน่นแต่ความเชื่อเรื่องนัต ก็ยังมีอิทธิพลต่อจิตใจชาวพม่าสูงมากเหมือนไทยเด๊ะเลย ต่างแต่เราไม่มีผีนัตมากมายแต่เราก็มีพระเสื้อเมืองทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช มีเสาหลังเมือง

สาย ๆ เดินทางไปชมวังบุเรงนองแต่เขาปิดเพราะวันที่ ๒๗ มีนาคมเป็นวันกองทัพบกพม่า เขาใช้สถานที่ตรงนี้ซ้อมแสดงพลอะไรสักอย่างจากนั้นก็ไปกันที่วัดชะเวตาเลียง พระนอนองค์นี้สร้างโดยกษัตริย์มอญองค์ที่ ๑๓ชื่อพระเจ้ามะมะปาละ นี่จดมาตามเสียงไกด์นะไม่แน่ใจว่าจะเป็นมหาปาละที่แปลว่าผู้รักษาที่ยิ่งใหญ่หรือเปล่า เขาว่าสร้างเมื่อค.ศ. ๙๐๐ กว่า ๆ ต่อมาถูกดินกลบ มีต้นไม้ปกคลุม คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเนินเขาย่อม ๆพออังกฤษปกครองพม่าอังกฤษจะสร้างทางรถไฟผ่านแถวนี้จึงมีการขุดค้นแล้วพบว่าพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก(อีกแล้ว)แล้วก็ไปมะละแหม่ง ที่เจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนหนังสือแล้วพบรักกับมะเมียะแล้วก็กลายเป็นตำนานรักรันทดที่ยังตรึงใจ ผู้คนอยู่จนปัจจุบันนี้

ที่นี่อาจารย์จิริจันทร์ ประทีปเสนท่านได้ไปตามหาร่องรอยเจ้าน้อยศุขเกษมกับนางสาวมะเมียะได้เรื่องราวมากมายมาเล่าให้เราฟัง ภายหลังเมื่อถูกส่งตัวกลับมะละแหม่งมะเมียะมาบวชอยู่ที่วัดไจ้ตะหลั่น วัดนี้ตั้งอยู่บนไหล่เขาเหนืออ่าวเมาะตะมะนี่เองไปถึงตะวันกำลังรอนอยู่แล้ว ได้ไปไหว้พระเจดีย์หึมาตามสไตล์มอญ-พม่าได้ไปไหว้สา

พระเขี้ยวแก้วที่เขาเชื่อกันว่าเป็นพระทนต์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะจริงหรือไม่จริงไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรหรอกสำคัญแต่ว่าเราเข้าถึงพุทธการกธรรมอย่างที่ อาจารย์บำเพ็ญ ระวินผู้ล่วงลับท่านเขียนไว้หรือไม่ พุทธการกธรรมเป็นเรื่องลึกซึ้งมากต้องอธิบายกันยึดยาว ใครสนใจโปรดตามอ่านในงานของท่านอาจารย์บำเพ็ญเอาเองพระเขี้ยวแก้วยาวใหญ่ขนาดเท่านิ้วก้อน ของผู้ชายตัวใหญ่ ๆ จะเป็นอะไรก็ได้แต่เมื่อผ่านพิธีพุทธาภิเษกหรือการอุปโลกน์ให้เป็นพระเขี้ยวแก้วแล้วก็ต้องเป็นพระเเขี้ยวกี้ยว จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

นี่คือการเป็นโดยมหาชนมติ คือความจริงอีกมิติหนึ่งที่เราเข้าถึงได้ยากมาก เป็นความจริงฝ่ายโลกตะวันออก เราๆท่านๆ ที่ถูกเสี้ยมสอนให้ดูถูกตัวเอง ประณามบรรพบุรุษหลงไหลคลั่งไคล้แต่ความเป็นตะวันตกยากจะเข้าใจได้

ความจริงบางอย่างเป็นสัจจภาวะ
ความจริงบางอย่างเป็นสมมุติสัจจะ

ตามรอยเจ้าจันท์ฝันถึงมะเมียะเป็นเรื่องยาวพยายามรวบรัดเพื่อให้จบในฉบับเดียว แต่จบไม่ได้ข้าวสารเมล็ดเดียวจะสลักให้เป็นช้างเจ็ดหัวเจ็ดหาง ข้าเจ้าเยียะบ่ช่างเน้ออาจารย์ขอต่ออีกตอนก็แล้วกัน

ตามรอยเจ้าจันท์ ฝันหามะเมียะ(ต่อ)

เล่าเรื่องตามหามะเมียะต่อคืนนั้นอาจารย์จิริจันทร์ ประทีปะเสน กับไกด์กับใครบ้างไม่รู้ ออกไปตามหาร่องรอยเจ้าน้อยศุขเกษมกับนางมรกต คำว่ามะแปลว่านางเมียะแปลว่ามรกตอ.แจ่ม ค้นคว้ามานานจนได้ร่องรอยบางอย่าง ของคู่รักรันทดคู่นี้ ท่านเอามาเล่าในรถว่าได้ตามไปถึงวัดไจ้ตะหลั่นล่าง ที่เดิมเป็นสำนักชี (ชีพม่า ชีพุทธโปรดอย่าเข้าใจว่าเป็นคอนแวนต์) พระภิกษุแก่มากเล่าว่า สักสี่สิบปีก่อนมีแม่ชีแก่มากๆ คนหนึ่งอยู่ที่วัดนี้ เรียกชื่อกันว่า ด่อนางเหลี่ยนด่อเป็นคำเรียกแม่ชีนางเหลี่ยนเป็นชื่อไม่มีใครรู้จักมะเมียะสาวแม่ค้าชาวพม่า มีแต่คนรู้จักว่า แม่ชีคนนี้ชื่อ นางเหลี่ยนเป็นชื่อในภาษาไทใหญ่

มะเมียะอาจไม่ใช่คนพม่า หรือมอญ แต่อาจเป็นไทใหญ่

อ.แจ่ม ถ่ายทอดว่า พระพม่าที่อายุมากแล้วรูปนี้ว่า ด่อนางเหลี่ยนอาจเป็นคนเดียวกันกับมะเมียะก็ได้ ท่านไม่ยืนยัน พฤติกรรมที่ทำให้น่าเชื่อว่าเป็นมะเมียก็คือ แม่ชีชอบมวนบุหรี่ แต่เดิมมะเมียะก็เป็นแม่ค้าขายบุหรี่มวนอยู่ที่ตลาด ไดโบขิ่นพฤติกรรมเดิมเลยติดตัวมาข้างฝ่ายร่องรอยเจ้าน้อยศุขเกษมนั้น อ.แจ่มก็ไปสืบทราบพอได้เค้าได้ความ เพิ่มเติมหลายอย่าง เจ้าน้อย เป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงามอย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ ได้เห็นรูปถ่ายคุ้นตา ระยะนั้น มีเหตุการณ์ยุ่งเหยิงวุ่นวายทางการเมืองหลายอย่าง ราชการส่วนกลางอาจสร้างความอึดอัดให้แก่เจ้าเชียงใหม่ทั้งหลาย อาจมีความคิด อยากคานอำนาจส่วนกลางเกิดขึ้นก็เป็นได้เจ้าพ่อจึงส่งเจ้าน้อยไปที่เมืองมะละแหม่ง เจ้าน้อยเข้าเรียนที่โรงเรียนเซนต์แพททริก โดยอยู่ความดูแลของ อูโพดั่ง พ่อค้าไม้ผู้มั่งคั่งผู้เป็นสหายรักของเจ้าพ่อ อ.แจ่ม ไปตามหาเรือนของอูโพด่าง แต่หาไม่พบเข้าใจว่าคงจะเปลี่ยนมือไปแล้ว ชาวบ้านร้านถิ่นก็จำไม่ได้ แต่ถึงกระนั้นอาจารย์ก็ยังอุตส่าห์ บุกไปควานหาโรงเรียนเซนต์แพททริคจนพบ เห็นว่าใหญ่โตมากเป็นโรงเรียนคริสต์ที่มีชื่อสียง ทำนอง
โรงเรียนปริ๊นส์หรือมงฟอร์ตบ้านเรากระมัง แต่ปัจจุบันร่วงโรยไปมากแล้ว

"เจ้าน้อยกับมะเมียะสาบานรักต่อกันที่วัดไจ้ตะหลั่น"

ตอนหนึ่ง อ.แจ่ม คนงามพูดในรถ คำสาบานเหมือนจะมีว่าหากใครไม่รักจริง หรือเปลี่ยนใจเป็นอื่น ขอให้อายุสั้น เจ้าน้อยคงจะรักจริง รักมากแต่ถึงอย่างไร เจ้าน้อย ก็ยังเป็นหนุ่มอายุน้อยมาก ถึงจะเป็นถึง เจ้าราชบุตร (ตรงนี้ขอสงวนสิทธิ์ว่า ยังไม่เชื่อข้อมูลนี้ ในเพลงของอ้ายจรัลที่บอกว่าเจ้าชายเป็นราชบุตร อาจหมายถึง เป็นลูกเจ้าก็ได้) ที่ดูเหมือนจะยิ่งใหญ่แต่ที่ใหญ่ยิ่งกว่าคือ อำนาจจากส่วนกลาง รักแท้จึงแพ้อำนาจ เจ้าชายจึงต้องขื่นขมตรมตรอมตลอดมา กระทั่งเสียชีวิตลง ด้วยวัยเพียงสามสิบกว่าปีเท่านั้นเองเจ้าชายก็ตรอมใจตายมะเมียเลยไปบวชชี ความรักมักเป็นฉะนี้แลเฮย

เสียงร้องขึ้นจมูกนิดๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ สุนทรี เวชานนท์แว่วอยู่ในหู เรื่องรักรันทด ระหว่างมะเมียะ กับเจ้าน้อยศุขเกษม เราอาจได้ชมละครจากฝีมือของ อาจารย์จิริจันทร์ ประทีปะเสน เร็วๆนี้

เล่ารวบรัดตัดความไปที่ พระธาตุอินทร์แขวนเลยผมเองรู้จักพระธาตุอินทร์แขวน จากซองยาผงแดงพม่า ตราพระธาตุอินทร์แขวนแต่เมื่อเป็นเด็ก ตำนานปากเปล่าของย่า ให้ภาพพระธาตุอินทร์แขวนไม่ชัดเจนแต่ไม่เป็นไร เราเป็นเด็ก เอาจินตนาการใส่แทนได้ แล้วภาพในใจ ที่วาดขึ้นเองก็ติดอยู่ในห้วงนึกเรามาโดยตลอด ภาพนั้นคือพระธาตุหรือเจดีย์รูปทรงเป็นแบบเจดีย์บ้านเรา เพียงแต่ส่วนฐานไม่ติดหน้าดิน แขวนลอยเรี่ยๆขนาดเส้นผมลอดได้

ย่าเล่าให้ฟังว่าคนมีบุญเท่านั้นถึง จะปูผมลอดได้ไอ้เราก็ฝังจำจากคำบอกเล่าของย่า กระทั่งมาเขียนเรื่อง เจ้าจันท์ผมหอมนิราศพระธาตุอินทร์แขวน ก็ยังใช้ภาพเดิมในความจดจำไม่ได้ใช้ภาพจริงจากของจริงที่มีอยู่ ณ ท้องถิ่นไกลแสนสุดแดนฟ้าหลั่ง

หากได้เห็นของจริงก่อน รับรองได้ว่า โลกนี้ไม่มีวรรณกรรมเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม เพราะในความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ ไม่มีทางที่ใครจะเอาผมลอดพระธาตุอินทร์แขวนได้เลย แล้วความจริงก็จะสกัดกั้นเรา ให้จนตรอกอยู่ตรงนั้นมันจะผลักดันเรา ให้เบี่ยงเบนไปคิดเชิงอื่นเสีย

ชื่อทัวร์ครั้งนี้ ทางฝ่ายผู้จัดคือ อาจารย์เครือมาศ วุฒิการณ์ตั้งไว้ว่าตามรอยเจ้าจันท์ ฝันหามะเมียะ แต่พวกเราทั้งหลายไปตามหามะเมียะกันก่อนแล้ว ค่อยเดินทางต่อไปที่ ไจ้ทีโย หรือพระธาตุอินทร์แขวนการเดินทางสะดวกสบายพอสมควร เมื่อไปถึงฐานพระธาตุ พวกเราจะต้องเดินขึ้นหรือนั่งเสลี่ยงขึ้นไป ผมเลือกเดิน ทั้งที่ไม่แน่ใจเรื่องหัวเข่าแรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ก็คือ ได้เห็นคนขาเดียวเดินขึ้นพระธาตุ นึกมานะขึ้นมาว่ากูสองขา หากเดินไม่ไหวค่อยพักไปตามทาง ยังไงๆ ก่อนตะวันตกดินก็คงถึงมั้ง

อีกอย่างก็นึกอายอาจารย์วิถี ท่านเองเพิ่งผ่าหัวเข่ามาไม่นานท่านยังเดินขึ้นเลย

ทางขึ้นเป็นทางรถยนต์ คดโค้งขึ้นไปเรื่อยๆเหนื่อยมากแต่หากไม่ฝืนแรงก็พอขึ้นไหว พักไปเรื่อยๆสักชั่วโมงก็ขึ้นไปถึงโรงแรมที่พัก ที่อยู่ห่างจากพระธาตุราวครึ่งกิโลเมตรเห็นจะได้คืนนั้นพวกเราไปไหว้พระธาตุ ยิ่งใหญ่มาก มหัศจรรย์เหมือนฝันองค์พระธาตุตั้งบนหินก้อนใหญ่ ที่ดูง่อนแง่นหมิ่นเหม่ ปิดทองทั้งองค์ดูรุ่งเรืองสว่างไสวในแสงไฟสาดส่อง มีคนคลาคล่ำยั้วเยี้ย มีร้านรวงคึกคักนึกคิดคำนึงไปถึงคำบอกเล่า ของปู่ย่าสมัยเราเป็นเด็กพระธาตุอินทร์แขวนอยู่ไกลแสนที่แดนฟ้าหลั่งจริงๆ ขนาดเราบินข้ามฟ้าแล้วนั่งรถเร็วยังใช้เวลาร่วมสองสามวัน กว่าจะมาถึง สมัยเจ้าจันท์การเดินทางจากเชียงใหม่ ไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

เช้าวันถัดมาผมตื่นเช้ามาก อากาศเย็นฉ่ำสดชื่น ออกมาที่ชานพักเห็น อ.ติ่ง นั่งวาดรูปพระธาตุอินทร์แขวนอยู่คนเดียว แอบถ่ายรูปไว้รูปที่ถ่ายสวยมาก ยังคิดอยู่เลยว่าสักวัน จะมอบให้ อ.ติ่ง ที่นับถือและคารวะในตัวตนที่อาจารย์เป็น แต่ไม่นึกเลยว่า ไม่ทันได้มอบให้ก็ต้องไปในงานล่วงลับของอาจารย์เสียก่อนไปดีไปงามแล้ว แต่ภาพจำหลักยังคงงดงามในความคิดถึง

มาลา คำจันทร์

http://art-culture.chiangmai.ac.th/newsletter/45/43/topic2.htm

 

 

พระธาตุอินทร์แขวนตั้งตระหง่านอยู่บนหน้าผาสูงชันน่าอัศจรรย์ไม่ตกลงมา

หลังจากตอนที่แล้วอากวงไกด์พม่าของฉันได้พาไปไหว้มหาเจดีย์ชเวดากอง ที่ฉันใฝ่ฝันอยากจะไปไหว้มากๆ มาแล้วมาในตอนนี้อากวงได้พาฉันออกเดินทางออกจากเมืองย่างกุ้งมุ่งตรงไปยังเมืองไจก์โถ่ที่ตั้งอยู่ในรัฐมอญ เพื่อไปสักการะ"ไจก์ทิโย"หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามว่า"พระธาตุอินทร์แขวน"ที่ตามคติการไหว้พระธาตุตามปีเกิดของชาวล้านนาบอกไว้ว่าหากใครเกิดปีจอต้องไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ซึ่งความเป็นจริงในโลกนี้คงจะเป็นไปไม่ได้จึงได้ถือเอาว่าการไหว้พระธาตุอินทร์แขวนแทนก็เหมือนได้ไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์       
              ถึงแม้ว่าตัวฉันเองจะไม่ได้เกิดปีจอก็ตามทีแต่เมื่อมีโอกาสอันดีได้มาพม่าแล้วและจะได้เดินทางไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนที่ถือว่าเป็นการได้ไปไหว้พระพุทธเจ้าบนสรวงสวรรค์ก็นับว่าเป็นการเสริมสร้างบุญบารมีให้กับชีวิต       
              ซึ่งอากวงได้เล่าตำนานเกี่ยวกับพระธาตุอินทร์แขวนให้ฉันฟังขณะนั่งอยู่บนรถว่ามีฤาษีติสสะผู้หนึ่งได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้าที่ได้มอบให้ไว้เป็นตัวแทนพระพุทธองค์ให้ประชาชนสักการะเมื่อครั้นได้มาแสดงธรรมเทศนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิผู้ที่ได้รับมอบพระเกศาต่างก็นำไปบรรจุในสถูปเจดีย์แต่ว่าฤๅษีติสสะกลับนำไปซ่อนไว้ในมวยผมพอเวลาล่วงเลยถึงคราวที่ฤๅษีติสสะจะต้องละสังขารโดยมีความตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของตนจึงให้พระอินทร์ช่วยหาก้อนหินที่มีลักษณะเหมือนกับศีรษะซึ่งได้มาจากใต้ท้องมหาสมุทร และก็ให้พระอินทร์นำมาวางหรือแขวนไว้บนภูเขาหินจึงเป็นที่มาของชื่อ"พระธาตุอินทร์แขวน"แต่ชาวพม่าและชาวมอญจะเรียกพระธาตุอินทร์แขวนว่า"ไจก์ทิโย"ซึ่งเป็นภาษามอญ หมายถึงเจดีย์บนหินที่มีรูปร่างคล้ายศีรษะฤๅษี       
              พอฉันฟังอากวงเล่าตำนานเสร็จด้วยระยะทางไกลที่ยังไม่ถึงเสียที ฉันเลยงีบหลับนอนเอาแรงเสียหน่อยเพราะอากวงบอกว่าการขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุต้องเดินเท้าขึ้นไป

 

ด้วยแรงศรัทธาต่อให้อายุมากก็มีแรงเดินขึ้นเขามาไหว้พระธาตุอินทร์แขวน

"ตื่นๆ ได้แล้วเดี๋ยวเราต้องเปลี่ยนรถ เป็นรถท้องถิ่นเพื่อขึ้นสู่องค์พระธาตุอินทร์แขวนกัน"เสียงอากวงปลุกฉันให้หายงัวเงียแล้วก็พาลงจากรถออกเดินไปยังจุดที่รถท้องถิ่นจอดรอรับนักท่องเที่ยวอยู่       
              ฉับพลันที่ฉันเห็นรถท้องถิ่นที่อากวงบอกไว้ว่าเป็นพาหนะพาเราไปยังพระธาตุอินทร์แขวนก็ทำเอาฉันถึงกับอึ้งกิมกี่ไปเลย เพราะสภาพรถท้องถิ่นที่อากวงว่าในความรู้สึกของฉันดูแล้วไม่ต่างจากรถขนหมูที่เมืองไทยบ้านเราเลย       
              สภาพรถหกล้อขนาดใหญ่มีกระบะหลังที่ไม่มีหลังคาบังลมบังแดด มีที่นั่งที่เป็นเพียงไม้กระดานแผ่นเล็กๆวางพาดเป็นแถวๆ ไว้ให้นั่งเท่านั้นเอง ซึ่งตรงจุดเปลี่ยนรถนี้คลาคล่ำไปด้วยผู้คนทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวพม่าเอง ต่างก็รอมาขึ้นรถนี้กันเป็นจำนวนมากเพราะว่าไม่อนุญาตให้นำรถส่วนตัวขับขึ้นเขาไปเอง เพราะเกรงจะเกิดอุบัติเหตุฉันเลยต้องจำใจนั่งรถขนหมู (ฉายาที่ฉันตั้งให้) นี้ขึ้นไป

หากว่าใครเดินขึ้นองค์พระธาตุฯ ไม่ไหวมีบริการเสลี่ยงจากลูกหาบคอยบริการแบกขึ้นไป

เส้นทางที่รถวิ่งขึ้นเขาไปนี้เป็นเส้นทางเล็กๆแคบๆ วิ่งไปตามไหล่เขาที่มีความสูงชัน แถมยังมีโค้งหักศอกอยู่หลายโค้ง (น่ากลัวมากๆ) แต่ว่าคนขับก็ขับด้วยความชำนาญ (แบบซิ่งนิดๆ )ชนิดที่ว่าเวลารถเลี้ยวขึ้นเขาทีตัวฉันกับอากวงก็โอนเอนมาปะทะกันไปตามแรงเหวี่ยงของรถจนฉันคิดว่าฉันกลายเป็นลูกบอลถูกเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาอยู่บนรถเล่นเอาระบมไปทั้งตัวเลย
           ฉันและอากวงถูกเหวี่ยงไปมาบนรถได้สักพักรถ (ขนหมู) ก็มาส่งยังจุดเดินเท้ากันต่อซึ่งจากจุดนี้ทั้งฉันและอากวงต้องเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ ๓กิโลเมตรกว่าจะถึงยังองค์พระธาตุอินทร์แขวน       
              อากวงถามฉันว่าเดินไหวไหมถ้าเดินไม่ไหวจริงๆ ที่นี่มีลูกหาบบริการแบกเสลี่ยงพาขึ้นเขาและก็มีลูกหาบที่จะช่วยแบกสัมภาระ แหม!!ฉันนะนึกถึงภูกระดึงเมืองไทยบ้านเราขึ้นมาทันทีเลยสำหรับราคาค่าบริการเสลี่ยงตกอยู่ที่ประมาณ ๒๐,๐๐๐จั๊ตหรือตามแต่จะตกลงกัน

 

 

ลูกหาบแบกของสัมภาระอันหนักอึ้งของนักท่องเที่ยวเดินขึ้นเขา

ตัวฉันเองไม่ได้คิดมากเรื่องเงินทองแต่ในใจคิดว่าเมื่อฉันมาด้วยแรงศรัทธาแล้วก็อยากจะเดินขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุด้วยแรงขาน้อยๆ ๒ข้างด้วยตัวเองจะได้รู้สึกภูมิใจและได้บุญเยอะๆ       
              ว่าแล้วฉันก็เดินนำหน้าอากวงขึ้นเขาไปมีเพียงไม้ไผ่ลำเล็กๆ ที่ซื้อมาไว้คอยพยุงทุ่นแรงและป้องกันการลื่นหกล้มฉันและอากวงเดินไปตามทางขึ้นเขาที่ชันพอๆ กับที่นั่งรถ (ขนหมู) ขึ้นมาแต่ก็ร่มรื่นไปด้วยธรรมชาติของต้นไม้ตามสองข้างทาง และระหว่างทางที่เดินขึ้นไปนั้นก็จะเห็นถึงความศรัทธาของชาวพม่าที่ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว เด็กเล็กๆหรือแม้แต่คนแก่ที่สังขารดูโรยราแต่ก็ยังมีแรงเดินขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุด้วยสองขาของตัวเองแสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาอันกล้าแกร่ง       
              ทว่าพวกลูกหาบที่แบกเสลี่ยงขึ้นมาด้วยก็ยังไม่วายที่จะเชิญชวนให้ฉันนั่งเสลี่ยงเมื่อเห็นฉันออกกอาการเหนื่อยหอบแบบแทบจะหมดแรงก้าวเดินซึ่งฉันปฏิเสธด้วยใจอันแน่วแน่ว่าฉันจะเดินให้ถึงองค์พระธาตุด้วยขาน้อยๆของตัวเองให้จงได้       
              แล้วภาพของเจดีย์สีทองบนหน้าผาที่เห็นอยู่ไกลๆลิบๆ ก็เริ่มขยับเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ฉันออกแรงเดินด้วยเฮือกสุดท้ายจนในที่สุดฉันก็มาถึงยังองค์พระธาตุจนได้       
            "“เก่งจังเลยตัวนิดเดียวเดินมาถึงองค์พระธาตุได้ด้วยตัวเอง" อากวงชมฉันพร้อมกับพาเดินขึ้นสู่องค์พระธาตุแต่ได้พาฉันแวะเข้าไปกราบรูปปั้นพระนางชเวนันจินก่อนซึ่งชาวพม่านิยมมากราบไหว้พระนางกันเป็นจำนวนมากเพราะมีความเชื่อกันว่าหากมาเจ็บป่วยตรงส่วนไหนของร่างกาย เวลาไหว้พระนางก็ให้จับบีบ นวดรูปปั้นระนางตรงส่วนที่เจ็บป่วยแล้วตั้งจิตอธิษฐานและกลับจับร่างกายของเราตรงที่เจ็บป่วยก็จะหายได้ (อย่างไม่น่าเชื่อ)

 

รูปปั้นพระนางชเวนันจินหากเจ็บป่วยตรงไหนมากราบไหว้ก็จะช่วยให้หายป่วย

พออากวงบอกอย่างนั้นฉันเองก็ทำการไหว้พระนางแบบที่อากวงทำให้ดูทันทีด้วยหวังว่าจะช่วยให้หายจากโรคที่ป่วยอยู่ จากนั้นก็เดินออกจากอาคารพระนางชเวนันจินเดินไปตามทางเดินที่เป็นลานหินอันกว้างใหญ่และแล้วภาพของพระธาตุอินทร์แขวนก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้าภาพของก้อนหินขนาดใหญ่สีทองอร่าม มีเจดีย์ทรงมอญที่ด้านบนมีฉัตรทองเล็กๆอยู่ด้านบนตั้งตระหง่านอยู่บนหน้าผาที่สูงและลาดชันเอามากๆ ดูแล้วจะหล่นแหล่มิหล่นแหล่แต่ว่าองค์พระธาตุกลับตั้งโดดเด่นท้าทายแรงโน้มถ่วงของโลกสร้างความอัศจรรย์ใจให้ฉันเป็นอย่างมาก       
            "เห็นไหมเห็นถึงความมหัศจรรย์ขององค์พระธาตุที่พระอินทร์ท่านเอามาแขวนไว้ให้เราได้มากราบไหว้กันแล้วหรือยัง" อากวงพูดขึ้นพร้อมกับพาฉันเข้าไปสักการะองค์พระธาตุใกล้ๆ       
              แต่น่าเสียดายที่เขาไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไปไหว้และปิดทององค์พระธาตุแบบใกล้ๆถึงองค์พระธาตุ ฉันจึงได้แต่นั่งตั้งจิตอธิษฐานสวดมนตร์กราบขอพรจากองค์พระธาตุอยู่ด้านนอก (รั้วที่กันไว้)ซึ่งแค่นี้ก็ทำเอาฉันรู้สึกอิ่มเอมใจ อิ่มบุญเป็นที่สุดอย่างอยากที่จะบรรยายได้ได้แต่เก็บเอาไว้ในห้วงแห่งความรู้สึกและความทรงจำในใจว่าครั้งหนึ่งในชีวิตตัวฉันเองได้มีโอกาสมาสักการะสิ่งมหัศจรรย์อันล้ำค่าขององค์"พระธาตุอินทร์แขวน"ณ ประเทศพม่าแห่งนี้

โดย : หมวยเกี๊ยะ

โดยผู้จัดการออนไลน์

31 มกราคม 2549 04:26 น.

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000012907

 

๑๐ พรหมอื่อลูก(4.56) คำร้อง/ทำนอง เพลงพื้นเมืองประยุกต์ เป็นเพลงกล่อมเด็ก(Lullaby)ปรกติสมัยก่อนที่การคลอดบุตรยังใช้หมอตำแยอยู่นั้นคุณแม่หลังคลอดรุ่นนี้มักจะดื่มยาดองเพื่อให้สุขภาพฟื้นตัวแต่บังเอิญดื่มเพลินไปหน่อยเลยติดยาดอง   คุณแม่ลูกอ่อนบางท่านพอกล่อมลูกหลับก็เปรี้ยวปากก็ดอดไปกรึ๊บให้หายเปรี้ยวปากโดยหาข้ออ้างว่าจะไปซื้อไอ้โน้นไอ้นี่ที่ตลาดมาให้ลูกแต่แท้จริงแล้วก็จะไปจิบยาดอง ก็เลยมีการแต่งเพลงกล่อมเด็กเพลงนี้มาเตือน(ดักคอ)คุณแม่ที่นิยมยาดองทั้งหลาย

 

การดูแลบุตรหลังคลอด

 

การดูแลลูกในช่วงแรกนี้ต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืนในห้องต้องจุดตะเกียงไว้ตลอดเวลา เพราะเชื่อว่า พวกผีต่างๆ จะกลัวไฟหรือความสว่างผู้เป็นแม่จะมัวแต่หลับไม่ได้ ถ้าได้ยินเสียงลูกตื่น แม่จะต้องตื่นด้วยสิ่งที่ควรมีไว้ในห้อง เช่น หัวขมิ้น ใช้ทาเวลาที่ลูกถูกยุงหรือแมลงอื่นๆ กัดต่อยมหาหิงคุ์ ใช้ทาท้องเด็กและให้เด็กดมเวลาเด็กปวดท้อง ท้องเสีย ตะกรุดป้องกัน ผีไม้กวาด ใช้ปัดไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่มองไม่เห็นเพราะผีหลายชนิดกลัวและรังเกียจไม้กวาด

             ผีกะ คนที่ได้ชื่อว่าเป็นผีกะมักจะมาเยี่ยมเยือนในเวลาที่อยู่เดือนพ่อแม่ญาติพี่น้องของเด็กจะไม่ชอบ ถือว่าเป็นคน ที่ไม่โปร่งใส เรียกกันว่า "คนไม่หมด" คือ ไม่บริสุทธิ์นั่นเอง แต่ไม่รู้จะทำประการใด จะแสดงอาการไม่พอใจออกไปก็กลัวคน ที่เป็นผีกะโกรธ เมื่อคนที่เป็นเจ้าของผีโกรธ ผีของเขาจะโกรธตามไปด้วยดังนั้นต่อหน้า จึงต้องแสร้งพูดดีกับเขาไว้ก่อน หลังจาก ที่เขาลงเรือนไปแล้วเจ้าของบ้านจะใช้ไม้กวาดปัดไล่ตามที่ที่เขายืนหรือนั่ง พร้อมกับพูดเบาๆ ว่า “ไป ไป” เป็นการไล่ภัยไล่ผี เพราะถ้าไม่ระวังเมื่อมีคนที่เป็นผีกะมาเยี่ยมเด็กมักจะร้องไห้ในเวลากลางคืนไม่ยอมนอน เป็นเพราะว่าผีกะมา "เลียม" คือ มาเล่นเด็กหยอกล้อเด็กให้กลัว

นอนอู่ (ลงเปล)   

            เมื่อเกิดได้ ๑เดือนไปแล้ว เด็กควรจะได้นอนอู่อู่จะสานด้วยไม้ไผ่โดยผู้เป็นพ่อจะเป็นฝ่ายจัดหา ถ้าสานเองไม่เป็นจะต้องไปจ้างวานผู้อื่นสานให้ การสานอู่นั้น มีกฎเกณฑ์ว่าต้องให้ได้โฉลก กล่าวคือผู้สานต้องนับตาของอู่ให้ดี ให้เริ่มนับจากตา ที่อยู่ตรง กลางของก้นอู่ขึ้นไปทางปากพร้อมกับกล่าวคำโฉลกว่า "ตาหลับ ตามืน" อย่าให้ตกที่ ”ตามืน” (ตาลืม)เพราะจะทำให้เด็กไม่ค่อยหลับ หรือหลับไม่ดี ต้องสานให้ตกที่ "ตาหลับ"เด็กถึงจะหลับดี สายอู่จะใช้เชือกวัวเชือกควายมาผูกไม่ได้จะทำให้เด็กนั้นเป็นคนที่กิน อะไรไม่รู้จักหยุดจักหย่อน และทำให้ดื้อ (คงดูตามลักษณะการกินหญ้าของวัวควายที่กินทั้งวันไม่มีหยุด)เหตุผลที่ห้ามเอาเชือกวัว เชือกควายมาทำสายอู่ คงเป็นเพราะว่าเชือกวัวเก่าที่ถูกน้ำถูกแดดมาก่อน เมื่อนำมาเป็นสายอู่จะทำให้ขาดได้ง่าย เป็นอันตราย แก่เด็กครั้งแรกที่จะนำเด็กนอนอู่ จะมีเคล็ด คือ ให้ผู้ที่อุ้มเด็ก ต้องกลั้นหายใจ หลับตาแล้วจึงค่อยเอาเด็กลงนอน เด็กจะนอนหลับดี ไม่สะดุ้งตกใจเมื่อเด็กยังไม่หลับแม่ก็จะกล่อม เรียกว่า “การอื่อ” เป็นเพลงกล่อมเด็กให้หลับ

 เพลงอื่อ มีหลายเนื้อหลายทำนอง แล้วแต่ละท้องถิ่นจะอื่อกันอย่างไร ตัวอย่างเช่นถ้าผู้เป็นแม่ไปทำธุระ ผู้เป็นพ่อจะเป็นคน อื่อลูกให้หลับว่า

"บุตตาเหย             หลับเวยๆ อย่าไห้

                        พ่ออื่อไท้ว่าชาชา              หลับสองตากุมาราอย่าไห้

                               บึดหนึ่งแม่แก้วแก่นไท้       ก็จักมาเอา"

   ร้องกลับไปกลับมา จนกว่าลูกจะหลับ

          อีกบทหนึ่งว่า

อื่อ... อือ... อือ... อื้อ... อือ... อื่อ...      อือ... อื่อ อือ ชา

หลับสองตาถ้าแม่นายมาค่อยตื่น                   หลับบ่ชื่นค่อยหลับแถม

อื้อ... อือ... อื่อ... อือ... อื่อ... อือ...                  อือ

เจ้าไห้อยากกินชิ้นบ่มีไผไปหา                      เจ้าไห้อยากกินปลาบ่มีไผไปส้อน

มีเข้าเย็นสองสามก้อน                                กินแล้วลวดหลับไป

อื้อ... อือ... อื่อ... อือ... อื่อ... อือ... อือ"

พิธีกรรมที่จัดทำสำหรับเด็กทารก

             เด็กร้องไห้ในเวลากลางคืน

           เมื่อเด็กร้องไห้ในเวลากลางคืนและมักจะร้องเป็นเวลานานๆ จนคนในบ้านไม่เป็นอันหลับอันนอนกัน หรือเด็กไม่ยอมดื่มนม เมื่อเป็นดังนี้เชื่อว่าต้องมีผีมารบกวนเด็ก โดยเด็กจะเห็นหน้าหรือรูปร่างผีที่มาหยอกล้อหรือมาหลอกแต่ว่าผู้ใหญ่จะมองไม่เห็น วิธีแก้ให้นำหมาก 1 คำ พลู 1 ใบ และฝ้ายไปพลีเอาคือการไปบอกกล่าวแก่ผีปู่ดำย่าดำ โดยเอาหม้อนึ่งไหข้าวซ้อนกันไว้ แล้วเอาเครื่องพลี คือ หมากคำพลูใบที่เตรียมไว้นั้น วางไว้ใกล้ๆ หม้อนึ่งไหข้าวแล้วบอกกล่าวเป็นการขอความช่วยเหลือจากผีปู่ดำย่าดำ ว่า "ขอปู่ดำย่าดำช่วยรักษาอย่าให้ลูกของข้าพเจ้าร้องไห้ ช่วยดูแลอย่าให้สิ่งใดๆมาหลอกหลอนให้ลูกข้าพเจ้าจุ่งอยู่ดีเทอะ” เมื่อกระทำพิธีอย่างนี้แล้วเด็กยังร้องไห้ ในเวลากลางคืนอีก จะต้องไปหาตะกรุดกันผีโดยขอจากพระหรืออาจารย์วัด หรือหนาน(ทิด) ที่มีความรู้ ด้านนี้เอามาสวมคอเด็กตะกรุดป้องกันผีนี้ทำด้วยวัสดุ หลายอย่าง เช่น ทำด้วยแผ่นทองเหลืองม้วนหรือพับด้วยใบตาลหรือใบลาน หรือ ใช้เส้นฝ้ายมาขอดปมด้วยคาถา

 บูชาแถน                                                        

             เชื่อว่า ปู่แถน ย่าแถน เป็นบิดา มารดา ที่ส่งมาเกิด จึงเรียกว่าพ่อเกิด แม่เกิดก่อนที่จะส่งลงมาได้กล่าวคำแช่งไว้ด้วยว่าเมื่อส่งลงมาแล้วลืมพ่อแม่เก่า ขอให้เจ็บไข้ ด้วยโรคภัยต่างๆ อีกประการหนึ่งเมื่อส่งมาเกิดแล้วรู้สึกคิดถึงบุตร จึงอยากจะกลับขึ้นไปจึงได้ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ กับทารกเมื่อทารกตายจะได้กลับขึ้นไปอยู่กับพ่อแม่เก่าอย่างเดิมช่วงที่พ่อแม่เกิดจะนำลูกกลับคืน คือ ตั้งแต่อายุของเด็กทารก 1 เดือน ไปถึงอายุ 15 ปี ดังนั้นเมื่อเด็กไม่สบายจึงได้จัดเครื่องบูชาถวายแก่ พ่อเกิด แม่เกิดเป็นการแสดงออกถึงการไม่ลืมบุญคุณ

แกว่งข้าว

            เมื่อเด็กที่เกิดมาเป็นคนที่เลี้ยงยาก เดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่ร้องไห้เป็นประจำโดย เฉพาะตอนกลางคืน เมื่อพยายามแก้ด้วยวิธีดังกล่าวมาแล้วไม่เป็นผล จึงนำปัญหาเหล่านี้ไปถามผีปู่ดำย่าดำให้ช่วยทำนายให้ทางเชียงรายใช้ไหนึ่งข้าวมาแต่งให้คล้ายรูปคน ใช้ไม้เป็นแขนและสวมเสื้อให้มีคนถือไหคนหนึ่งคอยจับให้ตะแคงซ้ายตะแคงขวาสลับกันไป หลายแห่งในเชียงใหม่ใช้วิธีแกว่งข้าว อีกวิธีหนึ่ง เมื่อเด็กทารกไม่สบาย ผู้เป็นแม่จะนำขันหรือสลุงพร้อมกับเงินสมนาคุณตามสมควร เอาเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมของเด็กทารก ใส่ไปด้วยไปขอให้ผู้ที่รับแกว่งข้าวช่วยประกอบพิธีแกว่งข้าวให้ผู้ประกอบพิธีจะนำสลุงข้าวสารนั้นเข้าไปในเตาไฟ ของท่านเพื่อบอก ผีปู่ดำย่าดำแล้วเอาฝ้ายสายสิญจน์ที่มีความยาวเท่ากับไม้ด้ามข้าวปลายข้างหนึ่งผูกกับปลายของไม้ด้ามข้าว อีกด้านหนึ่งของฝ้ายจะผูกกับก้อนข้าวเหนียวขนาดประมาณลูกมะนาวผู้ทำพิธีจะถือส่วนโคนสุดของไม้ด้ามข้าวด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง โดยยื่นแขนออกไปให้ก้อนข้าวเหนือผ้าอ้อมของทารก แล้วขานชื่อญาติของฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ของเด็กนั้นคือชื่อญาติที่ได้ตายไปแล้วไปเรื่อยๆ เพื่อต้องการรู้ว่าใครที่ตายไปแล้วมาเกิดเป็นเด็กทารกคนนี้เมื่อขานชื่อใครแล้วก้อนข้าวนั้นแกว่งวนเป็นวงกลมเหนือผ้าอ้อม เชื่อว่าคนนั้นมาเกิด เมื่อรู้ว่าใครมาเกิดแล้วก็จะถามต่อไปอีกว่าจะให้ญาติผู้ใดมาเป็นคนรับคนที่ทำพิธีแกว่งข้าวจะเรียกชื่อญาติของเด็กลำดับ ไปทีละคนเมื่อเรียกชื่อคนใดแล้วก้อนข้าวแกว่ง ก็บอกให้บุคคลนั้นมารับโดยนำเอาแก้วแหวนเงินทองหรือเสื้อผ้าของใช้ของประดับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมามอบให้แก่เด็กทารกเชื่อว่าเมื่อได้กระทำดังนี้แล้วเด็กจะเป็นคนเลี้ยงง่าย

 

สำหรับทางเหนือก็มีบทอื่อกล่อมลูกครับผม ดังบทของพ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติว่า

---------------
                        เออ เอ่อ เออ อือ อื่ออือ......
หลับก็หลับเสียเต๊อะนาย                 หลับก็็หลับเสียเต๊อะจิ้วสายอะหลิ่งติ่งติ้ว แม่หนอ...
อี่แม่ไปโท้ง บ่มา อี่ป้อไปนานอกบ้าน           จักเก็บหม่าส้าน ใส่ป๊กใส่เป๋า อื่อ อือ....
แม่จักเก็บลูกนกเขามาต้อน                        เจ้าอย่าไปไห้อ้อน จุ่งหลับ จา...
           
จา จ๋า.....หลับสองต๋าเต๊อะเจ้าสิกก็สิกจา สิกจุ่งจา อี่หล้าจุ่งจ้อย
เบี้ยสองฮ้อยไปกาดไปลี                ไปหาซื้อหวี ก็ได้หวีปากบ้าง
ไปหาซื้อจ๊าง ก็ได้จ๊างแม่หมู                        ไปหาซื้อปลู ก็ได้ปลูตกปลูต่อย

หลับเต๊อะลูกหน้อยแม่จักไกว๋นาย....เออ.....เอ่
           
หลับก็หลับเสียเต๊อะนาย......จักไปไห้อ้อน
กลัวลูกน้อย ลูกหน้อย แม่นี่นา ..เออ.......สิกก็สิกจุ่งจาอี่หล้าแป้นกี่
เดือนสิบสี่ ก็จักขึ้นน้ำต๊อง               เดือนสิบสองจักขึ้นมะหม้วย
           
จ๊างเข้าห้วย อี่วอกกิ๋นแต๋ง นายเฮย...  

อกแมงแดงต๋ายกลั้นต๋ายอยาก
อี่วอกเกี้ยวหมาก อี่โหวดเลี้ยงควาย   ควายกูหายอี่ป้อกูด่า
เหล้นเข้าป่า เป๋นนกแต่นแหล้                       เหล้นเข้าแป๋เป๋นนกมะปู่
เหล้นเข้าปู่ หยุมหยาม นายเฮย...

หลับเต๊อะลูกสายใจ๋แม่จักไกว๋นายนอน อือ อื่อ อือ.

 

เพลงกล่อมเด็ก

                เพลงกล่อมเด็กหมายถึงเพลงที่ใช้ในการร้องขับกล่อม มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือให้เด็กหลับง่ายและหลับอย่างเป็นสุข ช่วยให้เด็กอบอุ่นใจว่าตนไม่ถูกทอดทิ้งในขณะนอนหลับ นับเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ตามหลักจิตวิทยา แสดงว่าคนโบราณมีความรู้ความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูลูกหลานของตนช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตดี และเจริญทั้งร่างกายและอารมณ์
            เนื้อร้องเพลงกล่อมเด็กช่วยให้ความรู้ในด้านภาษาแก่เด็กไปด้วยแม้จะยังเล็ก แต่เป็นระยะที่สมองเด็กเรียนรู้ทางภาษาได้อย่างวิเศษที่สุดกว่าช่วงอื่นๆ

            นับเป็น ผลพลอยได้แก่เด็กอย่างมหาศาลในการเรียนรู้ภาษาตลอดจนการอบรมสั่งสอนในด้านอื่นๆ ทั้งแก่เด็กและแก่ผู้ใหญ่ที่ได้ยินได้ฟัง เช่น ในด้านจริยธรรม  ค่านิยม ตลอดจนธรรมชาติศึกษาไปพร้อมกันด้วย

นอกจากนี้เพลงกล่อมเด็กยังช่วยสนองตอบอารมณ์ของผู้ร้องในการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันในชุมชนที่ตนอาศัย อยู่ เช่น อารมณ์รักทั้งที่มีต่อเด็ก ต่อเพศตรงข้าม ตลอดจนทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมและความคับข้องใจทางอารมณ์ของผู้ขับร้อง การพรรณนาความสวยงามตาม ธรรมชาติและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นๆไปโดยไม่รู้ตัว

ลักษณะทั่วไปของเพลงกล่อมเด็ก
เนื่องจากเพลงกล่อมเด็กไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นถ้อยคำที่ใช้จึงเป็นคำไท

พื้นบ้านและเนื้อร้องมักจะผิดเพี้ยนกันไป ทั้งนี้เพราะเกิดจากความจำของผู้ร้อง บางครั้งก็อาจดัดแปลงเนื้อร้องไปตามความสะดวกปากของตน บางครั้งแต่เติมเสริมต่อด้วยปฏิภาณของผู้ร้องและมีลักษณะติดต่อจากเพลงโน้นมาเพลงนี้เท่าที่จะคิดได้หรือจำได้ จึงไม่คงที่แน่นอน ทำให้เราไม่อาจจะยืนยันได้ว่าเพลงไหนถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
                ลักษณะเพลงกล่อมเด็กล้านนา
            เพลงกล่อมเด็กไม่ว่าจะเป็นของภาคไหนในประเทศไทยย่อมเหมือนกันในเรื่องต่อไปนี้คือ มีคำร้องสั้นๆ จำง่าย ใช้ภาษาท้องถิ่นนั้นๆ มีสัมผัสคล้องจองเป็นจังหวะ และมีท่วงทำนองช้าๆ เพลงกล่อมเด็กล้านนาไม่ว่าจะเป็นแห่งใด แม้จนกระทั่งถึงเขตสิบสองปันนา ปรากฎว่าล้วนแล้วแต่เป็นเพลงอื่อ  คือเพลงที่มีการฮัมเสียงในลำคำช้าๆ
               ใจความในเนื้อร้องเพลงกล่อมเด็กล้านนา
                                ๑. บทเพลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพรรณนาสภาพธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำห้วย และ

เนื้อร้องที่ประกอบด้วยความรู้ทางธรรมชาติศึกษา ได้แก่ ชื่อ ผัก  ผลไม้ ตลอดจนชื่อสัตว์ต่างๆ เช่น นก
                               ๒. บทเพลงที่เกี่ยวกับการพรรณนาถึงสภาพของชุมชนล้านนาโบราณ ทั้งทางเศรษฐกิจและ

สังคม เช่น กล่าวถึงการค้า การทำไร่ ทำนา
               ๓. บทเพลงที่พรรณนาถึงความรักความห่วงใยที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็ก ตลอดจนการปลอบโยน การให้รางวัล การขู่ให้กลัว
               ๔. บทเพลงที่กล่าวถึงวัฒนธรรม ประเพณี เช่น การเดินทางไปทำบุญตามปูชนียสถานที่สำคัญ และปริศนาธรรมในศาสนาพุทธ

สรุป
               เพลงกล่อมเด็กล้านนานับเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ที่มีส่วนรับใช้สังคมล้านนาอย่างแท้จริง ในทางสังคม เพลงกล่อมเด็กนับว่าเป็นประโยชน์  ในการให้ความรู้แก่เด็กในด้านเสียงของภาษาเป็นเบื้องต้น และความหมายของคำในภาษาถิ่นในระยะต่อไป ทั้งยังเป็นการสร้างความอบอุ่นใจแก่เด็กเล็กๆในแง่  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก นับได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าในหลายๆ ด้าน มีข้อมูลควรแก่การศึกษาร่วมกับวรรณกรรมแขนงอื่นๆ เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นอยู่   ทัศนคติ ความเชื่อในสมัยก่อนที่นับวันจะเสื่อมสูญหายไป

วรรณกรรมมุขปาฐะประเภทเพลงกล่อมเด็ก
                                                อื่อ  อื่อ  จา  จา    หลับสองตา
                                   
แม่ไปนานอกบ้าน             ไปเก็บบ่าส้าน
                                   
ใส่ซ้ามาแขวน                  ไปเก็บบ่าแหน
                                   
ใส่ซ้ามาต้อน                    น้องอย่าไห้อ้อน
                                   
แม่ไปไร่บ่มา                   หื้อน้องหลับสองตา
                                   
แม่นายมาค่อยตื่น              อื่อ  อื่อ  จา  จา

                                                สิกจุ้งจาโหง        สองคนพี่น้อง

                                     เวลาแดดร้อน                  ลมบ่ามาเชย

                                     แม่เลี้ยงเหย                     เราไปแอ่วไป้

                                    ไปล่องกองใต้                 ประตูท่าแพ

                                    เพิ่นขายแห                     ขายผืนแผ่นผ้า

                                    หมู่ชุมแม่ค้า                    ขายเมี้ยงขายพลู

                                    พร่องขายแคบหมู             เป็นแคบหมูฮ่อ

                                    ชาวบ้านท่งท้อ                ขายปลาสวาย

                                    ลำจะตาย                       แกงปลาใส่ส้ม

                                    เข้าหนมเข้าต้ม                  ปาละปัญชี

                                    อันใดก็มี                       ดีแล้วแอ่วกาด

 

๑๑ กาสะลอง(3.04) คำร้อง มาลา คำจันทร์/ทำนอง โดย อัจฉริยะ สุภาวสิทธิ์ เป็นคำเตือนให้หญิงสาวชาวล้านนาว่าอย่าปล่อยตัวปล่อยใจ ให้ดูจากดอกกาสะลองที่ขึ้นเฉพาะดอยสูงหายากมีคุณค่ายากนักที่จะปีนป่ายไปถึง ไม่ใช่ดอกปีบซึ่งมีทั่วไปหางายไร้ค่ารอร่วงหล่นลงดินอย่างไร้ค่า

ปีบ

 

 

 

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-20 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอกกว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม.ขอบใบหยักห่างๆ ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดยาวปลายแยกเป็น 5 แฉก ตัวดอกห้อยลง โดยดอกจะเริ่มบานในช่วงเย็นและส่งกลิ่นหอมแรงช่วงกลางคืน พอเช้าดอกจะร่วงเกลื่อนใต้โคนต้น ฤดูดอก คือช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีกก็จะบินไปร่วงหล่นที่อื่น เพื่องอกเป็นต้นใหม่ต่อไป

สี                      สีขาว

ชื่อ                    กาสะลอง(ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ             ปีบ (Indian Cork)

ชื่อท้องถิ่น              ดอกกลาง, ก้านของ (ภาษาอีสาน)       

ถิ่นกำเนิด                        อินเดีย

ลักษณะเฉพาะ        ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตรเปลือกขรุขระสีเทา เนื้อหยุ่น กาสะลองประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ใบย่อยรูปไข่แกมรูปหอก ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ตั้งตรงยาว 6 เซนติเมตรหลอดแยกเป็น 5 กลีบ ดอกบานและมีกลิ่นหอมตอนเย็นถึงกลางคืน ผลเป็นฝักแบน ฝักแก่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก มีปีก ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

คุณค่า– ประโยชน์เป็นสมุนไพรพื้นบ้านสามารถนำมาตากแห้งแล้วม้วนยาสูบแก้ริดสีดวง

                                จมูก แก้เบื่อหอย ฝักอ่อนและใบนำมาต้มรับประทานเป็นเครื่องเคียง

วิธีการใช้             "เป็นดอกไม้ สำหรับ ประดับฝัน "

 

ประโยชน์ใช้สอยปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีใบ และดอกสวย โดยนิยมปลูกไว้ตามทางเข้าบ้าน หรือตามมุมบ้าน ดอกให้กลิ่นหอม ชื่นใจดีคนสมัยโบราณนิยมเก็บดอกปีบมามวนผสมบุหรี่ นัยว่า ให้รสชาติหอมชื่นใจแต่ตามตำราสมุนไพร พื้นบ้านบอกว่า ดอกปีบมีฤทธิ์รักษาโรคหอบ หืดโดยให้มวนเป็นบุหรี่สูบ ใครที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่ ลองเก็บ ดอกปีบ มาใส่ขวดเล็กๆ (ขวดซุปไก่สกัดกำลังพอดี) วางประดับตามบ้าน เพราะจากการวิจัยพบว่าสารระเหยในดอกปีบมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้และดีกว่าตัวยาที่ใช้ในยาแผนปัจจุบันบางตัวเสียอีก

 

๑๒ เชียงรายรำลึก(3.16) คำร้อง/ทำนอง โกวิทย์ เกิดศิริ เดิมเพลงนี้ขับร้องโดย สุริยัน บุญยศ และบันทึกเสียงไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นเพลงที่มีความหมายถึงความรักที่ผลัดพรากประวัติของ โกวิทย์  เกิดศิริ เป็นชาวอยุธยา เกิดเมื่อว้นที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นนักเรียนรุ่นเดียวกับคุณ ฌรงค์  กิตติขจรและ คุณ ประจวบ  ฤกษ์ยามดี

ที่โรงเรียนวัฒนศิลปวิทยาลัย เรียนจบที่โรงเรียนจ่าอากาศ อีกทั้งเป็นคนที่ชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็กและคุณพ่อซึ่งเป็นนักดนตรีไทยและที่บ้านมีวงมโหรี ทำให้ชื่นชอบเสียงเพลงมาตั้งแต่เด็ก  ต่อมาจบจากโรงเรียนจ่าอากาศก็ใช้วิชาดนตรีที่รำเรียนมาเล่นแซ็กโซโฟนเป็นเครื่องทำมาหากิน เพลงเชียงรายรำลึก เป็นเพลที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คุณโกวิทย์อย่างมากมีนักร้องหลายท่านนำเพลงนี้ไปขับร้อง

 

เมื่อคราวเป็นแผ่นเสียงใช้ ชื่อ ชุด กุหลาบล้านนา “ตรับแ

 

 

ซีดี ตำนานสุนทรี ๔

ซีดี แผ่นนี้แระกอบด้วย เพลง ๑๐ เพลง

๑ กุหลาบเวียงพิงค์  คำร้อง/ทำนอง โดย ครู มงคล อมาตยกุล คุณ วงจันทร์ ไพโรจน์ ได้เคยขับร้องไว้    แต่ในชุดนี้ คุณ สุนทรีย์ ได้ขับร้องในสำเนียงของคนเหนือทำให้ได้รับอรรถรสที่แตกต่างไปอีกอย่าง เริ่มต้นของการบรรเลงเครื่องดนตรีก่อนถึงบทร้องที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองมาประกอบ เสียงเครื่องดนตรีพื้นเมืองประโคมออกมาก็ให้บรรยากาศที่แสดงถึงวัฒนธรรมดนตรีของชาวล้านนาและด้วยสำเนียงของผู้ขับร้องทำให้บทเพลงไพเราะมากขึ้น

 

๒ น้ำใจสาวเหนือคำร้อง/ทำนองโดย  นาวาตรี พยงค์  มุกดา รน. (ศิลปินแห่งชาติ) เพลงนี้นำทำนองบางส่วนมาจากทำนองเพลงไทยเดิมที่ชื่อว่า “พม่าเขว” หรือที่ได้ยินกันบ่อยๆคือ เพลง “ช้าง ช้าง ช้าง”เพลงนี้อ้างถึงตัวละครตัวเอกในเรื่อง “สาวเครือฟ้า” เป็นบทละครที่ดัดแปลงมาจาก ละครเรื่อง Madam Butterfly ดัดแปลงโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ เป็นนิยายรักที่จบลงด้วยความเศร้า

 

๓ มนต์เมืองเหนือคำร้อง/ทำนอง โดย ครู ไพบูลย์  บุตรขัน ที่เคยมีผู้ขับร้องไว้เช่น คุณ ทูล ทองใจ หรือ คุณ สมยศ  ทัศนพันธ์  จักรพรรณ์  อาบครบุรี เสรี  รุ่งสว่าง ถนอม  สามโทน อุเทน  พรหมินทร์ ลองฟังด้วยน้ำเสียงของสุภาพสตรีที่เป็นชาวเหนือแท้ๆที่ ขับร้องบทเพลงเชิญชวนให้ชาวต่างถิ่นให้ไปชมความงามของดินแดนล้านนา บทเพลงนี้บรรยายจนเห็นภาพความงามของดินแดนแห่งคอกเอื้อง ภูเขาสูง น้ำตกอากาศที่เย็นสบาย หญิงชายที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไมตรี

๔ เอื้องแซะ

            คำร้อง     ปริญญา  ตั้งคระกูล

                ทำนอง    ปริญญา  ตั้งคระกูล

 

๕ ข้ามฟ้าแกนดอย

            คำร้อง     ปริญญา  ตั้งคระกูล

                ทำนอง    ปริญญา  ตั้งคระกูล

๖ แม่สอดสะอื้นคำร้อง/ทำนองโดย  นาวาตรี พยงค์ มุกดา รน. (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้ขับร้องท่านแรกคือ คุณ รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ในเพลงนี้ใช้ ฟลุค(Flute) บรรเลงนำให้บรรยากาศดั่งเรามองสายน้ำไหลผ่านโตรกเขาอยู่เบื้องล่าง ด้วยน้ำเสียงปนเศร้าของผู้ขับร้องที่สอดแทรกอารมณ์ได้ยอดเยี่ยม  ทำให้เรารู้สึกคล้อยตามความเศร้าไปด้วย

 

๗ นิราศเวียงพิงค์คำร้อง/ทำนอง โดย สิทธิ โมระกรานต์  เพลงนี้เคยขับร้องโดย ทูล ทองใจ บทเพลงกล่าวถึงผู้ที่เคยไปเยือนนครแห่งนี้แล้วหลงรักมนต์เสน่ห์แห่งดินแดนนี้ ถึงแม้ต้องจากไปแต่ก็จะกลับมาชื่นชมความงามที่มิอาจลืมเลือนไปจากใจของดินแดนนี้

 

๘ กล้วยไม้คำร้อง/ทำนอง โดย พรานบูรณ์(จวงจันทร์ จันทร์คณา) เดิมเพลงนี้ชื่อ กล้วยไม้ลืมดอย เพลงนี้ พรานบูรณ์ แต่งไว้ให้ผู้ชายขับร้องตัดพ้อต่อว่าหญิงสาวชาวชนบทที่มาหลงเมืองกรุง คุณ อารีย์ นักดนตรี เคยบันทึกเสียงไว้เป็นท่านแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘  ในแผ่นเสียงตราโทรทัศน์ ช่อง ๔ คุณ สุนทรีย์  ขับร้องเพลงนี้ก็เพราะไปอีกแบบ

 

๙ ไผ่หามาเจอ

            คำร้อง     ปริญญา  ตั้งคระกูล

                ทำนอง    ปริญญา  ตั้งคระกูล

 

๑๐ ลูกป้อจาย

            คำร้อง     ปริญญา  ตั้งคระกูล

                ทำนอง    ปริญญา  ตั้งคระกูล

SV หมายถึง

บางท่านคงจะคุ้นเคยกับอัษรย่อ KV อักษรย่อตัวนี้มาจาก Köchelverzeichnisหรือ  Köchel catalogue คือระบบการจัดผลงานการประพันธ์ของโมทซาร์ทโดยใช้แนวทำนองเป็นหลักเชื่อว่าเรียงลำดับผลงานตามลำดับที่โมทซาร์ทประพันธ์ซึ่งจัดรวบรวมโดย Ludwig Alois Friedrich Ritter von Köchel เคอเชิล, ลุดวิก (อาลอยส์ แฟร์ดินันด์) ฟอน (14 ม.ค. 1800 สไตน์ ใกล้เครมส์ ออสเตรีย - 3 มิ.ย. 1877 เวียนนา)นักปราชญ์และนักวิชาการดนตรีวิทยาชาวออสเตรียหลังจากได้รับปริญญาทางกฎหมาย เขาสอนพิเศษให้นักเรียนลูกเศรษฐี ใช้ชีวิตเดินทางและทำหนังสือวิจัยหลายด้าน ทั้งพฤกษศาสตร์ แร่ธาตุวิทยา และการดนตรีเขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดจากผลงานจัดหมวดหมู่บทเพลงของโมซาร์ท (ซึ่งปัจจุบันก็ยังเรียกอ้างอิงด้วยอักษรย่อ "เค" ตามด้วยหมายเลขลำดับผลงาน) ในค.ศ. 1862 ซึ่งเป็นงานวิชาการดนตรีชิ้นสำคัญนอกจากนี้เขายังเป็นบรรณาธิการแก้ไขเรียบเรียงจดหมายของลุดวิก ฟาน เบโทเฟนด้วย (Ludwig van Beethoven)

แต่สำหรับวันนี้ ชวพันธ์ได้รับการบอกเล่าเรื่องอักษรย่ออีก ชุด คือ SV และ SVนี้มิใช่ Saksiri verzeichnis หรือ Saksiri catalogueหรือศักดิ์ศิริ (ปะโสทะกัง) คาตาล็อก ที่เป็นนักสะสมงานของอาจารย์ ดนู  ฮันตระกูลซึ่งคุณศักดิ์ศิริท่านนี้ ได้นำผลงานของอาจารย์ดนู ไปผลิตเป็นแผ่นเสียงและซีดี อาทิเช่น ชุดเมื่อดอกซากุระบาน

 

ในภาพ จากซ้าย คุณดารณี ฮันตระกูล,คุณ สุภัทรา  อินทรภักดี  โกราษฎร์, อาจารย์ดนู  ฮันตระกูล

และ คุณศักดิ์ศิริ ปะโสทะกัง(joeposter)

 

แผ่นเสียงและซีดีที่ผลิตจากประเทศเยอรมันนี

 

 

ในภาพซีดีที่ผลิตจากเยอรมันนี้บน และซีดีที่ผลิตจากบริษัทสองสมิต ประเทศไทย ล่าง

วันนี้ผมได้ไปถามผู้รู้ในเรื่องแผ่นซีดีที่  ทราบกันในชื่อซีดีสะสม

ขอเริ่มการบูรณาการซีดีสะสมนั้นคุณค่าของซีดีประเภทนี้เขาใช้ตัวย่อ SV ในการบอกถึงคุณค่าโดยวัดกันที่ช่องห่าง (gap) ระหว่างราคาที่หน้าปกซีดีกับราคาที่ซื้อขายกัน ท่านสมีเจี๊ยบที่ได้แหม่มแก่เป็นเมีย ภาษาฝรั่งมังค่าของท่านสมีเจี๊ยบนั้นไม่เป็นรองใคร ท่านบอกผมว่า ตัวย่อ SVนี้ย่อมาจากStupid value ออกเสียงวาสมาร์ทแวลู่หรือแปลเป็นไทยว่า มูลค่าแห่งภาคภูมิซึ่ง

S          ย่อมาจาก                        stupid              sucker                         sehr dumm     Jadd Ngau

                                    อังกฤษ                   อเมริกัน                  เยอรมัน                  ภาษาสวาฮิรี

ออกเสียงว่า            สมาร์ท                    ซักเกอร์                   แซดุมม์                   จ๊าดง่าว

                ความหมายคือ        ความภาคภูมิ  หรือ ฉลาดล้ำ

 

V         ย่อมาจาก                        value                                       (der)Wert

ออกเสียงว่า            แวลู่                                                         แวดท์

                ความหมายคือ        มูลค่า                                                      

 

            วิธีเล่นซีดีสะสมนี้ก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยาก  อธิบายครั้งเดียวก็สามารถเข้าสู่วงการได้

                โดยเมื่อมีข่าวว่ามีซีดีใหม่ออกมา  เอาง่ายง่าย เช่น เมื่อดอกซากุระบายที่ผลิตจากเยอรมันมาจากโรงงาน  P+O จำหน่าย จงเมินเสีย จากนั้นจงรอให้สินค้าหมดลง ช่วงเวลาแห่งการสะสมได้เริ่มต้นแล้วครับ ใจเราต้องเย็นรอให้ราคาหน้าปกซีดีกับราคาคาขายบน Internet มีช่องว่างห่างมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เช่น หน้าปกซีดีเขียนราคาไว้ว่า ราคาแผ่นละ ๔๕๐ บาทแต่ราคาคาขายบน Internet๒,๐๐๐ บาท มูลค่า SVก็นับว่าน่าพอใจยิ่งราคายิ่งห่างมาก คุณค่า SVจะยิ่งสูงครับ

หรืออีกแบบเช่น ซีดี

 ซีดีPortrait of Siam Volume III ราคา๑๕๐ บาท

หาซื้อได้ที่ กรมศิลปากร

ติดต่อ คุณ ชนินทร์วดี  ชมภูทิพย์ กอส.

Email chaween_fineart@hotmail.com;

โทร 02 2241371(เวลาราชการ)

ซีดีชุดนี้เป็นอัลบั้มคู่  บันทึกเสียงดีมากเฉลี่ยแผ่นละ ๗๕ บาท มี Booklet อยู่ข้างใน 

ท่านผู้อ่านครับ  อย่าครับ!อย่าไปซื้อที่กรมศิลป์เชียวนะครับ  เพราะจะไม่ก่อเกิดค่า SV 

ที่สันปกของซีดีแผ่นนี้ได้เขียนราคาค่างวดของซีดีชุดนี้ว่าราคา ๑๕๐ บาท  แต่มีผู้ที่ปราถนาดีต้องการเพิ่มค่า SVให้ท่านโดยใช้คัตเตอร์ตัดฟิลม์ที่ห่อแผ่นแล้วนำเสีเมจิดสีดำเขียนทับราคาที่พิมพ์ไว้ แล้วนำมาขึ้นขายบน Internetซึ่งราคาเริ่มต้นก็จะประมาณ ๘๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ บาท

 ย้ำ! นะครับว่า จงอย่าไปซื้อที่กรมศิลปากร เพราะจะไม่ทำให้เกิดค่า SVหรือ“มูลค่าแห่งภาคภูมิ”

และไม่ก่อให้เกิดการนับหน้าถือตานั้น(Count Face handle eye)

                ท่านใดมีแผ่นที่มีค่า สูงสูงชวพันธ์ขอเชิญท่านแบ่งปันมาให้ชมด้วยนะครับ

 

ขอบคุณครับ

ชวพันธ์

 

Ludwig Alois Friedrich Ritter von Köchel

ตัวอักษร K ซึ่งต่อท้ายด้วยตัวเลข มาจากอักษรย่อของ Ludwig Von Kochel (ค.ศ.1800-1877) ซึ่งเป็นคนวิจัยและรวมรวมงานที่ไม่มี Opus Number ของโมสาร์ทโดยจัดลำดับหมายเลขเอาไว้จำนวนหนึ่ง โดยเรียกว่า Kochel Numeration

 

คาตาล็อกเคอเชล(Köchel catalogue)

ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมซาร์ท และเป็นลุดวิก ฟอน เคอเชล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคอเชลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น"เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงคาตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน

เพลงสวด

·         Grande messe en ut mineurKV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ

·         Krönungsmesse (พิธีมิซซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeurKV.317 (1779)

·         Requiem en ré mineurKV.626 (1791, เวียนนา), แต่งไม่จบ

·         Veni sancte spiritusKV.47

·         Waisenhaus-MesseKV.139

·         Ave verum corpusKV.618

อุปรากร

·         Die Schuldigkeit des ersten Gebotes(ความผูกมัดของบัญญัติข้อที่หนึ่ง,KV 35, 1767, ซัลสบูร์ก)

·         Apollo et Hyacinthus(อพอลโลและไฮยาซินท์, KV 38, 1767,ซัลสบูร์ก)

·         Bastien und Bastienne(บาสเตียนและบาสเตียนเน่, KV 50, 1768,เบอร์ลิน)

·         La finta semplice(ผู้โง่เขลาจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)

·         Mitridate, re di Ponto(ไมทริตาตี ราชาแห่งปอนตุส, KV 87, 1770,มิลาน)

·         Ascanio in Alba(อัสคานิโอในอัลบา, KV 111, 1771, มิลาน)

·         Il sogno di Scipione(ฝันของสคิปิโอเน่, KV 126, 1772, ซัลสบูร์ก)

·         Lucio Silla(ลูชิโอ ซิลล่า, KV 135, 1772, มิลาน)

·         La finta giardiniera(คนสวนจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)

·         Il re pastore(ราชาแห่งท้องทุ่ง, KV 208, 1775, ซัลสบูร์ก)

·         Thamos, König in Ägypten(ธามอส ราชาแห่งอียิปต์, KV 345, 1776,ซัลสบูร์ก)

·         Zaide(ไซเดอ, KV 344, แต่งไม่จบ)

·         Idomeneo(อิโดเมเนโอ ราชาแห่งครีต, KV 366, 1781, มิวนิก)

·         Die Entführung aus dem Serail(การลักพาตัวจากฮาเร็ม, KV 384, 1782,เวียนนา)

·         L'oca del Cairo(ห่านแห่งไคโร, KV 422, แต่งไม่จบ)

·         Lo sposo deluso(บ่าวผู้ถูกลวง, KV 430, แต่งไม่จบ)

·         Der Schauspieldirektor(ผู้กำกับการแสดง, KV 486, 1786, เวียนนา)

·         Le nozze di Figaro(งานแต่งงานของฟิกาโร,KV 492, 1786, เวียนนา)

·         Don Giovanni(ดอน โจวานนี, KV 527, 1787, ปราก)

·         Così fan tutte(โคสิ ฟาน ตุตเต้, KV 588, 1790, เวียนนา)

·         La Clemenza di Tito(ความเมตตาของติโต,KV 621, 1791, ปราก)

·         Die Zauberflöte(ขลุ่ยวิเศษ,KV 620, 1791, เวียนนา)

ซิมโฟนี

·         Symphonie en fa majeurKV.75

·         Symphonie en fa majeurKV.76

·         Symphonie en fa majeurKV.Anh.223

·         Symphonie en ré majeurKV.81

·         Symphonie en ré majeurKV.95

·         Symphonie en ré majeurKV.97

·         Symphonie en si bémol majeurKV.Anh.214

·         Symphonie en si bémol majeurKV.Anh.216

·         Symphonie en sol majeur «Old Lambach»(2e édition) KV.Anh.221

·         Symphonie en ut majeurKV.96

·         Symphonie No 1 en mi b majeurKV.16 (1764-1765)

·         Symphonie No 4 en ré majeurKV.19

·         Symphonie No 5 en si bémol majeurKV.22

·         Symphonie No 6 en fa majeurKV.43

·         Symphonie No 7 en ré majeurKV.45

·         Symphonie No 8 en ré majeurKV.48

·         Symphonie No 9 en ut majeurKV.73

·         Symphonie No 10 en sol majeurKV.74

·         Symphonie No 11 en ré majeurKV.84

·         Symphonie No 12 en sol majeurKV.110

·         Symphonie No 13 en fa majeurKV.112

·         Symphonie No 14 en la majeurKV.114

·         Symphonie No 15 en sol majeurKV.124

·         Symphonie No 16 en ut majeurKV.128

·         Symphonie No 17 en sol majeurKV.129

·         Symphonie No 18 en fa majeurKV.130 (1772)

·         Symphonie No 19 en mi bémol majeurKV.132

·         Symphonie No 20 en ré majeurKV.133

·         Symphonie No 21 en la majeurKV.134 (1772)

·         Symphonie No 22 en do majeurKV.162 (1773)

·         Symphonie No 23 en ré majeurKV.181

·         Symphonie No 24 en si bémol majeurKV.182

·         Symphonie No 25 en sol mineurKV.183 (1773, Salzbourg)

·         Symphonie No 26 en mi bémol majeurKV.184

·         Symphonie No 27 en sol majeurKV.199

·         Symphonie No 28 en ut majeurKV.200

·         Symphonie No 29 en la majeurKV.201 (1774)

·         Symphonie No 30 en ré majeurKV.202

·         Symphonie No 31 en ré majeur «Paris»KV.297

·         Symphonie No 32 en sol majeurKV.318

·         Symphonie No 33 en ré bémol majeurKV.319

·         Symphonie No 34 en ut majeurKV.338

·         Symphonie No 35 en ré majeur «Haffner»KV.385 (1782)

·         Symphonie No 36 en ut majeur «Linz»KV.425

·         Symphonie No 38 en ré majeur «Prague»KV.504 (1786, Vienne)

·         Symphonie No 39 en mi bémol majeurKV.543 (1788, Vienne)

·         Symphonie No 40 en sol mineurKV.550 (1788, Vienne)

·         Symphonie No 41 en do majeur «Jupiter»KV.551 (1788,Vienne)

คอนแชร์โต้

·         Concertospour flûte N°1 et 2 KV. 313 et 314 (1778, Mannheim)

·         Concerto pour flûte et harpe en do majeurKV.299 (1778, Paris)

·         Concerto pour cor No 1 en réKV.412 (1782)

·         Concerto pour cor No 2 en mi dièseKV.417 (1783)

·         Concerto pour cor No 3 en mi bémolKV.447 (1783-1787)

·         Concerto pour clarinette en la majeurKV.622 (1791, Vienne)

·         Concerto pour basson en si bémolKV.191 (1774)

·         Concerto pour violon et orchestre No 1 en si bémol majeurKV.207

·         Concerto pour violon et orchestre No 3 en sol majeurKV.216

·         Concerto pour violon et orchestre No 5 en la majeurKV.219

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 1 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์KV 37

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 2 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์KV 39

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 3 บันไดเสียง ดี เมเจอร์KV 40

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 4 บันไดเสียง จี เมเจอร์KV 41

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 5 บันไดเสียง ดี เมเจอร์KV 175

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 6 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์KV 238

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนสามตัวและวงออเคสตร้า หมายเลข 7 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์KV 242

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 8 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Lützow)KV 246

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 9 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ (Jeunehomme)KV 271

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนสองตัวและวงออเคสตร้า หมายเลข 10 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์KV 365

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 11 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์KV 413

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 12 บันไดเสียง เอ เมเจอร์KV 414

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 13 บันไดเสียง ซี เมเจอร์KV 415

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 14 บันไดเสียง อี เมเจอร์KV 449

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 15 บันไดเสียง บี เมเจอร์KV 450

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 16 บันไดเสียง ดี เมเจอร์KV 451

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 17 บันไดเสียง จี เมเจอร์KV 453

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 18 บันไดเสียง บี เมเจอร์KV 456

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 19 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์KV 459

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 20 บันไดเสียง ดี ไมเนอร์KV 466

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 21 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Elvira Madigan)KV 467

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 22 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์KV 482

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 23 บันไดเสียง เอ เมเจอร์KV 488

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 24 บันไดเสียง ซี ไมเนอร์KV 491

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 25 บันไดเสียง ซี เมเจอร์KV 503

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 26 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ (Coronation)KV 537

·         คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 27 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์KV 595

แชมเบอร์มิวสิก

·         Sonate pour piano en la mineurKV.310 (1778, Paris)

·         Sonate pour piano en la majeur «Alla turca»KV.331 (1781-83, Munichou Vienne),สื่อ:RondoAllaTurca.mid

·         Sonate pour piano, KV. 545,สื่อ:Kv545-allegro.mid

·         Sonate pour violon et piano en ut majeurKV.296

·         Quatuors dédiés à Haydn :

o    Quatuor en sol majeurKV.387 (1782, Vienne)

o    Quatuor en ré mineurKV.421 (1783, Vienne)

o    Quatuor en mi bémol majeurKV.428 (1783, Vienne)

o    Quatuor en si bémol majeur «la chasse»KV.458 (1784, Vienne)

o    Quatuor en la majeurKV.464 (1785, Vienne)

o    Quatuor en do majeur «les dissonances»KV.465 (1785,Vienne)

·         Quatuorsavec piano :

o    Quatuor avec piano n°1 en sol mineurKV.478 (1785)

o    Quatuor avec piano n°2 en mi bémol majeurKV.493 (1786)

·         Trio «Les Quilles» en mi bémol majeur pour piano, clarinette, etviolonKV.498 (1786, Vienne)

·         Quintette avec clarinette en la majeurKV.581 (1789, Vienne)

·         Sérénade :Une petite musique de nuitKV.525 (1787, Vienne)

 

Dictionary เล่มนี้ซื้อจากยายอ้อยคนขายหนังสือเก่าหน้าบ้านมาในราคา ๒๐ บาท

 

ดนตรีวิทยา (musicology)

การศึกษาดนตรีเชิงวิชาการโดยศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ผู้สนใจศึกษาเรื่องนี้ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อกับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือผู้ศึกษาด้วยใจรัก เช่น ลุดวิก ฟอน เคอเชิล (Ludwig von Köchel) ต่อมาเมื่อความสนใจในดนตรียุคต้นทวีขึ้นจึงเกิดความต้องการผู้รู้และทำงานด้านนี้โดยตรงคือสามารถแปลความหมายและประเมินคุณค่าโน้ตต้นฉบับ ตลอดจนเอกสารทางประวัติศาสตร์ต่างๆได้ ผลงานยอดเยี่ยมชิ้นแรกของวิชาดนตรีวิทยาคือการรวมพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์ครั้งแรกของโยฮันน์ เซบัสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) อาจสรุปได้ว่าวิชาดนตรีวิทยาครอบคลุมการศึกษาประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ต่างๆ ในดนตรีอันได้แก่ 1) รูปแบบดนตรีและสัญกรณ์ 2) ชีวประวัติ 3) พัฒนาการของเครื่องดนตรี 4) ทฤษฎีดนตรี (การประสานเสียง ทำนองเพลง โมด ฯลฯ) และ 5) สุนทรียศาสตร์ อุโฆษวิทยา และสรีรศาสตร์ของเสียง หู และมือในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ทฤษฎีดนตรีได้กลายเป็นวิชาพิเศษแยกไปศึกษาต่างหาก

ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (Ethnomusicology)

การศึกษาวิชาการดนตรีในแง่ของวัฒนธรรมใช้วิธีการทางมานุษยวิทยา (เดิมเรียก "ดนตรีวิทยาเปรียบเทียบ")มักมุ่งเน้นดนตรีที่ไม่ใช่ของตะวันตก โดยเฉพาะเน้นดนตรีตามประเพณีมุขปาฐะมีต้นตอมาจากผลงานค้นคว้าเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เช่นฟรองซัว-โชแซฟ เฟตีส (1784-1871) และคาร์ลชตุมพฟ์ (1848-1936) งานส่วนใหญ่มีแรงจูงใจจากการค้นคว้าหาสากลลักษณ์ของดนตรีโดยมีสมมติฐานว่าเราสามารถศึกษาวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ได้จากการวิจัย วัฒนธรรม "ดั้งเดิม" ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันความตระหนักว่าสังคมวัฒนธรรมดั้งเดิมมักสาบสูญไปพร้อมกับการรุกคืบของโลก สมัยใหม่ไม่ช้าจึงทำให้นักศึกษาดนตรีชาติพันธุ์วิทยามุ่งเก็บรวบรวม (โดยบันทึกเสียงภาคสนามการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบันทึกเสียง) และคัดลอก (โดยใช้เครื่องคำนวณเสียงโน้ตที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่) ดนตรีเอาไว้เป็นสำคัญและแม้จะมีการเสนอแผนแบ่งประเภทขึ้นมาหลายแผนเพื่อวิเคราะห์ดนตรีสายต่างๆในเชิงเปรียบเทียบ แต่โดยมากแล้วก็ยังคงมุ่งเน้นกันที่ความหลากหลาย

เสียง(sound)

การรบกวนเชิงกลซึ่งแผ่กระจายออกไปในลักษณะคลื่นตามยาวผ่านของแข็งของเหลว หรือแก๊ส คลื่นเสียง (wave) เกิดจากวัตถุที่กำลังสั่นการสั่นทำให้เกิดส่วนอัด (บริเวณที่มีอนุภาคหนาแน่น) และส่วนขยาย (บริเวณที่อนุภาคเบาบาง) ของตัวกลางอนุภาคจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมาในทิศทางการแผ่กระจายของคลื่นอัตราเร็วของเสียงผ่านตัวกลางขึ้นกับความยืดหยุ่น (elasticity) ความหนาแน่น (density) และอุณหภูมิ (temperature) ของตัวกลาง สำหรับอากาศแห้งที่ 0°ซ. (32° ฟ.)อัตราเร็วของเสียงเท่ากับ 331 เมตร (1,086 ฟุต) ต่อวินาที ความถี่ (frequency) ของคลื่นเสียงซึ่งหูรับรู้ว่าเป็นความสูงต่ำของเสียง (pitch) คือจำนวนส่วนอัด (หรือส่วนขยาย) ซึ่งผ่านจุดตรึงจุดหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาความถี่ของเสียงที่หูมนุษย์ได้ยินอยู่ในช่วง 20 เฮิรตซ์ ถึง 20 กิโลเฮิรตซ์โดยประมาณความเข้มของเสียงคือค่าเฉลี่ยของพลังงานที่เคลื่อนผ่านบริเวณของตัวกลางที่กำหนดในหนึ่งหน่วยเวลา และมีความสัมพันธ์กับระดับความดัง (ศึกษาเพื่อเรื่อง ear, hearing, ultrasonic)

ระดับเสียง(pitch)

ตำแหน่งของเสียงใดเสียงหนึ่งในช่วงเสียงทั้งหมดระดับเสียงแตกต่างกันตามความถี่ของการสั่นสะเทือนต่อวินาที (หน่วยเป็นเฮิรตซ์อักษรย่อคือ Hz) ของวัสดุให้เสียงเรารับรู้ความแตกต่างนี้ว่าเป็นเสียงสูงหรือเสียงต่ำหากระดับเสียงสูงขึ้นจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือนก็จะมากขึ้นเป็นเวลานานมาแล้วที่ดนตรีตะวันตกตั้งมาตรฐานของระดับเสียงต่างๆเพื่อความสะดวกในการปรับเสียงแต่มีระดับเสียงหลายแบบหลายมาตรฐานจนเกิดความสับสนมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระดับเสียงเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำเป็นต้องหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างชาติต่างๆเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องนี้ ครั้นในค.ศ. 1939 จึงมีการกำหนดมาตรฐานให้โน้ตเอเหนือโน้ตซีกลางมีความถี่ที่ 440 เฮิรตซ์

การปรับเสียงและระบบการปรับชุดเสียง (tuning and temperament)

ในดนตรีหมายถึงการปรับเสียงจากแหล่งใดก็ตาม เช่น เสียงขับร้องหรือเสียงจากสายเพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ โดยสัมพันธ์กับอีกเสียงหนึ่งตามที่กำหนดไว้รวมทั้งการดัดแต่งการปรับเสียงดังกล่าว เพื่อลดเสียงกร้าวที่ไม่พึงประสงค์การปรับเสียงทำให้เสียงแต่ละคู่ฟังออกมาดีส่วนระบบการปรับชุดเสียงเป็นการเกลี่ยปรับให้เสียงทุกคู่ฟังโดยรวมออกมาดีสายสองสายที่สั่นจะให้เสียงดีที่สุดได้หากสัดส่วนความยาวสั้นของสายเป็นตัวเลขจำนวนเต็มและเลขน้อย เช่นหากสายสองสายสั่นในสัดส่วน 2:1 ความถี่การสั่นจะพ้องและสนับสนุนกันแต่ถ้าสั่นในสัดส่วน 197:100 (ใกล้เคียงกับ 2:1มาก)มันจะตัดทอนกันสามครั้งในหนึ่งวินาที ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "การเหลื่อมเพี้ยน" (หรือทับศัพท์ว่า บีตส์) ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดเสียงเพี้ยนและในเมื่อเสียงที่เกิดจากสัดส่วนหนึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับเสียงเดียวกันที่เกิดจากสัดส่วนอื่นอย่างซ้ำๆจึงต้องมีการประนีประนอมโดยดัดแต่งคู่เสียง (interval) เฉพาะบางคู่เล็กน้อยเพื่อให้เสียงอื่นๆ ฟังถูกต้องหรือไม่ก็ต้องยอมปรับให้คู่เสียงทุกคู่เพี้ยนเสียงไปเล็กน้อยทั้งหมด ก่อนค.ศ. 1700 มีการใช้ระบบปรับเสียงหลายระบบ ซึ่งอิงการดัดแต่งแบบแรก รวมทั้งระบบ "จัสต์อินโทเนชัน"แต่หลังจากค.ศ. 1700 ก็เปลี่ยนมาใช้ "ระบบการปรับเสียงแบบเท่า"ซึ่งโน้ตแต่ละคู่ที่อยู่ติดกันมีสัดส่วนเท่ากันทั้งหมด

กุญแจเสียง(key)

ในดนตรีหมายถึงระบบของเสียง ( pitch) และเสียงประสาน ( harmony) ที่เกิดจากบันไดเสียงของโน้ตเจ็ดตัว ที่มีโน้ต (ตัวใด) ตัวหนึ่งสำคัญกว่าตัวอื่นๆกุญแจเสียงเป็นองค์ประกอบหลักของดนตรีระบบอิงกุญแจเสียง ( tonality) และพัฒนามาจากดนตรีอิงโมด ( church mode ) เมื่อเพลงบทหนึ่งอยู่ "ในกุญแจเสียงซี"โน้ตตัวซีก็คือ ตัวโทนิก หรือโน้ตศูนย์กลางของระบบ ดนตรีตะวันตกตั้งแต่ราวค.ศ. 1600 ส่วนใหญ่แต่งขึ้นในกุญแจเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์บันไดเสียงเมเจอร์ประกอบด้วยรูปแบบของคู่เสียง ( interval) คือเสียงเต็ม-เสียงเต็ม-ครึ่งเสียง-เสียงเต็ม-เสียงเต็ม-เสียงเต็ม-ครึ่งเสียงส่วนบันไดเสียงไมเนอร์ต่างออกไป โดยเริ่มด้วยรูปแบบเสียงเต็ม-ครึ่งเสียง-เสียงเต็มทำให้เกิดคู่สามไมเนอร์ แทนที่จะเป็นคู่สามเมเจอร์เหนือโน้ตตัวโทนิก

โมด(กลุ่มเสียง/mode)

ในวิชาดนตรี โมดคือ วิธีต่างๆที่คิดกันขึ้นมาเพื่อใช้จัดประเภทให้บันไดเสียง (scale) และทำนองสำหรับดนตรีตะวันตก คำนี้จะใช้กับดนตรีศาสนา (church mode) ในยุคกลางเท่านั้น คีย์ (key) ในดนตรีโทนัล(ดนตรีที่มีบันไดเสียง)โดยปรกติถือว่าอยู่ในโมดเมเจอร์หรือไมเนอร์ ขึ้นอยู่กับโน้ตตัวที่สามในบันไดเสียงส่วนรากา (raga) ของอินเดียก็คือโมดเช่นกันโมดอาจมีความหมายเป็นมากกว่าวิธีจัดประเภทของบันไดเสียงต่างๆ เท่านั้นโมดครอบคลุมถึงสูตรทั้งหมดของทำนองทั้งยังอาจครอบคลุมถึงแง่มุมอื่นของดนตรีที่ตามประเพณีนิยมพบว่ามักปรากฏควบคู่กับชุดสูตรหนึ่งๆ(ลีลาจังหวะ)นอกจากนี้คำว่าโมดยังใช้กำหนดรูปแบบจังหวะ โดยเฉพาะอย่างเช่นใน อาร์สอันติกวา (Ars Antiqua) หรือ "ศิลปะโบราณ" ซึ่งมาจากมาตราฉันทลักษณ์ของกรีกโบราณ

โมดในเพลงศาสนา (church mode/ ในยุคกลาง)

ในดนตรีหมายถึง โมดใดโมดหนึ่งใน 8 โมดเสียง ( mode) ที่ใช้แต่งทำนองเพลงสวดในยุคกลางของยุโรป ระบบโมดพัฒนาขึ้นเพื่อจัดเพลงสวด (Gregorian chant) เป็นหมวดหมู่ ชื่อโมดหยิบยืมมาจากชื่อที่ใช้กันในดนตรีกรีกโบราณแม้ว่าดนตรีกรีกยังไม่เป็นที่เข้าใจกันนักรวมทั้งความสัมพันธ์ของระบบดนตรีทั้งสองก็ยังเป็นปริศนาสิ่งที่ทำให้โมดแต่ละโมดแตกต่างกันคือ โน้ตสุดท้ายและโน้ตที่เรียกว่าดอมินันต์โน้ตสุดท้ายของดอเรียนโมดคือ ดี ของฟรีเจียนโมดคือ อี ของลิเดียนโมดคือ เอฟและของมิกโซลิเดียนคือ จี โมดทั้งสี่โมดนี้มีมาก่อนและมีโมดรอง (ไฮโปดอเรียนไฮโปฟรีเจียน ไฮโปลิเดียนและไฮโปมิกโซลิเดียน) ที่มีช่วงเสียงต่ำกว่าด้วยแม้โมดเหล่านี้จะใช้โน้ตเอ บี ซี ดี อี เอฟและจีแต่บางครั้งจะใช้โน้ตบีแฟลตแทนโน้ตบี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีการพัฒนาโมดอื่นเพิ่มเติมขึ้นอีกคือ อีโอเลียน จบที่โน้ตเอ และไอโอเนียนจบที่โน้ตซี (เหมือนบันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ในปัจจุบัน)โมดที่เริ่มและลงท้ายด้วยโน้ตบี ไม่ใช้กันเพราะโน้ตบีเป็นเสียงเจ้าปัญหาเมื่อเทียบกับโน้ตตัวอื่นในบันไดเสียง

คอร์ด (chord)

กลุ่มโน้ตตั้งแต่สามตัวขึ้นไป(ทรัยแอด)โดยเฉพาะเมื่อดังพร้อมกัน เช่น โน้ต ซี อี จี เกิดเป็น "คอร์ดซีเมเจอร์" หรือ "ซีเมเจอร์ทรัยแอด"คอร์ดอาจประกอบด้วยโน้ตแตกต่างกันกี่ตัวก็ได้และอาจให้เสียงไม่กลมกลืนก็ได้ (consonance and dissonance) คอร์ดอาจเรียกหลวมๆ อีกชื่อหนึ่งว่า เสียงประสาน (harmony)

ทำนองสัมพันธ์/สอดประสาน(counterpoint)

ศิลปะแห่งการผสมผสานแนวทำนองหลายแนวเข้าด้วยกันในบทเพลงบ่อยครั้งที่ใช้คำว่า polyphony แทน (พอลิโฟนีคือดนตรีที่มีแนวทำนองต่างกันมากกว่า 1 แนว) แต่ทำนองสัมพันธ์มีความหมายเฉพาะหมายถึงเทคนิคการประพันธ์ที่นำแนวทำนองเหล่านี้มาใช้อย่างมีศิลปะ การใช้ทำนอง 2 ทำนองอยู่ด้วยกันในเพลงเป็นครั้งแรก เท่าที่มีบันทึกไว้ในตำราสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 9 แสดงตัวอย่างเพลงแบบออร์กานุม (organum) ซึ่งเป็นดนตรีสำหรับเสียงร้องหลายเสียงคู่ขนานกันไปแต่ยังไม่เป็นอิสระจาก กันออร์กานุมอาจมีมาก่อนแล้วหลายศตวรรษความต้องการให้เกิดคอนโซแนนซ์ที่น่าฟังของเสียงร้องเวลาด้นสด (consonance and dissonance) ทำให้มีการคิดกฎการเดินแนวร้องนำขึ้น (voice leading) การที่ทำนองร้องหนึ่งเดินเข้ามาขณะที่อีกทำนองเดินออกไปทำให้อินเทอร์วัล (intervals) นั้นเกิดเสียงที่น่าฟัง กฎจึงเกิดขึ้นเพื่อควบคุมการเดินของทำนองเหล่านี้ทำนองสัมพันธ์แนวตั้ง (vertical) หรือความสัมพันธ์ระหว่างแนวทำนองพัฒนาเป็นหลักวิชาการบรรสานเสียง (harmony) โดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงแม้ว่าการบรรสานเสียงและทำนองสัมพันธ์จะเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้งอยู่แต่ดนตรีที่ใช้เสียงร้องหลายเสียงในยุคกลางและยุคเรอเนสซองซ์กลับถือว่าเป็นดนตรีหลายแนวเสียงหรือดนตรีที่มีทำนองสัมพันธ์ที่สำคัญนั่นคือการรวมเอาทั้งแนวทำนองที่เป็นอิสระและที่สัมพันธ์กันเข้าไว้ในยุคบาโรกซึ่งมีการสร้างฟิเกอด์ เบส (เบสเลขกำกับ) และคอนตินูโอ (continuo) ความนิยมจึงหันเหไปทางการบรรสานเสียงมากกว่า

ขั้นคู่(interval)

ในดนตรีหมายถึง ระยะห่างทั้งหมดของเสียงสองเสียงไม่ว่าจะเกิดเสียงตามกัน (ขั้นคู่ทำนอง) หรือพร้อมกัน (ขั้นคู่ประสาน)ในดนตรีตะวันตก เรียกชื่อขั้นคู่โดยนับจากจำนวนโน้ตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องซึ่งเรียงกันตามลำดับอักษรในแต่ละกุญแจเสียง (key) เช่น ขั้นคู่จากโน้ตตัวซีถึงตัวจี (ซี-ดี-อี-เอฟ-จี) คือขั้นคู่ห้าเพราะมีโน้ตเกี่ยวข้องรวมกันห้าตัวตามบันไดเสียง ขั้นคู่สมบูรณ์ มีด้วยกันสี่คู่ได้แก่ ขั้นคู่เสียงเดียวกัน คู่แปด คู่สี่ และคู่ห้า ขั้นคู่อื่นๆ (คู่สอง คู่สามคู่หก คู่เจ็ด) มีได้สองรูปแบบคือ คู่เมเจอร์และไมเนอร์ซึ่งมีขนาดต่างกันครึ่งเสียงทั้งขั้นคู่สมบูรณ์และคู่เมเจอร์อาจขยายออกครึ่งเสียงกลายเป็นขั้นคู่ขยายส่วนขั้นคู่สมบูรณ์และคู่ไมเนอร์ก็อาจย่นย่อลงครึ่งเสียงกลายเป็นขั้นคู่ ย่นย่อ

คอนโซแนนซ์และดิสโซแนนซ์ (consonance and dissonance)

คุณลักษณะเสียงของคอร์ด (chord) และอินเทอร์วัล (ขั้นคู่)หรือช่วงห่างของโน้ต (interval) มักอธิบายกันว่าคอนโซแนนซ์คือ "ความเสถียร" และดิสโซแนนซ์คือ "ความไม่เสถียร"โดยบริบททางดนตรี อินเทอร์วัลบางอย่างทำให้เกิดการเดินทางของโน้ตบางตัวเพื่อคลายดิสโซแนนซ์ คอนโซแนนซ์อินเทอร์วัลอันชัดเจนที่สุดคือพวกเสียงยูนิซันหรือโน้ตเดียวกัน (unison) และพวกเป็นอ็อกเทฟหรือคู่แปด ที่ชัดเจนรองลงมาคือเพอร์เฟกต์ฟิฟท์หรือคู่ห้าคอนโซแนนซ์เป็นเงาสะท้อนของอินเทอร์วัลของชุดโอเวอร์โทน (overtone) ซึ่งนอกจากอ็อกเทฟและเพอร์เฟกต์ฟิฟท์แล้วยังรวมถึงคู่เมเจอร์และไมเนอร์เทิร์ด (major and minor thirds) และคู่เพอร์เฟกต์ฟอร์ท (perfect fourth) แต่ก็ยังมีองค์ประกอบทางดนตรีอีกหลายอย่างที่ให้ความเป็นคอนโซแนนซ์และ ดิสโซแนนซ์ได้อีกเช่นกัน

หางเสียงหรือโอเวอร์โทน (overtone)

ในสวนศาสตร์ (อ่านว่า สะ-วะ-นะ-สาด)หมายถึงหางเสียงที่แทรกอยู่เบาๆ กับเสียงโน้ตดนตรีเกือบทุกตัวแหล่งกำเนิดเสียงในเครื่องดนตรีแต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็นสายที่ขึงตึงของเครื่องสายหรือลมในท่อลมของเครื่องเป่าไม่ได้สั่นเป็นหน่วยใหญ่หน่วยเดียว แต่จะแบ่งเป็นช่วงๆ แล้วสั่นไปพร้อมกันก่อให้เกิดหางเสียงหลายตัวผสมผสานไปกับเสียงฐาน (เช่น เสียงที่ได้ยินชัดเจน) ฮาร์มอนิกส์คือชุดของหางเสียงซึ่งเกิดจากการสั่นของช่วงคลื่นที่แบ่งตัวเป็นช่วงเท่าๆ กัน (เช่น แบ่งเป็นครึ่ง เป็น 1/3 หรือ 1/4) ส่วนพาร์เชียลหมายถึงหางเสียงนอกฮาร์มอนิกส์หรือเสียงที่มีความถี่การสั่นนอกฮาร์มอนิกส์ชุดหนึ่งๆหางเสียงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เสียงต่างๆ มีแววเสียงเฉพาะตัว (timbre) แม้ในความเป็นจริงผู้ฟังส่วนใหญ่จะได้ยินแต่เสียงฐานส่วนเสียงขับร้องนั้นยากที่จะได้ยินหางเสียง แต่ก็มีตัวอย่างพิเศษอยู่บ้าง เช่นในเสียงสวดมนต์ของพระทิเบตและเสียงขับร้องของนักร้องตูวานนักร้องกลุ่มนี้บางครั้งสร้างหางเสียงได้สองเสียงพร้อมกัน

ระบบอิงกุญแจเสียง(tonality)

ระบบเสียงดนตรีที่มีเสียงใดเสียงหนึ่งเป็นศูนย์กลางหรือกล่าวให้เจาะจงคือ ระบบกุญแจเสียง ( key) ของดนตรีตะวันตกอันพัฒนามาจากดนตรีอิงโหมดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระบบอิงกุญแจเสียงมักใช้หมายถึง ระบบ (หรือเครือข่าย)ความสัมพันธ์ที่แฝงอยู่ในโน้ตหลักเจ็ดตัวของกุญแจเสียงนั้นๆโดยที่โน้ตแต่ละตัวมีศักยภาพเป็นโน้ตโทนิก (หรือโน้ตศูนย์กลางของกุญแจเสียง)ชั่วคราวของเพลงได้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยอาศัยการเปลี่ยนกุญแจเสียง ( modulation) ซึ่งทำให้เกิดระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ชุดใหม่ของเสียงขึ้นการเปลี่ยนกุญแจเสียงช่วยขยายขอบข่ายความสัมพันธ์ของโน้ตต่างๆ ออกไปได้กว้างมากและสามารถรับรู้ด้วยโสตประสาทด้วยระบบดนตรีอิงกุญแจเสียงจึงเอื้อต่อการแต่งเพลงที่มีความซับซ้อนมากๆ

ระบบไม่อิงกุญแจเสียง(atonality)

ในดนตรีหมายถึงการไร้เสียงประสานอย่างเป็นระบบในฐานะเป็นองค์ประกอบดนตรีพื้นฐานแต่แรกอาจมีความหมายเชิงลบเมื่อใช้กับดนตรีแบบโครมาติซิซึมสุดขั้ว (chromaticism) แต่ต่อมากลายเป็นศัพท์ที่ใช้กันมากที่สุดกับดนตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีศูนย์เสียง(tonality) พร่าเลือน อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg) และศิษย์ทั้งสอง อัลบัน แบร์ก (Alban Berg) และอันทอน เวเบิร์น (Anton Webern) เป็นนักประพันธ์เพลงคนสำคัญที่สุดของดนตรีแนวนี้ดนตรีอนุกรม (serialism) ในผลงานยุคหลังๆ ของนักดนตรีเหล่านี้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งจากผลงานในระบบไม่อิงกุญแจเสียงอย่างอิสระของช่วงแรก

เสียงประสาน (harmony)

ความหมายทั่วไปกว้างๆคือ เสียงดนตรีที่เราได้ยินเป็นเสียงโน้ตตั้งแต่สองตัวขึ้นไปพร้อมๆ กันส่วนความหมายที่เจาะแคบลงจะหมายถึงระบบคอร์ดและกฎเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคอร์ดในดนตรีตะวันตกซึ่งได้พัฒนาถึงขั้นสูงแต่โบราณมาความบรรสานของดนตรีมีลักษณะสัมพันธ์เป็น "แนวดิ่ง" (ความสัมพันธ์ระหว่างแนวทำนองที่เล่นอยู่พร้อมกัน) ซึ่งเดิมเรียกว่า "แบบทำนองสัมพันธ์" กฎของทำนองสัมพันธ์หรือเคาน์เตอร์พอยนต์ (counterpoint) มีไว้เพื่อควบคุมเสียงประสานทั้งเสียงกลมกลืนหรือคอนโซแนนซ์และเสียงไม่กลมกลืนหรือดิสโซแนนซ์ (consonance and dissonance) ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานความบรรสานเสียงของดนตรีแต่แนวคิดว่าความบรรสานเป็นตัวควบคุมทำนองสัมพันธ์แต่ละแนวนั้นมีรากเหง้ามาจากคอนตินูโอ (continuo) เมื่อราวค.ศ. 1600 ซึ่งแนวเสียงเบสถือว่าเป็นตัวหลักสำคัญในการสร้างความบรรสานแนวคิดนี้พัฒนาเป็นหลักเกณฑ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยชอง-ฟีลีป ราโม (Jean-Philippe Rameau) ซึ่งได้แต่งตำราระบุไว้ว่าความบรรสานทั้งปวงล้วนมีพื้นฐานอยู่ที่ "ราก"หรือโน้ตฐานของคอร์ด (chord) ส่วนระบบอิงกุญแจเสียง (tonality) โดยหลักก็คือมโนทัศน์เกี่ยวกับความบรรสานมีพื้นฐานมาจากทั้งบันไดเสียงเจ็ดโน้ตตามคีย์ (key) ที่เลือกใช้และชุดความสัมพันธ์ของความบรรสานและขบวนของความบรรสานที่ได้จากคอร์ดไทรแอด (คอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ตสามตัว) ของบันไดเสียง

เพลงสวดเกรกอเรียน(Gregorian chant)

กลุ่มเพลงประกอบศาสนพิธีของนิกายโรมันคาทอลิกเป็นเพลงขับร้องแนวเดียว บทร้องเป็นภาษาละติน ไม่มีแนวประสาน ชื่อเกรกอเรียนตั้งเป็นเกียรติแก่พระสันตปาปาเกรกอรีที่ 1 (Gregory I) ซึ่งเชื่อกันว่าอาจมีส่วนในการแต่งและระบุข้อกำหนดในการใช้ในสมัยโบราณมีบันทึกภาพที่แสดงถึงความเชื่อกันว่าพระองค์ได้รับทำนองเพลงสวดทั้งหมดเหล่านี้โดยตรงจากพระจิตอันศักดิ์สิทธิ์เพลงสวดจากยุคกลางเหล่านี้แบ่งออกเป็นห้ากลุ่ม ซึ่งกลุ่มเกรกอเรียนแพร่หลายที่สุดและมักใช้ชื่อนี้เรียกเพลงสวดทั้งหมดในยุคนี้โดยรวมด้วยเพลงสวดเกรกอเรียนสืบทอดมาจากเพลงสวดของศาสนายูดาห์ ผสมผสานกับสำเนียงเพลงสวดต่างๆจากนิกายตะวันออก (Byzantine chant) และอื่นๆ แต่เดิมใช้ประกอบพิธีมิสซา (mass) และพิธีสวดมนต์ประจำวัน (พิธีสวดมนต์แปดครั้งประจำวันในวัด)เนื้อร้องอาจเป็นบทสวดโดยตรงจากพระคัมภีร์ บทกลอนสดุดีหรือแต่งขึ้นสำหรับพิธีมิสซาและพิธีสวดมนต์ประจำวันเป็นการเฉพาะทำนองเพลงสวดอิงกับโมดเพลงศาสนา (church mode) ที่มีด้วยกันแปดโมดเพลงสวดไม่มีจังหวะดนตรีชัดเจน จึงไม่ระบุจังหวะในลายลักษณ์โน้ตตั้งแต่การสังคายนาของสภาวาติกันครั้งที่สอง (Second Vatican Council) เพลงสวดถูกจำกัดบทบาทลงมาก (cantus firmus )

เพลงสวดไบแซนไทน์ (Byzantine chant)

เพลงสวดเป็นเสียงเดียวกันของศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ (Greek Orthodox church) จากสมัยอาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่าส่วนใหญ่น่าจะมาจากเพลงสวดศาสนาคริสต์แบบฮีบรูและซีเรียเพลงสวดไบแซนไทน์ใช้ระบบกลุ่มโน้ตแปดโมด (mode) คล้ายโมดแปดชนิดของกรีกในช่วงเพลงสวดซาล์ม (พระธรรมสดุดี) และเพลงฮิมน์ (เพลงสดุดี)โดยแต่ละโมดหรือขั้นตอนหรือการขานรับร่วม (echos) มีกลุ่มโน้ตทำนองสวดประจำเป็นพื้นฐาน ประเภทหลักของเพลงสดุดีได้แก่ troparion บทกวีนิพนธ์ร้อยแก้วบทหนึ่งหรือมากกว่านั้น kontakion บทเทศนามีมาตรา และ kanon ชุดเพลงสวดสดุดีที่จัดเรียงเป็นชุดอย่าง ซับซ้อน (Gregorian chant )

สวนศาสตร์(acoustics)

วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเสียงซึ่งศึกษาการให้กำเนิดการควบคุมการส่งผ่าน การรับ และผลกระทบของเสียง (sound) สาขาหลักของสวนศาสตร์ได้แก่สวนศาสตร์เชิงสถาปัตยกรรม (architectural) สวนศาสตร์เชิงสิ่งแวดล้อมสวนศาสตร์เชิงดนตรี และสวนศาสตร์เชิงวิศวกรรม รวมทั้งศาสตร์เกี่ยวกับอัลตราโซนิกส์ (ultrasonic) สวนศาสตร์เชิงสิ่งแวดล้อมเน้นการควบคุมเสียงรบกวนที่เกิดจากเครื่องยนต์ของ อากาศยานโรงงาน เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมทั้งเสียงที่เกิดจากการจราจรโดยทั่วไปสวนศาสตร์เชิงดนตรีเกี่ยวข้องกับการออกแบบและการใช้เครื่องดนตรี และศึกษาว่าเสียงดนตรีมีผลกระทบต่อผู้ฟังอย่างไรสวนศาสตร์เชิงวิศวกรรมเกี่ยวข้องกับระบบการบันทึกเสียงและการเลียนเสียงศาสตร์เกี่ยวกับอัลตราโซนิกส์ศึกษาคลื่นเสียงซึ่งมีความถี่สูงเกินกว่าที่หูมนุษย์สามารถได้ยินรวมทั้งการประยุกต์คลื่นเสียงความถี่สูงนี้ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์

สีสันเสียง(timbre)

คุณลักษณะของเสียงที่ทำให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเสียงขับร้องแต่ละเสียง หรือเสียงจากแหล่งอื่นใดแต่ละแหล่งสีสันเสียงเกิดจากการผสมผสานกันอย่างมีลักษณะเฉพาะตัวของชุดหางเสียง (overtone) ของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด (ซึ่งมักแตกต่างกันไปตามช่วงเสียงต่างๆ)ทำให้ผู้ฟังแยกแยะเสียงคลาริเน็ตจากเสียงฟลุต เสียงร้องอัลโตจากเทเนอร์ได้หรือแม้กระทั่งแยกแยะเสียงไวโอลินสตราดิวาเรียสกับกวาร์เนรีที่เล่นโน้ตตัว เดียวกันได้นอกจากนี้ สีสันเสียงยังเกิดจากวิธีการผลิตเสียงด้วย (เป่า หรือ สี หรือ ตีเป็นต้น) โดยเฉพาะจะได้ยินชัดตอนที่เสียงนั้นเริ่มขึ้น

ส่วนผสมของเสียง (ฮาร์มอนิก) สามเสียง (บน)แสดงให้เห็นถึงเสียงลัพธ์อันซับซ้อน (ล่าง) ดังที่เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งๆ สร้างขึ้นและก่อให้เกิดเป็นสีสันเสียงเฉพาะตัวของเครื่องนั้นๆ เสียงฐาน (บน)ซึ่งเป็นเสียงเดียวที่คนฟังจะได้ยินจริงๆ มีความถี่ 100 ส่วนเสียงอื่นๆในภาพที่มีความถี่ 300 และ 500 เป็นหางเสียงที่ดังแทรกอยู่เบาๆ ผสมผสานกับเสียงฐานความดังเบาสัมพัทธ์ของหางเสียงดังกล่าว (ความกว้างของช่วงคลื่น)ซึ่งดูได้จากคลื่นลัพธ์อันซับซ้อนเป็นองค์ประกอบสำคัญของสีสันเสียงเฉพาะตัวดังปรากฏออกมาเป็นรูปคลื่น © 2002 Merriam-Webster Inc.

 

การร้องเชป-โน้ต (shape-note singing)

การร้องประสานเสียงอาคัปเปลลา (ขับร้องแบบไม่มีดนตรีประกอบ)แบบหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่นำเพลงสวดแบบพื้นบ้านหลายลักษณะมารวมกันและใช้วิธีการบันทึกโน้ตแบบเฉพาะพิเศษคือผู้ร้องมิได้ร้องโน้ตเจ็ดตัวในบันไดเสียงด้วยพยางค์แทนว่า โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ทีแต่ร้องว่า ฟา-ซอล-ลา-ฟา-ซอล-ลา-มีซึ่งเป็นระบบสี่พยางค์ที่นำเข้ามาในอเมริกาโดยผู้มาตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษใน ยุคต้นระบบนี้แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงในโครงสร้างบันไดเสียงเมเจอร์ที่ใช้ชุดของคู่เสียงสามคู่ซ้ำกันสองครั้ง ในการบันทึกโน้ตพยางค์ทั้งสี่แทนด้วยหัวโน้ตที่มีรูปร่างต่างกันผู้อ่านร้องโน้ตโดยดูจากรูปร่างหัวโน้ตต่างๆ ส่วนผู้ที่ไม่ชินกับระบบนี้สามารถอ่านโน้ตตามได้โดยดูจากตำแหน่งโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นธรรมเนียมการบันทึกโน้ตนี้เริ่มที่แถบนิวอิงแลนด์ ต่อมาเมื่อดนตรีรูปแบบใหม่ๆที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเข้ามาในอเมริกา การใช้ระบบนี้ได้ย้ายไปทางใต้และตะวันตกและเมื่อถึงทศวรรษ 1880 คนส่วนใหญ่ได้เลิกการร้องแบบเชป-โน้ตยกเว้นตามชนบทที่ห่างไกล แต่แล้วเมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้มีการฟื้นฟูระบบนี้อีกครั้งเพลงสวดที่บันทึกโน้ตแบบเชป-โน้ตชื่อชุด The Sacred Harp ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในค.ศ. 1844 ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้

ข้อมูลจากhttp://www.concise.thai.britannica.com/

 

หลายท่านที่สะสมแผ่น P+O ซึ่งจากคำบอกเล่าของคุณโจ ที่ท่านนำเมื่อดอกซากุระบานและแผ่นอื่นบางแผ่นไปผลิตที่บริษัท P+O ที่เยอรมัน

ด้วยความอยากรู้อยากเห็น แบบว่าเรื่องของชาวบ้านคืองานของชวพันธ์ และคุณโจเองท่านเมตตาเล่าให้ผมฟังว่า บริษัทนี้ก่อตั้งจากบุคคล ๒ ท่าน คือ Mr. Dieter Panya และ Mr. Wolfgang Oon ทั้ง ๒ ร่วมกันลงทุนตั้งบริษัทผลิตซีดี เมื่อแรมสี่ค่ำ เดือนสิบ ปีระกา และท่านทั้ง ๒ ได้ใช้ตัวย่อของนามสกุล ซึ่งในยุโรปเขาเรียกนามสกุลซึ่งเป็นการให้เกียรติกัน ดังนั้นจึ่งตั้งชื่อบริษัทเป็น P+O GmbH หรือ Panya+Oon ไงครับ

 

ขอบคุณครับที่ทนอ่าน

ชวพันธ์

GmbH                         Gesellschaft mit beschränkter Haftung

บริษัท รับผิด จำกัด (ย่อ GmbH, GESMBH หรือ GES.MBH) (อังกฤษ:บริษัทที่มีความรับผิด จำกัด ) เป็นประเภทของนิติบุคคล ที่พบบ่อยมากในเยอรมนี , ออสเตรีย , สวิสเซอร์แลนด์ , และอื่น ๆในยุโรปกลาง ประเทศ The name of the GmbH form emphasizes the fact that the owners ( Gesellschafter , also known as members) of the entity are not personally liable for the company's debts. GmbH s are considered legal persons under German law. ชื่อของแบบฟอร์ม GmbH เน้นความจริงที่ว่าเจ้าของ (ผู้ถือหุ้นที่เรียกว่าเป็นสมาชิก)ของกิจการที่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหนี้ของ บริษัท ฯถือว่าเป็นGmbH ของบุคคลตามกฎหมายภายใต้กฎหมายที่เยอรมัน

 

แถมนิดหนึ่งเรื่อง CD Code ที่ชวพันธ์ ได้รับข้อมูลจากอาจารย์เซียงเมี้ยง (จากหมู่บ้านเขยฝรั่ง) ที่ท่านเมตตาไขความกระจ่างให้ผมมาหนึ่งข้อมูลก่อนนั่นคือ Code SMA

S          Stupid             แปลว่า    ภาคภูมิ

M         Mad                 แปลว่า    จำนวนมาก

A         Abnormal        แปลว่า    ไม่ธรรมดา

ศิริรวมแล้วน่าจะมีความหมายว่า          ความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ธรรมดา

 

Hopewell

หรือ

Stonehenge of Thailand

หนึ่งใความภาคภูมิใจของเรา เนื่องจากการนี้ค่า SV นั้นสูงยิ่ง

คำขวัญ วันเด็ก ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved