ซีดี รวงทอง ทองลั่นธม
จำนวนคนเข้าชม : 3173 ครั้ง

๘ เมษายน ๒๕๕๕

                วันสุดท้ายของงานสัปดาห์หนังสือ ครั้งที่ ๔๐ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต   ชวพันธ์ไปด้หนังสือ ของ”โครงการวิจัย การวิจารณ์ในฐานะปรากฎการณ์ของสังคมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”ด้วยการสนันสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ส.ก.ว.) หนังสือชื่อ”รวงทองส่องทางศิลป์”

เนื้อหาย่อ:

โครงการ"การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะปรากฎการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์"ได้เห็นถึงความสำคัญและความโดดเด่นของ รวงทอง ทองลั่นธมจึงได้ยกให้เป็นศิลปินต้นแบบในการศึกษาวิจัยในฐานะศิลปินร่วมสมัยโดยจัดการแสดงคอนเสิร์ตพร้อมกับการสัมมนาวิชาการขึ้น เมื่อวันที่ 3 และ 4 กันยายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระซึ่งเนื้อหาการสัมมนาได้รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ท่านผู้อ่านนอกจากจะได้รับรู้ถึงความสามารถอย่างเต็มเปี่ยมของคุณรวงทองแล้วท่านจะยังได้มองเห็นถึงความมุ่งมั่น อันจะสมารถนำมาเป็นแบบอย่างได้อย่างดียิ่ง

ท่านใดที่เป็นแฟนนักร้องเสียง”น้ำเซาะหิน”ท่านนี้น่าจะลองซื้อหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านนะครับ เพราะอีกด้านของหนังสือเล่มนี้เป็นการสัมนาวิชาการด้วยครับ ราคาเพียงเล่มละ ๙๐ บาทเท่านั้น (เก้าสิบบาท) นับว่าเป็นหนังสือวิชาการที่ราคาถูกอย่างเหลือเชื่อครับ

 

ขอบคุณครับ

ชวพันธ์  พิริยะพงษ์

 

 

                รวงทองส่องทางศิลป์

สำนักพิมพ์คมบาง

ติดต่อสำนักพิมพ์ :                       106/72 หมู่บ้านนักกีฬา ถนนกรุงเทพกรีฑา เขตสะพานสูง

กรุงเทพมหานคร 10250

โทรศัพท์                       02        3682182

โทรสาร                          02        3682182,

02        7358306 /

Email                          combangweb@yahoo.com 

Web                             www.combangweb.com

กองบรรณาธิการ                   คงกฤชไตรยวงค์, อรพินท์ คำสอน, จักรนาท นาคทอง.

พิมพ์ครั้งที่                      พิมพ์ครั้งที่ 1.

พิมพลักษณ์                     กรุงเทพฯ : ชมนาด, 2553.

ลักษณะ                          84 หน้า ; 21 ซม.

ISBN                           9789742259723

หมายเหตุ                        เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์".
การสัมมนา "รวงทองส่องทางศิลป์" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2550 เวลา 09.00-18.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระ.

หัวเรื่อง                          รวงทองทองลั่นธม, 2480- - - การวิจารณ์และการตีความหมาย.
นักร้องหญิง - - ไทย.
เพลงไทยสากล - - วิจารณ์.
การร้องเพลง.
นักร้อง - - ไทย.

ชื่อเพิ่ม                           คงกฤชไตรยวงค์,                                บรรณาธิการ.
อรพินท์คำสอน,                  บรรณาธิการ.
จักรนาทนาคทอง,            บรรณาธิการ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
การสัมมนา "รวงทองส่องทางศิลป์" (2550 : มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ทุนที่ได้รับ                      ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รวงทองส่องทางศิลป์

หากกล่าวถึงวงดนตรีไทยที่มีคุณภาพและยืนยงยาวนาน ในประเทศไทย ชื่อ “สุนทราภรณ์” โดดเด่นปรากฏชัด ที่สำคัญ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2553- 2554 สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล จากองค์กรวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก*

วงดนตรีสุนทราภรณ์ จึงเป็นเสมือน “สำนัก”ที่สร้างคนดนตรีคุณภาพจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
สำนักพิมพ์ชมนาด ได้เคยตีพิมพ์ผลงานการวิจัย ของโครงการ การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2 ที่เป็นงานวิจัยนักร้องสุนทราภรณ์ 2 คน คือ “เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล” เมื่อปี พ.ศ. 2547 และ “เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน” เมื่อปี พ.ศ. 2549 อันเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวงการดนตรีไทย

โครงการ การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์ อันเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจาก โครงการ การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2 ได้ศึกษาวิจัยนักร้องจากวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกครั้ง นั่นคือ รวงทอง ทองลั่นธม ซึ่งเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องอย่างมาก และยังคงอาชีพร้องเพลงต่อเนื่องจากอดีตมาจนปัจจุบัน

ที่น่าสนใจคือ รวงทอง มิได้เป็นเพียงนักร้องเสียงดี หากรวงทองยังเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์ของศิลปินไม่แพ้พรแสวงแห่งอาชีพของตน ซึ่งทำให้การร้องเพลงของรวงทองมีเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นถึงระดับ “ตำนาน”ของวงการเพลงไทย

ผู้ที่ติดตามผลงานเพลงของ รวงทอง ทองลั่นทม หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เชื่อว่าคงจะตระหนักชัดยิ่งขึ้นในความสามารถและความไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้ของรวงทอง ส่วนผู้ที่เป็นแฟนเพลงรุ่นใหม่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการเพลง การได้ศึกษาเส้นทางชีวิตและผลงานของรวงทอง น่าจะทำให้ได้มองเห็นความมุ่งมั่น และความเป็นอัจฉริยะของรวงทอง อันสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีได้
ราคา 90 บาท

http://www.thaicritic.com/?page_id=556

 

สนามวิจารณ์ : 70 ปี รวงทอง ทองลั่นธม

4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 10:00:00

รวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติ จะมีอายุครบ 70 ปี ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 เธอปรารภไว้หลายครั้งแล้วว่าอยากจะเกษียณตัวเองจากความเป็นนักร้องเสียทีแต่ก็คงจะใจไม่แข็งพอ ก็จะให้ใจแข็งได้อย่างไร ในเมื่อผู้ฟังจำนวนไม่น้อย (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกแฟนคลับของเธอ) ยังยืนยันว่าเธอยังร้องเพลงได้และในการร้องของเธอนั้น ยิ่งร้องก็ยิ่งไปได้ลึก เพลงที่เธอเคยร้องอัดแผ่นไว้เมื่อ 40 ปีก่อนนั้น บัดนี้เธอก็ยังคงร้องได้ ร้องไม่เหมือนเมื่อก่อนเป็นการร้องที่บ่งบอกว่าการแสวงหาตัวตนของเธอเองเป็นกระบวนการที่ยังไม่จบสิ้นกล่าวด้วยภาษาชาวบ้านก็คงจะว่าเป็นว่า 'ยิ่งแก่ ยิ่งเก่ง'

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

แม้ว่าลักษณะบางประการจะชี้ให้เห็นถึงวัยที่ล่วงเลยอย่างเลี่ยงไม่ได้

ศิลปินไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาใดมีปัญหาเรื่องการปรับตัวขึ้นสู่วุฒิภาวะ หลายคนย่ำอยู่กับที่ กินบุญเก่าหาทางออกจากวังวนของความสำเร็จในอดีตไม่ได้นักวิชาการที่เฝ้าศึกษางานของศิลปินบางคนอย่างต่อเนื่อง จำต้องฝืนใจลงความเห็นว่าท่านเหล่านั้นตาย (ในทางศิลปะ) เสียแล้วตั้งแต่อายุ 40-50 ปีและก็หาคำตอบไม่ได้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบที่ง่ายที่สุด (เพราะเป็นคำตอบที่มาจากปัจจัยภายนอก) ก็คือ 'เมรัยพิฆาต' (และบางคนก็ตายจริงๆในทางกายภาพ) แต่นั่นเป็นเรื่องของสุภาพบุรุษเสียเป็นส่วนใหญ่และสุภาพสตรีในหมู่ศิลปินที่ก้าวไปข้างหน้าอีกไม่ได้เล่า เป็นเพราะอะไร

ในหมู่นักร้องที่คงพอมองเห็นกันอยู่บ้าง บางคนหลงเสน่ห์ตัวเองพุ่งความสนใจไปในจุดที่เป็นเสน่ห์ซึ่งดึงดูดผู้ฟังได้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วมาบัดนี้ก็ยิ่งสะดุดหยุด ณ จุดเหล่านั้น ถ้าทอดเสียงหวานและผู้คนชมว่าหวานยิ่งวัยล่วงเลยมาก็จงใจทอดให้หวานยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อวัยและสังขารไม่อำนวยความหวานนั้นจึงกลายเป็นน้ำผึ้งขม เมื่อหันหลับมาพิจารณากรณีของรวงทองเธอมีความสามารถที่น่ายกย่องอยู่ประการหนึ่งนั่นก็คือความสามารถในการเฝ้าพิจารณาตัวเอง ในการวิเคราะห์ตนเองและในการที่จะแสวงหาตนเองอย่างไม่หยุดยั้งในบางกรณีเธออาจจะใช้เวลาหลายทศวรรษกว่าจะค้นพบตัวเอง (ดังที่ผมได้เคยกล่าวเอาไว้ในบทวิจารณ์ชื่อ 'เมื่อวัยวุฒิกับวุฒิภาวะมาบรรจบกัน :รายการรวงทองมินิมาราธอนที่โรงละครแห่งชาติ' [สกุลไทย ปีที่ 49 ฉบับที่ 2544 : 22 ก.ค. 46 ตีพิมพ์ซ้ำใน จากแผ่นดินแม่สู่แผ่นดินอื่น : รวมบทความวิชาการและบทวิจารณ์ 2548 : หน้า 93-98] )

ศิลปินระดับแนวหน้าจะพึ่งพรสวรรค์แต่ฝ่ายเดียวมิได้รวงทองรู้จักใช้ปัญญาในการปรับการสร้างผลงานของตนให้สูงขึ้นเรื่อยๆท่าทางบนเวทีของเธอนั้นเป็นท่าของดาราอย่างแน่นอนแต่กรณีของเธอมิใช่ดาราที่หลงตัวเอง เธอยังฝึกร้องเพลงอยู่ทุกวันร้องไปก็หาทางใหม่ไป ไม่พอใจกับสิ่งที่เคยทำมาแล้ว ไม่พอใจกับระดับที่ไปถึงแล้วความทะเยอทะยานของรวงทองในวันนี้ที่จะร้องเพลงให้ดีกว่ารวงทองเมื่อวันวานคือวิสัยของศิลปินที่รุ่นน้องรุ่นหลานน่าจะถือเป็นแบบอย่างผมไม่ต้องการจะทำให้บทความนี้กลายเป็นอาศิรวาทไป ความจริงมีอยู่ว่า มีอยู่ช่วงหนึ่ง (นานถึง 14 ปี) ในชีวิตศิลปินของเธอ ที่มาตรฐานของเธอตกต่ำลงไปแทบจะกล่าวได้ว่าร้องไม่ออก ร้องช้าลง ความแม่นยำของระดับเสียงไม่มั่นคงความจริงเธอป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ที่รุนแรงแต่ก็โชคดีที่หาสาเหตุพบและรักษาให้หายขาดได้

รวงทองมีโชคดีอีกหลายประการซึ่งเธอไม่เคยปฏิเสธความโชคดีเหล่านั้น นั่นคือเธอเป็นศิษย์ที่มีครูและในกรณีของครูเอื้อ สุนทรสนานนั้น เธออาจใกล้ชิดกว่านักร้องคนอื่นเพราะยินดีฝากตัวเขาไปเป็น 'เด็กในบ้าน' เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของครูและครูก็ถ่ายทอดวิชาการร้องเพลงให้ในระบบที่เราอาจเรียกว่าระบบทิศาปาโมกข์และสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือครูย่อมได้แรงดลใจจากศิษย์คนนี้และพวกเราที่ชื่นชอบเพลงไทยสากลก็เลยได้รับอานิสงส์จากครูและศิษย์คู่นี้นั่นคือเพลงอมตะจำนวนหนึ่งที่ครูเอื้อแต่งขึ้นให้รวงทองเป็นผู้ขับร้องซึ่งจัดได้ว่าเป็นสุดยอดของเพลงไทยสากลและก็เป็นโชคดีอีกเช่นกันที่ผู้ประพันธ์คำร้องระดับแนวหน้าหลายท่าน อาทิเช่นครูแก้ว อัจฉริยะกุล สร้างเนื้อร้องที่เปี่ยมด้วยวรรณศิลป์เสริมเข้ามาอีกแรงหนึ่งผมไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อเพลงเหล่านี้ที่เรารู้จักกันดี

ถ้าจะกล่าวถึงปรากฏการณ์ในเรื่องของนักแต่งเพลงและนักร้อง 'ส่องทางให้แก่กัน' แล้วละก็ รวงทองนับว่าโชคดีอีกนั่นแหละที่ได้ร่วมงานกับนักแต่งเพลงชั้นครูอีกหลายท่านหลังจากที่ได้ลาออกจากวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ไปเผชิญโลกภายนอกที่ท้าทายและก็นับเป็นโชคอันมหาศาลที่ในยุคหลังกึ่งพุทธกาลวงการดนตรีของไทยยังมีนักแต่งเพลงที่ยอดเยี่ยมอยู่อีกหลายท่าน (ถ้ารวงทองเกิดช้าไป 40 ปี เธอคงจะต้องเผชิญกับทะเลทรายแห่งคีตศิลป์ไทยเป็นแน่)เพลงเหล่านั้นยังอยู่กับเรามาจนทุกวันนี้ อาทิเช่น 'แรมพิศวาส' ของพยงค์ มุกดา 'รอยมลทิน' ของ 'พรพิรุณ' 'แน่หรือคุณขา' ของ สมาน กาญจนผลิน และ 'แม้แต่ทะเลยังระทม' ของ สง่า อารัมภีรสรุปได้ว่ารวงทองมีประสบการณ์ในเรื่องขององค์แห่งคีตนิพนธ์ (repertoire) ที่กว้างขวางมาก เธอเป็นหนึ่งในเสาหลักของเพลงไทยสากลในฐานะประเภทของศิลปะ (artistic genre)

รวงทองเป็นศิลปินผู้ตีความ (interpretative artist) ที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่ ในกรณีที่เธอนำเพลงที่นักร้องรุ่นพี่ เช่น มัณฑนา โมรากุล (ผู้ซึ่งเธอเคารพนับถือ) มาตีความใหม่เธอแสดงความคารวะต่อนักร้องต้นแบบด้วยแนวคิดใหม่ที่น่าทึ่ง จะขอยกตัวอย่างเพลง 'วังบัวบาน' มัณฑนา โมรากุล ร้องได้จับใจเราเพราะเธอสามารถชักพาเราให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความทุกข์ระทมของบัวบาน รวงทองทองลั่นธม เสนอทิศทางที่เป็นของเธอเอง ซึ่งปรากฏชัดในการแสดงที่โรงแรมตรังเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2549 เธอแสดงบทบาทของผู้เล่าเรื่องของผู้สังเกตการณ์ซึ่งชี้ให้เห็นความสง่างามของโศกนาฏกรรมของสาวชื่อบัวบานที่มิได้ตายอย่างคนไร้ค่า แต่ดิน น้ำ ลม ฟ้ารวมแรงกันสร้าง 'สุสานเทวีผู้มีความช้ำ' โดยที่เราถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสักขีพยานนั้นด้วย

ด้วยประสบการณ์ที่ลุ่มลึกและกว้างขวางรวงทองตัดสินใจที่จะสร้างคุณูปการในมิติใหม่ด้วยการทำหน้าที่สอนการขับร้องให้แก่นักร้องรุ่นหลังทั้งที่เป็นนักร้องอาชีพและนักร้องสมัครเล่น ศิษย์ของรวงทองที่ออกแสดงเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2549 สะท้อนทิศทางของ 'สำนักรวงทอง ทองลั่นธม' ได้อย่างชัดเจนเธอน่าจะเป็นครูที่ถ่ายทอดความรู้และความชำนาญได้ดีมิใช่ด้วยการร้องให้ลูกศิษย์ฟังเป็นตัวอย่างเท่านั้น แต่ด้วยการอธิบายที่แจ่มชัดรวงทองเป็นผู้ที่ใช้ภาษาได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถอธิบายอารมณ์ความรู้สึกด้วยภาษาที่ไพเราะและเป็นเหตุเป็นผลถ้าท่านไม่เชื่อผมโปรดลองอ่านบทอภิปรายของเธอในการสัมมนา 'มัณฑนาวิชาการ' เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2546 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ (ตีพิมพ์ในหนังสือเบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล 2547 : หน้า 175-181)

อาจเป็นครั้งแรกในวงการเพลงไทยสากลที่จะมีการจัด 'ชั้นเรียนตัวอย่าง' (master class) เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาและการแสดงดนตรีในรายการ รวงทองส่องทางศิลป์ ในวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน ผู้คนเริ่มเรียกเธอว่า 'อาจารย์รวงทอง' สำหรับผู้อาวุโส วิทยาทานคือการสร้างบุญกุศลที่ดีที่สุด

หมายเหตุ: บทความนี้นำออกเผยแพร่โดยโครงการ 'การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์' โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เจตนานาควัชระhttp://www.bangkokbiznews.com/2007/05/04/WW06_0610_news.php?newsid=67419

หากกล่าวถึงวงดนตรีไทยที่มีคุณภาพและยืนยงยาวนาน ในประเทศไทย ชื่อ “สุนทราภรณ์”  โดดเด่นปรากฏชัด ที่สำคัญ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2553- 2554  สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล จากองค์กรวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก*    
                วงดนตรีสุนทราภรณ์ จึงเป็นเสมือน “สำนัก”ที่สร้างคนดนตรีคุณภาพจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

สำนักพิมพ์ชมนาด ได้เคยตีพิมพ์ผลงานการวิจัย ของโครงการ การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2 ที่เป็นงานวิจัยนักร้องสุนทราภรณ์ 2 คน คือ  “เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล” เมื่อปี พ.ศ.  2547 และ “เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน” เมื่อปี พ.ศ. 2549 อันเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวงการดนตรีไทย
                โครงการ การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์ อันเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจาก โครงการ การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2 ได้ศึกษาวิจัยนักร้องจากวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกครั้ง นั่นคือ รวงทอง ทองลั่นธม ซึ่งเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องอย่างมาก และยังคงอาชีพร้องเพลงต่อเนื่องจากอดีตมาจนปัจจุบัน

ที่น่าสนใจคือ  รวงทอง มิได้เป็นเพียงนักร้องเสียงดี หากรวงทองยังเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์ของศิลปินไม่แพ้พรแสวงแห่งอาชีพของตน ซึ่งทำให้การร้องเพลงของรวงทองมีเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นถึงระดับ “ตำนาน”ของวงการเพลงไทย

ผู้ที่ติดตามผลงานเพลงของ รวงทอง ทองลั่นทม หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เชื่อว่าคงจะตระหนักชัดยิ่งขึ้นในความสามารถและความไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้ของรวงทอง ส่วนผู้ที่เป็นแฟนเพลงรุ่นใหม่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการเพลง การได้ศึกษาเส้นทางชีวิตและผลงานของรวงทอง น่าจะทำให้ได้มองเห็นความมุ่งมั่น และความเป็นอัจฉริยะของรวงทอง อันสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีได้

รวงทองส่องทางศิลป์

โครงการ “การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะปรากฎการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัมนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์” อันเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจาก โครงการ “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วามสมัย ภาค 2” ได้ศึกษาวิจัยนักร้องจากวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกครั้ง นั่นคือรวงทองทองลั่นธมซึ่งเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องอย่างมากและยังคงอาชีพร้องเพลงต่อเนื่องจากอดีตมาจนปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือ รวงทองมิได้เป็นเพียงนักร้องเสียงดีหากรวงทองยังเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์ของศิลปินไม่แพ้พรแสวงแห่งอาชีพของตนซึ่งทำให้การร้องเพลงของรวงทองมีเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นถึงระดับ “ตำนาน” ของวงการเพลงไทย....

งาน "รวงทองส่องทางศิลป์"

                เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (3 พ.ย.)ทางโรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรีได้นำนักเรียนจากโรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรีไปร่วมในงานสัมนาที่มหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระ รวม 15 คน โดยเข้าร่วมในช่วงของ

1. วุฒิภาวะของศิลปิน

2. การตีความในบทเพลง

3. Master Class หรือ ชั้นเรียนตัวอย่างซึ่งนิยมทำกันมากในต่างประเทศ

ในชั้นเรียนตัวอย่างได้มีการส่งนักเรียนไปรับการติวเข้มจากคุณรวงทองทองลั่นธม รวม 4 คนด้วยกันคือ

1. น.ส.กุลกรณ์ภัทร โพธิ์ทองนาค นิสิตปีที่ 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์จากจุฬาฯ ในเพลง "จำได้ไหม"

2. คุณอรพรรณ อุดมพานิชนักเรียนของคุณรวงทอง จาก จ.อุดรธานี ในเพลง "วิมานสีชมพู"

3. คุณเทิดพัฒน์พัฒนศิษฎางกูร นักเรียนของคุณรวงทอง จาก จ.เชียงใหม่ ในเพลง "เสียดายเดือน"

4. น.ส.ฐิติรัตน์ สำราญเริงจิต จากโรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี ในเพลง "รอคำรัก"

ใช้เวลารวม 2 ชั่วโมง นักเรียนจากรร.สุนทราภรณ์ฯได้รับการบ้านในทันทีโดยฝ่ายหญิงจะต้องนำเพลง "รอคำรัก" และฝ่ายชายในเพลง "เสียดายเดือน" มาขับร้องให้ครูฟังที่รร.ในสัปดาห์ต่อไปโดยจะต้องเก็บรายละเอียดที่ได้ฟังคุณรวงทองติวในชั่วโมงมาใส่ในเพลงให้มากที่สุดที่จะมากได้

ส่วนในวันอาทิตย์หลังจากการแนะนำเพลงที่จะบรรเลงในช่วงบ่ายแล้ว ได้มีคอนเสิร์ต ของคุณรวงทองตั้งแต่เวลา 14.30-19.00 น.

งานวิชาการครั้งต่อไปของโครงการฯมีผู้เสนอให้ทำงานของนักร้องชายของวงสุนทราภรณ์ซึ่งได้รับไว้พิจารณาด่อไป

http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/board/posting.asp?GID=2899

 

ซีดีตลับทองสุนทราภรณ์ชุดที่ ๗ จำได้ไหม รวงทอง  ทองลั่นธมรหัส(MTCD-6047)

บริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป(๑๙๘๑)จำกัด

ชั้น 10 อาคารสุขุมวิทสวีท 19/71-74 สุขุมวิท ซอย 13 คลองเตยเหนือ วัฒนา

กทม 10110

โทร                        02 6511288-90

Email               info@metro-entertain.com      

๑ ถึงเธอคำร้อง ชอุ่ม  ปัญจพรรค์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๒ จำได้ไหมคำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๓ ไม่ใกล้ไม่ไกลคำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๔ สนต้องลมคำร้อง เอิบ  ประไพเพลงผสม/ทำนองเวส  สุนทราจามร

๕ อย่าปันใจให้ฉัน คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๖ ผู้หญิงก็มีหัวใจคำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๗ ดอนทรายครวญคำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๘ เอื้องกำศรวล คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๙ บนลานลั่นทม คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๐ อย่าลืมกันนะ  คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๑ ขยี้ใจ คำร้อง/ทำนอง หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

๑๒ ชีวิตบ้านนาคำร้อง ศรีสวัสดิ์  พิจิตรวรการ/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๓ แผลรักในใจคำร้อง จรี  บุญประเสริฐ/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๔ รอพี่ คำร้องธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๕ เพ้อฝันไป  คำร้อง ศรีสวัสดิ์  พิจิตรวรการ/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๖ หญิงอ่อนโลกคำร้อง ชอุ่ม  ปัญจพรรค์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

 

ซีดี ตลับทองสุนทราภรณ์ ชุดที่ ๘ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง รวงทอง  ทองลั่นธมรหัส(MTCD-6048)

๑ เพื่อคุณคำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๒ วิมานสีชมพู คำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๓ ขอรักคืน คำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๔ เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่นคำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๕ ตัดสวาท คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๖ ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง คำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

เพลงที่เกี่ยวกับความรัก (9):เพลงคิดไว้ในใจ

เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ครบถ้วนกระบวนความ จึงขอนำเอา เพลงลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง มาให้อ่านกันดังนี้        ...
                เพลงลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง
                                คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนองเอื้อ สุนทรสนาน
                                ลืมเสียเถิด อย่าคิดถึง
                 ลืมรส ที่ซึ้ง ใจมั่น
                เพลงคิดถึง ตรึงใจไม่เว้นวัน
                ฟังแล้วตื้นตัน ต้องร้องไห้       
                                ลืมเสียเถิด ว่ามีฉัน
                 ลืมรัก เสกสรร เคยได้
                จะคิดก็คิด จะเพ้อทำไม
                 จะรักก็รัก อย่าหลงอาลัย ให้ขมขื่น       
                                นึกเสียว่า ความหลัง
                ครั้งกระนั้น เหมือนนอน หลับฝัน ชั่วคืน
                มันอาจ จะหวาน มันอาจจะชื่น
                พอลืมตาตื่น ความชื่น ก็หาย       
                                 ลืมเสียเถิด เรื่องความหลัง
                 ลืมรัก ที่ฝังใจ ไม่หน่าย
                 บุญเราสอง ครองกันแต่เพียงใจ
                 จะมั่นหมาย ครองกาย ไม่ได้เลย
       
                เพลงลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง นี้ รวงทอง ทองลั่นธม เป็นผู้ขับร้องเอาไว้ไดไพเราะมากเป็นพิเศษ อาจเป็นเพราะว่า ได้ล่วงรู้ถึง ประวัติ ความเป็นมาของเพลงนี้ จึงสามารถถ่ายทอด อารมณ์ และ ตีความ ได้ดีเป็นพิเศษ ยิ่งได้ฟังคู่กันกับ เพลงคิดถึง ด้วยแล้ว คงไม่ต้องบอกว่า มันจะซาบซึ้งตรึงใจมากน้อยแค่ไหน       
                อย่างไรก็ตาม ใน เพลงลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง นี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ยังได้ เน้น ลืมเสียเถิด เอาไว้ด้วยกันถึง ๓ ท่อน คือ
                ลืมเสียเถิด อย่าคิดถึง ในท่อนแรก
                ลืมเสียเถิด ว่ามีฉัน ในท่อนที่สอง
                และ ลืมเสียเถิด เรื่องความหลัง ในท่อนสุดท้าย       
                เรียกว่า อยากให้ลืมเอาเสียจริงๆ ตามที่ คุณน้อย ขอร้องเอาไว้       
                ส่วน คำว่า ลืม นั้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็นำเอามาใช้เกือบทุกวรรคก็ว่าได้ เช่น ลืมเสีย / ลืมรส / ลืมเสีย / ลืมรัก / ลืมตา / ลืมเสีย / ลืมรัก       
                นอกเหนือไปจากการเลือกใช้คำที่มี สัมผัสนอก สัมผัสใน ทั้ง อักษร และ สระ เช่น ลืมรส / เว้นวัน / ตื้นตัน ต้อง (ร้องไห้) / ลืมรัก / เสกสรร / จะคิด ก็คิด / จะเพ้อ ( ทำไม ) จะรัก ก็รัก / (อย่า) หลง (อา) ลัย / ขมขื่น / ลืม ตาตื่น / ลืมรัก แล้ว ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ยังเลือกใช้ ประโยคซ้ำ ที่มีความหมายได้อย่างยอดเยี่ยม คือ มันอาจจะ หวาน มันอาจจะ ชื่น และ ครองกัน แต่เพียงใจ จะมั่นหมาย ครองกาย ไม่ได้เลย       
                เป็นฝีมือการแต่งเพลงระดับ นักเลงภาษา ปรมาจารย์ ตัวจริง        ...
                เพลงคิดถึงฉันบ้าง
                                คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
                                รักเอย หวานฉ่ำ มาเลือนร้าง จำห่าง
                 คิดถึงฉันบ้าง อย่าร้าง แรมเลือน
                น้ำคำ น้ำใจ ติดตรึง ถึงแรมเดือน
                 รอยหยิก ติดเตือน ให้จำ เสมอ       
                                แท้จริง ฉันใคร่ จะไปรักใคร อื่น
                รักเดียว รักชื่น เท่านั้น คือเธอ
                รักใคร ร้อยคน ไม่เคยคิด ปรนเปรอ
                ใจมั่นเสมอ รักเธอ ไม่หน่าย       
                                รักแล้ว มิแคล้ว คลาดขาดหวัง
                อย่าเคือง คิดชัง เบี่ยงบ่าย
                 ขาดเธอ เหมือนใจจะขาด หาย
                 อกใจ สลาย แรมรา       
                                ฉันยังรักมั่น คอยวัน สัมพันธ์คู่
                ฉันยัง รักอยู่ ไม่รู้โรยรา
                ฉันยังพะวง ว่าเธอนั้นคง มา
                จงกลับ มาหา รักพา มาด้วย
       
                เพลง คิดถึงฉันบ้าง ของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เพลงนี้ เริ่มต้นด้วย วรรคทอง ที่ว่า รักเอย หวานฉ่ำ มาเลือนร้างจำห่าง คิดถึงฉันบ้าง อย่าร้างแรมเลือน จนเอามาตั้งเป็นชื่อของเพลง       
                เสน่ห์ และ ความไพเราะ ด้านภาษา ที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล นำมาใช้ ใน เพลงคิดถึงฉันบ้าง เพลงนี้ ได้แก่การล้อคำ ที่ใช้คล้ายๆ กัน คือ อย่า ร้างแรมเลือน / อย่า เคืองคิดชัง / รัก เดียว รักชื่น เท่านั้นคือเธอ / รัก ใคร ร้อยคน ไม่เคยคิดปรนเปรอ / ฉันยัง รักมั่น / ฉันยัง รักอยู่ / ฉันยัง พะวง       
                ส่วนการเลือกใช้คำ เพื่อใช้เป็น สัมผัสใน ทั้ง สัมผัสอักษร และ สัมผัสสระ ที่เพิ่มความไพเราะในบทเพลง ที่เป็นความถนัดเฉพาะตัวนั้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็เลือกใช้คำธรรมดาๆ แต่ล้วนมี ความหมาย สอดคล้อง กลมกลืน ได้อย่างวิเศษ เช่น       
                มา เลือนร้าง จำห่าง / ร้างแรมเลือน / น้ำ คำ น้ำ ใจ / ติดตรึง / ติดเตือน / ฉัน ใคร่ จะไปรัก ใคร อื่น / รัก เดียว รัก ชื่น / เท่า นั้นคือ เธอ / รักใคร ร้อยคน / ไม่ เคยคิด ปรนเปรอ / ใจ มั่น เสมอ / แคล้วคลาดขาด หวัง / เคืองคิด ชัง / เบี่ยงบ่าย / แรมรา / รู้โรยรา / มา หารักพา มา ด้วย       
                จุดเด่นที่เห็นได้ชัด ในบทเพลงอมตะของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เพลงนี้ คือการใช้ คำซ้ำ โดยเฉพาะ คำว่า รัก รวมกันอยู่ถึง ๑๐ คำ คือ รักเอย / รักใคร / รักเดียว / รักชื่น / รักใคร / รักเธอ / รักแล้ว / รักมั่น / รักอยู่ / รักพา ที่ต้องยกนิ้วให้       
                มีเพลงเกี่ยวกับ ความรัก อีกเพลงหนึ่ง ที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งเอาไว้ มีเนื้อหา ส่วนใหญ่ใจความในลักษณะของ ผู้ชาย ที่ไม่กล้าบอก รัก หญิงสาว ที่ตนหมายปอง เช่นเดียวกันกับ เพลงขอเพียงแต่มอง คือ เพลงคิดไว้ในใจ ที่ วินัย จุลละบุษปะ เป็นผู้ขับร้อง        ...
                เพลงคิดไว้ในใจ
                                คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
                                พี่เพียง แต่คิด เอาไว้ ในใจ
                พี่ยัง ไม่กล้า บอกใคร พี่คิด ในใจ เท่านั้น
                ครั้นคิด จะเอ่ย อกเอ๋ย ปากสั่น
                 ยิ่งคิด ยิ่งหวั่น ยิ่งคิด ยิ่งตัน อุรา       
                                พี่เคย นั่งคิด นอนคิด คนเดียว
                 เจ้าคง ไม่เคย เฉลียว พี่คิด คนเดียว เรื่อยมา
                คิดปลง ไม่ตก งันงก ประหม่า
                 กลัวน้อง จะว่า เผยอ วาจา ผิดใจ       
                                คำที่ พี่คิด จน จิตตัน
                คำหนึ่ง เท่านั้น ทรามวัย
                 คำหนึ่ง ยิ่งซึ้ง ยิ่งคำใด
                 พี่กลับ เก็บไว้ ในอุรา       
                                หากพี่ จะเผย เฉลยความนัย
                พี่ควร ขึ้นต้น อย่างไร เพื่อน้อง จะได้เมตตา
                คิดวน จนกลุ้ม มันสุมวิญญา
                อกเอ๋ย ไม่กล้า ช่างไร้ ปัญญา สิ้นคน
       
                แนวของ เพลงคิดไว้ในใจ ของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล นี้ จะแตกต่างตรงกันข้ามกับ เพลงเพียงคำเดียว ของ ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ และ ครูสมาน กาญจนะผลิน ( เพียงคำเดียวที่ปรารถนา...) เพราะ ฝ่ายชาย บอกให้ ฝ่ายหญิง ได้รับรู้ รับทราบไปจนหมดแล้ว เพียงแต่รอ คำตอบ เพียงคำเดียว เท่านั้น       
                ซึ่ง ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ บอกว่า
                “เพียงคำเดียว ที่ปรารถนา อยากฟังให้ชื่นอุรา ใจพะว้าพะวัง...
                .....คำ...คำนี้มีค่าใหญ่หลวง พี่รักพี่แหนพี่หวง เพียงปานดวงฤทัย
                พี่ไม่เคยเฉลยกับใคร แต่แล้วพี่บอกเจ้าไป เพื่อให้เจ้าตอบเช่นกัน...
                แม้นเจ้าลืมเจ้าเลือนเคลื่อนคลาย พี่เตือนให้อีกก็ได้ คือ รัก ยังไงเจ้าเอย”       
                ใน เพลงคิดไว้ในใจ เพลงนี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้คำธรรมดาๆสามัญ แต่มี ความหมาย ที่จะสื่อไปยัง อีกฝ่ายหนึ่งได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง ความไพเราะ จาก สัมผัสนอก และ สัมผัสใน ที่เป็นสไตล์การแต่งเพลงรุ่นครูเอาไว้ตลอดทั้งเพลง เช่น       
                พี่เพียง / เคย (บอก )ใคร / ครั้นคิด / เอ่ย อกเอ๋ย / ยิ่ง (คิด) ยิ่ง (หวั่น) ยิ่ง (คิด) ยิ่ง (ตันอุรา) / นั่งคิด นอนคิด (คนเดียว) / (เจ้า) คง (ไม่) เคย (เฉลียว) / (พี่) คิดคน (เดียว) / งันงก / จะว่า (เผยอ) วาจา (ผิด) ใจ / คำ(ที่พี่) คิด / จนจิต (ตัน) / (พี่) กลับเก็บ (ไว้) / (หาก) พี่ (จะ) เผย / (พี่) ควรขึ้น (ต้นอย่างไร)       
                ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้คำว่า พี่ ใน เพลงคิดไว้ในใจ ถึง ๙ คำ ด้วยกัน คือ พี่ เพียงแต่คิด / พี่ ยังไม่กล้าบอกใคร / พี่ คิดในใจ / พี่ เคยนั่งคิด / พี่ คิดคนเดียว / พี่ คิด จนจิตตัน / พี่ กลับเก็บไว้ / พี่ จะเผย / พี่ ควรขึ้นต้นอย่างไร /       
                ส่วนคำว่า คิด นั้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกเอามาใช้ถึง ๑๑ คำ ทั้งเพลง คือ แต่ คิด / พี่ คิด / ครั้น คิด / ยิ่ง คิด / ยิ่ง คิด / นั่ง คิด / นอน คิด / พี่ คิด คนเดียว / คิด ปลง / คำที่พี่ คิด / คิดวนจนกลุ้ม  
                ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นคน ไร้ปัญญา อย่างที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล บอกเอาไว้ในเพลงสักนิดเดียว

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000045662                   

๗ ปาหนันคำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๘ มั่นใจไม่รัก คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๙ รอคำรัก  คำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๐ สุดแสนเสียดายคำร้อง รวงทอง  ทองลั่นทม/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๑ อย่าซื้อฉันด้วยเงินคำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๒ หนีนรกคำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๓ อย่าห้ามรักคำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๔ เพื่อนใจคำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

เพลงชมความงามตามธรรมชาติ (4) : เพลงเพื่อนใจ

จาก ดอกไม้กับ แมลง มาสู่ ผีเสื้อยามเช้า ( ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ) เราอาจจะเห็น ความสามารถในการปรับตัวของ กลุ่มสุนทราภรณ์ ได้อย่างชัดเจนขึ้น       
             ศิลปินทั้งสอง มิได้ปฏิเสธเลยว่า ท่านได้ดื่มด่ำในเสน่ห์ของ ดนตรีแบบตะวันตก และ เครื่องดนตรีตะวันตก       
            จากหลักฐานการบรรเลงที่ถ่ายทอดมาสู่เงาในรูปของแผ่นเสียง วงสุนทราภรณ์ เริ่มต้นด้วย การโชว์วง คือ บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆไปจนจบเพลงเสียครั้งหนึ่งก่อน
            การใช้เครื่องดนตรีในช่วงแรกนี้ น่าสนใจมาก เพราะการประสมวง แตกต่างไปจากชวงหลังที่ วงดนตรีบรรเลงคลอนักร้อง
            ในตอนต้น มีการใช้ ปี่ Clarinet เล่นเสียงสั่น ที่เรียกว่า Tremolo เป็นการเลียน ความเคลื่อนไหว ของ ผีเสื้อยามเช้า จัดได้ว่าเป็นการ Program Music ในลักษณะหนึ่ง เท่ากับเป็น การบอกความ ล่วงหน้า และ เตรียมใจ ผู้ฟังไว้อย่างเลาๆ ด้วยเสียงดนตรี ก่อนที่ผู้ฟังจะได้รับ การสื่อสาร ที่ชัดเจนขึ้น ในรูปของการร้อง
            เพลงสุนทราภรณ์ ในยุคนี้ ยังใช้ดนตรีเป็นตัวตั้ง คือการขับร้องในช่วงหลัง ดำเนินไปตามการบรรเลงด้วยวงในช่วงแรก สังเกตได้จากการปล่งเสียงของ มัณฑนา โมรากุล ในตอนปลายวรรคได้ว่า เป็น การล้อ เสียงปี่ Clarinet ที่ได้บรรเลงไปก่อนแล้ว
            ดังตัวอย่าง จากตอนที่มีความว่า       
            “รุ่งอรุณ เรืองแรง แสง ทอง งามยิ่ง เคลิ้ม มอง งามส่อง นภา” (บรรทัดที่ ๑) มัณฑนา ใช้เสียงเต้น อย่างที่เรียกว่า Vibrato ในคำว่า ทอง มอง และ นภา ซึ่งพ้องกับตัวโน้ตที่ Clarinet เล่นแบบ Tremolo       
             การกำหนดให้คำร้องตาม เนื้อเต็ม แบบหนึ่งคำต่อหนึ่งโน้ต ยังมีอยู่ เช่น บ้าง ลง ไล้ ไต่ ตอม น้อม โน้ม... (บรรทัดที่ ๗ วรรคต้น) แต่พอมาถึงปลายวรรค การปลดแอกจาก ข้อผูกมัด ของดนตรีตะวันตก ก็ได้เริ่มขึ้น คือ มีการกำหนดคำให้ เอื้อน ได้ คือ สุขสมสรรดมผกา (บรรทัดที่ ๗ วรรคท้าย) อันเป็นการเอื้อนเข้าหาเสียงของภาษาไทย สังเกตได้ว่า ผู้ร้อง ดูจะเร่งเข้าหาปลายวรรค ด้วย ความโล่งใจ และ เบิกบานใจ       
            การใส่เนื้อร้องในตอนท้ายเพลง ดูราวกับจะเป็น การประกาศอิสรภาพ กลับไปสู่ ความเป็นไทย ยิ่งในตอนที่ เพลงชะลอจังหวะลงสู่ตอนจบ       
             ชมชื่นสัมพันธ์ ผีเสื้อแสนงาม (บรรทัดที่ ๑๒ วรรคท้าย) นักร้องก็ลากคำ แสนงาม พร้อมเอื้อนเสียงสั่งลา ได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง       
            เพลงในจังหวะ Waltz เพลงนี้ ดูจะให้อิสรภาพ กับ ผู้แต่ง และ ผู้ร้อง ไม่น้อยเลย จัดได้ว่า เป็นเพลงที่ สมบูรณ์ ที่สุดเพลงหนึ่ง ในองค์แห่ง คีตนิพนธ์ ของ สุนทราภรณ์       
            เนื้อเพลงให้ ความหมาย บ่งบอกถึง ความแช่มชื่น ในขณะที่ ทำนอง ก็สนอง ความมีชีวิตชีวา นี้ อย่างเต็มที่
            ผู้เขียน อยากจะเรียก เพลงนี้ว่าเป็น ยามเช้า ของ เพลงสุนทราภรณ์ โดยศิลปินกลุ่มนี้ ตื่นขึ้นรับ ประสบการณ์ใหม่ ทาง คีตศิลป์ ด้วย ความเบิกบานใจ ที่ใช่ว่า เป็นลักษณะประจำของ เพลงสุนทราภรณ์ ทุกเพลง...”       
             มัณฑนา โมรากุล ผู้ขับร้อง เพลงผีเสื้อยามเช้า เขียนเล่าเอาไว้ใน หนังสือ ดาวประดับฟ้า มัณฑนา โมรากุล เอาไว้ว่า       
            “...เพลงนี้ เป็นเพลงเก่า ร้องตั้งแต่สมัยวิทยุศาลาแดง ซึ่งจะต้องร้องสดๆ ตอนเช้า เวลาประมาณ ๖ โมง ถึง ๖ โมงครึ่ง คล้ายกับการปลุกคนให้ตื่นขึ้นชมธรรมชาติยามเช้า และประกอบกิจการงาน       
             เพลงที่ร้องเช้าๆ ชุดเดียวกันนี้ ก็มี มาลีรุ่งอรุณ บุปผางาม มี ครูล้วน ควันธรรม ไปร้องออกอากาศด้วย เพลงที่เขาร้อง ก็มี เช่น เพลงยามอรุณ บทร้องปลุกให้ตื่นไปทำงานสร้างชาติ แล้วดิฉันก็จะช่วยร้องหมู่ ตอนที่เป็นจังหวะมาร์ช...เพลงนี้ ใช้ไวโอลินบรรเลงถึงสามคน ดำเนินทำนองไม่ซ้ำกัน สอดเสียงประสานกันเพราะมาก คนสีไวโอลิน มี หัวหน้า คุณสมพงษ์ ทิพยะกลิน และ คุณทองอยู่ เปียสกุล...)
            การเลือกใช้ ถ้อยคำ และ ภาษา ใน เพลงผีเสื้อยามเช้า ของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เพลงนี้ ก็ล้วนแต่มี ความหลากหลาย งดงาม ทำให้มองเห็น บรรยากาศ อารมณ์ และ ความไพเราะ ของเพลง ได้เป็นอย่างดี เช่น
            รุ่ง (อ) รุณ เรือง แรง / รุ่ง (อรุณ ) เรือง แรง แสง ทอง / เรือง แรง / (เรือง) แรง แสง (ทอง) / งาม (ยิ่ง เคลิ้ม มอง) ยาม (ส่องนภา) / (กระ) จาย พราย (พราว) / (เร้า) ตา (งามทั่วท้อง) ฟ้า (พื้น) หล้า (วิไล)
            เยือก - เย็น / ลม - รำ (เพย) / (รำ) เพย - พัด (โชย) / (พัด) โชย ( พากลิ่นหอม ) โรย - โชย (ฉ่ำฤทัย) / โชย - ฉ่ำ (ฤทัย- ไป (สด) ใส (ตามลม) / สด – ใส
            (เหล่าผี) เสื้อ - แสน (งาม) / (แสน) งาม - ยาม (เช้า) / (ยาม) เช้า (คลอ) เคล้า (ลัดดา) / คลอ - เคล้า / ลอย- เล่น - ลม - เร้า (ตา) เริง (สุข) / (เร้า) ตา (เริง สุข) พา (นิยม) / (ลอยเล่น) ลม (เร้าตา เริงสุขพานิ) ยม / ลง - ไล้ / ไต่ -ตอม / น้อม - โน้ม / (พา นิ) ยม ( บ้างลงไล้ไต่ตอม น้อม) โน้ม (สุข) ชม (สรร) ดม (ผกา)
            สูด - สุ (คนธารส) / (กางปีก) รับ - ลม - เรือง (ข่ม) นภา) / ระยิบ - ระยับ / (ระ) ยับ - วับ (ตา) / พร่าง - พราว / นัก - หนา / (นัก) หนา - พา (ให้ ใฝ่ฝัน ) / ให้ - ใฝ่ (ฝัน) / ใฝ่ - ฝัน / โผ - ผิน / (โผ) ผิน - บิน (เร้า ฤทัย) / เร้า - ฤ (ทัย) เรื่อย (ไป) เหลิง (ในชีวัน) / (บิน เร้า ฤ ) ทัย (เรื่อย) ไป (เหลิง) ใน (ชีวัน) / ( สุข แต่) เช้า - เช่น (นี้) / (เช้า เช่นนี้ ทุก) วัน (ชมชื่น สัม) พันธ์ / ชม - ชื่น / (สัม) พันธ์ - ผี (เสื้อ) / (ผี) เสื้อ - แสน (งาม)
            หมดจดงดงาม เสียจน ไม่มีที่จะติได้เลย       ...
           เพลงเพื่อนใจ
           คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
                           ยาม เช้า พราวเพริศ ฟ้าบรรเจิด ละออง ทอง
           แสงระวี ที่สาดส่อง พิศเพียงทาบทอง สมปอง สอดคล้องอารมณ์       
       
                    ค่ำลง ฟ้ามืดครัน ฉันมีเพื่อน คือแสงแห่งจันทร์ แสงดาวผ่องพรรณชิดชม
          ยามเหงา ก็ยังรื่นรมย์ คลื่นลม ภิรมย์เป็นเพื่อน
                   ฟังเสียง กระซิบ กระซี้ เรื่อยไป คอยประโลม หทัย เสียงกล่อม ให้คลายอาวรณ์
           หมู่นก เริงร่า ท้องคงคา มีปลาเห็น กลาดเกลื่อน
                   สายลม สายธาร แสงดาว แสงเดือน
           ชื่นชม ภิรมย์ ติดเตือน เยี่ยมเยือน ไว้เป็น เพื่อนใจ
            เพลงนี้เดิมขับร้องโดย ชวลีย์ ช่วงวิทย์ แต่ ขับร้องบันทึกเสียง โดย รวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติ ที่มีผลงานเพลงไพเราะ ที่โด่งดัง มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมเป็น อมตะ กับ วงดนตรีสุนทราภรณ์ อยู่ด้วยกัน หลายเพลง       
             ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ใช้วิธีการแต่ง เพลงเพื่อนใจ อย่าง กวี สมคำร่ำลือ สมชื่อที่ว่า คีตกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงถึง ความสามารถ ใน การใช้ภาษา จาก คลังภาษา ที่แพรวพราว ด้วยฝีมือล้ำยุค       
            ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เปิดฉากด้วย ยามเช้า พราวเพริศ ฟ้าบรรเจิด ละอองทอง ที่มีดู อลังการ มองเห็นภาพที่ปรากฏได้อย่างชัดเจน แล้วจึงอธิบายลงรายละเอียด ว่า แสงระวี ที่สาดส่อง พิศเพียง ภาพทอง สมปอง สอดคล้องอารมณ์ ได้อย่างลงตัว       
             เมื่อถึงเวลาค่ำ ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องอาศัย แสง (แห่ง) จันทร์ แสงดาว เสียงคลื่น และ สายลม เป็น เพื่อน แล้ว ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็สรุปในตอนสุดท้าย ว่า สายลม สายธาร แสงดาว แสงเดือน ชื่นชม ภิรมย์ติดเตือน เยี่ยมเยือน ไว้เป็น เพื่อนใจ ได้อย่างแท้จริง และกลายเป็น วรรคทอง สมกับชื่อเพลง
            นักเลงภาษา อย่าง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เท่านั้นที่จะเลือก คำ ที่มีความเหมาะสม กลมกลืน มาใช้ได้อย่างแนบเนียน ลงตัว เช่น คำว่า พราว แปลว่า แวววาว ซึ่งมี คลังคำ หรือ กลุ่มคำ ที่ใช้กันอยู่หลายคำด้วยกัน เช่น พราวพริ้ง / พราวพรรณ / พราวพร้อย / พราวพร่าง / พราวแพรว / พราวเพริศ
            คำว่า เพริศ แปลว่า งาม ดียิ่ง ซึ่งมี คลังคำ หรือ กลุ่มคำ ที่ใช้กันอยู่ เช่น เพริศพราว / เพริศพราย / เพริศพริ้ง / เพริศแพร้ว แต่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้ พราว - เพริศ เพื่อให้ คำว่า พราว รับสัมผัส จากคำว่า (ยาม) เช้า และ ส่งสัมผัส ต่อไปที่คำว่า (ฟ้า บรร) เจิด (ละอองทอง) อย่างลงตัว
            ส่วนใน บรรทัดสุดท้าย นั้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้ คำว่า สายลม – สายธาร / แสงดาว – แสงเดือน เพื่อ ส่งสัมผัส ไปยัง คำว่า ชื่นชม ภิรมย์ ติด) เตือน แล้ว ส่งสัมผัส ต่อไปที่ คำว่า (เยี่ยม) เยือน (ไว้เป็น) เพื่อน (ใจ) ในวรรคสุดท้าย เป็นการสรุปความ ได้อย่างหมดจดงดงาม
            การเลือกใช้ ถ้อยคำ และ ภาษา ใน เพลงเพื่อนใจ ของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เพลงนี้ จึงมี ความลื่นไหล ไพเราะ ด้วย สัมผัส ทั้ง สัมผัสนอก และ สัมผัสใน เพียงแต่ในวรรคสุดท้ายที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ใช้ว่า ยามเหงา ก็ยัง รื่น รมย์ คลื่น ลม ภิ รมย์ เป็นเพื่อน นั้น สัมผัส ทั้ง ๓ คำ คือ รมย์ ลม และ รมย์ ที่ต่อกันในวรรค กลายเป็น สัมผัสซ้ำ หรือ สัมผัสเลือน ทำให้เสีย สุนทรียรส ไปบ้าง แต่เพราะเป็น การแต่งเพลง ไม่ใช่ แต่งกลอน ก็คงพอจะ ยกเว้น หรือให้อภัยกันได้
            ส่วนคำอื่นๆ ใน เพลงเพื่อนใจ ต้องบอกว่า ไม่มีที่ติ เลย เช่น (ยาม) เช้า - พราว ( เพริศ ) / พราว - เพริศ / (ยามเช้า พราว) เพริศ ( ฟ้า บรร) เจิด (ละอองทอง / (ละ) ออง ทอง (แสงระวี ที่ สาด) ส่อง (พิศ เพียง ภาพ) ทอง ( สม) ปอง (สอด) คล้อง (อารมณ์) / แสง (ระวี ที่) สาด - ส่อง / พิศ - เพียง - ภาพ ( ทอง) / สม (ปอง) สอด (คล้อง อารมณ์ /
            ค่ำ (ลง ฟ้ามืด) ครัน / (ฟ้า มืด) ครัน - ฉัน (มี เพื่อน คือ แสงแห่ง) จันทร์ (แสงดาว ผ่อง) พรรณ (ชิดชม) / (คือ) แสง แห่ง (จันทร์) / ผ่อง - พรรณ / ชิด - ชม / ยาม (เหงา ก็) ยัง (รื่นรมย์) / รื่น - รมย์ (คลื่น) ลม (ภิ) รมย์ (เป็นเพื่อน)       
            (ฟัง) เสียง (กระ) ซิก (กระ) ซี้ / กระซิก - กระซี้ / เริง - ร่า / คง - คา / กลาด - เกลื่อน / สายลม - สายธาร / แสงดาว - แสงเดือน / (เห็น กลาด) เกลื่อน (สายลม สายธาร แสงดาว แสง ) เดือน ( ชื่น ชม ภิรมย์ ติด ) เตือน (เยี่ยม) เยือน (ไว้ เป็น) เพื่อน (ใจ) / ชื่น - ชม / ติด - เตือน / เยี่ยม - เยือน

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000159757

๑๕ ไออุ่นรัก คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๖ ฝันถึงกันบ้างนะ  คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

 

ซีดี ตลับทองสุนทราภรณ์ชุดที่ ๔๑ ขวัญใจเจ้าทุยรวงทอง  ทองลั่นธม//อ้อย  อัจฉรา รหัส(MTCD-6088)

๑ ขวัญใจเจ้าทุย  คำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๒ ปลอบใจเจ้าทุย คำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๓ รักเธอคนเดียว คำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล/ทำนอง เวส  สุนทรจามร

๔ หวานรัก คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๕ สั่งรัก คำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล/ทำนอง เวส  สุนทรจามร

๖ ลมพาฝัน คำร้อง ศรีสวัสดิ์  พิจิตรวรการ/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๗ ระทมในลั่นทม คำร้อง ชอุ่ม  ปัญจพรรค์/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๘ ราตรีสิ้นดาวคำร้อง ศิริรัตน์  พิมพ์วงศ์/ทำนอง ธนิต  ผลประเสริฐ

๙ เวียนตามกรรม   (อ้อย  อัจฉรา)คำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๐ มิใช่ดอกฟ้า        (อ้อย  อัจฉรา)คำร้อง เนรัญชรา/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๑ ใครลิขิต            (อ้อย  อัจฉรา)คำร้อง สมศักดิ์  เทพานนท์/ทำนอง ธนิต  ผลประเสริฐ

๑๒ รอดูใจ              (อ้อย  อัจฉรา) คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๓ ป่าช้าใจ             (อ้อย  อัจฉรา) คำร้อง ศรีสวัสดิ์  พิจิตรวรการ/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๔ รักจ๋า                 (อ้อย  อัจฉรา) คำร้อง/ทำนอง สมศักดิ์  เทพานนท์

๑๕ นึกฝัน              (อ้อย  อัจฉรา) คำร้อง ศรีสวัสดิ์  พิจิตรวรการ/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

๑๖ น้ำใจเจ้าแต้ม     (อ้อย  อัจฉรา)คำร้อง ธาตรี/ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

 

บริษัท แม่ไม้เพลงไทย

            12/1-4 ซ. เอกชัย 65 บางบอน กทม 10150(ป.ณ. บางขุนเทียน)

โทร      02        4511115

Email   maemai99@hotmail.com;

Web     http://www.maemaiplengthai.com

ซีดีเก็บรัก รวงทอง  ทองลั่นทมแม่ไม้เพลงไทย (CD 166)

๑ เก็บรักคำร้อง/ทำนอง สุรพล  โทณวนิก

๒ คิดถึงน้องบ้างนะคำร้อง พรพิรุณ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๓ พนันใจ  คำร้อง/ทำนอง สุรพล  โทณวนิก

๔ อารมณ์คำร้อง/ทำนอง สุรพล  โทณวนิก

๕ เบื่อหนาวคำร้อง/ทำนอง สุรพล  แสงเอก

๖ ท้องนาคำร้อง/ทำนอง สุรพล  โทณวนิก

๗ ดวงใจจ๋าคำร้อง/ทำนอง สมศักดิ์  เทพานนท์

๘ ธรณีกรรแสงคำร้อง/ทำนอง สุรพล  โทณวนิก

๙ สวรรค์เศร้าคำร้อง/ทำนอง สง่า  อารัมภีร

๑๐ ทุยจ๋าทุย(ขับร้องคู่กับ ชรินทร์  นันทนาคร)คำร้อง เกษม ชื่น  ประดิษฐ์ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๑ ข้ารักทุยคำร้อง รวงทอง ทองลั่นธมทำนอง สมาน กาญจนผลิน

๑๒ คีรีบูนยอดรักคำร้อง รวงทอง  ทองลั่นธม ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๓ ตรมน้ำตาคำร้อง  เกษม ชื่นประดิษฐ์ทำนอง สมาน กาญจนผลินวงดนตรี  สมาน กาญจนผลิน

๑๔ สอนน้องคำร้อง รวงทอง  ทองลั่นธม ทำนอง สร้อยแสงแดง

๑๕ แสนแสบที่แสบแสนคำร้อง ชาลี  อินทรวิจิตร ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๖ สาวมหาชัยคำร้อง ชาลี  อินทรวิจิตร ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๗ อนิจจาความรักคำร้อง/ทำนอง สง่า  อารัมภีร

๑๘ แน่หรือคุณขาคำร้อง/ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

 

 

ซีดีแรมพิศวาสรวงทอง  ทองลั่นทม แม่ไม้เพลงไทย (CD 507)

๑ แรมพิศวาส คำร้อง/ทำนอง พยงค์  มุกดา

๒ รักระแวงใจคำร้อง สุนทรียา  ณ  เวียงกาญจน์ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๓ กลัวลมลวงคำร้อง/ทำนอง สมศักดิ์  เทพานนท์

๔ ลมรัก ลมหวน(ขับร้องคู่กับ ชรินทร์  นันทนาคร)คำร้อง/ทำนอง ชาญชัย  บัวบังศร

๕ รักเธอเสมอ(ขับร้องคู่กับ ชรินทร์  นันทนาคร)คำร้อง อิงอร ทำนอง สมศักดิ์เทพานนท์

๖ เชลยรักคำร้อง/ทำนอง สมศักดิ์  เทพานนท์

๗ ยอดอนงค์คำร้อง/ทำนอง สง่า  อารัมภีร

๘ พรุ่งนี้วิวาห์คำร้อง/ทำนอง มงคล  อมาตยกุล

๙ เป็นสาวคราวเดียวคำร้อง/ทำนอง สมศักดิ์  เทพานนท์

๑๐ บทเรียนของหญิงคำร้อง/ทำนอง  สุรพล  โทณวนิก

๑๑ แม่คำร้อง ชาลี  อินทรวิจิตร ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๒ เครือฟ้าครวญคำร้อง ประสพโชค  เย็นแข ทำนอง เพลงลาวครวญ

๑๓ เกียรติยศในกรงทองคำร้อง สุนทรียา  ณ  เวียงกาญจน์ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๔ ดอกฟ้าโน้มกิ่งคำร้อง/ทำนอง สุรพล  โทณวนิก

 

ซีดีเคยเป็นของคุณรวงทอง  ทองลั่นทม แม่ไม้เพลงไทย (CD 508)

๑ เคยเป็นของคุณคำร้อง/ทำนอง มนัส  ปิติสานต์

๒ ลืมคำร้อง สุนทรียา  ณ  เวียงกาญจน์ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๓ สั่งลมฝากรักคำร้อง/ทำนอง ประเทือง  บุญยประพันธ์น

๔ พระจันทร์หลงฟ้าคำร้อง ธาตรี ทำนอง เวส  สุนทรจามร

๕ ไฟพิศวาสคำร้อง ธาตรี  ทำนอง ธนิต  ผลประเสริฐ

๖ คงคาพรครวญคำร้อง/ทำนอง เวส  สุนทรจามร

๗ จดหมายรักสลักบนพื้นทรายคำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล ทำนอง Love letter in the sand

๘ คมสวาท คำร้อง ธาตรี ทำนอง ธนิต  ผลประเสริฐ

๙ รักเป็นอย่างนี้คำร้อง สุนทรียา  ณ  เวียงกาญจน์ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๐ ฝันลวงดวงใจคำร้อง/ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๑ กังหันรักคำร้อง/ทำนอง วิทยา  สุขดำรงค์

๑๒ รักลาฟ้าเศร้าคำร้อง/ทำนอง สมศักดิ์  เทพานนท์

๑๓ ชื่นใจ(ขับร้องคู่กับ ชรินทร์  นันทนาคร)คำร้อง เกษม  ชื่นประดิษฐ์ ทำนอง สมาน  กาญจนะผลิน

๑๔ ลาก่อน.....ซาโยนาระ คำร้อง แก้ว  อัจฉริยะกุล ทำนอง Sayonara

ซีดี รวงทอง ทองลั่นทม ชุด แรมพิศวาส CTR 205 

1 แรมพิศวาท
2
พรุ่งนี้วิวาห์
3
รักเธอเสมอ สมศักดิ์ / รวงทอง
4
กังหันรัก
5
รักลาฟ้าเศร้า
6
จดหมายรักสลักบนพื้นทราย
7
เชลยรัก
8
ซาโยนะระ ลาก่อน
9
ดอกฟ้าโน้มกิ่ง
10
เครือฟ้าครวญ
11
แม่
12
เกียรติยศในกรงทอง
13
ยอดอนงค์
14
ลมรักลมหวน ชรินทร์ / รวงทอง

 

ซีดี รวงทอง ทองลั่นทม ชุด รักระแวงใจ CTR 504 

1 รักระแวงใจ
2
กลัวลมลวง
3
ลืม
4
ชื่นใจ ชรินทร์/ รวงทอง
5
คงคาพาครวญ
6
รักเป็นอย่างนี้
7
เคยเป็นของคุณ
8
คมสวาท
9
ฝันลวงดวงใจ
10
พระจันทร์หลงฟ้า
11
ไฟพิศวาส
12
สั่งลมฝากรัก
13
บทเรียนของหญิง
14
เป็นสาวคราวเดียว

ซีดีรวงทอง  ทองลั่นทม ชุด เสียงกระซิบจากเกลียงคลื่นSolar Music MT 103 ระบบเสียง Mono

๑ ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง

๒ เสียงกระซิบจากเกลียงคลื่น

๓ จำได้ไหม

๔ มั่นใจไม่รัก

๕ ไม่ใกล้ไม่ไกล

๖ เพื่อคุณ

๗ วิมานสีชมพู

๘ หญิงก็มีหัวใจ

๙ ถึงเธอ

๑๐ สนต้องลม

๑๑ขยี้ใจ

๑๒ ขอรักคืน

๑๓ หนีนรก

๑๔ ตัดสวาท

๑๕ อย่าซื้อฉันด้วยเงิน

๑๖ บนลานลั่นทม

๑๗ หญิงอ่อนโลก

๑๘ ขวัญใจเจ้าทุย

ซีดี KSM-16 อมตะค้นฉบับเดิม รวงทอง  ทองลั่นทม  คิดถึงน้องบ้างนะ

๑ คิดถึงน้องบ้างนะ

๒ ค่าของความรัก

๓ นี่หรือความรัก

๔ เธอรักใครกันแน่

๕ ชาตรี

๖ น้ำตาเซาะใจ

๗ อารมณ์

๘ เบื่อหนาว

๙ ปิยะศาสตร์

๑๐ สอนน้อง

๑๑ ท้องนา

๑๒ นกขมิ้น

๑๓ พนันใจ

๑๔ ฉันรักเธอมากกว่าเธอรักฉัน

๑๕ ตรมน้ำตา

๑๖ แสนแสบที่แสบแสน

 

ซีดี รวงทอง  ทองลั่นทม  RTCD -0044ชุด อย่าปันใจให้ฉัน

๑ อย่าปันใจให้ฉัน

๒ สั่งรัก

๓ ปาหนัน

๔ ดอนทรายครวญ

๕ เอื้องกำศราล

๖ สุดแสนเสียดาย

๗ ระทมในลั่นทม

๘ รอคำรัก

๙ เพื่อนใจ

๑๐ อุ่นไอรัก

๑๑ แผลรักในใจ

๑๒ อย่าห้ามรัก

๑๓ อย่าลืมกันนะ

๑๔ หวานรัก

๑๕ เพ้อฝันไป

๑๖ ชึวิตบ้านนา

๑๗ รอพี่

๑๘ อกหัก

 

หนังสือเสียงนี้นางได้แต่ใดมา

งานเพลงและเหตุการณ์  ๔๕ ปี ของ รวงทอง  ทองลั่นธม  ศิลปินแห่งชาติ

รวงทองแฟนคลับ

โทรศัพท์ 034 479984และ 089 1422876

เลขที่ 99/1หมู่ 8ต. คลองมะเดื่อ กระทุ่มแบน สมุทรสาคร74110

หนังสือเล่มนี้หมดไปนานพอสมควรแล้วครับ

 

๔๕ปีแห่งเสียงเพลง..รวงทอง ทองลั่นธม

แหล่งที่มา :น.ส.พ.สันติภาพ รายสัปดาห์ ฉบับวันพุธที่ ๒๘ส.ค. ๔๕คอลัมน์ศิลปะคู่วัฒนธรรม
“ รวงทอง…เสียงนี้นางได้แต่ใดมา..” เสียงขับขานหวานใสของนกน้อยที่ได้ชื่อว่าเสียงดีและไพเราะที่สุดแล้วยังไม่วายฉงนเป็นคำถามออกมาดังนี้และนี่คือจินตนาการของ นิเวศน์ กันไทยราษฎร์นักเขียน นักประพันธ์ นักแสดงและนักร้องที่กลั่นออกมาจนเป็นตัวอักษรเดินแถวเรียงหน้าเป็นรูปประโยค แล้วส่งผ่านสู่ศิลปินแห่งชาติรวงทอง ทองลั่นธมตัดคำว่า “รวงทอง” ออกเสีย ก็จะเหลือเพียง“เสียงนี้ นางได้แต่ใดมา”
และนั่นคือ…ชื่อของหนังสือเล่มล่าสุดที่เธอตั้งอกตั้งใจบันทึกเรื่องราวต่างๆของชีวิตตลอดระยะเวลา ๔๕ปีที่คลุกคลีอยู่ในโลกดนตรี โลกของนักร้องที่ใช้น้ำเสียงขับกล่อมคนทั้งโลกไม่มีใครปฏิเสธเลยว่าเสียงร้องเพลงของ รวงทอง ทองลั่นธม ไม่ไพเราะอำนาจและมนต์เสน่ห์ของเสียงอันชวนหลงใหลนี้แหละ ความคิดจึงวาบขึ้นในสมองของนิเวศน์ กันไทยราษฎร์ ออกมาเป็นคำถามดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” เป็นรวมอนุทินชีวิตของรวงทอง ทองลั่นธม อีกเล่มหนึ่งนอกเหนือไปจาก “อนุทินชีวิต” เล่มก่อนเมื่อหลายปีที่แล้วซึ่งรวงทองได้เขียนออกมาตีแผ่ส่วนหนึ่งของชีวิตแต่…สำหรับครั้งนี้… “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” รวงทอง ทองลั่นธมบรรจงร้อยเรียงเป็นอักษรอย่างตั้งอกตั้งใจเป็นพิเศษ จึงใช้เวลาถึง 8 เดือนเต็มๆกว่าอักษรเหล่านั้นจะเรียงร้อยเป็นถ้อยความที่สร้างความรู้สึกแก่ผู้อ่านได้หลายอารมณ์เสี้ยวชีวิตของการเข้ามาเป็นนักร้องตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเธอกำลังจะขออำลาวงการเพลงไปใช้ชีวิตส่วนตัวที่สงบสุขโดยเอาธรรมะเป็นที่พึ่ง ตลอดระยะเวลา 45 ปีเธอถอดชีวิตออกมาเป็นตัวอักษรอย่างหมดเปลือกและด้วยวิธีการที่แยบยลที่ทำให้อ่านสนุกแม้ว่าใครบางคนอาจจะค่อนขอดด้วยความน่าเอ็นดูว่า “เหมือนลิเก” ก็ตามทีแต่รวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติคนนี้ ก็ไม่เคยปฏิเสธว่า..ไม่ชอบลิเกเธอบอกว่า เธอทั้งรักทั้งหลงลิเกมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วจะเรียกว่าตั้งแต่เป็นเด็กตัวเล็กๆก็ว่าได้เธอรักและหลงในน้ำเสียงอันหวานไพเราะของผู้แสดงรักชอบกลอนสัมผัสที่ผู้แสดงขับขานออกมาจากปฏิภาณที่ฉับพลันและให้ความหมายที่กินใจผู้ชมยิ่งนักรักชอบเครื่องแต่งกายของผู้แสดงที่หรูหราวูบวาบไปด้วยแสงแห่งเพชรพลอยประดับที่แข่งแย่งกันขับประกายออกมาเหล่านี้จึงได้เกิด “ฤาษีสุนทร” แห่งสำนัก “สุนทรศิลป์” ขึ้นให้ “เด็กหญิงรวงข้าวสาลี” ได้พึ่งพักอาศัยด้วยความเมตตาตราบจน “ฤาษีสุนทร” ได้จากโลกนี้ไป

นั่นคือความเป็นไปของชีวิต ๔๕ปีที่รวงทอง ทองลั่นธมโลดเต้นไปในโลกของเสียงเพลง ซึ่งมีทั้งทุกข์สุข เสียงหัวเราะและน้ำตาคละเคล้ากันไปความชื่นชมยินดีกับเสียงปรบมือต้อนรับอันกึกก้องผสมผสานกับความผิดหวัง ท้อแท้แทบหมดอาลัยตายอยากในชีวิต

นี่แหละชีวิต…ชีวิตที่ดำเนินไปเฉกเช่นคนทั่วไปจะพึงมี พึงเป็นเพียงแต่ว่าชีวิตนี้มีความเป็นพิเศษกว่าเขาอื่นอยู่หน่อยหนึ่งตรงที่เป็นคนขับกล่อมโลกด้วยเสียงเพลงมันเป็นภาระที่หนักหนาสาหัสพอสมควรมันเป็นหน้าที่ที่ใครๆฝันถึง อยากได้..อยากเป็น..อยากมี..ด้วยคิดว่ามันเป็นหน้าที่อันน่ารื่นรมย์ อวลตลบไปด้วยความหอมหวานแห่งความสุขอย่างน่าอิจฉา… โดยไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว มันเป็นความลำบากและอุปสรรคที่เต็มไปด้วยพงหนามแฝงอยู่ในความหอมหวานเหล่านั้น “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” เล่มนี้จึงบรรจุทุกรสชาติของชีวิต รวงทอง ทองลั่นธมคนนี้เอาไว้แล้วอย่างหมดจด

นอกจากนี้แล้ว..บทบาทและลีลาแห่งธรรมะที่น่าทึ่งน่าสนใจ ทั้งหลายที่บรรดาชาวพุทธพึงได้รับทราบและพึงกระทำก็ได้ถูกบรรจุไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจได้ไม่ยากแต่สามารถเข้าซึ้งถึงรสของ “ธรรม” ได้อย่างน่าประหลาดซึ่งผู้ที่เข้าถึงธรรมอันแท้จริงย่อมไม่สามารถที่จะเขียนได้อย่างประณีตและละเอียดลออได้ขนาดนั้น

เกร็ดชีวิตที่เป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญของกรุงเทพฯช่วงสำคัญนั้นอีกเล่า…ซึ่งรวงทองทองลั่นธม ประจงฉีกความทรงจำกลั่นออกมาเป็นตัวอักษรให้อ่านกันได้อย่างน่าสนุก น้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ ปีพ.ศ. ๒๔๘๕คือบันทึกดังว่านั้นที่รวงทองหยิบเกร็ดชีวิตส่วนเสี้ยวนั้นมานำเสนอให้เห็นถึงความยากลำบากในการครองชีพและการดำรงชีวิตอยู่กับสายน้ำที่เอ่อท้นขึ้นมาทุกวันคนและสัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษร้ายแรงต่างมีสิทธิที่จะแย่งกันอยู่ให้เหนือผิวน้ำทุกชีวิตมีสิทธิอยู่และตายเท่าๆกันท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่กรุงเทพฯกลายเป็นเมืองบาดาลขณะนั้น

ดังนั้น…รวงทองเธอจึงเล่าประสบการณ์ที่ถูกตะขาบใหญ่ตัวดำมะเมื่อมกัดได้อย่างน่ากลัวและน่าขยะแขยง จนเกือบจะไม่มี รวงทอง ทองลั่นธม ในวันนี้จากนั้นเกร็ดประวัติของเพลงต่างๆนับร้อยๆเพลงซึ่งมันเป็นเพียงแค่จำนวนหนึ่งนับพันเพลงที่เธอขับร้อง ก็ถูกบรรจุไว้ใน “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” เล่มนี้เช่นเดียวกัน
ทั้งคุ้มค่าและกำไรเหลือจะคุ้ม..สำหรับเนื้อเพลงต่างๆนับร้อยๆเพลงและเกร็ดความเป็นมาของแต่ละเพลงที่หลายคนยังไม่ทราบหลายเพลงที่ถูกขับขานออกมาจนเป็นที่นิยมและฮิตสุดขีดแต่จะมีใครรู้บ้างว่านั่น..แค่เพียงส่วนเสี้ยวเดียวของเพลงทั้งหมดซึ่งเนื้อร้องเต็มๆยังมีอีกหลายท่อนหากแต่ความจำเป็นในข้อบังคับเรื่องเวลาที่จำกัดของแผ่นเสียงครั่งในสมัยโน้นทำให้เนื้อเพลงหลายท่อนต้องถูกตัดออกไปใน “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” จะบรรจุเนื้อร้องเต็มๆของต้นฉบับดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน

นอกจากนั้นสิ่งละอันพันละน้อยเกี่ยวกับการจะบำเพ็ญตนให้เป็นนักร้องที่ดี มีคุณภาพ และเสียงใสไพเราะตลอดกาล ก็มีแนะนำไว้ให้พร้อมมูลแล้วในหนังสือเล่มนี้

สรุปความแล้วหนังสือ “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” คืออนุทินชีวิต ที่รวมสาระบันเทิงของชีวิตมวลหนึ่งอันเต็มไปด้วยความรู้ร้อน รู้หนาว รู้ทุกข์ รู้สุข เฉกเช่นเราๆท่านๆดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เป็นธรรมดา
แต่มันไม่ธรรมดา… สิ่งนี้จะต้องพิสูจน์และหาข้อวิเคราะห์กันเอาเองว่า…มันไม่ธรรมดาอย่างไร?
ความหนาของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่เกือบ 600 หน้าพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ขาวสะอาดเนื้อมันอย่างดีภาพประกอบต่างๆแพรวราวถูกวางในตำแหน่งที่เกํไก๋เหมาะสมและเข้ากับบรรยากาศของเนื้อเรื่องแต่ละบทได้อย่างชวนให้หยิบอ่านขนาดของหนังสือ “เสียงนี้ นางได้แต่ใดมา” แม้จะมีความหนาประมาณ 1 นิ้วครึ่งแต่ก็มีขนาดที่น่ารัก น่าหยิบจับ คือมีขนาดครึ่งหนึ่งของกระดาษพิมพ์ดีด เอโฟร์ (A4) เปิดตามแนวนอนในรูปของสี่เหลี่ยมผืนผ้าราคาในประเทศไทยทราบมาว่าเล่มละ ๕๙๙บาทและจะมีการเปิดตัว เปิดหนังสือเล่มนี้ในรายการคอนเสิร์ต “ร้อยเส้นเสียง-เรียงอักษร” วันที่  ๓๑สิงหาคมนี้ที่หอวชิราวุธฯ ท่าวาสุกรี ตั้งแต่ ๑๓.๐๐-๑๗.๓๐น. โดยสุนทราภรณ์จะยกวงไปบรรเลงตลอดทั้งงาน และ..แน่นอนว่า คุณรวงทอง ทองลั่นธมเธอจะร้องเพลงที่ประทับใจแฟนเพลงให้ฟังอย่างจุใจ

ใครที่นี่สนใจและศรัทธาแก่กล้าที่จะไปชมก็ต้องรีบซื้อตั๋วเครื่องบินแล้วบินไปด่วนให้ทันงานวันที่ ๓๑ส.ค.และใครที่สนใจจะสั่งจองหนังสือเล่มนี้ ซึ่งคาดว่าคงอยู่ในราคาเล่มละ ๓๐เหรียญ

เนื่องจากหนังสือนี้ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไปจึงทำได้เพียงการสั่งจองหรือซื้อโดยทางเมล์ ได้ที่นี่….”คเณศร์วิษณ์” แห่ง นสพ.สันติภาพ 10811 Sherman WayBlvd. Sun Valley, CA 91352

Tel (818)764-9235

จดหมายแจ้งชื่อ ที่อยู่พร้อมเบอร์โทรศัพท์ของท่านที่จะติดต่อได้สะดวกเพื่อที่จะรวบรวมส่งให้คุณรวงทอง ในงานคอนเสิร์ตที่แอลเอ ซึ่งจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 7 กันยายน ณ ออดิทอเรี่ยม พาสดีน่า ซิตี้คอลเลจ เวลา 1 ทุ่มตรง

งานนี้คุณรวงทองทองลั่นธมเธอเกริ่นไว้ว่าจะขอให้เป็นคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายแห่งการอำลาจากวงการนักร้องอาชีพเสียทีเธอจึงถือเอาคอนเสิร์ตที่แอลเอครั้งนี้เป็นฤกษ์สำคัญอำลาแฟนเพลงชาวไทยในแอลเอทุกท่านให้ได้ซาบซึ้งกับบทเพลงประทับใจเพราะๆในอดีตแล้วงานคอนเสิร์ตครั้งนี้ใครจะบอกตัวเองหรือไม่ว่า..พลาดได้อย่างไร..ถ้าใครคนนั้นคือแฟนเพลงของ สุนทราภรณ์ และ รวงทอง ทองลั่นธมศิลปินแห่งชาติผู้มีน้ำเสียงที่แม้แต่นกน้อยยังทักถามว่า…”เสียงนี้ นางได้แต่ใดมา”
http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/template/readtext.asp?HID=175

ผู้หญิงก็มีหัวใจ

ปวดใจยิ่งนักความรักทำลายจนตรม            โธ่เธอคงเห็นเริงรมย์มาหยอกมาชมพอสมบันเทิงนะใจ

หลอกฉันให้มีหวังมั่นมาหลอกรักกันเฝ้าวอนจนฉันฝันใฝ่ต้องครวญรำพึงคะนึงอาลัยผูกพันรักไว้เพียงเธอ
.
ใช้ความเป็นชายเที่ยวล่าหญิงทุกราย                  ดังเนื้อทรายที่เจอหลอกลวงจนฉันละเมอ
ใจเทิดทูนเธอจงรักเพียงเธอ                         เพลินหลงบำเรอจนสมใจเธอโถเธอมาลืมกัน
.          
โธ่คนใจร้ายปองหมายเพียงเริงชีวัน    จืดจางเธอร้างไปพลันมาด่วนลืมกันจนฉันระทมมิวาย
ผู้หญิงก็มีหัวใจยามเมื่อรักใครหทัยไม่หลงลืมง่ายชอบพอชิงชังเหมือนดังใจชายเจ็บจำช้ำคล้ายชายชาญ
ขอกรรมเวรตามให้เธอเจอหญิงงามงามสมความต้องการให้เวรกรรมนั้นบันดาลให้ต้องซมซานให้หญิงรอนราน
ให้รักรังควานจนช้ำดวงมาลย์                                   เหมือนผลาญใจนารี” (ผลาญใจเธอจนตาย)

“เพลงผู้หญิงก็มีหัวใจ” ทำนอง–ครูเอื้อ สุนทรสนานคำร้อง–ครูธาตรี ขับร้อง–คุณรวงทอง ทองลั่นธม จังหวะ-Slow ที่ ความเร็วประมาณ๖๖จังหวะ ต่อ นาที “บันทึกเสียง” ใน คีย์ Bb (ข้อมูลบางส่วน จาก ห้องบทเพลงบ้านคนรักสุนทราภรณ์).

“ดนตรีต้นเพลง” (Introduction) ไพเราะตามแบบฉบับสุนทราภรณ์ ด้วยเสียงดนตรีที่หนักแน่น กลุ่ม Trumpet และ กลุ่ม Saxophone บรรเลงล้อกันได้อย่างนวลเนียนนุ่มหู “ทำนอง” ไพเราะติดหูง่าย
.“คำร้อง” ถูกใจ “สาวอกหัก” ยิ่งนัก โดยเฉพาะ “ท่อนสุดท้าย” ที่ว่า

“ขอกรรมเวรตามให้เธอเจอหญิงงามงามสมความต้องการให้เวรกรรมนั้นบันดาลให้ต้องซมซานให้หญิงรอนรานให้รักรังควานจนช้ำดวงมาลย์เหมือนผลาญใจนารี” (ผลาญใจเธอจนตาย)

ดนตรีจบเพลง (Ending) ไพเราะและเข้ากับอารมณ์เพลงได้ดีตอนจบห้องสุดท้ายนั้นหนักแน่นเด็ดขาด กระแทกกระทั้น “หัวใจชายโฉด” ดีจริงๆ.

“การเรียบเรียงเสียงประสาน” ผมชอบการเขียน Background ของเพลงนี้มาก ฟังแล้วเหมือน “เสียงสาปแช่ง ที่เสียดหัวใจชายชั่วยิ่งนัก”.ขับร้องโดย “คุณรวงทอง ทองลั่นธม” ผู้มี “น้ำเสียงใสเศร้า” จึงทำให้เพลงนี้ถึงใจแฟนเพลงยิ่งนัก .

ผมฟังเพลงนี้ครั้งแรกเมื่อ ๓๐กว่าปีก่อน ขณะที่กำลังทำงานในร้านถ่ายรูปก็ได้ยิน “น้องสาวเพื่อน” ที่กำลังซักผ้าในห้องน้ำร้องเพลงนี้ขึ้นมาทีแรกผมก็ไม่ได้ตั้งใจฟังนัก จนมาสะดุดหูเมื่อเธอร้อง “เนื้อเพลงท่อนสุดท้าย” ซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลายเที่ยว.

ตามวิสัยนักดนตรี เมื่อได้ฟังเพลงที่ตัวไม่รู้จักก็ต้องไปซักถามให้รู้แจ้ง จนทราบชื่อเพลงและนักร้อง ด้วยความคุ้นเคยผมจึงเย้าเธอว่า “ร้องเพลงนี้ท่อนสุดท้ายซ้ำไปซ้ำมา มีความหมายอะไรหรือเปล่า” เธอตอบกลับมาด้วยน้ำเสียงเยียบเย็นว่า “ไม่มีความหมายอะไรซ้อมร้องไว้สาปแช่งคนหลายใจในอนาคต”

โดยส่วนตัว ผมชื่นชอบ “น้ำเสียง ของคุณรวงทอง ทองลั่นธม” เป็นพิเศษ ผมว่า “เพลงของเธอร้องไม่ยาก” แต่ผมรู้สึกฉงนเมื่ออ่านความเห็นของสาวๆต่อไปนี้ คุณเหล่านี้ร้องเพลงได้ดีในความรู้สึกของผมแต่เธอก็โอดถึงความเหนื่อยยากในการร้องเพลงของ “คุณรวงทอง ทองลั่นธม” โดยเฉพาะ “เพลงผู้หญิงก็มีหัวใจ” .
คนแรกบอกว่า “J….. (นามสมมติ) เหนื่อยกับเพลงหญิงก็มีหัวใจ ไม่รู้จะขโมยหายใจตอนไหนให้ไม่ให้สะดุด” คุณ J….. ยกตัวอย่างว่า “หลอกลวงจนฉันละเมอ ใจเทิดทูนเธอจงรักเพียงเธอ เพลินหลงบำเรอจนสมใจเธอ (ข้างต้นนี้ถ้าร้องได้ไม่หยุด จะเพราะกว่าแอบฮิ้ดด์ด์) ตัวอย่างต่อมาคือ “โถเธอมาลืมกัน” (มาถึง “โถ” นี่ คนร้องเกือบสิ้นลม) อีกตัวอย่างที่ คุณ J….. ยกมา คือ “ให้เวรกรรมนั้นบันดาลให้ต้องซมซานให้หญิงรอนราน ให้รักรังควานจนช้ำดวงมาลย์เหมือนผลาญใจนารี” (พอจะ “เหมือน” ก็แทบสิ้นลมอีกแล้ว).

คนที่สอง คือ “คุณ K…..” บอกว่า “อิอิ เพลงเดียวกันเลย พี่ J….. ขา .....ร้องแล้วเหมือนท่องอาขยานยังไงไมทราบ แหะๆๆ”. คนที่สาม “คุณ ก…..” บอกว่า “เพลงนี้เหนื่อยจริงๆค่ะขอบอก น้องสะใภ้บอกว่า เหนื่อยสุดๆเหมือนกัน” (เราหัดร้องกัน จาก คาราโอเกะ).

พ.ศ. 2515 ผมพักที่หอพักหลัง มศว.ประสานมิตรที่หอพักนี้ผมพบกับ “มือเบส” ที่ผมเอ่ยถึงในเรื่อง “กรรมเอ๋ยกรรม” คนที่เอื้ออารีผมเมื่อไปร่วมเล่นดนตรีในงานประจำปีของ “ถ้ำฤาษี” เขางูราชบุรีเมื่อ “มือเบส” พาผมไปหา “วิจิตร ขะมันจา” หัวหน้าวงดนตรีมศว.ประสานมิตร (คุณวิจิตรและมือเบสอยู่หอพักเดียวกับผม)พอมือเบสแนะนำผมให้คุณวิจิตร คุณวิจิตรก็ชักชวนผมเข้าวงทันที ทั้งๆที่ผมออกตัวว่า “ผมเป็นนักดนตรีบ้านนอก คงไม่เก่งเท่านักดนตรีในกรุง”

วันหนึ่ง มือเบสบอกผมว่า “นัดสาวไปเที่ยวบางปู อยากได้ที่พักแถวนั้น” ผมจึงตอบแทนน้ำใจโดยการเขียนจดหมายถึงพ่อผมที่ดูแลบังกะโลของหน่วยราชการที่บางปูขอให้พ่ออำนวยความสะดวกเรื่องที่พักให้เย็นวันจันทร์ “มือเบส” มาขอบคุณผมแล้วกระซิบว่า “ได้สาวนั้นแล้ว” ผมใจหาย ไม่เคยคิดเลยว่า “สาวที่ไปกับหนุ่มครั้งแรกจะยินยอมได้” ในช่วงเวลานั้น “ผมอ่อนโลกมาก” ไม่เคยคิดอะไรใน “ด้านลบ” ตั้งแต่นั้นมา เวลาจะทำการใด ผมจึงต้องใคร่ครวญ ทั้ง “ด้านบวก” และ “ด้านลบ” เสมอผมถือว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็น “บทเรียนสำคัญในชีวิต”

หลายวันต่อมา “มือเบส” มาบอกผมว่า “จะย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะสาวแค้นที่ตีตนออกห่างขู่ว่าพบหน้าเมื่อไรจะสาดด้วยน้ำกรด” ผมรับทราบด้วยความเศร้าครั้งแรกเมื่อเพื่อนมาบอกว่า “ได้สาวนั้น” ผมรู้สึกผิดที่มีส่วนทำให้เธอเสียหายแต่ก็ยังปลอบใจตนว่า “เขาได้กันแล้ว เป็นนักศึกษาด้วยกันก็คงจะไม่ทิ้งขว้างกัน”

หลังจากเพื่อนไปแล้ว ท่อนสุดท้าย ของ “เพลงผู้หญิงก็มีหัวใจ” เข้ามาสู่สมอง “ขอกรรมเวรตามให้เธอเจอหญิงงามงามสมความต้องการให้เวรกรรมนั้นบันดาลให้ต้องซมซานให้หญิงรอนราน ให้รักรังควานจนช้ำดวงมาลย์เหมือนผลาญใจนารี” (ผลาญใจเธอจนตาย) “คำสาป นี้ จะมีผลถึงผมไหมหนอ” ผมรำพึงในอกหลังจากผิดหวังกับ “รักครั้งแรก” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ผมก็ “เจียมจน ไม่กล้ารักใครอีก”อยู่ที่ “มหาวิทยาลัย” หลายครั้งที่มีโอกาส แต่ผมก็ “ปิดใจ” เสมอ

พ.ศ.  ๒๕๑๘ผมไปทำงานที่โคราช พบกับ “หญิงงามสมความต้องการ” ก็สู้อดใจค่อยๆสะสมความดีให้เธอเห็นทีละน้อยๆ เก็บ “ความรัก” ไว้ในอกอย่างมิดชิดทุกวันเราลงคุมนักเรียนพัฒนาสวนด้วยกัน จึงทำให้เธอเห็นความดีในตัวผม

พ.ศ.๒๕๒๐เธอบอกว่า “คุณส. วันอาทิตย์ถ้าว่างเชิญที่บ้านนะคะเราจะมีการรวมญาติทำบุญประจำปีกัน” ผมดีใจมาก “ความดีของผมชนะใจเธอแล้ว” วันอาทิตย์เธอพาผมไปรู้จักกับญาติอย่างทั่วถึง ก่อนลากลับผมบอกเธอว่า “จะมาเยี่ยมเธออีก” เธอยิ้มสบตาผม บอกว่า “ยินดีต้อนรับเสมอค่ะ” หลังจากวันนั้น “ข่าวดอกฟ้ากับหมาวัด” ก็กระจายไปทั่วโรงเรียน มีคนมากระซิบบอกว่า “พี่ส. ต้องทำใจกับความผิดหวังไว้บ้างนะแม่ของเธออยากได้ลูกเขยทหาร แต่ทหารคนนั้นทำเธอเจ็บ เธอเลยหันมาหาพี่” ผมฟังแล้วก็ไม่หนักใจอะไร เพราะ “คนที่ผมรักเป็นคนใสซื่ออ่อนหวานจากการพูดคุยกันตลอด ๒ปี ผมไม่เคยเห็น ความคด ในตัวเธอเลย”

สงกรานต์ พ.ศ.๒๕๒๑บ้านเธอมีลูกสาวสวยถึง ๓คน จึงมีเพื่อนร่วมงานมา “เล่นสะบ้า” จนเต็มลานบ้านพองานเลิกผมเห็นคนที่ผมรักกับลูกพี่ลูกน้องที่เป็นครูโรงเรียนเดียวกับผมล้างจานอยู่สองคนผมจึงลงไปช่วยล้าง เมื่อแม่เธอมาเห็นจึงให้ผมหยุดล้าง บอกว่า “ไม่ใช่งานผู้ชาย”. หลังสงกรานต์ ผมไปหาเธอที่บ้านเธอหน้าเศร้าลงมาพบผมที่ห้องรับแขก นั่งเงียบอยู่พักหนึ่ง เธอจึงบอกว่า “คุณส.ให้อภัยด้วยนะคะ” แล้วเธอก็นิ่งเงียบน้ำตาไหลริน ผมจึงทำใจให้หนักแน่นแล้วบอกเธอว่า “มีอะไรก็บอกผมเถิด เพื่อความสุขของคุณแล้ว ผมรับได้ทุกอย่าง” เธอมองผมอย่างซาบซึ้ง แล้วบอกเสียงแผ่วเศร้าว่า “แม่ขอให้กลับไปคืนดีกับทหารคนนั้น” ผมอึ้งอย่างคาดไม่ถึง เงียบไปชั่วครู่ท่อนสุดท้ายของ “เพลงผู้หญิงก็มีหัวใจ” แผ่วโผยเข้ามาในโสตประสาท “ขอกรรมเวรตามให้เธอเจอหญิงงามงามสมความต้องการให้เวรกรรมนั้นบันดาลให้ต้องซมซานให้หญิงรอนราน ให้รักรังควานจนช้ำดวงมาลย์เหมือนผลาญใจนารี” (ผลาญใจเธอจนตาย)

หวนไปคิดถึง “กรรม ที่มีส่วนร่วมกับมือเบส” แล้วสะท้อนใจนัก “นี่ขนาดเราไม่ได้ทำกรรมชั่วด้วยตนเอง เรายังต้องรับวิบากกรรม ถึงเพียงนี้เชียวหรือ” ผมรำพึงในอกแล้วเธอก็ช้อนสายตามองผมอย่างขอความเห็นใจผมจึงมองตอบเธอด้วยสายตาที่อ่อนโยน บอกเธอด้วยเสียงแผ่วล้าว่า “ทำตามที่คุณแม่ขอร้องเถิดครับ ตอบแทนคุณท่านเถิดครับ” แล้วผมก็พูดอะไรไม่ออกถ้อยสุดท้ายที่บอกเธอ คือ “ลาละครับ ขอให้โชคดีมีสุขในชีวิตรักนะครับ” เธอไหว้ผมอย่างอ่อนช้อย แล้วผมก็จากเธอมาอย่างท้อแท้สิ้นหวัง แต่ก็ภูมิใจที่ทำให้ “คนที่เรารักได้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ผู้มีพระคุณอันประเสริฐ”

แฟน ส.
๒๘ก.ย. ๔๙

http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/template/readtext.asp?HID=229
ศิลปินแห่งชาติคนนั้นชื่อ รวงทองทองลั่นธม

แหล่งที่มา :น.ส.พ.สันติภาพ รายสัปดาห์ ฉบับวันพุธที่ ๑๔ส.ค. ๔๕คอลัมน์ศิลปะคู่วัฒนธรรม
            "คอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ แอลเอ ๒๐๐๒ “ ซึ่งจะมีขึ้นในลอสแองเจลีส ที่ John A Sexson Auditorium Pasadena City College เมืองพาสดีน่าในวันเสาร์ที่ ๗กันยายน ที่กำลังจะมาถึงนี้ แฟนเพลงทั้งหลายของสุนทราภรณ์กำลังรอคอยวันนั้นด้วยใจจดจ่อ ขณะเดียวกันหลายคนถามว่า สุนทราภรณ์ยกมาทั้งวงใหญ่เลยหรือเปล่า?

ในฐานะที่ผมพอจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้บ้างก็ต้องขอตอบว่า จริงๆแล้วผู้จัดเองก็คง อยากได้ลงใหญ่มาแสดงนั่นแหละครับ แต่ว่า..วงใหญ่ของสุนทราภรณ์นั้น ทั้งนักร้อง นักดนตรีเบ็ดเสร็จรวมแล้วกว่า ๕๐คนเจอแค่เพียงค่าตั๋วเครื่องบินเพียงอย่างเดียวคนจัดก็คงอยากจะผูกคอตายแล้วกระมังครับและการนำวงดนตรีมาแสดงต่างประเทศนี่ค่าใช้จ่ายมันเพียงค่าตั๋วเครื่องบินอย่างเดียวเสียเมื่อไหร่ยังจะค่าอาหารเลี้ยงดู (โดยไม่ต้องมี “ปูเสื่อ”..แฮ่ม)ค่าที่พักอาศัยระหว่างพำนักอยู่ในอเมริกา ค่ายานพาหนะที่ขนส่งเคลื่อนย้ายคณะแต่ละครั้ง ซึ่งจะต้องใช้รถโค้ชคันใหญ่ๆราคาตกวันละเป็นพันๆเหรียญ รวมไปถึงค่าจิปาถะอื่นๆที่ทั้งคาดถึงและคาดไม่ถึงซึ่งจะตามมา  สิ่งเหล่านี้…เงินทั้งนั้น…เงินดอลล่าร์ทั้งนั้นละครับ  “ความอยาก” น่ะคงมีทั้งผู้จัดและผู้ชม แต่ถ้าจัดแบบหน้าใหญ่ใจกระจาดแล้วละก็ “ความอยาก” ของผู้จัด มันจะแปรเปลี่ยนเป็น "ความยาก (จน)"ถึงตรงนี้แล้วใครจะมาเหลียวแลดูดำดูดีบ้าง

ฉะนั้นเรื่องของเรื่อง..การจัดคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ที่แอลเอครั้งนี้ผู้จัดจึงต้องจัดทำพอสมน้ำสมเนื้อ ด้วย การปรึกษากับทางวงดนตรีสุนทราภรณ์แล้วก็ได้ข้อสรุปมาว่าต้องมีการย่อวงให้เล็กลงเพื่อความเหมาะสมกับสภาพและสถานการณ์แต่จะไม่มีการย่อ “คุณภาพ” ในการบรรเลงหรือการแสดงคอนเสิร์ตอย่าง เด็ดขาด…ทางวงยืนยันมาด้วยความหนักแน่นสิ่งที่ยืนยันนั้นใครจะเชื่อหรือไม่ ผมไม่บังคับแต่สำหรับตัวผมเองนั้น…เชื่อร้อยเปอร์เซนต์ เพราะผมเชื่อว่าการที่สุนทราภรณ์เป็นวงดนตรีของประเทศไทยเพียงวงเดียวที่ยืนหยัดอยู๋ในความนิยมของประชาชนมานานถึง 63 ปีเช่นนี้ แสดงถึงศักยภาพและประสบการณ์ที่ “อยู่ตัว” และย่อมมีความภูมิใจในเกียรติยศ ศักดิ์ศรีที่มวลชนชาวไทยมอบให้มาเป็นเวลาอันยาวนานเช่นนั้นสมควรแล้วหรือที่จะนำเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ที่ได้มานั้น…ทำลายเสียต่อหน้าชุมชนไทยในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาแสดงครั้งนี้เป็นครั้งแรกในอเมริกาของชีวิตวงดนตรีสุนทราภรณ์  ความประทับใจสำหรับการพบกันเป็นครั้งแรกย่อมมีความหมายมากที่สุดยิ่งกว่าสิ่งใด

ฉะนั้น..จึงไม่ต้องลังเลใจอะไรให้บัตรที่นั่งเข้าชมคอนเสิร์ตครั้งนี้ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆจนที่สุด..จะมาร้อง โวยวายด้วยความเสียดายว่า… ฉันได้ที่นั่งข้างหลัง  ครับ…ก็จองทีหลังซื้อทีหลัง…ขืนเหาะไปนั่งข้างหน้าซึ่งเป็นที่ๆคนอื่นเขาจองแล้วซื้อแล้ว…มันเก๊าะจะเป็นเรื่องกันเท่านั้นเอง…

ถามว่า "ไฮไลท์ “ ของคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ครั้งนี้อยู่ที่ไหน?

ตอบได้ว่าอยู่ที่ความตั้งใจของทั้งนักร้อง นักดนตรี และผู้จัด ที่พยายามอย่างที่สุดที่จะให้คอนเสิร์ตครั้งนี้ สมศักดิ์ศรีแห่งความเป็น "สุนทราภรณ์” ที่ยืนยาวมาถึง ๖๓ปี

เฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงการแสดงของ ศิลปินแห่งชาติ คุณรวงทอง ทองลั่นธมซึ่งเดินทางมาเป็น "ไฮไลท์” ร่วมคอนเสิร์ตในงานนี้ด้วยเช่นกัน  แฟนเพลงสุนทราภรณ์ทุกคนคงจำฉายาเจ้าของเสียง "น้ำเซาะหิน” ในอดีตได้อย่างแม่นยำ และเสียง ครวญที่หวานใสจากเพลง "ขวัญใจเจ้าทุย” ที่ขึ้นต้นเพลงด้วยเสียงฉะอ้อนวอนเว้าหาว่า…" เจ้าทุยอยู่ไหน ได้ยิน ไหมใครมากู่ๆเรียกหาเจ้าอยู่ๆ หนใดรีบมา…”  ซึ่งครั้งนั้นเสียงเพลงนี้ดังก้องสะท้านไปทั้งเมืองไทยจนหนุ่มๆทั้งหลายต่างสมัครใจจะเป็น "เจ้าทุย” ไปตามๆ กัน เพราะความหลงในเสียงอันเป็นมนต์เสน่ห์สะกดความรู้สึกของผู้ฟังให้เคลิบเคลิ้มและคล้อยไปตามอารมณ์แห่ง เสียงนั้นซึ่งมิใช่เพียงแค่ “ขวัญใจเจ้าทุย” แต่เพลงเดียวเท่านั้นหากแต่ยังมีเพลงอื่นๆที่ศิลปินแห่งชาติท่านนี้ได้ใช้เสียงสะกดผู้ฟังให้ตกอยู่ในวังวนของดุริยทิพย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ อาทิ เพลง "ไม่ใกล้ไม่ไกล” “ขอรักคืน” “เพลงเพื่อคุณ” “รักบังใบ” และฯลฯ

หากไม่มีเพื่อนบ้านของคุณรวงทองที่รักเสียงเพลงและความคิดที่เฉียบคมเหมือนจานเจียระไนเพชรให้งดงามเมื่อครั้งอดีตที่คุณรวงทองยังเป็นเด็กชั้นมัธยมแล้วละก็…ปวงชนชาวไทยจะไม่มีโอกาสได้รู้จักนักร้องเจ้าของเสียงน้ำเซาะหิน ที่ชื่อ รวงทอง ทองลั่นธม คนนี้เป็นอันขาดและวงการเพลงของเมืองไทยก็จะไม่มีเพชรน้ำงามที่หาได้ยากยิ่งดังเช่นศิลปินแห่งชาติที่ชื่อรวงทอง ทองลั่นธม ท่านนี้  สาเหตุน่ะหรือ?…ก็เพราะ "เพื่อนบ้านคนนั้น” ได้ยินเสียง "เด็กหญิงก้อนทอง” ออกมายืนร้องเพลงนอกชานเรือนด้วยเสียงอันใสกังวานแฝงพลังของความเป็นนักร้องอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันโดยเฉพาะเพลงของวงดนตรีสุนทราภรณ์ด้วยแล้ว "เด็กหญิงก้อนทอง”จะจดจำทั้งเนื้อร้องและทำนองได้อย่างแม่นยำจนร้องได้อย่างถูกต้องฟังสนิทหูกอร์ปกับมีบุคคลิกที่น่ารักรวมเป็นพรสวรรค์ของความเป็นนักร้องที่จะโด่งดังได้ในอนาคต "เพื่อนบ้านคนนั้น” จึงได้ ชักพาให้ "เด็กหญิงก้อนทอง” ไปพบกับคุณครูเอื้อสุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ที่แสนจะโด่งดังและมีชื่อเสียง  คุณครูเอื้อได้ทดสอบด้วยการฟังเสียงร้องของ “เด็กหญิงก้อนทอง“แล้วบังเกิดความพอใจอย่างมากจึงตกลงรับเอาไว้เป็นเด็กฝึกหัดขับร้องเพลงที่กรมประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ติดตามวงดนตรีสุนทราภรณ์ไปยังที่ต่างๆเป็นเวลาถึง๒ปี

"ก้อนทอง” ในอดีตจึงกลายมาเป็น "รวงทอง ทองลั่นธม” ในปัจจุบันเมื่อเพลงแรก คือ "รักบังใบ” ที่คุณ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ประพันธ์เนื้อให้ขับร้องก้องกังวานใสอย่างไพเราะขึ้นในวงการเพลงของฟ้าเมืองไทยกลายเป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงทุกคน

"นางสาวก้อนทอง” แจ้งเกิดในวงการดุริยทิพย์ด้วยชื่อของ "รวงทอง ทองลั่นธม” ณ บัดนั้นซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๐๐และอีกฉายาหนึ่งที่ตามมาของนักร้องเสียงหวานระคนเศร้าอันจับใจผู้ฟังคนนี้ก็คือ "ลูกเป็ดขี้เหร่” ฉายานี้เรียกความสนใจของแฟนเพลงและผู้คนทั่วไปได้ชงัดนักฉายา "ลูกเป็ดขี้เหร่” มาจากเสียงกระเซ้าของผู้เอ็นดูนักร้องสาวผู้นี้อันเนื่องจากท่าทางครั้งนั้นที่เดินกระโดกกระเดกเหมือนลูกเป็ดแถมยังแต่งเนื้อแต่งตัวไม่ค่อยจะเป็น ดูกระเร้อกระรังพิกลอยู่หากแต่ "ลูกเป็ดขี้เหร่” นี่เองคือ แววแห่ง "หงส์” ในอนาคต ตรงกับนิทานเรื่อง “Ugly Duckling" ของฝรั่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

"ลูกเป็ดขี้เหร่” นามนี้ แม้ในอนาคตต่อมาจะได้กลายเป็น "หงส์” ที่ส่งแววสง่างามสลัดคราบลูกเป็ดขี้เหร่ ออกไปอย่างสิ้นเชิง จนกระทั่งมีตำแหน่ง "ศิลปินแห่งชาติ” อันทรงเกียรติห้อยท้ายในปัจจุบัน แต่ฉายานี้ก็ยังตรึงอยู่ในความทรงจำของแฟนเพลงทุกคนด้วยเยื่อใยของความรักและเอ็นดูคุณรวงทองทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติท่านนี้ มีพื้นกำเนิดเป็นชาวกรุงเก่าเกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๘เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐เมื่อวัยเด็กอายุได้๒ขวบชีวิตก็ต้องพบกับการพลัดพรากจากถิ่นกำเนิดและจากผู้อันเป็นสุดที่รักที่เปรียบเสมือนร่มโพธิร่มไทร นั่นคือมารดาได้ถึงแก่กรรมในช่วงนั้น ทำให้คุณรวงทองต้องเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่กับคุณยายในกรุงเทพฯและได้เริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนนันทศึกษา กระทั่งจบประถมปีที่ 4 จากนั้นจึงเข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนขัติยานีผดุงไปจนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๖

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่มีอุปสรรคมาขวางกั้นการศึกษาจนทำให้เรียนไม่จบชั้นมัธยมปีที่๖ต้องลาออกเสีย กลางคันอันเนื่องจากความขัดสนอย่างที่สุดของทางบ้านจนไม่อยู่ในฐานะที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้
และนี่เอง…คือจุดกำเนิดของนักร้องเจ้าของเสียง "น้ำเซาะหิน” เมื่อเพื่อนบ้านคนนั้นที่ชื่อ "คุณสนั่น” ได้เห็นแววของนักร้องดังในอนาคตบวกกับความสงสารในชีวิตเด็กสาวที่จะต้องเริ่มต้นต่อสู้กับชีวิตโลกกว้างจึงได้แนะนำและฝากฝังกับครูเอื้อ สุนทรสนาน ดังที่ผมเขียนไว้ข้างต้นและด้วยความสามารถ ประกอบกับพรสวรรค์จึงทำให้คุณรวงทองได้มีโอกาสเข้าทดลองทำงานในกรมประชาสัมพันธ์โดยสังกัดอยู่กับวงดนตรีสุนทราภรณ์ได้รับ เงินเดือนขั้นแรกเดือนละ ๓๐๐บาท

ต่อมาได้รับการบรรจุให้เป็นข้าราชการในแผนกดนตรีสากลของกรมประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวในปีพ.ศ. ๒๕๐๐และปีนี้นี่เองที่นักร้องนามว่า "รวงทอง ทองลั่นธม” กระฉ่อนไปทั่วฟ้าเมืองไทย ในฐานะนักร้องยอดนิยมระดับแถวหน้าของประเทศอยู่ในความนิยมและศรัทธาของประชาชนอย่างสูงสุดหากจะถือเป็นช่วงที่ชีวิตของคุณรวงทองประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดก็น่าจะได้รับราชการอยู่กับกรมประชาสัมพันธ์ได้ ๕ปี คุณรวงทองก็ลาออกจากราชการ มาประกอบอาชีพเป็นนักร้องอิสระจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ซึ่งจากผลงานเพลงที่ได้ขับร้องมาตลอดระยะเวลาประมาณ 45 ปี มีนับเป็นพันเพลงและหลายต่อหลาย เพลงมีอิทธิพลต่อจิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ร่วมของแฟนเพลงไปทั่วโดยเฉพาะเพลง "เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น” ที่ส่งให้ฉายา “เสียงน้ำเซาะหิน” ได้มี "ความหมาย” และมี "ความขลัง”เพิ่มขึ้น๔๕ปีของชีวิตการเป็นนักร้องที่มีความสามารถสูง จนได้รับรางวัลเป็นเกียรติยศของชีวิตเริ่มจากรับรางวัล พระราชทานแผ่นเสียงทองคำ รับพระราชทาน "ใบโพธิทองคำ” ในฐานะนักร้องผู้ใช้อักขระตามหลักภาษาไทยได้ อย่างถูกที่สุด

            นอกจากนี้ยังมีรางวัลพระราชทานอื่นๆและรางวัลต่างๆอีกมากมายจนได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดง จากสำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๘ และต่อมาในปีรุ่งขึ้น พ.ศ. ๒๕๓๙ก็ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล)

แม้ว่าชีวิตจะประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดผลงานอยู่ในความนิยมของแฟนเพลงอย่างไม่เสื่อมคลาย แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณรวงทองทองลั่นธม ลืมตัวและลืม "ความจริง” ของชีวิตที่เดินทางผ่านกาลเวลามายาวนาน
ที่นี่..ลอส แองเจลีส "คอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ แอลเอ ๒๐๐๒” คุณรวงทอง ทองลั่นธมได้บอกกับผมว่าเธอเดินทางมาร่วมงานคอนเสิร์ตครั้งด้วย “ใจ” อันแน่วแน่ที่จะขับกล่อมให้ความบันเทิงเป็นความสุขต่อแฟนเพลง ชาวไทยในสหรัฐอเมริกาและที่สำคัญที่สุด คือ….เธอจะขอให้การแสดงคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นการ “อำลา” แฟนเพลงครั้งสุดท้ายบนเวทีแห่งการใช้ ชีวิตเป็น นักร้องอาชีพ

"คอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ แอลเอ ๒๐๐๒“ในวันเสาร์ที่ ๗กันยายน ณ ออดิทอเรี่ยมของพาสดีน่าซิตี้คอลเลจ ครั้งนี้หากแฟนเพลงในแอลเอไม่ไปเป็นกำลังใจให้กับศิลปินแห่งชาตินามว่า "รวงทอง ทองลั่นธม” ท่านนี้แล้วจะเรียกว่ารักและนิยมชมชอบกันมานานแสนนานได้อย่างไร…จริงไหมครับ?

http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/template/readtext.asp?HID=173
จากทองลั่นทมเป็น ทองลั่นธม

แหล่งที่มา :น.ส.พ.สันติภาพ รายสัปดาห์ ฉบับวันพุธที่  ๒๑ส.ค. ๔๕คอลัมน์ศิลปะคู่วัฒนธรรม

            "จำเรียงร้อยถ้อยคำทำเป็นเพลง ให้วังเวงเสนาะจิตคิดถวิล…” นี่คือท่อนแรกของเพลง "ถึงเธอ” ซึ่งผมเชื่อว่าใครที่เป็นแฟนเพลงคุณรวงทอง ทองลั่นธมย่อมจะต้องได้ยินเพลงนี้ กับอีกเพลงหนึ่ง "รักบังใบ” ที่ขึ้นต้นด้วยประโยคที่ว่า "…กามเทพหลอกลวง เสียบศรปักทรวงให้ห่วงหาให้รักแล้วใยมาคิดร้างราแรมไกล…”
ทั้งสองเพลงนี้ขับร้องโดย คุณรวงทองทองลั่นธม แน่นอน และเป็นเพลงที่ส่งให้คุณรวงทองโด่งดังเด่นขึ้นมาในยุทธจักรนักร้องของวงสุนทราภรณ์

ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ต้องเรียกว่า "แจ้งเกิด” ได้อย่างภาคภูมิสมศักดิ์ศรีแห่งความสามารถคนที่เป็นแฟนเพลงสุนทราภรณ์หากฟังสองเพลงนี้ไม่เพราะ ไม่ประทับใจ ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องแปลกประหลาดทั้งสองเพลงนี้แต่งคำร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ นักเขียนนวนิยายอันลือลั่นในสมัยหนึ่งผู้ซึ่งเป็นพี่สาวของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนผู้โด่งดังขึ้นมาด้วยเรื่องชุด “เหมืองแร่”ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ให้ทำนอง ส่วนเพลง "รักบังใบ” นั้นเป็นทำนองเพลงไทยเดิมอยู่แล้วเพียงแต่มาใส่คำร้องให้เข้ากับจังหวะลีลาและท่วงทีของทำนอง ซึ่งก็ไม่ใช่ของง่ายนักหากใครก็ตามที่ไม่มีอารมณ์เพลงและวิญญาณนักกลอนอันสุนทรีย์

อยากทราบว่าทั้งเพลง "ถึงเธอ” และเพลง "รักบังใบ” มีความไพเราะอย่างไร? แค่ไหน? คงต้องไปเสาะหาอัลบั้มเพลงของคุณรวงทอง ทองลั่นธม เอามาฟังกันหรือไม่ก็…คอยฟังคุณรวงทอง ทองลั่นธม มาขับร้องให้ฟังในงาน "คอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ แอลเอ ๒๐๐๒” ในวันเสาร์ที่ ๗กันยายน ๒๕๔๕นี้เวลา ๑ทุ่มตรงที่ John A. Sexson Auditorium Pasadena City College ซึ่งคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ครั้งนี้ ผมได้เคยเขียนบอกไปแล้วว่าเป็นครั้งแรกที่วงสุนทราภรณ์ย่างเหยียบอเมริกานับตั้งแต่ตั้งวงมาได้ ๖๓ปีแล้ว

นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งด้วยที่ทำให้แฟนเพลงหลายท่านของสุนทราภรณ์ในอเมริกาต่างรอคอยคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วยใจจดจ่อ  สุนทราภรณ์มาแสดงครั้งนี้จะแสดงแค่สี่จุดด้วยกันคือแอลเอ ที่ออดิทอเรี่ยมของพาซาดีน่า คอลเลจ แล้วก็ยังมีที่ลาสเวกัสแสดงเป็นงานเต้นรำบอลรูมที่โรงแรมพลาซ่า บริเวณดาวน์ทาวน์ลาสเวกัสในวันอังคารที่ ๑๐ก.ย. จากนั้นเดินทางไปแสดงที่ชิคาโก้ ในวันศุกร์ที่ ๑๓ก.ย.เสร็จจากชิคาโก้แล้วเดินทางมาแสดงต่อที่ซานฟรานซิสโก ในงาน “คืนสู่อดีต…สุนทราภรณ์” ซึ่งจัดเป็นงานเต้นรำที่โรงแรมคราวน์ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๕ก.ย.จากนั้นอยู่พักผ่อนให้คลายความเหน็ดเหนื่อยในแอลเอสัก ๒-๓วันจึงเดินทางกลับประเทศไทย

ไฮไลท์ในงานคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ครั้งนี้ก็คงจะอยู่ที่คุณรวงทอง ทองลั่นธม ในฐานะศิลปินแห่งชาติเจ้าของรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "รักเธอเสมอ” และเพลง "วนาสวาท” อีกทั้งยังเป็นเจ้าของรางวัล "ใบโพธิ์ทองคำ” พระราชทานในฐานะนักร้องผู้ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามอักขระวิธีพร้อมทั้งเหล่านักร้อง “ดาวรุ่ง” ที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน บรรจงปั้นขึ้นมาด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะให้เป็น “เงาเสียง” แทนนักร้องรุ่นดั้งเดิม ดังเช่น บุษยา รังสี ศรีสุดารัชตะวรรณ เลิศ ประสมทรัพย์ วินัย จุลละบุษปะ แม้กระทั่งตัวของ “สุนทราภรณ์” เองเหล่านักร้องดาวรุ่งนี้ หากฟังเพียงชื่อ “ดาวรุ่ง” อาจจะนึกว่าเป็น “มือหัดใหม่” ซึ่งหากใครคิดอย่างนี้ก็คงผิดถนัดใจแต่สำหรับผู้ที่ติดตามผลงานเพลงของสุนทราภรณ์มาโดยตลอดทั้งทางทีวีหรือสื่ออื่นใดก็ตามจะทราบดีว่า “ดาวรุ่ง” เหล่านี้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์บนเวทีร้องเพลงเทียบชั้นได้กับรุ่นพี่อย่างไม่อายใครเลยกว่าที่ดาวรุ่งจะก้าวขึ้นมาถึงขั้นนี้ย่อมจะต้องใช้ประสบการณ์และความสามารถนับเป็นสิบปีขึ้นไปทีเดียว
            ครูเอื้อสุนทรสนาน ท่านเป็นผู้มีสายตายาวไกลไปถึงอนาคตท่านทราบดีว่าวงดนตรีสุนทราภรณ์จะต้องเป็นเสมือนวงดนตรีอมตะที่มีอายุยืนยาวนานต่อไปอย่างไม่มีกำหนด  ดนตรียืนยาวและนักร้องมีอายุตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติมิได้ยืนยงเช่นดนตรี  ดังนั้น การสร้างนักร้องรุ่นใหม่เพื่อทดแทนรุ่นเก่าเพื่อความเป็น “สุนทราภรณ์” โดยเฉพาะจึงเป็นสิ่งจำเป็น และนี่เอง… ดาวรุ่งสุนทรภรณ์จึงเกิดขึ้นนับตั้งแต่รุ่นแรกเรื่อยมาจนรุ่นปัจจุบันนี้ที่มีอายุอ่อนที่สุดเพียง๑๕-๑๖ปีก็ยังมี และยังเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจจะเป็นนักร้องของวงสุนทราภรณ์โดยเปิดโรงเรียน “สุนทราภรณ์การดนตรี” ขึ้นมาเป็นที่รองรับซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

สัจธรรมของสังขารอันไม่จีรังยั่งยืนย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเห็นได้ชัดก็จากคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์คราวนี้แหละ  ทำไมนักร้องเก่าจึงเหลือเพียงคุณรวงทองทองลั่นธมเพียงคนเดียวที่ยังเดินทางมาขับกล่อมแฟนเพลงถึงอเมริกา  ก็เพราะสังขารอันไม่จีรังยั่งยืนนี่แหละคือคำตอบ  โรคภัยไข้เจ็บรุมเร้ายามมีอายุมากขึ้นก็สามารถบั่นทอนน้ำเสียงและกล่องเสียงที่เคยก้องกังวานเป็นที่ประทับใจแฟนเพลง  คุณรวงทองทองลั่นธม เอง ท่านยังบ่นว่าตัวเองก็เต็มที่แล้ว ด้วยวัยที่ผ่านกาลเวลามานานเนิ่น

ดังนั้น… งานคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์ แอลเอ ๒๐๐๒ครั้งนี้…ท่านจะขอขึ้นเวทีในฐานะนักร้องอาชีพเป็นครั้งสุดท้ายหากจะถือว่าเป็นการสั่งลาแฟนเพลงก็ย่อมได้และก่อนที่จะอำลาวงการเพลงท่านก็ได้สร้างอนุสรณ์เป็นหนังสือที่ระลึกขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อ “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” อันเป็นหนังสือที่รวบรวมเพลงต่างๆ ของคุณรวงทอง ทองลั่นธมและบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดระเวลา ๔๕ปีที่ร่วมวงมากับสุนทราภรณ์ถือเป็นหนังสือดีที่มีคุณค่าในเชิงบันทึกอีกเล่มหนึ่งทราบว่าจะมีการเปิดตัวและแถลงข่าวเกี่ยวกับหนังสือ “เสียงนี้นางได้แต่ใดมา” ในงาน “ร้อยเส้นเสียง-เรียงอักษร” ในวันเสาร์ที่ ๓๑สิงหาคม ๒๕๔๕ที่หอวชิราวุธ ท่าวาสุกรี งานนี้จัดเป็นงานคอนเสิร์ตพร้อมกับแถลงข่าวหนังสือไปด้วยในตัวโดยมีวงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลงตลอดงานเอาข่าวมาบอกกันเผื่อว่าใครมีศรัทธาแก่กล้าจะซื้อตั๋วเครื่องบินๆ ไปชมก็ไม่มีอะไรที่น่าเสียหายและหากใครสนใจหนังสือเล่มนี้จะสั่งจองมาที่ “สันติภาพ” นี้ก็ได้

เกี่ยวกับคุณรวงทอง ทองลั่นธม นี้มีคำถามที่บ่งบอกถึงความข้องใจเป็นอันมากและหลายรายที่ว่า ทำไมจาก “ทองลั่นทม” จึงถูกเปลี่ยนเป็น “ทองลั่นธม” เรื่องนี้เจ้าตัวเองก็บอกว่าตอบคำถามเสียจนเหนื่อยไปหลายยกแล้ว แต่ก็คงยังต้องตอบกันต่อไปอันเนื่องจากแฟนเพลงทั้งหลายนับล้านๆ คนนั้นมีความคุ้นชินกับ “ทองลั่นทม” มากกว่า “ทองลั่นธม”

เอ้า… ก็ขอชี้แจงผ่านทางคอลัมน์นี้อีกครั้งหนึ่งว่า “ทองลั่นทม” นั้นเป็นนามสกุลเดิมของคุณพ่อ และคุณรวงทองเองก็มีชื่อเดิมว่า ก้อนทอง ทองลั่นทมต่อเมื่อเข้าสู่วงการเพลงแล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “ก้อนทอง” เป็น “รวงทอง“ ส่วนนามสกุลยังคงใช้นามสกุลเดิมคือ “ทองลั่นทม” กระทั่งมีพระผู้ใหญ่องค์หนึ่งชื่อพระอาจารย์ลมูลอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ อันเป็นผู้ใหญ่ที่คุณรวงทองให้ความนับถือท่านทักว่าควรจะเปลี่ยนคำท้ายของนามสกุลเสียใหม่ คือคำว่า “ทม” นั้นมีความหมายที่ไม่ดี มันส่อไปในทางทุกข์ระทมยึดกันตามคติโบราณแล้วมันก็จะทำให้ชีวิตทุกข์ระทมอยู่เรื่อย  พระผู้ใหญ่ท่านนั้นแนะนำว่าให้เปลี่ยนจาก “ทม” ให้เป็น “ธม” เสียเพราะ “ธม” คำนี้มีความหมายว่า “ใหญ่หลวง” อย่างเช่นนครวัด นครธมอันยิ่งใหญ่ของเขมรโน่น…ท่านว่าอย่างนั้น

ดังนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๓เป็นต้นมาคุณรวงทองจึงเปลี่ยนนามสกุลจาก “ทองลั่นทม” เป็น “ทองลั่นธม” ดังที่แฟนๆได้เห็นกันเดี๋ยวนี้…

http://www.komchadluek.com/news/2005/06-25/ent-17630329.html

 

รวงทอง ทองลั่นทม

ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๙

รวงทอง ทองลั่นทมเกิดเมื่อวันที่ ๘พฤษภาคม พ.ศ.  ๒๔๘๐ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความสนใจในการขับร้องมาแต่เยาว์วัยด้วยการมานะฝึกฝนตนเองในชั้นแรกและได้รับการสนับสนุนการฝึกร้องเพลงจากครูเอื้อสุนทรสนานอยู่นานหลายปีจึงได้มีโอกาสขับร้องเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงภาคทดลองซึ่งเพลงที่ขับร้องในช่วงนั้นได้แก่เพลงเสี่ยงเทียนเพลงรำพึงถึงคู่และด้วยน้ำเสียงในเศร้ากับการขับร้องบทเพลงที่มีเนื้อหาไพเราะซาบซึ้งทำให้ชื่อเสียงของรวงทองทองลั่นทม เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปเป็นนักร้องที่มีความสามารถพิเศษสูง มีพรสวรรค์ในการร้องเพลงได้อย่างไพเราะน้ำเสียงมีเสน่ห์ อักขระชัดเจนถูกต้อง สร้างความประทับใจแก่ผู้ฟังสามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระและอารมณ์ของเพลงได้อย่างลึกซึ้ง ตลอดระยะเวลา ๔๐ปีที่ผ่านมา มีผลงานเพลงกว่า ๒,๐๐๐ เพลงได้บันทึกแผ่นเสียงทำให้ประชาชนได้รับรสความสุนทรีย์จากน้ำเสียงที่ไพเราะมาเป็นเวลาอันยาวนานและนอกจากนี้ ยังมีความสามารถในการแสดงละคร แสดงภาพยนตร์จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ที่มีผลงานหลากหลายจนได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย อาทิได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานสองครั้งรับพระราชทานรางวัลใบโพธิ์ทองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะนักร้องผู้เผยแพร่ภาษาไทยได้ชัดเจนถูกต้องและได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปการแสดง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘เป็นต้น

รวงทอง ทองลั่นทมจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๙

รายการรวงทองมินิมาราธอนที่โรงละครแห่งชาติ

เมื่อวัยวุฒิกับวุฒิภาวะมาบรรจบกัน :

รายการแสดงดนตรี เสียงทิพย์รวงทอง ซึ่งจัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ เมื่อวันเสาร์ที่ 24 และวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2546 จัดได้ว่าเป็นการประกาศความเชื่อจากทั้งฝ่ายผู้จัดและทั้งฝ่ายผู้รับ ว่า เพลงไทยสากลในฐานะที่เป็นประเภทของศิลปะ(genre) ที่โดดเด่นของวงการคีตศิลป์ยังแข็งแกร่งอยู่ ไม่ว่าเพลงป็อปและเพลงร็อครุ่นใหม่จะถาโถมเข้ามาอย่างรุนแรงเพียงใดก็ตาม การแสดง 2 รอบๆ ละ 4 ชั่วโมง ถ้านับกันจริงๆก็คงจะเรียกได้ว่าเป็นแค่ "มินิมาราธอน" เพราะผมเองเคยดูละครเรื่องเฟาสท์ของเกอเธ่ที่เล่นแบบมาราธอนรวม 21 ชั่วโมง ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่กรุงเวียนนามาแล้ว จะจัดว่าผมเป็นแฟนรวงทองสายตรงก็คงจะยาก เพราะในช่วงที่รวงทองโด่งดังขึ้นมาในทศวรรษ 2500 ผมไปเรียนหนังสือในต่างประเทศ แต่อิทธิพลจาก "ศาสตราจารย์ประจำบ้าน" ที่รักรวงทองเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ผมกลับมาสนใจรวงทองอย่างจริงจัง และรายการครั้งนี้ เรียกได้ว่าให้แสงสว่างแก่ผมในฐานะที่เป็นผู้รักเพลงไทยสากลอย่างยากที่จะพรรณนาให้ครบถ้วนกระบวนความได้

            คนรุ่นหลังมักจะหัวเราะเยาะแฟนเพลงอย่างพวกเราที่ยังหลงติดอยู่กับนักร้องรุ่นเก่า และแห่แหนกันไปชมการแสดงเมื่อนักร้องอาวุโสของเราตะเกียกตะกายขึ้นเวทีมาแสดงเป็นครั้งคราว เขาชอบนับอายุทั้งผู้ฟังและผู้แสดงรวมกัน แล้ววัดด้วยหน่วยปีแสง พร้อมทั้งตั้งสมญารายการประเภทนี้ว่า "เพลงไทยใกล้ปรโลก" แต่รายการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ให้ความมั่นใจกับผมว่า ยิ่งใกล้ปรโลกก็ยิ่งใกล้ภาวะอุดมคติเข้าไปทุกที รวงทองร้องเพลงในวันที่ 2 ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนร่วมสิบเพลง ยิ่งร้องเสียงก็ยิ่งแน่น ยิ่งร้องก็ยิ่งเพราะ ยิ่งร้องก็ยิ่งตรึงคนได้แนบแน่น ผมอดถามตัวเองไม่ได้ว่า  ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่บังเอิญหรือเป็นการตอกย้ำลักษณะบางประการของวงการคีตศิลป์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัยวุฒิกับวุฒิภาวะ ในฐานะที่เป็นผู้ชื่นชอบดนตรีตะวันตกอยู่ด้วย ก็อดหวนคิดไปถึงวงการตะวันตกที่ตนเองนิยมไม่ได้ เมื่อตอนที่ไปเรียนหนังสือในยุโรปเมื่ออายุ 20 กว่าๆ มีนักร้องอุปรากรอยู่ 2 คน ที่โด่งดังและร้องเพลงได้ถูกใจผมมาก คนหนึ่งเป็นชาวเยอรมัน ชื่อ คริสตา ลุดวิค(Christa Ludwig : เกิด ค.ศ. 1928) อีกคนหนึ่งเป็นชาวอิตาเลียน ชื่อ มิแรลลา เฟรนี (Mirella Freni : เกิด 1936) กลับไปยุโรปทีไรก็ยังได้ยินเสียงเธอทั้งสองนี้อยู่ ครั้งหนึ่งเคยถามตัวเองว่า เมื่อไรคุณป้าทั้งสองจะลงจากเวทีเสียที แต่เธอก็ยังร้องเพลงได้ยอดเยี่ยมเป็นที่ยกย่องของผู้รักดนตรีตลอดมา ผมตั้งคำถามเดียวกันนี้ต่อเนื่องไป จนต้องแปลงคำถามว่า เมื่อไรคุณยายจะลงจากเวทีเสียที แต่ได้ข่าวมาล่าสุดว่าคุณ Ludwig ยินดีอำลาเวทีไปแล้วก่อนที่ผมจะต้องจำใจเรียกเธอว่าคุณทวด

            มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในการแสดงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 ในตอนที่รวงทองขึ้นเวทีใหม่ๆ เธอตัดสินใจที่จะแสดงอัตชีวประวัติให้เป็นรูปธรรม ด้วยการสร้างฉากตอนที่เธอมาสมัครงานกับครูเอื้อ สุนทรสนาน มีการกั้นวงดนตรีออกไปด้วยม่านทึบ ทำให้นักดนตรีกับนักร้องไม่สามารถสื่อสารกันได้ในเชิงกายภาพ ทั้งๆที่ในการแสดงวันแรกรวงทองมักจะร้องจากจุดยืนบนเวทีโขนด้านหน้า ซึ่งห่างจากวงดนตรีประมาณ 10-15 เมตร แต่วงกับผู้ร้องก็ยังไปด้วยกันด้วยดี แต่ในวันที่สองนี้เสียหายรุนแรง เพราะเธอร้องในบันไดเสียงที่ต่างไปจากตัวโน้ตซึ่งวงดนตรีต้องเล่นตาม แม้วงดนตรีที่จัดเจนในเพลงสุนทราภรณ์จะพยายามเปลี่ยนบันไดเสียงไล่ตามเธอ แต่เธอก็หนีไปไกลเสียจนตามกันไม่ติดแล้ว (ปัญหาอย่างนี้แก้ได้ด้วยเทคโนโลยี โรงอุปรากรสมัยใหม่ติดจอมอนิเตอร์ไว้หลายแห่งบนเวที ซึ่งช่วยให้นักร้องกับวงดนตรีเห็นกันได้) หลังจากที่เล่นไป 3 เพลง รวงทองก็แสดงความยิ่งใหญ่ในฐานะนักร้องอาวุโสออกมาให้ปรากฏ ด้วยการสารภาพกับผู้ดูในทางอ้อมโดยพูดใส่ไมโครโฟนว่า ขอให้วงเล่นดังกว่านี้สักหน่อย อารมณ์ขันของเธอ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของเธอ ความจริงใจต่อผู้ดูผู้ชม ต่อเพื่อนนักดนตรี ทำให้ทุกคนพร้อมที่จะให้อภัยเธอ เพลงที่เธอร้องหลังจากนั้น โดยเฉพาะเมื่อผ่านช่วงที่ต้องร้องในฉากทึบไปแล้ว จึงกลับมาเข้ามาตรฐาน ซึ่งไม่ใช่มาตรฐานปกติ เพราะผมกำลังจะให้ข้อวินิจฉัยว่า การแสดงของรวงทองครั้งนี้เหนือมาตรฐานของรวงทองระดับปกติมากนัก

            พวกเราที่ชื่นชอบงานของศิลปินเอกส่วนมากก็จะรวมตัวกันราวกับเป็นกลุ่มคนที่นับถือศาสนาเดียวกัน แล้วก็หันหน้าเข้าหากัน พร้อมกับอุทานออกมาว่า "เพราะ" "ยอดเยี่ยม" "หาไม่มีอีกแล้ว"     "อะไรกันนี่  อายุ 66 แล้ว ยังร้องได้ดีถึงเพียงนี้" การประเมินคุณค่าด้วยอารมณ์และจิตใจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ศิลปินคงอยากจะได้ทั้งคำชม (และข้อติติง) ที่เป็นเหตุเป็นผลมากกว่านั้น บทวิจารณ์นี้จะพยายามให้คำตอบที่เป็นเรื่องของหลักใหญ่ๆ ประการแรก เป็นเรื่องของวุฒิภาวะ ที่อธิบายได้ยาก แต่การได้ฟังรวงทอง 2 วันต่อกัน ช่วยให้ผมได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น รวงทองร้องเพลงเก่าที่เคยทำชื่อเสียงให้แก่ตนเองแตกต่างออกไปจากเดิม แม้แต่เพลงรักก็มิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา แต่ดูประหนึ่งจะเป็นการถอยตัวออกห่างจากอารมณ์ขั้นปฐม โดยใช้กระบวนการครุ่นคิดพินิจนึกมาเป็นตัวกำกับ สังเกตได้เช่นเดียวกันว่า รวงทองละทิ้งแนวทางการร้องที่เน้นคำบางคำที่ดูจะเป็นตัวสร้างเสน่ห์ให้แก่เพลง เช่น เมื่อตอนที่เธอออกเสียงคำว่า "…แอบมองเธอทุกวัน…" (ในท่อนที่ 4 ของเพลง "ไม่ใกล้ไม่ไกล") แต่เดิมเธอเปล่งเสียงกอปรด้วยลูกเล่นที่พวกเราแฟนรวงทองเหมาเอาว่าเป็นเอกลักษณ์ของเธอ และวิธีการที่ว่านี้ก็มีนักร้องอื่นพยายามนำไปใช้ และก็ใช้ได้ผล เช่น ในชุดของ "เยื่อไม้" แต่รวงทอง ณ บัดนี้ไม่ให้รายละเอียดเช่นนี้อีกต่อไปแล้ว การร้องเพลงของเธอเน้นวลีและประโยค ไม่เน้นการเปล่งเสียงเป็นคำๆอีกต่อไป เรียกได้ว่าเธอพยายามจะจับโครงสร้างของเพลงออกมาให้ได้ เท่ากับเป็นการชี้ให้เราเห็นเอกภาพของตัวงานซึ่งถูกกำหนดด้วยมโนทัศน์หลักที่ผู้แต่งทำนองและคำร้องร่วมกันฝังฝากเอาไว้ในเพลง กล่าวเป็นศัพท์วิชาการก็คงจะกล่าวได้ว่า เธอพัฒนาไปเกินเรื่องของการปรุงแต่ง (ornamentation) ไปสู่การแสวงหาโครงสร้างลึก (deep structure) ของเพลง และก็ตรงนี้อีกนั่นแหละที่วุฒิภาวะเปิดทางให้เธอละทิ้งการสะดุดอยู่กับโครงสร้างพื้นผิว (surface structure) การที่ได้มีการเชิญนักร้องอาชีพรุ่นน้องบางคนมาขึ้นเวทีพร้อมกันในครั้งนี้ด้วย ทำให้เราเห็นว่ารุ่นน้องเหล่านั้นยังติดอยู่กับการสร้างเสน่ห์ทางคีตศิลป์ อันเป็นต้นแบบที่มาจากรวงทองเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ในขณะที่รวงทองใน พ.ศ. 2546 ได้ผละหนีวิธีการดั้งเดิมไปแล้ว

            ณ จุดนี้เราคงจะต้องมาอภิปรายกันถึงเรื่องของการตีความ นักร้องผู้บรรลุวุฒิภาวะแล้วจะเข้าใจกระบวนการของการตีความว่า เป็นการเข้าครอบครองคีตนิพนธ์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้น ปรับให้เป็นสมบัติของตน แล้วพัฒนาไปถึงขั้นที่กลายเป็นสมบัติร่วม ซึ่งศิลปินมุ่งถ่ายทอด แบ่งปัน ให้แก่มหาชน การร้องช่วงสุดท้ายของรวงทองในวันที่ 25 พฤษภาคม เป็นการบูชาครูที่ดีที่สุด เพราะเธอนำผลงานของครูมาตีแผ่ให้เห็นว่า แก่นของความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก และตีความได้หลายนัย ซึ่งในขณะนี้เธอตีความแตกต่างหรือเกินเลยไปกว่าเมื่อครั้งที่ครูยังเฝ้ากำกับเธออยู่ นั่นคือการศึกษาศิลปะที่ดีที่สุด นั่นคือการที่ "ศิษย์ล้างครู" ในความหมายที่ประเสริฐสุด

            เมื่อสองปีมาแล้ว ผมเคยได้มีโอกาสสัมภาษณ์นักวิจารณ์ชาวอังกฤษคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก และเมื่อได้สนทนากันถึงเรื่องการแสดงของนักดนตรีบางคน นักวิจารณ์ผู้นั้นจะประเมินคุณค่าในทางลบด้วยคำพูดที่ว่า "ยังไม่เป็นการตีความ" หรือ "ยังไปไม่ถึงการตีความ" นักร้องรับเชิญบางคนในวันที่ 24 และ 25 พฤษภาคม ก็อาจจะอยู่ในระดับที่ว่านั้น แต่ก็แปลกที่ว่านักร้องสมัครเล่นบางคนกลับเดินไปถึงขั้นของการตีความแล้ว ในขณะที่นักร้องอาชีพบางคนยังไปไม่ถึง รวงทองในครั้งนี้ตีความเพลงยอดนิยมของเธอ เช่น "ปาหนัน" แตกต่างไปจากที่เคยร้องและอัดเสียงเอาไว้ในอดีตมาก วรรคทองที่มีความว่า "…เศร้าเอยเศร้าใจให้ตรม…" นั้น ในขณะนี้ดำรงอยู่ด้วยความสมดุลที่น่าทึ่ง เธอมิได้จงใจร้องเพื่อจะดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อจะโอ้อวดกับผู้ฟังว่ามีใครทำได้อย่างฉันไหม รวงทองไม่ต้องการที่จะให้ใครทึ่งอีกต่อไปแล้ว เธอมุ่งที่จะหยิบยกความในของเพลงมายื่นให้เป็นสมบัติร่วม ในหลายๆเพลงที่เป็นเพลงโศก เธอไม่ได้จงใจกำกับเสียงที่จะทำให้เกิดอารมณ์โศก ณ จุดนี้เธอเป็นศิษย์ของครูเอื้อที่นำเอาคำสอนของครูมาคิดต่อได้อย่างลึกซึ้งและแยบยล  รวงทองเล่าว่าครูเอื้อเคยสอนเธอไว้ว่า ความเศร้าของเพลงเศร้าอยู่ในเพลงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมุ่งทำเสียงให้เศร้า คงจะไม่เป็นการลบหลู่รวงทองศิลปินแห่งชาติ ถ้าผมจะให้คำวินิจฉัยว่า เธอใช้เวลาร่วม 40 ปี กว่าจะทำสิ่งที่ครูต้องการให้เป็นรูปธรรมได้ เพลงเศร้าที่ร้องโดยนักร้องที่บรรลุวุฒิภาวะแล้ว จึงมิใช่เป็นการแสดงออกอย่างฟูมฟายที่มุ่งจะให้ผู้ฟังฟูมฟายตาม การฝึกการร้องที่ได้ผ่านกระบวนการครุ่นคิดพินิจนึกของการตีความมาแล้ว ทำให้เพลงยอดนิยมเหล่านั้นกลายเป็นสารทางปรัชญาขึ้นมาอย่างที่เราคาดไม่ถึง

            ความจริงรวงทองตั้งโจทย์ที่ยากยิ่งให้แก่ตนเองในการแสดงครั้งนี้ นั่นก็คือ ต้องการจะเปรียบเทียบการตีความใหม่ของเพลงที่นักร้องรุ่นพี่และรุ่นใกล้เคียงกันได้ร้องเอาไว้แล้ว พร้อมกับการตีความใหม่ของเพลงที่เธอทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเองเอาไว้แล้วด้วย ถ้าไม่ได้ไปฟังการแสดงจริงเราก็คงจะเหมาเอาว่า กรณีแรกยากกว่า เพราะรวงทองก็มีเพลงของตัว จะข้ามแดนไปแข่งกับมัณฑนา โมรากุล และเพ็ญศรี พุ่มชูศรีได้อย่างไร แต่ผมกลับคิดว่า การตีความเพลงที่นักร้องอื่นเคยร้องเอาไว้กลับเป็นเรื่องที่ไม่ยากนักสำหรับรวงทอง เพราะเธอเป็นตัวของตัวเองมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถึงร้องเพลงมัณฑนาก็ไม่มีวันจะเหมือนมัณฑนาไปได้ ดังตัวอย่างเพลง "รักจำพราก" ซึ่งในความรู้สึกของผม คิดว่าต่างจากมัณฑนามาก เพราะมัณฑนากระตุ้นให้เราเกิดความประหวั่นพรั่นพรึงด้วยนำเสียงและลีลาการร้องของเธอที่กระตุ้นอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม รวงทองใน พ.ศ. 2546 ดูราวกับจะบอกว่า นี่คือความเป็นไปของโลก นั่นเป็นการตีความเพลงของผู้อื่น ซึ่งก็ยังไม่ยากเท่ากับการตีความเพลงของตัวเอง ดังที่ได้วิเคราะห์มาแล้วข้างต้น ผมเชื่อแน่ว่ารวงทองมีความสามารถสูงในการที่จะวิเคราะห์ตัวเอง และไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ระบบสมัยใหม่ที่เราฟังเพลงจากการอัดเสียงทำให้เราติดยึดกับการร้องที่ได้บันทึกเสียงไปแล้ว แต่ศิลปินผู้มีความเป็นตัวของตัวเองสูงย่อมทราบดีว่า การหยุดอยู่กับที่คือความตายในทางศิลปะ รวงทองได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การหยุดอยู่กับที่ด้วยการหลงรูปตัวเองนั้นคือทางตัน และชีวิตการร้องเพลงของรวงทองก็คือการแสวงหาตัวรวงทองผู้ลื่นไหลไม่มีวันหยุดอยู่กับที่

            ประเด็นสุดท้ายคงจะเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ จริงอยู่ เมื่อรวงทองขึ้นเวที เธอมีบุคลิกภาพอันโดดเด่น (เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า stage presence) ที่ดึงดูดความสนใจของคนได้ นอกจากนั้น ความสามารถในการแสดงออกด้วยภาษาเมื่อเธอเล่าภูมิหลังหรืออธิบายเพลงก็อยู่ในระดับที่สูงมาก แต่บุคลิกภาพที่แท้จริงของเธอเป็นบุคลิกภาพในทางคีตศิลป์ที่ตรึงผู้อื่นได้ เรียกว่ามี "commanding presence" รายการวันที่ 24 พฤษภาคม ช่วยให้ผมได้เข้าถึงอิทธิพลของศิลปินผู้โดดเด่นที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน ใครที่ได้ฟังเพลงหมู่ "ไฟรักในทรวง" ในการแสดงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม อาจจะต้องตะลึงว่า ไม่เคยได้ยินนักร้องสุนทราภรณ์ร้องเพลงนี้ได้ดีเท่านี้ ฉบับที่อัดเสียงไปนั้นอาจจะต้องถูกจัดให้อยู่ในขั้นประถมศึกษาแห่งคีตศิลป์ ครั้งนี้นักร้องรุ่นน้องราวกับถูกกำกับด้วยการร้องนำของรวงทอง และตีความเพลงไปในระดับที่แตกต่างจากเดิมซึ่งก็เป็นเสียงเพลงหวานๆที่ว่าด้วยความรักและธรรมชาติ แต่การขับร้องในครั้งล่าสุดนี้ ทำให้เพลงมีความหมายขึ้นมาอย่างน่าประหลาด เพราะเท่ากับพวกเขากำลังจะส่งสารบางอย่างที่เป็นปรัชญามาสู่เรา มากกว่าจะเป็นการแสดงออกของสาวน้อยผู้น่ารักทั้งหลาย (ที่แต่เดิมออกจะร้องแบลิ้นมากไปสักหน่อย) ผมสังเกตเห็นนักร้องรุ่นน้องบางคนหันไปมองรวงทองด้วยความชื่นชม ราวกับจะบอกว่า "ขอบคุณที่ชี้ทางให้น้อง"

            ผมไม่ได้กล่าวถึงข้อบกพร่องของการแสดงในครั้งนี้ เพราะเมื่อเทียบกับมาตรฐานทางดนตรีที่ผมได้บรรยายไว้โดยพิสดารข้างต้นนั้น ข้อบกพร่องทั้งหลาย เช่น ความสับสนในเรื่องการกำกับเวที การผิดคิว การไม่มีการประกาศชื่อเพลงและคนร้อง ฯลฯ ก็ดูจะเป็นเรื่องไร้สาระทั้งสิ้น วงสุนทราภรณ์ที่มักจะเปล่งเสียงออกมาให้เห็นว่าเป็นวงเฉพาะกิจ ในครั้งนี้ก็กลายเป็นกลุ่มนักดนตรีที่มีเอกภาพเหนียวแน่น เสียงของวงในบางครั้งนุ่มนวล กลมกลืน ราวกับวงที่ครูเอื้อ สุนทรสนานเคยกำกับอยู่ในอดีต

            ที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ แฟนเพลงรุ่นเด็กที่มิได้ชื่นชมเพลงสุนทราภรณ์หรือรวงทองก็คงจะคิดว่าเป็นเรื่องของความหลงใหลของกลุ่มคนที่ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว ปัญหาอันหนักหน่วงของศิลปินรุ่นรวงทองก็คือ จะสื่อความอย่างไรกับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เห็นว่า คีตศิลป์คือการตีความชีวิตและโลก

http://www.thaicritic.com/projectB/music/ruengtong.htm

 

"เทอดไทยใบโพธิ์ทอง" โชว์ส่งท้ายจาก "รวงทองทองลั่นธม"

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2548

 

เป็นเวลาร่วม 50 ปีของชีวิตการขับร้องเพลงด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ รวงทอง ทองลั่นทมเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงลูกกรุงมายาวนานซึ่งความโดดเด่นของรวงทองอยู่ที่ความชัดเจนในการขับร้องออกเสียงภาษาไทย

ทั้งนี้ประมาณปี 2502 ชุมนุมภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทราบ และติดตามผลงานของเธอ จึงพิจารณาเห็นสมควรทูลเกล้าถวายชื่อให้เข้ารับพระราชทาน "ใบโพธิ์ทอง"

 

ในฐานะนักร้องที่ใช้ภาษาไทยถูกต้องชัดเจนและเป็นนักร้องหญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เคยได้รับรางวัลนี้ด้วยความที่รวงทอง รู้สึกสำนึกในคุณของคณะคณะอักษรศาสตร์ จึงจัดคอนเสิร์ต "เทอดไทยใบโพธิ์ทอง" ขึ้นในวันเสาร์ที่ 6 และวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม2548นี้ เวลา 13.19 น. ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่เสนอให้รวงทองได้รับพระราชทานรางวัลใบโพธิ์ทองที่ถือเป็นสิริมงคลต่อชีวิตเราจึงคิดที่จะตอบแทนสถาบัน และเสนองานเพลงที่แบบอย่างแก่เยาวชนให้ช่วยกันรักษาภาษาไทยให้ยืนยาวต่อไปโดยมีเพื่อนศิลปินมาร่วมใจกันสนับสนุนงานนี้ให้เกิดขึ้นและคอนเสิร์ตนี้คิดว่าจะเป็นการแสดงเต็มรูปแบบของตัวเองเป็นการส่งท้ายเพราะรวงทองมีความคิดว่าจะไม่จัดคอนเสิร์ตหารายได้อีกแล้วหากแต่ได้รับเชิญให้ไปร้องงานกุศลก็จะไป" ศิลปินอาวุโส กล่าว

สำหรับการแสดงทั้ง 2 รอบนั้นจะไม่ซ้ำกัน โดยจะเป็นการขับร้องเพลงจากรวงทองและมีศิลปินรับเชิญ อาทิ สุเทพ วงศ์คำแหง สวลี ผกาพันธ์ กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญมาขับร้องเพลงที่เลือกสรรแล้ว อาทิ แรงพิศวาส จดหมายรักสลักบนผืนทราย ฯลฯที่บรรเลงเพลงออเคสตรา โดยวงดรุยางค์สากลจากกรมศิลปากร

นอกจากนี้ยังมีการแสดงละครพันทางเรื่อง "ไกรทอง" โดยมีอาจารย์ เสรี หวังในธรรมศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมการแสดงในวันที่ 6 สิงหาคม2548 ส่วนวันที่ 7 สิงหาคม 2548จะเป็นการแสดงละครพันทางเรื่อง "ผู้ชนะสิบทิศ"บรรเลงดนตรีโดยวงดนตรี จีรวุฒิ กาญจนผลิน พร้อมวงหางเครื่องของ "กุ้ง" สุธิราชวงศ์เทวัญ

"รวงทองเสียดายหาก นักร้องรุ่นใหม่จะร้องเนื้อภาษาไทยไม่ชัด จริงๆไม่ว่าเราจะร้องกับดนตรีแบบไหนก็ได้ ร้องกับดนตรีสากลแต่ออกเสียงให้ชัดเจนก็ได้สำหรับรวงทองในฐานนักร้องคนหนึ่งก็ยังจะทำหน้าที่อนุรักษ์ความเป็นไทยเรื่องภาษาให้ถูกต้องชัดเจนต่อไป"นักร้องศิลปินแห่งชาติ กล่าวทิ้งท้าย

โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ร้านน้องท่าพระจันทร์ 02 221-4421 ศูนย์หนังสือจุฬา 02 218-7001-3 และรวงทองแฟนคลับ 081 613-9906

 

 

ชีวิตและผลงานโดยย่อ  ของ  รวงทอง  ทองลั่นธม

เกิด                                          เสาร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๘๐

บิดา                                         นาย  ทอง  ทองลั่นทม

มารดา                                     นาง จำรัส  ทองลั่นทม

สมรส                                      พ.ต.ท. วรพล  สุคนธร

บุตร                                        ๑ คน

ธิดา                                         ๑ คน

การศึกษา                                                ชั้นประถมจากโรงเรียน  นันทนศึกษา กรุงเทพฯ

                                                ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียน  ขัตติยานีผดุง กรุงเทพฯ

เข้าสู่วงการ                             เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ สมัครเป็นนักร้องกับครูเอื้อ  สุนทรสนาน ในนามวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และสุนทราภรณ์

 

พ.ศ. ๒๕๐๐ สอบเข้ารับราชการกรมประชาสัมพันธ์ ได้ที่ ๑ รับราชการในแผนกดนตรีสากล

พ.ศ. ๒๕๐๖ ลาออกจากกรมประชาสัมพันธ์  เพื่อเป็นนักร้องอิสระ

พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับเลือกเป็นสตรีดีเด่นแห่งปี  ได้รับพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ๒ครั้งจากเพลง “รักเธอเสมอ”และ “วนาสวาท”ได้รับพระราชทานรางวัลใบโพธิ์ในฐานะผู้เผยแพร่ภาษาไทยไปสู่ประชาชนได้ชัดเจนถูกต้อง

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดง

 

รวงทอง  ทองลั่นทม นักร้องฉายา “เสียงน้ำเซาะหิน”

 

รวงทองทองลั่นธม

ที่มา :                     นิตยสารสกุลไทยฉบับที่ ๒๔๓๑ปีที่ ๔๗ประจำวันอังคารที่ ๒๒พฤษภาคม๒๕๔๔

เขียนโดย                นิติกรกรัยวิเชียร
ประวัติ

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐มีนักร้องหญิงเสียงใสไพเราะระคนเศร้าท่านหนึ่งผู้ได้รับฉายาว่า “ลูกเป็ดขี้เหร่” เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นในวงการเพลงไทยสากลและได้รับความนิยมมากขึ้นถึงขีดสุดจนเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั้งประเทศและด้วยพรสวรรค์ประกอบกับความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและอารมณ์ของเพลงได้อย่างลึกซึ้งทำให้ท่านยืนยงคงอยู่ในความนิยมยาวนานมาจนถึงปัจจุบันสร้างผลงานการขับร้องเพลงไทยสากลอันไพเราะไว้มากมายนับไม่ถ้วนท่านผู้อ่านทั้งหลายที่เป็นแฟนเพลงไทยสากลมาเป็นเวลายาวนาน ย่อมทราบดีว่า “ลูกเป็ดขี้เหร่” ผู้นั้นก็คือคุณรวงทอง ทองลั่นธมนั่นเอง

คุณรวงทอง ทองลั่นธมมีนามเดิมว่า “ก้อนทอง” เกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันอายุ ๖๔ ปี หลังจากที่มารดาถึงแก่กรรมลงขณะที่ท่านอายุเพียง ๒ ปี คุณรวงทองก็ได้ย้ายเข้ามาอยู่กับคุณยายในกรุงเทพมหานครและเข้าเรียนที่โรงเรียนนันทศึกษาจนจบชั้นประถมปีที่ ๔จากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนขัติยานีผดุงจนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๖แม้ว่าคุณรวงทองจะมีผลการเรียนที่ดีเด่นแต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าทางบ้านขัดสนอย่างมาก ไม่สามารถส่งเสียให้เรียนต่อไปได้ท่านจึงต้องจำใจลาออกจากโรงเรียนก่อนที่จะเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖

ตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา คุณรวงทองมีนิสัยรักการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจและสามารถร้องได้ดีด้วยท่านมักจะจดจำเนื้อร้องและทำนองเพลงที่ท่านชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงของวงดนตรีสุนทราภรณ์ แล้วนำมาฝึกฝนขับร้องด้วยตนเองนอกชานเรือนที่บ้านอยู่เสมอจนเพื่อนบ้านคนหนึ่งนามว่าคุณสนั่นมองเห็นแววว่ามีพรสวรรค์สามารถร้องเพลงได้ไพเราะน้ำเสียงดีอีกทั้งมีบุคลิกลักษณะที่น่ารัก จึงได้ชักพาให้ท่านได้ไปพบกับครูเอื้อ สุนทรสนานหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ซึ่งเมื่อครูเอื้อได้ให้คุณรวงทองทดสอบโดยการร้องเพลงให้ฟังแล้วก็พอใจตกลงรับคุณรวงทองเอาไว้เป็นเด็กฝึกหัดขับร้องเพลงที่กรมประชาสัมพันธ์และให้ติดตามวงดนตรีสุนทราภรณ์ไปในที่ต่างๆ อยู่เป็นเวลา ๒ ปีจึงได้มีโอกาสร้องเพลง “รักบังใบ” ซึ่งคุณชอุ่ม ปัญจพรรค์แต่งให้ท่านขับร้องโดยเฉพาะคุณรวงทองได้ขับร้องเพลงนี้ได้อย่างไพเราะอ่อนหวานเป็นที่ชื่นชมของทุกคนเป็นอย่างยิ่งและในที่สุด ท่านก็ได้เข้าทำงานภาคทดลอง และได้รับเงินเดือนเป็นครั้งแรก เดือนละ๓๐๐ บาท

นับจากนั้นเป็นต้นมาคุณรวงทองก็ได้รับโอกาสให้ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงอย่างต่อเนื่องอีกทั้งได้ร้องเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอทำให้ชาวไทยทั้งประเทศได้ยินน้ำเสียงอันสดใสมีเสน่ห์ของท่านและทำให้ชื่อ “รวงทอง ทองลั่นธม” ก้าวขึ้นสู่ทำเนียบของนักร้องยอดนิยมระดับแนวหน้าของประเทศอย่างสง่างามในเวลาอันรวดเร็วในระยะนั้นเอง ท่านได้รับฉายาว่า “ลูกเป็ดขี้เหร่” อันเนื่องมาจากมีผู้กระเซ้าด้วยความเอ็นดูว่าท่านมีท่าเดินที่กระโดกกระเดกเหมือนลูกเป็ดอีกทั้งยังแต่งตัวไม่เป็นแม้ในเวลาต่อมาคุณรวงทองจะได้เติบโตขึ้นมีบุคลิกลักษณะที่สง่างามสลัดทิ้งรูปลักษณ์ของความเป็น “ลูกเป็ดขี้เหร่” ไปแล้วอย่างสิ้นเชิงแต่แฟนเพลงร่วมสมัยกับท่านก็ยังคงจดจำฉายาและภาพลักษณ์นั้นได้อย่างไม่ลืมเลือน

คุณรวงทองได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการในแผนกดนตรีสากลของกรมประชาสัมพันธ์อย่างเต็มภาคภูมิเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๐อันเป็นช่วงที่ท่านกำลังสร้างผลงานดีเด่นและประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสูงท่านได้รับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์อยู่เป็นเวลา ๕ ปีจึงได้ลาออกจากราชการเพื่อออกมาประกอบอาชีพเป็นนักร้องอิสระมาจนถึงปัจจุบันและนอกจากการเป็นนักร้องซึ่งเป็นอาชีพหลักของท่านแล้ว คุณรวงทองยังเคยมีงานอื่นๆอันเกี่ยวเนื่องกับการบันเทิงอีกหลายประเภท อาทิ งานแสดงละคร งานแสดงภาพยนตร์และงานจัดรายการเพลงทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์อีกด้วย

ผลงานเพลงที่คุณรวงทองทองลั่นธม ได้ขับร้องมาตลอดระยะเวลาประมาณ ๔๕ ปีที่ผ่านมามีกว่า ๒,๐๐๐ เพลงในจำนวนนี้มีมากมายหลายเพลงที่เป็นผลงานการประพันธ์ของบรมครูเพลงของไทยหลายท่านที่ประพันธ์ให้คุณรวงทองร้องจนโด่งดังได้รับความนิยมอย่างสูงสุดและกลายเป็นเพลงอมตะตลอดกาล อาทิ วิมานสีชมพู ปาหนันขวัญใจเจ้าทุย มั่นใจไม่รัก ขยี้ใจ วนาสวาท ทุยจ๋าทุย รักเธอเสมอ หนามชีวิตหาดผาแดง หนาวตัก ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น ฯลฯ

นอกจากการเป็นนักร้องที่มีความสามารถพิเศษอย่างโดดเด่นเป็นที่ยอมรับและชื่นชมของคนทั้งประเทศแล้วคุณรวงทองยังได้อุทิศตนช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ตลอดมาทั้งยังเป็นผู้ที่สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างแข็งขันทำให้ท่านได้รับเกียรติยศตลอดจนรางวัลอันเป็นประจักษ์พยานแห่งความสามารถทางการดนตรีหลายประการ ได้แก่

ได้รับพระราชทานเหรียญสังคีตมงคล
ได้รับพระราชทานเสมา ภาพยนตร์ส่วนพระองค์
ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ
ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำจากเพลง รักเธอเสมอ และเพลงวนาสวาท
ได้รับพระราชทานรางวัล “ใบโพธิ์ทอง”
ในฐานะนักร้องผู้เผยแพร่ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
ได้รับคัดเลือกให้เป็นสตรีดีเด่นแห่งปี ประจำปี ๒๕๒๑
ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล) จากสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๘ ฯลฯ

ด้วยประวัติชีวิตที่งดงามและผลงานอันดีเด่นที่คุณรวงทอง ทองลั่นธมได้สร้างสมมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานส่งผลให้ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ขณะที่ท่านอายุได้ ๕๙ ปี

http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/template/readtext.asp?HID=70

"รวงทองส่องทางศิลป์" 3 - 4 พฤศจิกายน 2550 สัมมนาวิชาการและคอนเสิร์ตรวงทอง ทองลั่นทม

โครงการการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "รวงทองส่องทางศิลป์"
3 - 4 พฤศจิกายน  2550
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระ
---------------------------------
การสัมมนาและการแสดงดนตรี  "รวงทองส่องทางศิลป์"
วันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระกรุงเทพฯ
ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

1. หลักการและเหตุผล

การจัดการสัมมนาทางวิชาการ พร้อมการแสดงดนตรีรายการ "รวงทองส่องทางศิลป์"อาจนับได้ว่าเป็นการจัดการสัมมนาต่อเนื่องจากการจัดสัมมนาการวิจารณ์เพลงไทยสากลพร้อมการแสดงดนตรี รายการ "สุนทราภรณ์
วิชาการ" ได้เคยจัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532 ในในโอกาสครบรอบ 50 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาโครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย" จัดการสัมมนาการวิจารณ์เพลงไทยสากลพร้อมการแสดงดนตรีอีก 2 ครั้ง คือ การจัดสัมมนาเรื่อง "มัณฑนาวิชาการ"และจัดการแสดงดนตรี "เบิกฟ้ามัณฑนา โมรากุล" เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2546 และการจัดสัมมนาเรื่อง "เพ็ญศรีวิชาการ" พร้อมการจัดการแสดงดนตรี "แด่เพ็ญศรีคีตศิลปิน" เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2548 ผลการจัดสัมมนาและรายการแสดงดนตรีทั้งสามครั้งนั้น นับว่าประสบความสำเร็จมาก


รวงทอง  ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ที่มีผลงานในการขับร้องต่อเนื่องมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ  เธอเป็นแรงดลใจให้คีตกวีเอกของไทยได้สร้างงานที่เป็นอมตะขึ้นมามากมาย  รวงทองไม่เคยหยุดอยู่กับที่  แต่แสวงหาตนเองและแสวงหาแนวทางใหม่ในการสร้างงานอยู่ตลอดเวลา  ในการสัมมนาและการแสดงดนตรีในรายการ "รวงทองส่องทางศิลป์"  วิทยากรจะร่วมกันวิเคราะห์ให้เห็นถึงวุฒิภาวะในศิลปะการขับร้องของรวงทอง  และในขณะเดียวกัน  รวงทองจะเสนอมิติใหม่ในการถ่ายทอดความรู้ด้านคีตศิลป์ที่สั่งสมมาในรายการ "ชั้นเรียนตัวอย่าง" (Master Class) เป็นครั้งแรก  ผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาจะได้มีโอกาสชมการแสดงดนตรี โดยรวงทอง  ร่วมกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ และศิลปินรับเชิญด้วย

2. วัตถุประสงค์


2.1 วิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานเพลงที่รวงทอง  ทองลั่นธมขับร้องอย่างเป็นวิชาการ
2.2 ศึกษาภูมิหลังซึ่งมีส่วนเสริมพัฒนาการและวุฒิภาวะในการขับร้องเพลงของรวงทอง  ทองลั่นธมจนเป็นนักร้องที่โดดเด่นและเป็นต้นแบบของนักร้องรุ่นต่อมา
2.3 ศึกษาแนวทางการตีความเพลงรวงทองสำหรับปัจจุบันและอนาคต
2.4 ศึกษาการถ่ายทอดความรู้ด้านสั่งคีตศิลป์ที่คุณรวงทองสั่งสมมาในรายการ "ชั้นเรียนตัวอย่าง" (master class)
2.5 ร่วมแสดงมุฑิตาจิตเพื่อเป็นเกียรติแก่ศิลปินแห่งชาติ  รวงทอง  ทองลั่นธม ในโอกาสมีอายุครบ 70 ปี เมื่อปี 2550

3. ผู้รับผิดชอบ


โครงการวิจัย  "การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์"โดยการสนับสนุนของ สกว. ร่วมกับ  มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยศิลปากร


4. วัน เวลา และสถานที่


วันเสาร์ที่ 3 และ วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน  2550  เวลา 9.00 - 18.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัย
ศิลปากร วังท่าพระถนนหน้าพระลาน  กรุงเทพฯ

5. ผู้เข้าร่วมสัมมนา


อาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา  นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา  และผู้สนใจทั่วไป  จำนวนประมาณ 100 คน  ส่วนผู้สนใจเฉพาะการแสดงและการขับร้องของวงดนตรีสุนทราภรณ์สามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตามราคาที่กำหนด

6. ลักษณะกิจกรรม


กิจกรรมแบ่งเป็น 2 ภาค
 ภาค 1  การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "รวงทองส่องทางศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา 8.30 - 15.00 น.และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2546 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณหอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร


 ภาค 2   การแสดงดนตรีของวงสุนทราภรณ์  วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน  2546 เวลา 14.00 - 18.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร
 
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
คาดว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับผลดังนี้
7.1 องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากเพลงไทยสากล
7.2 แนวทางการประเมินคุณค่าคีตศิลป์โดยเฉพาะเพลงไทยสากล
7.3 แนวทางการสืบทอดผลงานทางคีตศิลป์ที่ทรงคุณค่า
7.4 ความสำนึกเชิงวิจารณ์ในหมู่มหาชนผู้ฟังเพลงไทยสากล


-----------------------------------------

การสัมมนาและการแสดงดนตรี  "รวงทองส่องทางศิลป์"
วันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระกรุงเทพฯ
ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)และสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร
------------------------------------------


วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2550

08.30 - 08.40 น.  ลงทะเบียน
08.45 - 09.00 น.  ผศ. ดร. ธีระ  นุชเปี่ยมหัวหน้าโครงการ กล่าวถึงจุดประสงค์การจัดสัมมนาฯ
09.00 - 10.30 น.  อภิปราย "วุฒิภาวะของศิลปิน"   โดย
     ศาสตราจารย์ ดร. เจตนา  นาควัชระ
     ดร.วิษณุ  วัรญญู
     อาจารย์นรอรรถ  จันทร์กล่ำ
     ดำเนินรายการโดย ผศ.สุวรรณา  เกรียงไกรเพ็ชร์

10.30 - 10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 - 12.00 น.  อภิปราย "การตีความเพลง"   โดย
     คุณรวงทอง  ทองลั่นธม
     ดร. ศุภชัย  จันทร์สุวรรณ์  (ศิลปินแห่งชาติ)
     คุณเทิดพัฒน์  พัฒนศิษฏางกูร
     ดำเนินรายการโดย ผศ.สุวรรณา  เกรียงไกรเพ็ชร์

12.00 - 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน  (ตามอัธยาศัย)

13.00 - 15.00 น.  สาธิต "ชั้นเรียนตัวอย่าง" (Master Class)   โดย คุณรวงทอง  ทองลั่นธม

15.00 น.   รับประทานอาหารว่าง

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550
08.30 - 09.00 น.  ลงทะเบียน
09.00 - 10.30 น.  แนะนำเพลงที่จะใช้ในการแสดงดนตรี (รวงทองส่องทางศิลป์)
     ม.ร.ว.ถนัดศรี  สวัสดิวัตน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. พูนพิศ  อมาตยกุล
คุณจารุลินทร์  มุสิกะพงษ์
            ดำเนินรายการโดย  รศ.จุไรรัตน์  ลักษระศิริ

10.30 - 10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 - 12.00 น.  ผู้ร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็น
12.00 - 12.30 น.  สรุปการสัมมนา

12.30 - 13.30 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน  (ตามอัธยาศัย)

14.00 -17.00 น.  ชมการแสดงดนตรี


• ค่าสัมมนา 700 บาท (รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง และค่าบัตรเข้าชมการแสดง )


ใบสมัครเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง "รวงทองส่องทางศิลป์"
วันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระกรุงเทพฯ

(โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร)
 ------------------------------------------------------

1. ชื่อ  ………………………………………….       นามสกุล  ………………………………………………
2. เพศ ……………..         อายุ ……………. ปี          อาชีพ  …………………………….………………
    ตำแหน่งทางวิชาการ ……………………………………………………………….………(โปรดระบุถ้ามี)
3. ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก  ………………………………………………………………………………………
     ………………………………………………………………………………………………………………..
     โทรศัพท์  : ………………………………………    โทรสาร : ……………………………………………
     E-mail   :  …………………………………………………………………………………………………..
4.   การศึกษาขั้นสูงสุด  ……………………………..    สาขา ………………………………………………
      จากสถาบัน  ……………………………………………………………………………………………….

โปรดส่งใบสมัครกลับไปภายในวันศุกร์ที่  26  ตุลาคม 2550 ที่
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”
ชั้น 8 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ถนนบรมราชชนนี  ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์  : 0-2435-3962: /โทรสาร : 0-2434-6257  E-mail : office@thaicritic.com, thaicritic@hotmail.com

• ค่าลงทะเบียน 700 บาท (รวมค่าเอกสาร   ค่าอาหารว่าง และค่าบัตรเข้าชมการแสดงดนตรี)
• การชำระค่าลงทะเบียน  ขอให้ชำระเงินโดยฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารทหารไทย สาขาย่อยตลิ่งชัน  ชื่อบัญชี  นายจักรนาท  นาคทอง เลขบัญชี 134-2-12507-5  ภายในวันที่ 26  ตุลาคม 2550  และขอความกรุณาช่วย fax ใบนำฝากมายังโครงการฯเพื่อเป็นหลักฐาน

     กำหนดปิดรับสมัคร   วันศุกร์ที่  25 ตุลาคม  2550

http://www.thaiwriterassociation.org/newsread.php?id=70

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved