วิสา คัญทัพ
จำนวนคนเข้าชม : 1668 ครั้ง

ซีดี วิสา  คัญทัพ ชุด ๑ ฝากไว้ให้คิดถึง

๑ คนกับควาย

๒ จดหมายจากชาวนา

๓ น้ำท่วมฟ้า  ปลากินดาว

๔ คนภูเขา

๕ รอยอดัต

๖ ร้อยบุปผา

๗ เปเยงเที้ย

๘ บินหลา

๙ สวรรค์บ้านนอก

๑๐ ออนซอนเด

๑๑  แรงเทียน

๑๒ รักที่อยากลืม

๑๓ ฝากไว้ให้คิดถึง

๑๔ คนภูเขา(ดนตรี)

 ซีดีวิสา  คัญทัพ ชุด ๒ ครั้งหนึ่งความเป็นมา

๑ ครั้งหนึ่งความเป็นมา

๒ พิราบแดง

๓ กำลังใจ

๔ เพลงพิณ

๕ คืนฟ้าดำ

๖ เดือนแรม

๗ เมื่อก่อนนี้

๘ ก็แล้วแต่

๙ คนขายข้าว

๑๐ ยังเหมือนเดิม

๑๑ สงสารความจน

๑๒ ฝากเพลงถึงเธอ

 “สนธิ สมมาตร” กับ “วิสา คัญทัพ” ความลงตัวของศิลปะสามแขนงใน“ฝากเพลงถึงเธอ”

เพลงคือศิลปะแขนงหนึ่ง ประกอบด้วยศิลปะออย่างน้อย 3 แขนงมารวมกัน นั่นคือศิลปดนตรี ศิลปวรรณกรรม และศิลปะการร้อง เพลงที่งดงามด้วยศิลปะทั้ง 3 รวมรวมกันอย่างลงตัวจึงกลายเป็นเพลงอมตะ ประทับอยู่ในจิตใจของผู้คน

หนึ่งในเพลงที่ประกอบด้วยศิลปะดนตรีและวรรณกรรมที่งดงามย่อมมีเพลง “ฝากเพลงถึงเธอ” เข้าไว้ด้วย“ฝากเพลงถึงเธอ” เป็นผลงานการประพันธ์เพลงของ วิสา คัญทัพ ขับร้องโดย สนธิสมมาตร เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง (ขออภัยจำไม่ได้ค้นหาข้อมูลยังไม่เจอครับ) เป็นเพลงที่เขียนขึ้นด้วยศิลปวรรณกรรมคือกวีนิพนธ์โดยแท้

ไม่น่าแปลกใจที่เพลงนี้งดงามด้วยศิลปะแห่งกวี เพราะ วิสา คัญทัพคือกวีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของแท้คนหนึ่งคนหนึ่งบทบาทของเขาในช่วงการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนเมื่อก่อนและหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในฐานะผู้นำนักศึกษาและกวีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกันและในกาลต่อมาบทกวีของวิสา คัญทัพ แม้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเป็นไปของสังคมและศิลปะแห่งการเขียนบทกวีของเขายังคงงดงามโดดเด่นอยู่เช่นเดิม

แม้การแต่งเพลงก็ยังคงใช้ท่วงทำนองแห่งบทกวี ดังเพลง “ฝากเพลงถึงเธอ” เพลงนี้ ….
เรียงคำร้อยฝากเพลงลอยสายลมแผ่วเบา
สื่อรักพาเอารักแห่งสองเราที่ร้างที่ลาลับห่าง
อยู่แห่งไหนขวัญใจเจ้าอย่าชัง
หากได้ฟังหวังยังคงเมตตา
ตอบสัญญารักมากับลมลมรักเอยจงล่องลอย
ลอยรักเอยมาร่วมทาง

ฝากนำคำร้องผ่านลำคลองท้องธารอันกว้างไกล
อยู่คุ้งแควใดรู้เถิดหัวใจพี่ร้อนดังไฟเผาร่าง
เสกมนต์ขลังให้ฟังไม่จืดจาง
จากอารมณ์ระทมดังแก้วบาง
แหลกแล้วนางยามรักจางห่างไกล

ลมช่วย กระซิบบอก หฤทัย
ใจฉันยังมั่นต่อใจแม้จนชีพมลาย
ขอตายแทบตักเธอ

ฝากเพลง ลอยฟ้าข้ามภูผาท้องนาป่าไพร
ได้รับยามใดดลให้หัวใจอ่อนไหวด้วยใจรักเพ้อ
อยู่แห่งไหนให้ใจเจ้าอยากเจออยากมาหาพี่ยาที่จากเธอ
ใฝ่ ฝันละเมอ ขอเธอได้โปรดคืนมา
ลมช่วยกระซิบบอกหฤทัยใจฉันยังมั่นต่อใจแม้จนชีพมลาย
ขอตายแทบตักเธอ

ฝากเพลงลอยฟ้าข้ามภูผาท้องนาป่าไพร
ได้รับยามใดดลให้หัวใจอ่อนไหวด้วยไฟรักเพ้อ
อยู่แห่งไหนให้ใเจ้าอยากเจอ
อยากมาหาพี่ยาที่จากเธอ
ใฝ่ฝันละเมอขอเธอได้โปรดคืนมา
ใฝ่ฝันละเมอขอเธอได้โปรดคืนมา

เพลงที่ดี ดนตรีที่ดี หากคนร้องไม่ดีแล้วเพลงนั้นย่อมด้อยคุณค่าลงอย่างน่าเสียดายยิ่ง แต่เพลง “ฝากเพลงถึงเธอ” เป็นเพลงที่ดี ดนตรีที่ดี และนักร้องที่ดี จึงผสมผสานกันอย่างลงตัวกลายเป็นเพลงที่งดงามเพลงหนึ่ง หากแม้นนักร้องไม่ใช่ สนธิ สมมาตรเพลงนี้อาจไม่งดงามเท่าที่ปรากฏอยู่นี้

สนธิ สมมาตร แม้จะไม่มีผลงานเป็นจำนวนมากมายนับหลายร้อยเพลงแต่เขาคือนักร้องที่มีคุณภาพคนหนึ่งของวงการเป็นคนหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้เพลงลูกทุ่งแนวทางอีสานให้เป็นที่รู้จักกันระดับประเทศหากบันทึกชื่อของนักร้องอีสานชั้นครูอย่าง ตุ้มทอง โชคชนะ หรือ ครูเบญจมินทร์ ปองปรีดา และรุ่นรองลงมาคือ เทพพร เพชรอุบล ดาว บ้านดอน ศักดิ์สยาม เพชรชมภู บานเย็นรากแก่น อังคนางค์ คูณไชย และแน่นอนว่า ย่อมนับ สนธิ สมมาตร ด้วย

สนธิ สมมาตร ร้องเพลงได้ไพเราะจับใจเขาตีโจทย์เพลงได้แตกฉานจึงใส่อารมณ์เข้าไปในบทเพลงอย่างเหมาะสมกลมกลืนกลายเป็นผลงานอันยอดเยี่ยม ทุกเพลงที่เขาร้องเป็นเพลงที่ฟังเมื่อใดก็จับใจเมื่อนั้นอาทิ เพลงด่วน บขส. เพลงออกพรรษาที่เชียงคาน เพลงแคร์ด้วยหรือน้อง เพลงลูกทุ่งคนยาก (เพลงในภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักแม่น้ำมูล) เพลงแต่งงานกันเด้อ เป็นต้น

การมาพบกันของกวีนักแต่งเพลงอย่างวิสา คัญทัพ กับ สนธิ สมมาตรจึงเป็นการจับคู่ที่ลงตัวเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เพลง “ฝากเพลงถึงเธอ” กลายเป็นความงดงามของทั้งศิลปะกวีนิพนธ์และศิลปะดนตรีและการขับร้องรวมอยู่ด้วยกัน

http://kosolanusim.org/%E2%80%9C%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E2%80%9D-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E2%80%9C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%84ซีดีวิสา  คัญทัพ ชุด ๓เลือดเนื้อและน้ำตา

๑ เจ็ดสิงหาสู้บนทางปืน

๒ ประพนธ์

๓ อุดม ศรีสุวรรณ

๔ ศรีบูรพา

๕ แสงชัย

๖ กลางไพร

๗ แด่น้องผู้หิวโหย

๘ ขอแขนให้แม่ข้า

๙ ดอกไม้เมืองลาว

๑๐ เดือนแจ้งที่ฝั่งของ

๑๑ หัวใจดอกไม้

๑๒ อำลา

ซีดีวิสา  คัญทัพ ชุดฉันมาจากฟ้าสีทอง

๑ ฉันมาจากฟ้าสีทอง

๒ แลนด์ออฟสไมล์

๓ บ้านเมืองนี้

๔ สุดใจบิน

๕ ยิ้มยิ้มไว้

๖ กำลังใจ

๗ สู้ต่อไป

๘ เหน่อโคราช

๙ พี่ชาย

๑๐ จบไม่ลง

๑๑ ซากุระราตรี

๑๒ กลกามแห่งความรัก

๑๓ สวรรค์ชั้นเจ็ด

 

ซีดีดวงใจยังแน่วแน่ วิสา คัญทัพ

วัฏสังขารา

๒ What is to be done?

๓ ดวงใจยังแน่วแน่

๔ ร้อยใจดอกไม้บาน

๕ มหาวิทยาลัยของประชาชน

๖ รักเพราะอะไร

๗ คนหาปลา

๘ ฝ่าไป

๙ โลกวันนี้

๑๐ ลุ่มน้ำของ

๑๑ อาลัย

ซีดีปากคน  ปากกา  สู้อาวุธปืน หงา คาราวาน& วิสา - ศรีบูรพา
๑  ศรีบูรพา
บ้านเมืองนี้
โลกวันนี้
ดอกไม้เมืองลาว

เพลง ดอกไม้เมืองลาว
ศิลปิน วิสา คัญทัพ
เนื้อเพลง ดอกไม้เมืองลาว วิสาคัญทัพ

ดวงจำปา ดอกไม้เมืองลาว ได้มาหอมเจ้า งดงามสมคำร่ำลือ
โชยกลิ่นรวยรินร่วงคว้างลงดิน นี้คือเวียงจันทน์
ดวงจำปา โอ้ ดวงจำปา ขอวันเวลา การพัฒนาอย่ามาทำร้าย
ดวงจำปา มาลาคู่เมืองเจ้าบันทึกเรื่องหลากหลายมากมายนักหนา
ศึกสงคราม คาวเลือด มวลประชาดอกศรัทธาวิญญาณของล้านช้างเอย
ดวงจำปา โอ้ ดวงจำปา ขอดวงจำปายืนต้นรุ่งเรืองคู่เมืองลาวเอย
ดวงจำปา โอ้ ดวงจำปา ขอวันเวลา การพัฒนา อย่ามาทำร้าย
ดวงจำปามาลาคู่เมือง เจ้าบันทึกเรื่องหลากหลายมากมายนักหนา
ศึกสงคราม คาวเลือด มวลประชาดอกศรัทธาวิญญาณของล้านช้างเอย
ดวงจำปา โอ้ ดวงจำปา ขอดวงจำปายืนต้นรุ่งเรืองคู่เมืองลาวเอย
ขอดวงจำปายืนต้นรุ่งเรือง คู่เมืองลาวเอย


เดือนแจ้งที่ฝั่งของ
อุดมสีสุวรรณ
เก็บรักไว้ในรัก
ยิ้มยิ้มไว้
สุดใจบิน
๑๐จาก

 

ซีดี ฝากไว้ให้คิดถึง  วิสา  คัญทัพ

๑ ร้อยบุปผา

๒ ฝากไว้ให้คิดถึง

๓  แรงเทียน

๔  รักที่อยากลืม

๕ พี่ชาย

๖ สวรรค์ชั้นเจ็ด

๗ กลกามแห่งความรัก

๘ สวรรค์บ้านนอก

๙ กำลังใจ

๑๐ รอยอดีต

๑๑ พิณ

๑๒ ออนซอนเด

๑๓ ฝากเพลงถึงเธอ

๑๔ บินหลา

๑๕ ช้าง

 

ซีดี วิสา  คัญทัพ  ชุด วิสา  ม่วนซื่น

ประกอบด้วยเพลง ๑๑ เพลง

๑ ซกเล็ก

๒ หน่อไม้

๓ อยู่แบบลาวลาว

๔ ดอกไม้เมืองลาว

๕ ลาวร่าเริง

๖ แคน

๗ มาเป่าแคนกันเถอะมา

๘ ไปสิเล้อ

๙ พ่อใหญ่สี

๑๐ สามก้อนเส้า

๑๑ อยู่อย่างสิงห์

หนังสือกำลังใจบทเพลงและชีวิตของวิสา  คัญทัพ มีคำอธิบายแรงบัดาลใจของแต่ละเพลงไว้อย่างละเยด ลอบถามหาหนังสือเล่มนี้ที่สำนักพิมพ์”ตอกหญ้า

วิสา คัญทัพ เป็นนักคิดนักเขียน กวี ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต อิสระ อดีตเคยเป็น 1 ใน 9 นักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพจนถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ในวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 อันเป็นชนวนนำไปสู่การเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียรจนถูกจับเป็น 1 ใน 13 กบฎรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516

วิสา คัญทัพ เกิดที่ ลพบุรี เติบโตในยุคเผด็จการครองเมือง เรียนจบชั้นเตรียมอุดมศึกษาจาก โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าศึกษาต่อที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้นำนักศึกษาทำกิจกรรมก้าวหน้าในมหาวิทยาลัย จนถูกอธิการบดีในสมัยนั้นสั่งลบชื่อเขาและเพื่อนรวม 9 คน จนเกิดกรณีชุมนุมใหญ่ต่อต้านการลิดรอนสิทธิเสรีภาพนักศึกษาเมื่อวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 จากนั้นวิสา คัญทัพเข้าร่วมกับเพื่อนตั้ง "กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" เพื่อเคลื่อนไหวให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย จนถูกจับกุมคุมขังเป็น 1 ใน 13 กบฎรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516

วิสาเป็นนักคิด นักเขียน เป็นกวี เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิต เข้าสู่วงการหนังสือโดยเริ่มต้นร่วมกับเพื่อนจัดทำหนังสือ "วรรณกรรมเพื่อชีวิต" ต่อมาเริ่มเขียนเพลงครั้งแรกเป็นเพลงแนวที่เรียกว่า "เพื่อชีวิต" เพลงแรกร่วมกับ สมคิด สิงสง และ สุรชัย จันทิมาธร เขียนเพลง "คนกับควาย" เพลงที่สองเขียนเนื้อร้องเพลง "คนภูเขา" ให้สุรชัย จันทิมาธรใส่ทำนอง เพลงที่สามร่วมกับ ประเสริฐ จันดำ เขียนเพลง "จดหมายชาวนา" เพลงที่สี่เขียนคำร้องทำนองด้วยตัวเองเป็นเพลงสุดท้าย ขณะเกิดเหตุการณ์ลอบฆ่าลอบสังหารผู้นำฝ่ายประชาชนจำนวนมาก ชื่อเพลง "น้ำท่วมฟ้าปลากินดาว" ให้วงคาราวาน โดยมีเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า "น้ำท่วมฟ้า ปลากินดาว นกเหินหาวสู่สายชล คนดีถูกฆ่ากลางถนน คนชั่วขึ้นนั่งบัลลังก์บน ฟ้าฝนจึงไม่ตกมา"

วิสาเข้าป่าหนีการปราบปรามจากอำนาจรัฐ ใช้ชื่อ "สหายตะวัน" ขณะอยู่ทางภาคเหนือ และ "สหายไพรำ" เมื่ออยู่ทางภาคอีสาน เข้าร่วมต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ร่วมกับเพื่อน อดิศร เพียงเกษ "สหายศรชัย" จัดตั้งวงดนตรีและเริ่มร้องเพลงเอง บันทึกเสียงส่งเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุคลื่นสั้น "เสียงประชาชนแห่งประเทศไทย" มีผลงานเด่น ๆ อาทิ บินหลา, เจ็ดสิงหาสู้บนทางปืน, รำวง 1 ธันวา, ลุงสินป้าไสว,มาลำเลียงเด้อสหาย ฯลฯ

ปลายปี พ.ศ. 2523 ออกจากป่า เริ่มเขียนเพลงประกอบภาพยนตร์และเพลงเพื่อชีวิตทั่วไป มีเพลงเด่น ๆ ที่เป็นอมตะมากมายเช่น ร้อยบุปผา, รอยอดีต, กำลังใจ, แรงเทียน,ออนซอนเด, เพลงพิณ, รักที่อยากลืม, กลกามแห่งความรัก, สวรรค์ชั้นเจ็ด ฯลฯ ปัจจุบันวิสา คัญทัพ ยังคงเขียนหนังสือ เขียนเพลง ร้องเพลง และสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางที่ตนเองเชื่อมั่นและศรัทธา เหมือนตอนหนึ่งในเพลง "กำลังใจ" ที่เขาแต่ง "ชีวิตที่ผ่านพบ มีลบย่อมมีเพิ่ม ขอเพียงให้เหมือนเดิน... กำลังใจ"

เป็นบทกวีวรรคทองของวิสา คัญทัพ เขาเขียนภายหลังได้รับอิสรภาพจากการจับกุมคุมขังหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ด้วยความประทับใจในพลังอันยิ่งใหญ่ของประชาชนบนถนนราชดำเนิน

กล่าวโดยวิสา คัญทัพ

ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า

ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาปสูญ

ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน

ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป

เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่

ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่

เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ

ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ลาภ-เสื่อมลาภ สัจธรรมชี้กำหนด

ยศเสื่อมยศ บริบท ปรากฎเห็น

สรรเสริญ-นินทา พาลำเค็ญ

สุข-ทุกข์ ย้ำเน้น ให้เห็นจริง

ธรรมคือคุณากรอมรรัตน์

เมื่อรู้แจ้งแจ่มชัดก็หยุดนิ่ง

เป็นหยุดในเคลื่อนไหว ไม่ประวิง

และเป็นวิ่งในหยุด จุดแห่งธรรม

ที่ไร้ ก็ไร้สิ้น                      ที่มีกิน ก็เกินมี

ที่ใด จะพอดี                     คือคำถาม ประจำมา

มีทุกข์ ในเรือนกาย            มีความตาย ในดวงตา

น้ำนม แห่งมารดา             ในสายเลือด ยังเหือดหาย

ทุกคำ คือชีวิต                   ทุกชีวิต อันเรียงราย

คือคน ที่เกิดกาย                มาร่วมถิ่น แผ่นดินเดียว

ริ้วนี้ ใช่แพรพรรณ            คือริ้วอัน ซี่โครงเรียว

ขานี้ ใช่ขาเปรียว               ที่เดินอวด ประกวดกัน

ดินเอ๋ย โอ้ดินนี้                   ยังพอมี ให้แบ่งปัน

เพียงเพื่อ ได้อิ่มพลัน          มิรู้อัน ตรายมา

แด่น้อง ผู้หิวโหย               เพียงท่านโปรย ความเมตตา

น้อยหนึ่ง นะกรุณา            ต่อชีวา ตาดำดำ

วิสาเขียนบทกวีบทนี้ลงตีพิมพ์ใน ประชาธิปไตยรายวัน ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และบทนี้เป็นข้อความในโปสเตอร์ต่อต้านเผด็จการในครั้งนั้น

วิสา ปัจจุบันยังคงยืนหยัด แสดงจุดยืนชัดเจน "ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านเผด็จการ" เหมือนวัยหนุ่มที่ผ่านมา โดยเข้าร่วมกับนปช.ซึ่งสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามหลวง เขาแต่งเพลง "สัญญาใจขับไล่เผด็จการ" ขึ้นเวทีร้องเพลงนี้กับไพจิตร อักษรณรงค์ และเมื่อต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 เขาออกรายการ "ตัวจริงชัดเจน" ทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ร่วมกับแอ๊ด คาราบาว ในฐานะศิลปินเพลงเพื่อชีวิต วิสายืนอยู่ตรงข้ามกับแอ๊ด คาราบาวโดยสิ้นเชิง ขณะแอ๊ดเห็นด้วยกับทหาร เทิดทูน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่วิสาต้านการยึดอำนาจของทหาร คัดค้านรัฐประหาร ปรารถนาให้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง แสดงทัศนะเชื่อมั่นในพลังของภาคประชาชน ดังจะเห็นได้จากเนื้อเพลง "สัญญาใจขับไล่เผด็จการ" ที่วิสาได้ประพันธ์เอาไว้

มา..พวกเรามา ตามสัญญาใจผูกพัน ร่วมพลังฟาดฟัน ใจมุ่งมั่นประชาธิปไตย เมื่อใดที่เผด็จการ รัฐประหาร ปล้นชาติไทย พวกเราจะก้าวออกไป ร่วมกันขับไล่โค่นล้มมันลง เผด็จการต้องออกไป ประชาธิปไตย จงเจริญ

ปัจจุบันวิสาเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ ดำเนินรายการวิทยุ “กุญแจเมืองไทย” ร่วมกับ อดิศร เพียงเกษ และ ไพจิตร อักษรณรงค์ ทาง FM 105 MHz และรายการโทรทัศน์ ทางสถานีประชาธิปไตย D-Station

ลำนำบทเพลงถ่ายทอดเรื่องราว 14 ตุลา 2516

จักรกฤษ ศิลปชัย

กราบเรียนพณฯท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านจาตุรงค์ ฉายแสงกราบเรียนท่านประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในการจัดงาน 30 ปี 14 ตุลาคุณสมพงค์ สระกวี กราบเรียนคุณกัญญา ปัญญาชาติรักษ์หนึ่งในคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ แล้วก็เพื่อนๆพี่น้องนักจัดรายการวิทยุทุกท่านมาถึงหัวข้อการเสวนา หัวข้อแรกในวันนี้ เราบอกว่านี้จะเป็นการบอกให้เราทุกๆคนได้รับรู้ถึงลำนำบทเพลง 14 ตุลา
            ผมเชื่อว่าหลายๆคนในที่นี้ได้รู้จักบทเพลงเหล่านี้กันเป็นอย่างดีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเพลงเปิปข้าว ไม่ว่าจะเป็นเพลงคนกับควายหรือเพลงต่างๆที่เรารับรู้กันอยู่แต่ในเบื้องลึกเบื้องหลังในการก่อกำเนิดเรื่องราวต่างๆจากบทเพลงเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของขบวนการการต่อสู้ ภาคประชาชนตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาเลยด้วยซ้ำไปต่อเนื่องกันมาจนเรามีบทเพลงที่เป็นบทเพลงเฉพาะที่เรียกว่าบทเพลงเพื่อชีวิตเรียกได้ว่าเป็นบทเพลงชนิดเดียวในโลก ในประเทศไทย ที่มีบทเพลงเฉพาะอย่างนี้เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่างๆ

หลายคนอาจมองว่าบทเพลงเพื่อชีวิตนั้น รุนแรงบทเพลงเพื่อชีวิตนั้นน่ากลัวบทเพลงเพื่อชีวิตเมื่อฟังหรือดูคอนเสริต์แล้วจะต้องตีกัน จะต้องมีปัญหากัน แต่จริงๆแล้วท่านทราบไหมครับบทเพลงเพื่อชีวิตนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาในกระบวนการประชาธิปไตยมากมายเหลือเกินนอกจากนั้นแล้วบทเพลงเพื่อชีวิตยังนำเสนอ ความงดงามของท้องถิ่นต่างๆสามารถนำเรื่องราวของภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของไทยได้ด้วย ถ้าท่านฟังดีๆมีหลากหลายมากมายทีเดียว

วันนี้เราในหัวข้อลำนำบทเพลง 14 ตุลาคมเราได้รับเกียรติจากท่านซึ่งผู้อยู่ในเหตุการณ์ ตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลานั้นคือเดือนมิถุนายน ตั้งแต่มีการลงชื่อขับไล่ อาจารย์ ดร.ศักดิ์ ที่รามคำแหงจนพัฒนามาเป็นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็น 1 ใน 13 กบฏอะไรต่างๆนานาเหล่านี้บทเพลงของท่านรับใช้สังคมบ ทกวีของท่านรับใช้สังคมมากทีเดียวหนึ่งในบทเพลงกวีอมตะข้องท่านเรารู้จักกันและได้ยินได้ฟังกันเสมอๆก่อนที่จะมาคุยกับคุณวิสา คัญทัพนักคิด นักเขียน นักต่อสู้ นักเคลื่อนไหวและมีคำนิยามอีกมากมาย ผมจะเรียนเชิญคุณปอง จุลทรัพย์ขึ้นมาอ่านบทกวีบทที่บอกว่าเป็นบทอมตะของคุณวิสา คัญทัพ ของเรียนเชิญ คุณปอง จุลทรัพย์ ครับ

สมปอง จุลทรัพย์

ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า
ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาปสูญ
ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน
ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป
เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่
ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่
เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ
ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

จักรกฤษ ศิลปชัย

อบคุณครับเป็นบทแรกนะครับ เดี๋ยวเราจะค่อยๆ ทยอยไปนะครับ ผมติดปากที่จะเรียก พี่เปรี้ยวๆตลอดเวลา ก็ขอบคุณพี่เปรี้ยวมากนะครับ

มาถึงตรงนี้เราจะเริ่มคุยกันหัวข้อตรงนี้อยากให้เพื่อนนักจัดรายการได้รับรู้เรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมในด้านบทเพลงที่เราเกรินนำว่าเป็นบทเพลงเพื่อชีวิตโดยคุณวิสา คัญทัพ จะกรุณาถ่ายทอดเล่าให้เราฟัง

ขออนุญาติเริ่มต้นต้นแต่ตรงนี้ อยากให้พี่วิสาเล่าเรื่องราวก่อนที่จะมาถึง 14 ตุลา 2516 ซักนิดว่าในขณะนั้นเกิดอะไรขึ้น อย่างไรบ้างครับ

วิสา คัญทัพ

ครับ...ก่อนอื่นกระผมขออนุญาติ กราบเรียนท่านรองนายกจาตุรงค์ท่าน ส.ว สมพงค์สระกวีและก็ท่านผู้มีเกียรติที่เป็นนักจัดรายการ เข้าใจว่าคงจากทั่วประเทศที่ท่านได้มาในสถานที่เเห่งนี้และก็น่าจะเป็นว่ามาช่วยเหลือพวกเราในการเผยแพร่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ งานรำลึก 30ปี 14ตุลาคมซึ่งปีนี้ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาร่วมไม้ร่วมมือกันประกาศให้เป็นวันสำคัญของชาติ

ตามจริงประเด็นที่จะพูดกันอย่างรวบรัดตามที่ท่านพิธีกร คุณอ๊อด จักรกฤษ พูดมาว่าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคมมันมีเหตุการณ์ ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ก่อนเดือนตุลาคมเราอาจบอกเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้นักศึกษารู้ว่าพลังของเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา มีพลังมากขนาดไหน โดยที่พวกนักศึกษาสมัยนั้นก็ไม่ได้คาดคิดมาก่อนทั้งที่ความเป็นจริง บรรยากาศการเมืองในขณะนั้น พูดย่อๆเพื่อให้ท่านเข้าใจมันต่างจากยุคนี้ราวฟ้ากับดิน เพราะยุคนั้นเป็นยุคของเผด็จการ ที่ไม่มีรัฐธรรมนูญที่ไม่มีการเลือกตัวผู้แทนราษฏรหรือมีก็เป็นเพียงความจอมปลอมของการทำพรรคการเมืองขึ้นมาซึ่งมีพรรคใหญ่เป็นพรรคของทหาร ที่เราเรียกพรรคสหประชาไทยเพราะฉนั้นทหารซึ่งธรรมดามีแค่พลเอก สมัยนั้นก็ตั้งตัวเองเป็นจอมพลได้ไม่แต่เพียงตั้งตัวเองเป็นจอมพล ยังสามารถต่ออายุราชการ ถ้าท่าน 60 ปีเกษียณท่านก็ไม่เกษียณได้ หมายความว่าอย่างนั้นคือทำอะไรก็ได้ตามใจ

จอมพลในยุคนั้นก็เป็นทุกอย่าง ตั้งแต่เป็นนกยกรัฐมนตรีผู้บัญชาการทหารบก ไปถึงเป็นประธานธนาคารทุกแห่งรวมทั้งคุมนักศึกษาเป็นอธิการบดีคุมทุกมหาวิทยาลัย พูดว่ายมันไม่มีเสรีภาพไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีเลือกตั้ง

นักศึกษารามคำแหงกลุ่มหนึ่งทำหนังสือขึ้นมา มีข้อความ 3-4 บรรทัดที่เสียดสีผู้นำทางการทหารนั้นยุคๆ ที่เอาเครื่องบินของทางราชการขนนักร้องนักดนตรีไปล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่แล้วเกิดเครื่องบินตกการเป็นข่าวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งใช้งบราชการลับไปจุดนั้นเองทำให้นักศึกษารามเอามาเขียนอยู่ในหน้าเดียว จริงๆเป็นหนังสือหนึ่งเล่มแต่ที่เป็นเรื่องเกิดเหตุมีเพียงหนัาเดียวเขียนว่าสภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่มีมติให้ต่ออายุราชการสัตว์ป่าอีกหนึ่งปีเนื่องด้วยสถาณการณ์ทั้งภายในภายนอกไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ”

คำนี้เหมือนคำด่าว่าจอมพลถนอม ว่าเป็นสัตว์ป่า สภาสัตว์ป่าและต่ออายุตัวเอง ทำให้ดร.ศักดิ์ที่เป็นอธิการบดีสมัยนั้นโกรธ ไม่พอใจ เพราะรามคำแหงตั้งขึ้นมาโดยส.ส ประมวลกุลมาสพรรคสหประชาไทย คือพรรคจอมพลถนอมต้องการตั้งรามคำแหงเป็นฐานอำนาจทางการเมือง ที่จะมาต่อสู้ธรรมศาสตร์ของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์หรืออาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ปรากฏว่าลูกศิษย์ตัวเองมาทำเรื่องซะแล้ว

ก็สั่งลบชื่อ 9 นักศึกษาทันทีหนึ่งในนักศึกษานั้นรู้สึกว่า คุณสมพงค์ เป็นหนึ่งด้วยถ้าจำไม่ผิด ณ บัดนี้เป็น ส.วไปแล้ว เป็นผู้มีอำนาจรัฐไปแล้ว เมื่อลบชื่อ 9 นักศึกษาปัญหาเกิดขึ้นก็คือว่าเรารู้สึกถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพขณะที่สถาบันอื่นเขาทำหนังสือหรือวิภาควิจารณ์สังคมหรือเขาออกค่ายอาสาพัฒณากันได้อย่างเสรี แต่รามคำแหงทำไม่ได้

พวกเราจึงได้เดินไปที่สโมสรนิสิตจุฬา เพื่อไปพบบุรุษคนหนึ่ง ชื่อว่าคุณธีรยุทธบุญมีซึ่งเป็นเลขาธิการศูนย์นิสิตสมัยนั้นเพื่อบอกว่านักศึกษารามคำแหงถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพ ถูกลบชื่อถึง 9 คนศูนย์นิสิตนักศึกษาฯ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของนักศึกษาจะสู้หรือจะยอมแพ้ต่ออำนาจอันไม่ชอบธรรม สาเหตุที่พวกเราไปที่นั้นเพราะว่านายกองค์การรามคำแหงเราไปเรียกร้องอะไรไม่ได้ เพราะ ดร. ศักดิ์ ตั้งขึ้นมาสมัยนั้นคือคุณราชันย์ วีระพันธ์

คุณธีรยุทธ ตอบตกลง แล้วก็บอกให้ศูนย์นิสิตนักศึกษาโดยให้นายกสโมสรหรือนายกองค์การของแต่ละสถาบันกลับไปสถาบันของตัวเองเพื่อไปปลุกให้นักศึกษาตื่นขึ้นมาเพื่อรวมกำลังกันที่เรียกกันเป็นม๊อบและก็นัดว่าให้ม๊อบทุกสถาบันมาเจอกันที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัย ในวันที่ 21 มิถุนายน

ก็ปรากฏว่าต่างคนต่างกลับไป แล้วก็เรียกมา จุฬาฯมา ธรรมศาสตร์มามากันบ้างเล็กน้อย แต่ที่มามากที่สุดคือรามคำแหง สาเหตุที่มามากที่สุดคือคุณบุญส่ง ชเลธรขึ้นไปยืนอยู่บนป้ายรามคำแหง ไฮ-ปากค์โต้แล้วก็ด่าสวนกับอธิการบดี ดร.ศักดิ์ นักศึกษาก็มาชุมนุมเยอะมากปรากฏว่าท่ามกลางการปราศัยนั้น มีนักการภารโรงคนหนึ่งภายใต้คำสั่งของใครไม่รู้ฟาดหัวนักศึกษาเลือดหัวแตกก็เลย ใช้สถานะภาพขณะนั้นปลุกว่า 21 มิถุนาเราเดินขบวนไปที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐดีกว่า ปรากฏนักศึกษาไปเต็มหมด

การชุมนุมยืดเยื้อ วันที่ 21 อยู่หน้าทบวง แต่วันที่ 22 ไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีคนมากเกินกว่าหมื่นเป็นการชุมนุมนักศึกษาที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ข้อเรียกร้องเพียง 2 ข้อ ครั้งแรกคือ 1) ให้นักศึกษา 9 คนกลับเข้าไปเรียนโดยไม่มีความผิด 2) ให้ ดร.ศักดิ์ พ้นจากอธิการบดี

ข้อเรียกร้อง 2 ข้อไม่พอเพียงเนื่องจากมีประชาชนสาขาอาชีพ ในวงการต่างๆ ทั้งนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ครู-อาจารย์ พ่อค้า นักธุรกิจ ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอมที่ไม่ให้มีรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ให้มีประชาธิปไตยจึงให้นักศึกษาเพิ่มร้องเรียกร้องมาอีก 1 ข้อ เป็นข้อที่ 3 ให้รัฐบาลมีคำตอบในเรื่องรัฐธรรมนูญกับประชาชนภายใน 6 เดือนก่อนเราสลายการชุมนุม

นี้คือพันธะสัญญาที่นักศึกษาได้ให้กับประชาชนทำให้มาตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ขึ้นเพื่อดำเนินการต่อเนื่องให้มีรัฐธรรมนูญ

กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญจึงมารวมตัวกัน มีกิจกรรมหลายอย่างมาก จะมีอภิปรายสัมมนา เสวนา มีการออกหนังสือ มีการรวบรายชื่อ ซึ่งมี 100 คนแรกดังที่เป็นข่าวแล้วก็ไปตกลงนัดหมาย 6 ตุลาแถลงข่าว ผู้สื่อข่าวมา เดินแห่แหนกันไปตามชุมนุมต่างๆเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนมาร่วมกัน เรียกร้องรัฐธรรมนูญ เที่ยงของวันนั้นตำรวจก็จับ สันติบาลก็จับไป ทั้งหมดครั้งแรกจับไป11 คน และมาจับเพิ่มอีกเป็นคนที่12 คือก้องเกียรติ คงคาและ มามอบตัวอีกคนหนึ่งคือไขแสง สุขใส

เพราะฉะนั้นที่ผมเล่ามาย่อๆ เพื่อให้เห็นภาพจะได้มองเห็นว่าความต่อเนื่องของการเรียกร้องรัฐธรรมนูญมันมาจากประชาชนที่ในใจลึกๆของประชาชน มีหัวใจที่ต้องการมันอยู่แล้วเพราะเสรีภาพมันหมายถึงทุกอย่าง มันหมายถึงเศษฐกิจมันหมายถึงการปลดปล่อยให้ชนชั้นปกครอง ผู้มีอำนาจเศษญฐกิจเปิดโอกาสให้นายทุนที่อยากจะทำธุรกิจโดยสุจริต มีอำนาจทางการเมืองขึ้นมาเพราะฉะนั้นมันคือการปลดปล่อยพลังทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่ง

จักรกฤษ ศิลปชัย
ขอบคุณ ครับนี้เป็นการเริ่มต้นฉายภาพให้เห็นกัน

ผมจะเข้าประเด็นตรงๆ ตรงนี้เลยว่าในภาพหนึ่งเราคงจะเห็นนะครับว่า การก่อกำเนิดการเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงเดือนตุลาคมที่เราเรียกกันว่า เดือนตุลา จนมีคนเดือนตุลาแล้วก็มีบทเพลงเพื่อชีวิตขึ้นบทเพลงเพื่อชีวิตเกิดขึ้นและก็มีบทบาทในเวทีเรียกร้องประชาธิปไตย หรือว่าม๊อบต่างๆที่ คุณวิสา ได้กรุณาบอกเราอย่างไร ขอเชิญ คุณวิสาเล่าตรงนี้ซักนิดว่ามันเริ่มต้นอย่างไร

วิสา คัญทัพ

เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกมันมาจากหนังสือวรรณกรรมเพื่อชีวิต มีนักศึกษาหลายสถาบันมารวมตัวกัน ได้แก่คุณพิรุณ ฉัตรวนิชกุล คุณธัญญา ชุนชดาธาร คุณปรีดี บุญซื่อ คุณประเดิมดำรงเจริญรวมทั้งคุณกมล กมลตระกูลด้วยคือรวมตัวกันแล้วมาทำหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือ "วรรณกรรมเพื่อชีวิต"

หนังสือวรรณกรรมเพื่อชีวิตก็คือหนังสือที่จะลงเรื่องสั้น บทความข้อคิดข้อเขียนในเชิงที่เป็นสาระประโยชน์กับประชาชน ไม่ใช่เรื่องความรักส่วนตัววรรณกรรมก็ไม่ใช่วรรณกรรมความรัก ต้องเป็นวรรณกรรมที่รับใช้ผู้ใช้แรงงาน ชาวนากรรมกร ผู้เสียเปรียบในสังคม และในหนังสือวรรณกรรมเพื่อชีวิตจะมีคอลัมน์อยู่คอลัมน์หนึ่ง ชื่อคอลัมน์ว่าเพลงเพื่อชีวิตเขียนโดยพิชิต จงสถิตวัฒนาพิชิตก็จะเอาเพลงที่เป็นเพลงเพื่อชีวิตหรือ Protest Song จากต่างประเทศ อย่างเช่นของ โจน เบส ของบ๊อบ ดีเลน พวก where have flower gone มาเขียนอธิบายถึงการต่อสู้นักเพลงเขาต่อสู้ยังไง เขาแต่งเพลงเพื่อชีวิตยังไงมันมีคอลัมน์นี้อยู่

จากนั้นต่อมาก็มีคนสองคน คนหนึ่งชื่อสุรชัย จันทรธิมาธรเขียนหนังสือนามปากกา ว่าท.เสญ เจนจัดอีกคนหนึ่งมาจากโคราชชื่อวีระศักดิ์ สุนทรศรีเพื่อนเขาชอบเรียกว่าคนเดินทาง คือชอบสัญจรไปเรื่อยสองคนมารวมกันก็เลยตั้งเป็นท.เสญ และสัญจรเพลงที่ ท.เสญ และสัญจร เล่นในยุคแรกก็เป็นเพลงที่แต่งที่บ้านสะพานควายโดยคุณสมคิด สิงสงและก็ผม และก็คุณสุรชัย อยู่ด้วยกันบ้านสะพานควายสมัยนั้นเป็นบ้านที่เกิด ขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมตอนแรกพวกคุณธีรยุทธ บุญมีว่าจะไปอยู่ที่นั้นปรากฏว่าเราสืบทราบว่าบ้านนั้นถูกดักฟังไว้หมดแล้วผู้หวังดีที่มาเช่าให้ก็เป็นพวกที่มีอำนาจ ที่จะเอาอำนาจคืนผู้นำนักศึกษาที่มีชื่อก็เลยออกไปหมด เหลือแต่ศิลปินอย่างพวกคุณสุรชัย คุณสมคิดคุณประเสริฐ จันดำ และผม... เพลงคนกับควายก็เกิดขึ้นที่บ้านสะพานควายหลังนั้น นี้เป็นเพลงแรกหลังนั้น ตามติดมาอีกเพลงหนึ่งก็คือเพลงที่คุณสุรชัยใส่ทำนอง แต่ว่าเนื้อเพลงเป็นของ จิตร ภูมิศักดิ์คือเพลงเปิปข้าวงั้นวง ท.เสญ และสัญจรเป็นที่รู้จักกันในนามเพลงเพื่อชีวิตครั้งแรก ก็คือ เพลงเปิปข้าวและก็เพลงคนกับควาย

จักรกฤษ ศิลปชัย
พี่วิสา จะกรุณาเล่น เป็นตัวอย่างให้เราฟังได้ไหมครับ

วิสา คัญทัพ

เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน

จักรกฤษศิลปชัย

เอารอบเดียวพอเป็นตัวอย่าง จริงๆบทกวีบทนี้ผมจำไม่แม่นรู้สึกรู้สึกเป็นบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ ว่า ถึงคนหนังสือพิมพ์ อะไรประมาณนี้ถ้าท่านเข้าไปเปิดดูในเว็บไซต์ Plangprachachon.com ได้จะมีบทกวีบทนี้อยู่ในนั้นนะครับ จะได้เห็นเต็มๆว่าที่มาของทั้งบทนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เปิบข้าวเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง ที่อยู่ในกวีบทนี้พี่วิสาจะกรุณาเล่นเพลง คนกับควาย ซึ่งพี่วิสาแต่งเองด้วย หรือ เอาแค่เปิบข้าว

วิสา คัญทัพ
เอาแค่เปิบข้าวพอแล้ว

จักรกฤษ ศิลปชัย
เอาแค่เปิบข้าวนะครับ

วิสา คัญทัพ
คนกับควายก็เล่าให้ฟังก็ได้ว่า คนกับควายที่แรกไปเล่นครั้งแรกที่งานแต่งงานของคุณวีระประวัติ วงค์พัวพัน ซึ่งเป็นเรื่องตลกมาก เพราะเป็นนักเขียนกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวด้วยกัน แต่งงานที่โรงแรมหรู โรงแรมนารายณ์ นะครับแต่มีคุณหงา มีคุณสมคิด มีผม ไปยืนอยู่สามคนแล้วก็ร้องเพลงนี้ แล้วแขกที่เขามาก็แต่งชุดราตรี มางานแต่งงาน เขาก็งงว่า“ไอ้สามคนนี้มันเป็นใคร” และเพลงที่ร้องมันก็ไม่ได้เกี่ยวกับงานแต่งงานเลย มาคนกับควายอะไรอยู่บนโรงแรมนารายณ์ เป็นเรื่องที่มหัศจรรณ์มาก วีระประวัติ ก็คือพ่อของเคน ธีรเดช วงค์พัวพัน ตอนนี้ลูกดังกว่าพ่อ ก็เป็นดาราภาพยนต์ คือที่มาเป็นอย่างนี้

จักรกฤษ ศิลปชัย

ก็มีเกร็ดเล็กๆที่น่าสนใจนำกลับไปเล่าให้ฟังได้เวลาที่เปิดเพลงคนกับควายคงจะรวบรัดขึ้นอีกซักนิดนึง หลังเหตุการตรงนั้นมาเราก็รับรู้กันนะครับว่าภาคประชาชนเป็นฝ่ายชนะนะครับเหมือนจะมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกจริงๆ ในช่วงนั้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ขณะเดียวกัน คุณวิสาเองและเพื่อนหลายๆคน นักศึกษาที่ช่วยกันเรียกร้องก็ลงพื้นที่ไปพบปะกับประชาชน มีการเคลื่อนไหวต่างมากมายทีเดียว จนกระทั้งบทเพลงต่างวงดนตรีต่างๆเกิดขึ้นมากมาย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ละสถาบันเรียกได้ว่ามีวงดนตรีของตัวเอง ธรรมศาสตร์ก็มีต้นกล้าซึ่งพัฒนามาจากชมรมดนตรีไทย แกนนำสำคัญก็คืออาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูรณ์นะครับ เป็นแกนนำ สำคัญ มีคุณป่อง ต้นกล้า หลายๆคนรู้สึกว่าจะเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตวงเดียวจนกระทั้งปัจจับันที่นำเสนอรูปแบบเพลงเพิ่อชีวิตด้วยลักษณะเครื่องสายไทยเทปพอจะหาฟังกันอยู่ได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น การะเกด หนุ่มสาวนักศึกษาอะไรต่างๆเหล่านี้

รามคำแหงก็มีวงดนตรีคุณวิสาก็ยังรวมกับเพื่อนเล่นดนตรีไปตามม๊อบต่างๆ หลายๆที่มีดนตรีเกิดขึ้นแม้กระทั้ง โรงเรียนวิทยาลัยครูในสมัยนั้น ก็จะมีวงอย่าง คุรุชนเกิดขึ้นมีวงดนตรีเกิดขึ้นมากมาย เรียกได้ว่าเป็น ยุคประชาธิปไตยเบ่งบานมีบทเพลงหลากหลายทีเดียว แต่ก็เบ่งบานได้ไม่นาน 6 ตุลาคม 2516 ก็เคลื่อนไหวกันต่อในที่สุด คุณวิสา คัญทัพ ก็เข้าไปอยู่ในป่า และผมสรุปตรงนี้นิดนึงว่าเข้าไปอยู่ในป่า

ตรงนั้นแหละครับ...เป็นคลังของภาคศิลปวัฒนะธรรมมากมายเหลือเกินมันสมองของศิลปินเหล่านั้น ไปรวมตัวอยู่ในเขตงานต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ มากมายคุณวิสาเป็นหนึ่งในนั้น งานของคุณวิสาเกิดขึ้นที่นั้นเยอะทีเดียวอยากให้พี่วิสาเล่าจากเพลงแรกเมื่อครั้งที่เข้าไปใช้ชีวิตในป่า บรรยากาศเป็นอย่างไรแล้วทำไมต้องเข้าป่า เป็นคอมมิวนิสต์เหรอ แล้วต้องไปอยู่ในป่าอย่างไร ต่างๆเหล่านี้ ทำหน้าที่อะไร บทเพลงที่เกิดขึ้นเขียนขึ้นมาอย่างไรบทกวีที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ต่างๆเหล่านี้ เชิญครับ

วิสา คัญทัพ

ก็สั้นๆ เพื่อกระชับเพราะเวลามีน้อย เดี๋ยวผมอยากให้ท่านจาตุรงค์ มาร่วมร้องเพลงด้วย เพราะฉะนั้นผมจะ.... จะไปแล้วเหรอครับ... น่าจะร้องสักเพลงนึง... (เสียงปรบมือ)

ถ้าท่านจะไป ผมขออนุญาตให้ท่านก่อนดีกว่า เดี๋ยวค่อยเล่ากันนะครับ เพราะท่านมีภารกิจมาก เชิญท่านก่อนดีกว่าเดี๋ยวเราค่อยคุยกัน เอาซะหน่อยครับท่าน

จักรกฤษ ศิลปชัย
เป็นเกียรติกับพวกเรานักจัดรายการวิทยุ (เสียงปรบมือ)

จาตุรงค์ ฉายแสง(ร้องเพลง แสงดาวแห่งศรัทธา)
พราวพรายแสง ดาวดาวน้อยสกาว
ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล
ดั่งโคมทอง ส่องเรืองรุ่งในหทัย
เหมือนธงชัย ส่องนำจากห้วงทุกข์ทน
พายุฟ้าขืนข่มคุกคาม เดือนลับยามแผ่นดินมืดมน
ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย
ขอเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
แม้นฝืนฟ้ามืดดับเดือนลับมลาย ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน
ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง

วิสา คัญทัพ

ขอบพระคุณท่านมากเพราะว่าท่านมีภาระกิจเยอะ ถ้าขืนผมพูดต่อไปแล้วท่านไม่ได้ร้อง ให้พวกเราได้ฟังขอบคุณท่านที่ให้เกียรติมา

จักรกฤษ ศิลปชัย
ขอบคุณพณฯ ท่านรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรงค์ ฉายแสง ขอบพระคุณมากครับ

วันนี้เราได้รับเกียจฟังเพลงดีๆ เพลงนี้เป็นเพลงที่ จิตร ภูมิศักดิ์ เขียน ในขณะที่ถูกจองจำอยู่ในคุกลาดยาว บทเพลงนี้มีคุณค่าก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของบทเพลงเพื่อชีวิตที่เข้มแข็งทีเดียว ในวาระต่างร้องเพลงนี้กันตลอดเวลา

เรามาสลับบทกวีก่อนซักบทกวีหนึ่งก่อนจากพี่เปรี้ยวและเดี๋ยวพี่วิสาจะเล่าให้เราฟังถึงบทเพลงต่างๆบทกวีต่างที่ก่อกำเนิดขึ้นในเขตป่าเขาของการทำงานในขณะนั้น เชิญคุณ ปองจุลทรัพย์

สมปอง จุลทรัพย์
เป็นกวีของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เขียนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ 2517 ลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติชื่อเพียงความเคลื่อนไหว

นิ้วกระดิกกระเดี้ยได้พอให้เห็น
เรี่ยวแรงที่แฝงเร้นก็ปรากฏ
ยอดหญ้าแยงหินแยกหยัดระชด
เกียรติยศแห่งหญ้าก็ระยับ
สี่สิบปีเปล่าโล่งตลอดย่าน
สี่สิบล้านไม่เคยเขยื้อนขยับ
ดินเป็นทรายไม้เป็นหินจนหักพับ
ดับและหลับตลอดถ้วนทั้งตาใจ
นกอยู่ฟ้านกหากไม่เห็นฟ้า
ปลาอยู่น้ำย่อมปลาเห็นน้ำไม่
ไส้เดือนไม่เห็นดินว่าฉันใด
หนอนย่อมไร้ดวงตารู้อาจม
ฉันนั้นความเปื่อยเน่าเป็นของแน่
ย่อมเกิดแก่ความนิ่งทุกสิ่งสม
แต่วันหนึ่งความเน่าในเปือกตม
ก็ผุดพรายให้ชมซึ่งดอกบัว
และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ
เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว
มันอาจขุ่นอาจข้นอาจหม่นมัว
แต่ก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน
พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า
ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล
ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย

จักรกฤษศิลปชัย

พี่วิสาเรามาเล่ากันต่อถึงบทเพลงตอนนี้เราจะเข้าไปสู่ในบทบาทในการทำงานในเขตป่าเขาซึ่งตรงนั้นอย่างที่ได้เรียนตั้งแต่แรกนะครับว่า มีบทกวี มีบทเพลงเกิดขึ้นมากมายขณะนี้คณะกรรมการจัดงานก็พยามจะรวบรวม เห็นว่ามีเป็นพันเพลง เฉพาะคุณวิสาคนเดียวก็มหาศาลเลยทีเดียว เชิญ พี่วิสาเล่าให้เราฟัง ถึงบทเพลงต่างๆในนั้นและการทำงานของพี่ด้วย

วิสา คัญทัพ

จริงๆก่อนที่จะถึงช่วงที่จะเข้าป่า บทเพลงเพื่อชีวิตนอกเหนือจากเพลงที่บอกมาว่ามีเพลงเปิบข้าว คนกับควายแล้ว ก็ยังมีเพลงของวงอื่นๆอีกและที่โดดเด่นอย่างเช่น เพลงเพื่อมวลชนของ วงกรรมชน และก็เพลงดอกไม้จะบาน ของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชาและที่สำคัญเป็นเพลงของ 14 ตุลาโดยเฉพาะก็คือเพลงนกสีเหลืองก่อนจะเข้าไปสู่ป่าเขาฟังนกสีเหลืองรำลึกถึงวีระชน

กางปีกหลีกบินจากเมือง เจ้านกสีเหลืองจากไป
เจ้าเหินไปสู่ห้วงหา เมฆขาวถามเจ้าคือใคร
กางบินด้วยแสงตะวัน เจ้าฝันถึงโลกสีใด
คุณจำได้ไหม เหตุการณ์เมื่อวันที่14-15 ตุลาคม รอยเลือด คราบน้ำตาและฝันร้ายของผู้คน วีรชนคนหนุ่มสาวของเราได้ตายไปท่ามกลางห่ากระสุนและแก๊สน้ำตา ตายไปขณะชูสองมืออันว่างเปล่า เพื่อเรียกหาเสรีภาพ ณ บัดนี้ขอให้พวกเราส่งใจระลึกถึงไปยังพวกเขา ไม่ว่าเหตุการณ์จะล่วงเลยผ่านไป 30ปี 40ปี 100ปี 1000ปี เขาเหล่านั้นก็คือคนที่ทำให้เรามีเสรีภาพ สำหรับคนที่มีชีวิตอยู่ในวันนี้นะครับ ก็ขอให้ได้สืบทอดเจตนารมณ์ และจิตใจที่รักชาติ รักประชาธิปไตย สร้างชาติบ้านเมืองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
จงบินไปเถิดคนกล้า ความฝันสูงค่ากว่าใด
เจ้าคือวิญญาณเสรี บัดนี้เจ้าชีพวาย

จักรกฤษ ศิลปชัย

นกสีเหลืองเป็นบทเพลงที่เกิดขึ้นหลัง 14 ตุลา 2516 สักช่วงหนึ่ง มีเกร็ดเล็กๆเสริมให้ท่านนักจัดรายการวิทยุได้ทราบกันด้วย ว่าเพลงนี้เป็นหนึ่งในจำนวน 4 เพลงที่คาราวาน หลังจากที่รวมกัน ระหว่างที่ ท.เสญ สัญจร / บังคาเทศแบนด์ และรวมเป็นคาราวานแล้ว เป็น 4 เพลงแรกที่อกก เป็น ซิงเกิ้ล 7 นิ้ว เขาเรียกสมัยก่อนเราเรียก 7นิ้ว ใช่ไหมครับ ซิงเกิ้ลเล็กๆ 4 เพลง หน้าละ 2 เพลงก็จะมีเพลงเปิบข้าวที่คุณวิสา เล่นเป็นเพลงแรกไปแล้วเพลงคนกับควายที่คุณวิสาแต่งร่วมกับคุณสมคิด สิงสง และก็คุณสุรชัย จันธิมาธรยังมีเพลง จิตร ภูมิศักดิ์ มีเพลงนกสีเหลืองเพลงนี้และครับ เป็นซิงเกิ้ลแรกออกมาในขณะนั้นเมื่อประมาณ ปี 2517 ราคาในขณะนั้น 25 บาทต่อแผ่น มีประมาณ 500 แผ่นในประเทศไทยเท่านั้น ปัจจุบันเห็นขายกันอยู่ประมาณ 8,000 – 9,000 บาทต่อแผ่นเป็นของสะสมไปแล้วเหมือนกัน หลายๆท่านในที่นี้อาจจะมีสะสมอยู่ก็เป็นของมีค่าชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

คุณวินัย อุกฤษเป็นผู้ประพันธ์เพลงนักสีเหลือง ปัจจุบันท่านก็เป็นเจ้าของเกาะ ชื่อเกาะบูบู นั้นก็คือ หนึ่งในสี่เพลง แรกที่ออกมาเป็นซิงเกิ้ล จริงของคาราวาน ถ้าใครดู แฟนพันธ์แท้ เมื่อสองที่แล้ว มีคำถามนี้อยู่...ผมตอบได้

ทีนี้เข้าสู่ป่า จริงๆหลายคนสงสัยว่าพูดถึงเข้าป่า ทำไมต้องเข้าไป และเข้าไปแล้วเข้าไปทำอะไร งานต่างเกิดขึ้นที่นั้นมากมาย แม้กระทั้งอย่างเพลง บินหลา ซึ่งคุณวิสาเป็นคนแต่ง คนแรกเกิดขึ้นอย่างไร เดี๋ยวเราจะค่อยลำดับเล่าให้ฟัง แต่เวลาดูแล้วเหลือครึ่งชั่วโมงจะค่อนข้างรวบรัดซักนิดนึง เราจะได้พักทานข้าวในช่วงกลางวันนะครับเราจะได้มีเวลาตรงนี้ เชิญพี่วิสา เริ่มเล่าว่า เข้าไปทำไม เข้าไปแล้วไปทำอะไรวิสา คัญทัพ

ความจริงนักศึกษาที่เข้าป่าไป เขาไม่ได้เข้าไปเพื่อเป็นคอมมิวนิสต์โดยความตั้งใจ คืออยากเรียนให้ทราบว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่ต่อสู้ด้วยกำลังและอาวุธในสมัยนั้น แต่ว่าเยาวชน นักเรียนนักศึกษาสมัยนั้นถูกปราบ ถูกปราบไม่ใช่ถูกปราบธรรมดานะครับ ฆ่าทิ้งเลยโดยไม่สามารถหาจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณบุญสนอง บุญโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยม ถูกยิงตายคารถ ซีตรองขณะจะขับรถเข้าบ้าน คุณแสงรุ่ง นิรันดรกุล ผู้นำนักศึกษารามคำแหงถูกยิงทิ้งที่ป้ายรถเมล์ห่างจากหัวลำโพงมาไม่กี่ป้าย คุณนิสิต จิระโสภณ ถูกทีบตกรถไฟตายขณะไปทำข่าวในนามผู้สื่อข่าวอธิปัตย์ พ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง, สำราญ คำกลั่นผู้นำกรรมกร ผู้นำชาวนา คือถูกฆ่าๆๆๆๆ มากมาย จนกระทั้งเรารู้แล้วว่าสิ่งที่จะตามมา ก็คือการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดทารุนอย่างเหี้ยมโหดโดยกลุ่มอำนาจเก่า เมื่อเยาวชนนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นไม่มีที่พึ่ง เขาก็ต้องหาทางที่จะต่อสู้ บางคนหนีไปต่างประเทศ แต่บางคนหนีไปจับปืน คือไม่ยอม สู้

ฉะนั้นเราจะเห็นภาพว่าทำไมคนเป็นหมื่น หรือหลายหมื่นที่เป็นนักศึกษา เป็นเยาวชนเข้าไป บางคนเป็นลูกนายทหาร ลูกนายตำรวจ เป็นลูกนักธุรกิจใหญ่ๆ เดินขึ้นเขา ขึ้นภู ไปอยู่อย่างยากลำบากนะครับไม่ได้ไปอยู่อย่างสบาย ภาพมันก็คือว่าเขาไปเพราะเขาอยู่ไม่ได้ ฉนั้น บางคนอาจจะนึกว่าเขาไปคอมมิวนิสต์ตามที่วิทยุยานเกราะของรัฐบาลแต่งเพลง “ดังเสียงเปรี้ยง เปรี้ยง ดังเสียงฟ้าฟาด โครมโครมพินาศ ลูกหลานหนักแผ่นดิน” มันเป็นกระบอกเสียงของเผด็จการโจมตีพวกเรา ฉนั้นเมื่อเราเข้าไป เราก็แต่งเพลงสวนกลับมาหาเขาบ้าง

เข้าไปในนั้นก็อบอุ่น ลำบากแต่อบอุ่น นี้คือภาพย่อๆ ที่ผมเล่าฟังว่า เขาเข้าไปเพื่อไปต่อสู้เพราะไม่มีทางออก และบทเพลงที่ผมจะร้องให้ฟัง คือเพลงที่คุณอ๊อด พูดถึงเพลงบินหลา

บินหลาเป็นเพลงที่แต่งทำนองโดย คุณกุลศักดิ์ เรืองคงเกียจ คุณจิ้น กรรมชน เดินทางมาพบผมที่ ฐานที่มั่นทางภาคเหนือ ทางในประเทศลาว เราได้ทำเพลงด้วยกัน โดยผมเขียนคำร้อง คุณกุลศักดิ์เขียนทำนอง แล้วเราก็บันทึกเสียงด้วยเครื่องเทปเล็กๆส่งไปออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงประชาชนแห่งประเทศไทย เพลงบินหลาที่แต่งขึ้นมา ในขณะที่พี่น้องภาคใต้ถูกล้อมปราบโดยสองรัฐบาล คือ รัฐบาลมาเลเซีย โดยฮุสเซ็นออน กับรัฐบาลธานินทร์ ไกรวิเชียร ปราบคนใต้ เราแต่งเพลงนี้เพื่อให้กำลังใจคนใต้ก่อนที่จะมีคนนำมาดัดแปลง

บินหลา บินหลา บินลอยมาเล่นลม
ชื่นชมธรรมชาติ อันพิลาศสะอาดตา
ต้นยางยืนทนง อวดทรวดทรงมิยอมให้ข่ม
ต้านทานแรงลม ไม่เคยพรั่นภัยพาล
บินหลา บินหลา บินลอยลาไปแห่งใด
โพยภัยทุรชาติ มาพิฆาตเลือดสาดแดง
หมู่โจรครองเมือง เรืองอำนาจพิฆาตเธอสิ้น
หมู่มารใจทมิฬ กินเลือดเรามวลประชา
บินหลา บินหลา บินคืนมากู้เสรี
แผ่นพื้นปฐพี ไม่ยอมให้ใครครอบครอง
บินหลา บินหลา ชาวใต้มาร่วมพลัง
ด้วยใจมุ่งหวัง อธิปไตยของไทยกลับคืน
จับปืนยืนทนง สู้อาจองมิยอมให้ข่ม
บินหลาเริงลมสู่สังคมอุดมการณ์

จักรกฤษ ศิลปชัย

เพลงนี้เมื่อครั้งที่เกิดขึ้นในเขตป่าเขาจริงๆแล้ว ชื่อเพลง บินหลากู้เสรี ก่อนที่วงดนตรีแฮมเมอร์ ซึ่งอยู่ในเมือง แล้วได้ยินได้ฟัง จากสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพในเมืองจนโด่งดัง และก็ประสบความสำเร็จ แต่เนื้อเพลงจริงๆ เจตณารมณ์จริงๆ ก็เมื่อซักครู่นี้ที่เราได้ฟังกันไป ที่คุณวิสาได้กรุณาเล่าให้เราฟัง อย่างที่บอกเวลาน้อยก็พยามรวบรัด เข้ามาสู่เรื่องราวของเพลงที่จะให้อิงกับสถานการณ์ มากขึ้น

มีอีกเพลงหนึ่งที่คุณสุรชัยร้อง แล้วหลายคนชอบเหลือเกิน นั้นคือคนภูเขา คุณวิสาก็กรุณาแต่ง แต่งเมื่อครั้งที่อยู่ในป่าเช่นเดียวกัน พี่เล่าให้เราฟังซักนิดดีไหมครับ

วิสา คัญทัพ

เพลงคนภูเขาเป็นเพลงที่เกิดขึ้นช่วงท้ายๆ ก่อนที่พวกเราจะเข้าป่า ผมเป็นนักศึกษาที่ไปในโครงการเผื่อแพร่ประชาธิปไตยในชนบท แล้วก็ขึ้นรถไปทางภูพาน ภูพานเราก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นดินแดนของนักรบ ทปท. เราก็นั้งรถทัวร์เงียบๆ เหงาๆ คนเดียว ก็คิดถึงคนเหล่านั้นว่า ‘คนดีนี่อยู่แถวนี้เอง แต่คนชั่วอยู่ในเมือง’คนดีอยู่รอบภูพาน แล้วเราก็เห็นดาวเห็นเดือน ก็เขียนเป็นบทกวี ร้อยดาวร้อยเดือนมา คือผู้ที่อยู่ป่า เป็นแนวหน้ากลางป่าเขาคือ เรารู้สึกเหมือนเขาอยู่รอบๆ เขียนเสร็จแล้วก็ เอามาให้คุณหงา สุรชัย แล้วก็ใส่ทำนอง แล้วเขาก็เล่นครั้งแรกในคาราวาน ก็เล่นคนเดียว หมายความว่าคนอื่นไม่เล่น หมายความว่าอีกสี่คนไม่เล่น เพราะเขาอาจรู้สึกว่าเพลงมันหวานไป ผมจำได้เลยว่าคนที่มาเล่นเป็นคนที่สองคือ คุณมงคล อุทก เริ่มเอาเม้าท์ออแกนมาเป่า ต่อมาก็เล่น เล่นแล้วก็คนชอบ เป็นเพลงที่ถูกใจคน เพราะเพลงสมัยนั้นพวกเราทำมามันไม่ได้มีเทปอัด ไม่มีจ้างดีเจ ไปเปิด เพลงละพัน เพลงละสองพัน ไม่มี มันดังตามธรรมชาติมัน คนกับควายไปเล่นแรกๆ มีคนดูอยู่ 2-3 พวกนี้มันแปลกร้องเพลงอะไรก็ไม่รู้ มันพัฒนามาจากเล็กจากน้อย จนมาวันนี้กลายเป็นที่ยอมรับ ก็เป็นธรรมชาติ

จักรกฤษ ศิลปชัย

จริงๆ ผมจะว่านักจัดรายการที่นั้นอยู่ตรงนี้ เมื่อคืนเราได้คุยกันบ้าง ว่าหลายท่านต้องควักสตางค์ไปซื้อเทปมาเปิดเอง โดยเฉพาะเพลงเพื่อชีวิต จากนี้ไปเราคงมีการสื่อการกันมากยิ่งขึ้นแล้วใกล้ชิดกันขึ้น พี่วิสามีงานอีกเยอะแยะในช่วงหลังๆ ของการทำงาน บางทีก็ไม่รู้ว่าจะส่งไปที่ไหน เพราะทุนรอนในการส่งไปก็ไม่มีเหมือนกัน ลุ่มๆดอนๆ อยู่แต่หัวใจก็เต็มที่บางคนนี้ก็ขับรถไปจัดรายการเอง

วิสา คัญทัพ

ถ้าอย่างนั้นผมขออนุญาติเสริมนิดนึงได้ไหมครับว่า ตอนนี้บางท่านอาจไม่รู้ว่าโครงการ 30 ปี14ตุลา ที่จัดของฝ่ายศิลป์วัฒนธรรมมีอะไร ผมอยากบอกอย่างนี้ว่า เราทำอัลบั้มทั้งหมดด้วยกัน 4 ชุด ด้วยกัน

ชุดที่ 1 ชื่อว่า “ตำนานประชาธิปไตย”จะเป็นบทเพลงเก่าๆ ของคุณจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งยังไม่เคยบันทึกเทปมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ หรือว่า มนต์รักจากเสียงกระดึง หรือเพลงของ นายผี อัสนี พลจันทร์ ที่ยังไม่บันทึกเทปมาก่อน เหล่านี้จะอยู่ในเพลงชุดตำนาน ผู้ขับร้องจะเป็นนักร้องเพื่อชีวิต เป็นหงา เป็นปู เป็นแอ๊ด เป็นใครต่อใครจะร้องในชุดนี้ เราให้ชื่อว่าชุด ตำนานประชาธิปไตย

ชุดที่ 2 ชื่อว่า “สารธารประชาธิปไตย”จะเป็นเพลงอย่างที่พวกเรารองเมื่อซักครู่ นกสีเหลือง เพื่อมวลชน ดอกไม้จะบาน คนกับควาย เปิบข้าว แต่เพลงเหล่านี้จะร้องโดย สุเทพ วงค์กำแหง ร้อง แสงดาวแห่งศรัทธา, คนกับควาย โดย ชาย เมืองสิงห์, นกสีเหลือง อาจจะเป็น เพ็ญศรี พุ่มชูศรี จะเป็นศิลปินอาวุโสทั้งนั้น เปิบข้าว กำลังติดต่อคุณสายันต์ สัญญา จะเป็นรุ่นใหญ่กลุ่มนี้จะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ อันนี้จะเป็นชุดที่เรียกว่า สายธารประชาธิปไตย

ชุดที่ 3 ชื่อว่า “สืบสานประชาธิปไตย”เป็นเพลงใหม่ล่าสุด คือแต่งใหม่สำหรับ30 ปีนี้แต่งโดยนักแต่งเพื่อชีวิต เช่น คุณหงา คุณแอ๊ด ผม พงษ์สิทธิ, เศก ศักดิ์สิทธิ, วัฒนวัลยางกู,ล เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูรณ์, ศิลา โคมฉาย คือแต่งเพลงใหม่ทั้งหมดแล้วเอาไปให้นักร้องจากค่ายเพลงที่ดังส่งมา อาจเป็นนันทิดา เป็นอรวีเป็นเบิรด์อะไรที่เขาว่าเป็นข่าวกัน มันเป็นเพียงพูดไปแต่เราส่งไปเค้าจะร้องก็แล้วแต่เขา จะเป็นค่าย อาร์.เอส ส่งใครมา เป็นปาน เป็นอู๋ธรรณธรณ์ นี่คือเป็นนักร้องยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราจึงใช้ชื่อชุดว่า ‘สืบสาน’ เพื่อสื่อให้ประชาชนทั้งประเทศเห็นว่าบทเพลงเหล่านี้นะมันสืบสานกันมาอย่างนี้

และชุดที่4 ชื่อว่า“คนทำทางประชาธิปไตย”เป็นของอาจารย์ดุษฎี พนมยงค์ที่ประสานเสียงสวนพลู เป็นเยาวชนร้องหมด เป็น Acappella ทั้งหมดมี 4 ชุดผมก็ไม่รู้ว่าจะทำไง รัฐสภาไม่มีเงินไปจ้างดีเจที่ไหนเปิดถ้าเสร็จแล้วเราจะถามคุณอ๊อดว่าเราจะส่งแผ่นพวกท่านได้อย่างไร

Acappella (It. อะคาเปลลา)

เดิมหมายถึงเพลงโบสถ์ขับร้องหมู่สมัยโบราณซึ่งไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอปัจจุบันหมายถึง เพลงขับร้องหมู่ที่ไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอเช่นเดียวกันโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นเพลงโบสถ์หรือไม่มาจากคำภาษาอิตาเลี่ยนมีความหมายว่า Chapel (หมายถึง โบสถ์)

 

จักรกฤษ ศิลปชัย

ขณะนี้ก็มีชื่อ-ที่อยู่ที่ในการลงทะเบียนอยู่แล้ว ก็จะส่งออกไปให้ รับเป็นภาระให้ได้ จริงๆน่าจะมีเพลงหนึ่งให้ดีเจที่จัดรายการเพลงเพื่อชีวิตทั้งหมดรวมตัวกันหนึ่งเพลงเลยแล้วร้องเป็นหมู่ร้องร่วมกันสักเพลงเสนอไว้ ทำเสร็จหมดยัง 4 ชุดนี้น่าจะดีทีเดียวจะได้ไปเผยแพร่ในท้องถิ่นของท่านด้วย เราสลับด้วยกวีอีกหนึ่งบทกับคุณปอง จุลลทรัพย์ ดีไหมครับ ขอเสียงปรบมือครับ

สมปอง จุลลทรัพย์

เป็นงานของคุณพนม นันทพฤษ หรือ คุณสถาพร ศรีสัจจัง กวีชาวใต้ของเรา เขียนขึ้นเมื่อปี 2522 ในโลกหนังสือเดือนพฤษภาคม

 

และแล้วอาทิตย์ก็ต่ำสู่ด้านตก
ดนตรีจากเสียงนกกังวาลขรม

ระย้าจากความมืดก็ยืดปม
ชักม่านห่มประเทศไทยอยู่ไปมา
ที่ขอบฟ้าไกลลิบระลิ้วโน้น
ดาวหนึ่งโชนสายแสงขึ้นเจิดจ้า
ทอวาวพราวพรายสายศรัทธา
เปิดแผ่นฟ้ามืดมิดสนิทนั้น
แผ่นดินมืดมืดมิดสนิทมาก
ทุกหนแห่งหลุมขวากล้วนขวางกั้น
ดาวชี้ทิศดวงหนึ่งจึงสำคัญ
ที่จะสาดแสงปันให้พื้นพราย
ที่จะสาดหัวใจให้คนทุกข์
ให้กล้าลุกลืมตาขึ้นมาได้
ที่จะปลุกศรัทธาคนกล้าตาย
ให้สานแสงแห่งสายศรัทธาไป
และแน่นอนวันหนึ่งฟ้ามืดนั้น
ก็จะพรันเจิดจ้าเป็นฟ้าใหม่
เมื่อดาวแสนล้านดวงโชดช่วงไฟ
โชดลงทาบอาบใจประชาชน
ตำนานเก่าๆเล่าว่า
มันฆ่ามันขยี้เสียปี้ป่น
ไม่มีแม้คำจำนน
เหล่ามารมืดมนหนทาง
ดับดาวดับฤาจักดับได้
แตกดับสลายเพียงร่าง
แสงยังโชติยังรางฉาง
เป็นเยี่ยงเป็นอย่างสืบมา
ที่ขอบฟ้าไกลมืดมิดสนิทโน้น
ดาวนับล้านฉายโชนประกายจ้า
ทอวาวพราวพรายสายศรัทธา
ยิ่งนานยิ่งเต็มฟ้ายิ่งพร่าพราว
ทอวาวพราวพรายสายศรัทธา
ยิ่งนานยิ่งเต็มฟ้า ยิ่งพร่าพราว

จักรกฤษ ศิลปชัย

ขอบคุณคุณปอง จุลลทรัพย์ ครับ เวลาก็ใกล้แล้วที่เราจะพักรับประทานอาหารกัน เชื่อว่าในภาคเช้าที่ผ่านมาตลอดทั้งเช้า เราคงได้รับรู้เรื่องราวเบาๆสบายๆ รวมไปถึงเหตุการต่างๆ ที่ทำให้เราได้เข้าใจถึงเรื่องราวของเพลงเพื่อชีวิตมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพวกเราโดยตรงกับนักจัดรายการวิทยุโดยตรง ก็คงจะเข้าใจมายิ่งขึ้น รวมทั้งเรื่องราวต่างๆ ที่คุณวิสา คัญทัพ ได้กรุณาเล่าให้เราฟังตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ในภาคบ่ายตรงกับพวกท่านอย่างเต็มที่เลย อย่างกำหนดการอย่างที่ท่านได้ถือเอาไว้อยู่แล้ว นั้นก็คือเรื่องราวของ“บทบาทนักจัดรายการวิทยุต่อการสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม” วิทยากรแต่ละท่านก็ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ที่จะมาให้ความรู้กับเรา และที่สำคัญหลังจากที่เราได้เสวนาในหัวข้อนั้นแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้พวกท่านได้พูดคุยกันนำเสนอเรื่องราวกันว่า ท่านทำงานในท้องถิ่นเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อว่าเราจะนำไปสู่การที่เรารวมตัวกันอย่างหลวมๆ เพื่อตั้งเป็นชมรมนักจัดรายกายวิทยุขึ้นมาถ้านำไปสู่ตรงนั้นได้ หรือว่าในอนาคตเป็นไปได้ว่าในแต่ละจังหวัดจะมีสถานีวิทยุจัดเพลงเพื่อชีวิตนำเสนอเรื่องราวของประชาธิปไตย นำเสนอเรื่องราวของท้องถิ่นโดยเฉพาะเลย จังหวัดหนึ่งซักหนึ่งคลื่น กรุงเทพอาจเป็นแกนนำก่อนและก็กระจายกันต่อไป นั้นเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งอาจจะขยายผลกันต่อไป

สุดท้ายพี่วิสามีอะไรสรุปให้เราฟังซักนิดไหมครับก่อนที่จะเล่นเพลงให้เราฟัง

วิสา คัญทัพ

ก็จะขอฝากเพื่อนๆ นักจัดรายการยังไงก็ช่วยพวกเรา ช่วยประชาชนละกัน 30 ปีนี้พวกเราไม่มีเงินอย่าที่เป็นข่าวลือ รัฐบาลให้ สภาให้ ก็ยังเบิกไม่ได้ เมื่อวานไปเล่นที่กาจญจนบุรีครั้งแรก ประธานฝ่ายดนตรีและกรรมการต้องควักเงินส่วนตัว คนละ 50,000 บาทลงไปก่อนเพื่อนำไปจ่ายให้นักร้องที่มาร้องเพลง เงินยังไม่ได้นะครับ ฉะนั้นขอให้เข้าใจว่ากรรมการทุกคนควักเงินส่วนตัวออกไปแล้ว ทำงานไปแล้ว ไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่ได้ หรือได้เมื่อไร ก็ไม่เป็นไร เพราะใจทุกดวงโยนไปให้กับวีรชน เดือนตุลาหมดแล้ว

ผมจะเล่นเพลงสุดท้ายซึ่งเป็นที่ผมแต่ง ที่ว่าเป็นเพลงใหม่ แต่งให้กับนักร้องใหม่ในชุดสืบสานฯ เพลงผมชื่อเพลงวันประชาธิปไตย

กว่าจะได้มาเลือดเนื้อน้ำตาท่วมนอง
กว่าจะได้ครองเรียกร้องกู่ก้องตะโกน
กว่าจะได้ชัยเคียดแค้นดังไฟคุโชน
กว่าจะหักโค่นหมู่โจรเผด็จการทำลาย
ไม่ใช่ได้มาด้วยฟ้าบันดาลที่ไหน
ไม่ใช่เพราะใครหยิบยื่นมอบให้ง่ายดาย
แต่เยาวชนพี่น้องมวลคนมากมาย
หยัดยืนท้าทายมั่นหมายประชาธิปไตย
นกสีเหลืองจึงเลือดไหลอาบ
และนกพิราบสีขาวเลือดพราวหลั่งไหล
เพื่อนพิราบแดงปีกแกร่งบินข้ามพงไพร
จดจานจำไว้สืบไปชั่วนิรันดร
นี่คือตำนานอาจหาญของวีรชน
นี่คือใจคนท่วมล้นด้วยแรงศรัทธา
นี่คือวันชัยพี่น้องทั่วไทยเพรียกหา
14 ตุลาวันประชาธิปไตย
วันประชาธิปไตย วันประชาธิปไตย
วันประชาธิปไตย 14 ตุลา วันประชาธิปไตย
วันประชาธิปไตย วันประชาธิปไตย
วันประชาธิปไตย 14 ตุลา วันประชาธิปไตย

จักรกฤษ ศิลปชัย

เห็น พี่ตุ๊ก กัญญา ปัญญาชาติรักษ์ นั่งฟังเพลงนี้แล้วน้ำตาซึมไปด้วยเลย ท่านผู้นี้ทำให้งานนี้เกิดขึ้นได้จริง ท่านอยู่เบื้องหลังคอยสนับสนุนทั้งกำลังใจและกำลังเงินด้วย ขอเสียงปรบมือสำหรับพี่ตุ๊ก-กัญญา ครับ
ภาคเช้าอย่างที่ได้เรียนเพื่อนนักจัดรายการทุกๆท่านแล้ว เราก็ได้เห็นภาพโดยเฉพาะท่านที่จัดรายการเพลงเพื่อชีวิตอยู่แล้ว ส่วนท่านที่จัดรายการหลากหลาย เพลงป๊อบบ้าง เพลงรวมสมัยบ้าง ก็จะได้รู้ว่าทางคณะกรรมการฝ่ายศิลปวัฒนธรรม เขาก็มีศิลปินจากค่ายต่างๆ มาร้องเพลงเหล่านี้ ซึ่งท่านก็สามารถนำเสนอได้ด้วยเช่นเดียวกัน

เราจะมาปิดท้ายจริงๆ กับ คุณปอง จุลทรัพย์เป็นกวีสุดท้าย และเดี๋ยวเรามาเจอกันภาคบ่าย ภาคบ่ายสำคัญที่เดียวพลาดไม่ได้ วิทยากรแต่ละท่านมีคุณค่าละก็ ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น อย่าง ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ท่านเองก็จับเรื่องราวของวิทยุชุมชน ท่านจะมาพูดเรื่องราวของ ดาบสองคมของนักจัดรายการวิทยุ ซึ่งจะมีผลที่เป็นด้านบวกด้านลบ อย่างไรซึ่งสำคัญทีเดียว และทราบว่าเพื่อนนักจัดรายการที่มาในวันนี้หลายท่านก็ทำรายการวิทยุชุมชนอยู่ในท้องถิ่นของท่านอยู่ด้วย ก็เชื่อว่าจะยังประโยชน์อย่างมากมายทีเดียว อีกท่านหนึ่งท่านก็เป็น สื่อสารมวลชน ฝีปากฉกาจ ปัจจุบันท่านเป็น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา คือ คุณสุภาพ คลี่ขระจาย นะครับมาเป็นหนึ่งในวิทยากร อีกหนึ่งท่าน ท่านป่วยพยายามจะมา รอลุ้นอยู่ว่าท่านจะหายป่วยทันหรือเปล่า ท่านอยู่ในเหตุการณ์ 14 ตุลาด้วย เป็นนักจัดรายการคุณภาพคนนึง ที่ผมเชื่อว่าในที่นี้หลายๆคน คงเป็นแฟนของท่านอยู่ เป็นแฟนรายการของท่านอยู่ ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เสียงหวานนุ่มน่าฟังเลยทีเดียว ท่านคือ จันทรา ชัยนาม เป็นหนึ่งในคนเดือนตุลาด้วย ในภาคบ่ายเราจะได้พูดคุยกัน ในเรื่องราวต่างๆ และก็เปิดโอกาสให้พวกท่านได้แสดงความคิดเห็นด้วย ปิดท้ายด้วยบทกวีของ คุณปอง จุลทรัพย์ ซึ่งจะหยิบบทกวีของใครมาอ่าน รอดูพี่ปองจะแนะนำเอง ขอเสียงปรบมือครับ

สมปอง จุลลทรัพย์
เป็นของคุณวานิช จรุงกิจอนันต์ ชื่อว่าพ่าย

ไม่มีแสง ไม่มีสี ไม่มีเสียง
มีแต่เพียงความรู้สึกเบื้องลึกหลอน
ไม่มีแววเวทนาเอื้ออาทร
มืดสนิทแน่นอนเป็นฉันท์นั้น
ฝันสูงใฝ่สูงไม่สุดสิ้น
ลืมหมดทำหมิ่นเขาเยาะหยัน
เมื่อสิ้นสุดดุจดวงตะวันวัน
แหลกลงนิจนิรันด์สลายลับ
โลกสวยด้วยเสียงและแสงสี
วันดีคืนดีโลกก็ดับ
อับอายซ่อนแอบอยู่แคบคับ
มืดอยู่กับโลภในหัวใจตน

จักรกฤษ ศิลปชัย

พี่วิสามีอะไรจะสรุป ปิดท้ายไหมครับ

วิสา คัญทัพ

ก็ไม่มีอะไรครับผมก็อยากให้ท่านไปรับประทานอาหาร ก็คงหิวกันมากแล้ว ก็ฝากช่วยกันประชาสัมพันธ์ถือว่าเป็นงานของ ส่วนรวมกับของประเทศชาติ และของประชาธิปไตยบ้านเรา.....ขอบคุณครับ
โครงการสัมมนานักจัดรายการวิทยุ หัวข้อนักจัดรายการวิทยุ วิถีที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบสังคม”
ในวาระการจัดงานครบรอบ 30 ปี 14 ตุลาคม

ดย คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในคณะกรรมการจัดงานครบรอบ 30 ปี 14 ตุลาคม
วันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2546 ณห้องประชุมอเนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์

http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=102

 

เคยมีสักครั้งไหมในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ไทยต้องร้องสรรเสริญเขมร?

ท่านนักเพลงเพื่อชีวิตท่านนี้ทำได้ครับ

นับเป็นจ่าวที่

Up(grade) pre(amp) เหลือเกินครับ

บ้าแน่ๆ วิสา-ณัฐวุฒิ-ทักษิณร้องสรรเสริญบารมี ฮุนเซน

สะเก็ดไฟ        
           เก็บตกจากงานสงกรานต์การเมืองที่กัมพูชา มีประเด็นที่ไม่ควรปล่อยให้เงียบหายไป คือภาพนักโทษหนีคดีร่วมกับลูกสมุนที่ก้่าวข้ามศพ ยุคนเผาจนได้ดีเป็นรัฐมนตรี ร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญบารมีให้ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน        
           เพลงที่ประพันธ์คำร้อง ทำนองและขับร้องโดย วิสา คัญทัพ อดีตนักคิด นักเขียน นักแต่งเพลงชื่อดัง ที่ปัจจุบันศิโรราบกราบกรานเผด็จการทุนนิยมสามานย์เคารพนบนอบทรราชย์ยิ่งกว่าบุพการี ไม่แตกต่างจากการสดุดีฮุน เซน ที่เพิ่งเปิดศึกสงครามยิงใส่ชาวภูมซรอลเมื่อต้นปีที่แล้ว
          อริราชศัตรูที่รุกรานดินแดนไทยกลับถูกยกย่องเชิดชูโดยคนไทยว่า “เป็นผู้กล้าหาญรักษาอธิปไตยชาติขับไล่ผู้รุกราน”       
           คงไม่น่าสังเวชขนาดนี้ ถ้าหากมีเพียงแค่นักร้องผู้หิวโหย และคนบนเวทีคนอื่นๆจะเป็นเพียงแค่กุ๊ยข้างถนนที่ไปพึ่งใบบุญของฮุน เซน
          แต่สิ่งที่ทำให้คนไทยสลดหดหู่อย่างยิ่ง คือ คนที่ปรากฏกายอยู่บนเวทีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งแม้จะเป็นนักโทษหนีคดี แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไทย และที่สำคัญหนึ่งในบรรดาคนที่ไปร้องเพลงขอส่วนบุญจากฮุน เซน ดันเป็นถึง รมช.เกษตรและสหกรณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันด้วย       
          ไม่น่าเชื่อว่า มโนสำนึกความเป็นคนไทยจะบิดเบี้ยวกระทำการต่อแผ่นดินเกิดได้ถึงเพียงนี้
                         การเปิดฉากทำสงครามกับประเทศไทยยึดพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายกัมพูชา เพื่อลากคดีขึ้นสู่หวังฮุบดินแดนไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลโลก โดยคาดว่าจะมีการตัดสินในช่วงปลายปีหน้า       
       ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจอย่างยิ่งสำหรับชาวไทยว่า ภายใต้การนำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่พี่ชายนับถือ ฮุน เซน ราวกับคนในครอบครัว ขณะที่คนในรัฐบาลก็แสดงตัวเคารพฮุน เซนยิ่งกว่าผู้บังเกิดเกล้า ส่วนท่าทีของ “ยิ่งลักษณ์” ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อถูกถามถึงพื้ที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรว่าเป็นของไทยหรือไม่ก็ยังไม่กล้าระบุว่า เป็นผืนแผ่นดินไทย       
           พฤติการณ์เยี่ยงนี้ประกอบกับคำพูดนักโทษหนีคดีที่พูดเปิดทางให้เขมรว่า ไทยเสียเปรียบคดีในศาลโลก ยิ่งทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า อธิปไตยของชาติกำลังถูกยกให้เขมรด้วยความสมยอมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือไม่       
           เพราะที่ผ่านมารัฐบาลที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับกัมพูชา แต่กลับไม่เคยแสดงให้คนไทยได้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองประเทศเป็นประโยชน์อย่างไรกับคนไทย มีแต่เขมรเหิมเกริมนำตัวแทนยูเอ็นเข้าสำรวจพื้นที่ปราสาทพระวิหารโดยพลการ ในขณะที่รัฐบาลไทยได้แต่ใบ้กินท่องแค่คำเดียวว่าจะไม่ให้ปัญหาเขตแดนมากระทบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองประเทศ แต่ไม่เคยพูดถึงการรักษาอธิปไตยของชาติให้คนไทยได้อุ่นใจ       
           แถมยังมีการเจรจาลับหวังฮุบผลประโยชน์จากพลังงานในอ่าวไทยในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างนักโทษหนีคดีกับผู้นำกัมพูชาอีกด้วย       
       ต้องนับว่า ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวังเวงอย่างยิ่ง บนสถานการณ์ที่อธิปไตยของชาติแขวนอยู่บนเส้นด้าย        
           ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้ากัมพูชานำภาพที่อดีตนายกรัฐมนตรีไทยไปร่วมร้องเพลงสรรเสริญบารมีฮุน เซนว่ามีความกล้าหาญปกป้องผู้รุกราน ไปใช้ประโยขน์ในคดีพิพาทปราสาทพระวิหารจะมีน้ำหนักที่เป็นคุณต่อกัมพูชาแต่เป็นโทษต่อฝ่ายไทยอย่างไร       
           ทำร้ายประเทศไทยด้วยการสร้างความแตกแยกในบ้านเมืองยังไม่พอ ยังคิดเฉือนแผ่นดินไทยไปเป็นเครื่องบรรณาการให้กัมพูชาแลกกับผลประโยขน์ส่วนตัว ซึ่งหากทำจริงก็ถือว่าเลวชาติสิ้นดี
                         ลำพังแค่ “วิสา” และพวก เคยได้ไปกบดานหนีคุกในวันเผาบ้านเกิดเมืองนอนตัวเองที่กัมพูชา จะสำนึกบุญคุณฮุน เซน ที่ให้พำนักพักพิงมากกว่าที่จะคิดจงรักภักดีต่อแผ่นดินแม่ ก็เป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับได้อยู่แล้ว
                         แต่การที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ ไปร่วมครื้นเครงบรรเลงเพลงสดุดีฮุน เซนด้วย ยิ่งนำความอัปยศเสื่อมเกียรติภูมิมาสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก       
           ที่น่าเจ็บใจคือ เป็นการร้องเพลงเชิดชูบนแผ่นดินกัมพูชาที่จังหวัดเสียมเรียบ ซึ่งแปลว่า สยามราบ หรือสยามแพ้       
           สภาพการณ์เช่นนี้ ฮุน เซน คงหัวร่อร่าที่คนไทยเหล่านี้ยอมหมอบกรานอยู่แทบเท้านำเกียรติยศศักดิ์ศรีของชาติไปให้ฮุน เซนเหยียบย่ำถึงที่       
          ถามว่าตั้งแต่หัวหน้าแก๊งคือ “ทักษิณ” ลงมายังหลงเหลือสำนึกความเป็นคนไทยอยู่อีกหรือไม่?       
          “สหายตะวัน” หรือ “สหายไพรำ” ซึ่งเคยเป็นนามเรียกขานของ “วิสา” จะยังหลงเหลืออุดมการณ์เพื่อชาติประชาในฐานะคนเดือนตุลาอยู่อีกหรือไม่ บทกวีของ สหายตะวันน่าจะเตือนสติวิสา ในวันนี้ได้ว่า การกราบกรานเผด็จการทุนนิยมสามานย์ เคารพเชิดชูอริราชศัตรูอย่างฮุน เซนนั้น ทำลายจิตวิญญาณความเป็นเสรีชนให้ตายไป       
                   หยาดน้ำตาประชาไทยในวันนี้ ไหลเกือบท่วมปฐพีแล้วพี่เอ๋ย
          ถ้าความจริงสามารถอ้างเหมือนอย่างเคย ก็จะเอ่ยและจะอ้างอย่างไม่กลัว       
       
                    นี่มีปากก็ถูกปิดจนมิดเม้ม มันแทะเล็มถุยรดและกดหัว
           ปัญหาต่างๆ นั้นก็พันพัว ไม่อยากโทษใครชั่วเพราะกลัวตาย       
       
                    ถ้าขอได้จะขอกันในวันนี้ ขอให้สิทธิ์เสรีอย่าสูญหาย
           ถ้าเลือดไทยจะหลั่งโลมจนโทรมกาย ก็ขอตายด้วยศักดิ์ศรีเสรีชน       
           บทกวีที่เหลือค่าแค่ตัวอักษรย่อมไร้ความหมาย เมื่อผู้เขียนไร้ซึ่งอุดมการณ์และจิตวิญญาณในความเป็นไทยเสือกระดาษ

http://mgr.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000048998

วิสา คัญทัพ: อลัชชีเพื่อชีวิต!!

ทนายเบิ้ม ณ สัมมากร

เป็นทนายความคนหนึ่ง ว่าความมาก็เยอะ ชนะก็มาก แพ้ก็มี 
Permalink : http://www.oknation.net/blog/hardcorelawyer

วันศุกร์ ที่ 20 เมษายน 2555

 

วิสา คัญทัพ : อลัชชีเพื่อชีวิต!!

Blowin’ in the songs โดย : ประมวล ดาระดาษ
p_daradas@hotmail.com  

กับภาพวิดีโอ คลิป ของอดีตนักร้องเพื่อชีวิต เพื่อสังคม กวี ศิลปิน รุ่นอาวุโส ที่ปัจจุบัน ขายอุดมการณ์ไปเชิดชูนักโทษหนีคดี ทักษิณ ชินวัตร และบินไปสดุดีแซ่ซร้อง สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ศัตรูคู่อาฆาตผู้ผูกปีต่อยแบบนอกกรอบกติกากับรัฐบาลอำมาตย์ไทย และรัฐบาลยุคแมลงสาบสองปีก่อน แบบผีไม่เผา เงาไม่เหยียบกัน แต่ฝ่ายหลังผูกปีแพ้

              โดยวีรเวรครั้งกระโน้น สมเด็จฮุนเซ็น ก็พ่นผรุสวาทด่าแม่อภิสิทธิ์ข้ามรั้ว เอาจริงแบบสิงห์จอมโว รบไป พ่นสำรากไป มีกลยุทธทุกรูปแบบ เอาประเทศทั่วโลกมาล้อมกรอบ ล้อมยำไทย แบบท้ารบ ท้าประลอง และส่งกระสุนปืนใหญ่มาถล่มในเขตแดนไทยจนทหารหาญและประชาชนคนไทยเสียชีวิต จนมีผู้คนอพยพหนีตาย แบบบ้านแตกสาแหรกขาด เสียหายทางเศรษฐกิจ และสังคมยับเยิน แบบคนไทยผู้รักชาติ หากทว่าไม่มีกองรถถัง และกองกำลัง พูดไม่ออกได้แต่กลอกหน้า แสนอับอายในเกียรติภูมิยิ่ง

              นั่นคือ อดีตหมาดๆ ที่บาดแผลยังมิทันจาง

              แล้วก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ที่แล้วก็แล้วไป เมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำหุ่นเชิดของทักษิณ ชินวัตร ที่ไปหมอบราบคาบแก้ว ให้แก่สมเด็จฮุนเซ็นจนถึงบันไดบ้าน พร้อมกับสาวกซาตานจอมละโมบเข้าสิง อันกอปรด้วย นักสู้แล้วรวย ในตำแหน่งปูนบำเหน็จ ร.ม.ช.ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ นายวิสา คัญทัพ นางไพจิตร อักษรณรงค์(ในตำแหน่งที่ปรึกษา ร.ม.ต.และนายอดิษร เพียงเกษ (ตามคลิป)

              นำขบวนโดยนักโทษหนีคดี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากไทยผู้เปี่ยมศรัทธาต่อฮุนเซ็น หมอบราบคาบแก้ว สวามิภักดิ์เขมร และอาศัยดินแดนเขมรเคลื่อนไหวบงการเชิดหุ่นรัฐบาลผู้น้องขวัญใจพรรคเผาไทย แดงทั้งแผ่นดิน ได้อย่างสบายใจไร้กังวล

              ดูในคลิปเพลงสดุดีเขมร และฮุนเซ็นขึ้นเหนือหัวก็แล้วกัน ว่ายิ่งใหญ่ชวนขนลุก ซาบซ่านแค่ไหน แหม...ผมฟัง/ดูแล้ว ฟันธงว่า น่าจะขาดวิญญาณของการเป็นทาสเชลย ที่ถูกบังคับให้ประพันธ์เพลง ชเลียร์และอยากนวดลูกกระปู๋ของสมเด็จฮุนเซ็น ตามโฆษณาในเว็บของชาวสีม่วงที่เห็นดาดดื่น ก็คือ ขาดเพียงพี่กี้ร์ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ผู้ซาบซึ้งในบุญคุณข้าวแดงแกงร้อนของสมเด็จฮุนเซ็น ให้ที่พักพิงยามยาก ขาดไปหนึ่งเดียวเท่านั้น

              ถ้าได้มาอีกคน จะสมบูรณ์แบบวิไล ละออ แบบบ่องสะลันโอนแม่คุณ เลยทีเดียว

            "โบกมือลา เสียงเพลงครวญมาต้องลาแล้วเพื่อน..." (เพลงจากโซโล่อัลบั้มชุดแรกของ สุรชัย จันทิมาธร อัลบั้ม "ส้มตำบัณฑิต" เพลงจากการประพันธ์ของ วิสา คัญทัพ)

            "เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน นักเทศนาเปลี่ยน" บทกวี บทเพลงเพื่อชีวิตของวิสา คัญทัพนั้นมาถูกที่ ถูกเวลาในระดับหนึ่งนะครับ “กำลังใจ”เพลงนี้ ให้ความรู้สึกโหยหา อาวรณ์ในวันคืนเก่าที่หมู่เฮาได้ยืนหยัดอุดมการณ์ และต่อสู้เผด็จการทหารยืนอยู่ข้างมวลชน ช่างโรแมนติค เต็มไปด้วยสิ่งดีดี ที่มีให้กัน (นึกอะไรไม่ออก ก็ต้องว่าสิ่งดีดี ไว้ก่อน)

              สิ่งดีดีที่นักปฏิวัติเพื่อมวลชน ปลุกเร้า ให้ความหวัง ผ่านกำลังใจ เพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาธิปไตย ยิ่งใหญ่ เลิศหรูและอลังการผ่านถ้อยคำในยุคหนึ่ง เวลาหนึ่ง มาเรียบร้อย

              เสียดายฝีมือ เสียดายอุดมการณ์ เสียดายคำเทศนา เสียดายภาพลักษณ์ เสียดายภาพไอดอล เสียดายภาพฮีโร่ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งครับ แหม...อยากร้องเป็นพุ่มพวงแหละครับ

            "แหม้...เสียด๊ายยย... จริง"

              สมัยผมใส่ขาสั้น ฟังกำลังใจ ฟังเพลงจากการประพันธ์ของวิสา คัญทัพอยู่ครับ เพลงพวก "ร้อยบุปผา, รอยอดีต, กำลังใจ, แรงเทียน, ออนซอนเด, เพลงพิณ ฯลฯ เหล่านี้ ฟังแล้วก็บังเกิดศรัทธาปสาทะ ขุนลุกซู่ อยากเข้าป่าตามทีเดียว ยุคสมัย 6 ตุลาที่มีการล้อมปราบ เพลงประมาณนี้ยังไม่มาดอก แต่บทกวีของวิสา คัญทัพ พวกประมาณฟ้าสีทองผ่องอำไพ นั้นมาแล้วครับ

              สมัยนั้น อายุ สิบหกปี ผมไป กทม.ถูกครับ คือไม่ยาก จับ บขส.ไปสายใต้ พอได้ แต่ไปสมทบที่ธรรมศาสตร์ไม่ถูกครับ มิเช่นนั้น ผมคงได้ร่วมอุดมการณ์แบบตัวเป็นๆ ร่วมปฏิบัติการในป่าเขตใดเขตหนึ่งแน่นอน ไม่น่าจะจำกัดอายุนะครับตอนนั้น

              ชีวิตคนก็เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน นี่สัจธรรมแน่นอน

              มั่นคงในสิงขร แบบขุนเขามิอาจขวาง สายธารเที่ยงธรรมไม่ได้ เหมือนกันนั่นแหละ ต่อมา ต่อมาวิสา คัญทัพ มีเพลงแนว

            "รักที่อยากลืม, กลกามแห่งความรัก, สวรรค์ชั้นเจ็ด ฯลฯ”(ประเภทกลกามแห่งความรักนี่มันหนังอีโรติคของทรนง ศรีเชื้อ จำได้)"

              มันจักจี๊ใจสุดๆ นึกภาพตามชื่อเพลงออกนะครับ สมัยโน้น น่าจะยุคคืนเมืองแล้ว ผมฟังผมก็ยังติดภาพวิสา คัญทัพ กับภาพเช เกวารา หรือหลวงตาพระป่าผู้เคร่งศีล เคร่งปริยัติ เคร่งปฏิบัติ จนเกิดปฏิเวธบรรลุในระดับหนึ่งมีคล้อยตามภาพนู้ด และฉากร่วมรักของนางเอกนมตู้มแห่งยุคสมัยสุพรรณี จิตเที่ยงไปได้)

              แต่หากทว่า... พอมาฟังเพลง ฝีมือวิสา คัญทัพในเซ็ตนี้ ความรู้สึกเหมือนเห็น หลวงตาพระป่า แอบฉันข้าวเย็น

              และเห็นเช เกวารา เอาเงินบริจาคไปแอบแทงหวยใต้ดินแหละครับ น่าผิดหวัง แต่ก็พอทำใจ

              อย่าลืมว่า บทกวีแสนคลาสสิก ยังอยู่ในใจของ น้องๆ ตอนนั้นนะครับ ชีวิตที่พานพบยังไม่มีลบหรือมีเพิ่ม ยังเหมือนเดิม เป็นกำลังใจให้พี่ท่านอยู่เสมอ       
                       
ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า   ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาปสูญ
           
ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน                    ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป
       
       เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่                       ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่
       
       เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ                  ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”

             หรือ บทกวีดีดี สิ่งดีดี ที่ได้เคยอุทิศตน โดยการบำเพ็ญเพียร ผจญทุกขเวทนา หรือทุกขกิริยาในตะรางอันว่าคุก นั่นแล และออกมามีวรรคทองซาบซึ้งกินใจ ซึ่งไอดอลวีรชนของน้องๆ แห่งยุค

            โดยเขาเขียนภายหลังได้รับอิสรภาพจากการจับกุมคุมขังหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ด้วยความประทับใจในพลังอันยิ่งใหญ่ของประชาชนบนถนนราชดำเนิน       
                              หยาดน้ำตาประชาไทยในวันนี้          ไหลเกือบท่วมปฐพีแล้วพี่เอ๋ย
       
       ถ้าความจริงสามารถอ้างเหมือนอย่างเคย          ก็จะเอ่ยและจะอ้างอย่างไม่กลัว
       
       นี่มีปากก็ถูกปิดจนมิดเม้ม                              มันแทะเล็มถุยรดและกดหัว
       
       ปัญหาต่างๆนั้นก็พันพัว                               ไม่อยากโทษใครชั่วเพราะกลัวตาย
       
       ถ้าขอได้จะขอกันในวันนี้                             ขอให้สิทธิ์เสรีอย่าสูญหาย
       
       ถ้าเลือดไทยจะหลั่งโลมจนโทรมกาย               ก็ขอตายด้วยศักดิ์ศรีเสรีชน
            เมื่อเวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน คำเทศนาเปลี่ยน

              ผมเคยไปศึกษาเพลงเพื่อสังคม ของนักร้องเพื่อสังคม ตำนานอเมริกันเพลงประท้วง อย่างบ็อบ ดิแลน และครูของเขา วูดดี้ กัธรี เขาจะให้แนวเพลงเพื่อสังคม หรือเพลงที่ใช้ในการประท้วงอยู่สามแบบ คือเพลงยั่วล้อให้ผู้ฟังเกิดความละอาย ที่เรียกว่า guit song เพลงเกรี้ยวกราดแสดงออกซึ่งอารมณ์อันรุนแรง anger songและสุดท้ายเพลงเปิดหูเปิดตาประชาชน eye-opener

              นั่นคือขนบเพลงประท้วง จะไม่ยกตัวอย่างประกอบเดี่ยวจะลงไซด์เวย์

              ยุคศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อมวลชน ทำให้เพลงไทยมีอีกตระกูลหนึ่งเรียกว่า"เพลงเพื่อชีวิต"โดยสุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน แห่งวงคาราวาน ได้รับการสถาปนาให้เป็นเสาหลักแห่งหัวขบวน"เพลงเพื่อชีวิต"

              วิสา คัญทัพ ก็เป็นเงาเคียงบ่าเคียงไหล่ มาพร้อมกับวงคาราวาน มีเพลงในสามแนวทางตามที่ยกมาหลายอยู่ ก็ร่วมงานกับศิลปินเพื่อชีวิตดังๆ ทั้งนั้น อาทิ เพลงแรกร่วมกับ สมคิด สิงสง และ สุรชัย จันทิมาธร เขียนเพลง "คนกับควาย" เพลง "คนภูเขา" ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนองโดยหงา คาราวาน เพลงที่สามร่วมกับ ประเสริฐ จันดำ กวีอีสานผู้ล่วงลับ ในเพลง "จดหมายชาวนา" และเพลงที่ยิ่งใหญ่ ประพันธ์ทั้งคำร้อง/ทำนอง แบบเชิดเดี่ยว ขณะเกิดเหตุการณ์ลอบฆ่าลอบสังหารผู้นำฝ่ายประชาชนจำนวนมากในยุค 19 ตุลา มหาโหด คือเพลง "น้ำท่วมฟ้าปลากินดาว" วงคาราวาน ร้อง/บรรเลง โดยมีเนื้อร้องตอนหนึ่ง คำว่าคลาสสิกนั้นเกินเลยนิยามมาแล้ว

            "น้ำท่วมฟ้า ปลากินดาว นกเหินหาวสู่สายชล คนดีถูกฆ่ากลางถนน คนชั่วขึ้นนั่งบัลลังก์บน ฟ้าฝนจึงไม่ตกมา"*

              เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน นักเทศนาเปลี่ยน

              จากที่เคยมั่นอุดมการณ์ เมื่อไม่นาน

เพลง "สัญญาใจขับไล่เผด็จการที่วิสา คัญทัพ ได้ประพันธ์เอาไว้

            "...มา..พวกเรามา ตามสัญญาใจผูกพัน ร่วมพลังฟาดฟัน ใจมุ่งมั่นประชาธิปไตย เมื่อใดที่เผด็จการ รัฐประหาร ปล้นชาติไทย พวกเราจะก้าวออกไป ร่วมกันขับไล่โค่นล้มมันลง เผด็จการต้องออกไป ประชาธิปไตย จงเจริญ..."

              ปัจจุบันวิสาเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ ดำเนินรายการวิทยุ “กุญแจเมืองไทย”ร่วมกับ อดิศร เพียงเกษ และ ไพจิตร อักษรณรงค์ ทาง FM 105 MHz และรายการโทรทัศน์ ทางสถานีประชาธิปไตย D-Station

              วิสา คัญทัพ ขับไล่เผด็จการจนได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ "ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)" เมื่อปีกลายนี้เอง และปัจจุบันได้เป็นถึงที่ปรึกษา ร.ม.ต.พร้อมกับภริยา ในรัฐบาลปัจจุบัน จากพระเคร่งศีล วัตรปฏิบัติ และปฏิปทาน่าเลื่อมใส เป็นที่นับถือของสาวกยิ่ง

              จากวิสา คัญทัพ กวี นักเพลง ผู้นำปัญญาชนในการต่อสู้ จากอัตลักษณ์ในแนวทาง พระป่าคามวาสีผู้แสนบริสุทธิ์และมีวัตรปฏิบัติงามยิ่ง บัดนี้

              เมื่อเวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน คำเทศนาเปลี่ยน

            เขากลายเป็น อลัชชี เดียรถีย์ ทุมมังกุสามขนานรวมกันแบบอัตตาและโลกียะเยิ้ม ดูการเทศนาในเนื้อระดับกวีเก่าผู้ช่ำชอง ของเพลงสดุดี เปิดหู เปิดตา Eye-opener ให้ประชาชี ชวกชวนให้มีผู้สวามิภักดิ์ต่อสมเด็จฮุนเซ็นประกอบเทอญ

แค่เห็นชื่อเรื่อง ก็ชวนให้คลิกเข้าไปทันที และเมื่อได้อ่านสำบัดสำนวน ต้องบอกว่าชอบเลย เลยต้องนำมาแชร์ให้มหามิตรของผมในโอเคได้อ่านกัน บอกตรงๆตั้งแต่วิสาประกาศตัวเป็นเสื้อแดง ผมเลิกฟังเพลงของเขาที่แต่ง เท่าที่ผมรู้ทั้งหมด เช่น สวรรค์บ้านนอก แม้กระทั่งเพลงที่ชื่อ กำลังใจ ที่น้าหงา ศิลปินคนโปรดของผมจะเป็นผู้ร้อง ผมก็เลิกฟัง แต่บางเพลงผมก็อาจฟังอยู่ ถ้าไม่รู้ว่าเขาแต่ง

ส่วนไพจิตรหน่ะหรือ คิดถึงฉันบ้างคืนนี้ มาซิขยับมาซิ หรือ สาว ต.จ.ว.ผมอาจชอบเธอตอนเธอสาวๆ เพราะผมยังเด็ก จึงชอบคนสวย แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าตอนนั้นเธอเป็นภรรยาสรวง สันติ นักร้องนักแต่งเพลงชื่อดังที่ปลุกปั้นเธอมา พอเธอมาอยู่นิธิทัศน์ ร้องเพลงลูกทุ่งตะลิดติ๊ดชิ่งก็ยังดูอยู่ ไปๆมาๆ ก็แต่งงานกับนิค นิรนาม ซะแล้ว แต่งแล้วหย่า มาเห็นอีกที เป็นภรรยาวิสาไปฉิบ กับรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป๋ในความเป็นสีแดงแจ๋ชัดเจน  ตอนนี้เธอไม่ประทับใจสำหรับผมเสียแล้ว

ผมรู้จักวิสาทางเพื่อชีวิต เฉพาะนักแต่งเพลงนะครับ ส่วนการเป็นศิลปินผู้ที่ขับกล่อมเพลง ผมไม่เคยได้ยินว่าเขาจะดัง หรือ เปรี้ยงปร้าง จากอัลบั้มไหนเลย หากไปเทียบกับน้าหงา น้าแอ๊ด น้าหมู ปู-พงษ์สิทธิ์ นี่คนละชั้นเลยครับ ยิ่งไปร้องเพลงสดุดีนายฮุนเซ็น ผมว่าแกสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ขอเชิญทั้งสามี-ภริยาไปไปเป็นชาวขะแมร์เถิดครับ

บัดนี้ อุดมการณ์ถูกวางไว้ เมื่อวิสาเดินเข้าไปหานายทุนที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร  หมดค่า ไร้ราคาแล้วครับ สำหรับ กวีหนีประชา ที่ชื่อวิสาคนนี้ 

http://www.oknation.net/blog/hardcorelawyer/2012/04/20/entry-1

อ่านต่อได้อีกที่

http://webboard.serithai.net/topic/9647-%E2%80%9C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E2%80%9D%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80/

            ชวพันธ์รู้สึกเสียใจทีได้ตามอ่านบทความ,ฟังบทกวี และสะสมงานเพลงของกวีกำมะลอ(gimmick)ท่านนี้  แน่นอนคนรุ่นผมและรุ่นเดียวกับกวีท่านนี้ย่อมทราบอะไรต่อมิอะไรดีพอควร  แต่อามิสสินจ้าง (n. bribery)นี่ซิครับน่ากลัว  ผมเอะใจ(doubt)คราวที่ท่านทั้งสองส่งบุตรสาวประกวดนางสาวไทย  แต่งานเพลงคราวนี้  ชวพันธ์ลาออกครับ(ยอมรับครับว่าชวพันธ์รักในหลวงครับ  รักชาติแต่ไม่ครลั่งชาติครับ)

 

จบ

ชวพันธ์  พิริยะพงษ์

ชาตะ       20 ธันวาคม 2499

มรณะ     น่าจะอีกไม่นาน(เพราะkuanteen ชาวบ้านเขาไว้เยอะ)

บ้านอยู่ที่

162  สุขุมวิท 50  แยกซอยเหลือสุข  พระโขนง  คลองเตย  กทม 10260

โทร        02   3117600 และ  081  4002935

   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved