สินค้าในตะกร้า [ 0 ชิ้น ]
 
รักเพศเดียวกัน
บทความ ณ. วันที่ : 18/9/2010        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 1661 ครั้ง   

 รักร่วมเพศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก รักเพศเดียวกัน)


รักร่วมเพศ (Homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมิน
 แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจในกลุ่มคนชาวนอร์เวย์ พบว่ามีกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน 12%

สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมรักเพศเดียวกันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งจากการศึกษาพี่น้องฝาแฝดที่เป็นเกย์ทั้งคู่ โดย Dean Halmer นักพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ มลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา พบว่าอาจจะเกิดจากพันธุกรรมที่โครโมโซม ตำแหน่ง Xq28
 อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังถกเถียงเกี่ยวกับยีนตัวนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งงานวิจัยใหม่นั้นพบว่าผลที่ออกมาขัดแย้งกับผลการศึกษาเดิม และไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน

ปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ให้กับเพศวิถีต่างๆ เช่น "ความหลากหลายทางเพศ"
 หรือ "กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ"
 เนื่องจากมีความหมายที่ครอบคลุมและตรงตัวกว่าคำว่า “รักร่วมเพศ” ที่อาจถูกตีความว่าบุคคลประเภทนี้ให้ความสำคัญต่อการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม คำว่าความหลากหลายทางเพศนั้น อาจหมายความรวมถึงผู้ที่มีรสนิยมรักสองเพศด้วย


   


รักเพศเดียวกัน มีในสังคมมนุษย์มาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์แรก ๆ รูปแบบบางอย่างเกี่ยวกับการดึงดูดทางเพศและความต้องการทางเพศระหว่างผู้ชาย ด้วยกันฝั่งแน่นมานาน เป็นการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐานสังคม และมีการกล่าวถึงมากที่เกี่ยวกับกรีกโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ (อย่างเช่นการร่วมเพศทางทวารหนักในบางวัฒนธรรม หรือการทำออรัลเซ็กซ์กับผู้อื่น) ในบางวัฒนธรรมอย่างศาสนาเอบราฮัมมี กฎหมายออกมา และโบสถ์ได้ถือว่าการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นการละเมิดต่อกฎสวรรค์ หรือเป็น "อาชญากรรมฝืนธรรมชาติ" ที่ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษอย่างรุนแรง อย่างเช่น การประหารชีวิต โดยมากใช้ไฟเผา (เพื่อเป็นการกระทำชำระบาป) การร่วมเพศทางทวารหนักระหว่างผู้ชายด้วยกัน เกิดขึ้นก่อนยุคความเชื่อคริสเตียน โดยมากมักอ้างถึงในกรีกโบราณ ว่าเป็น "อธรรมชาติ" ย้อนไปได้ในยุคเพลโต

ใน 2 ทศวรรษของศตวรรษที่ 19 มุมมองที่แตกต่างกันเริ่มครอบงำทางด้านแพทย์ศาสตร์และจิตวิทยา ถูกประเมินว่าเป็นพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงประเภทของคน ที่อธิบายและความสัมพันธ์กับอัตลักษณ์ทางเพศ Karl-Maria Kertbeny บัญญัติคำว่า โฮโมเซ็กชวล ในปี 1869 ในหนังสือโต้เถียงต่อกฎหมายปรัสเซียในการต่อต้านการร่วมเพศทางทวารหนัก
 และต่อมาในหนังสือ Psychopathia Sexualis ที่เขียนโดย Richard von Krafft-Ebing ในปี 1986 ก็ได้ขยายความเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดนี้

ในปี 1897 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เฮฟล็อก เอลลิส พิมพ์ มุมมองที่คล้ายกันในหนังสือของเขาที่ชื่อ Sexual Inversion[21] ถึงแม้ว่าหนังสือทางแพทย์เหล่านี้จะไม่ได้แพร่หลายสู่สาธารณะในวงกว้าง แต่พวกเขาก็รับทราบจากคณะกรรมการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมทางวิทยาศาสตร์ ของ Magnus Hirschfeld ซึ่งเป็นโครงการตั้งแต่ปี 1897 ถึง 1933 เพื่อต่อต้านกฎหมายต่อต้านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ในเยอรมนี เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นทางการในบรรดาหมู่ปัญญาชนชาวอังกฤษ และนักเขียน นำโดย เอดเวิร์ด คาร์เพนเทอร์ และจอห์น แอดดิงทัน ไซมอนด์ส

ในศตวรรษที่ 20 รักเพศเดียวกันเป็นเรื่องการศึกษาที่สำคัญและถกเถียงในสังคมตะวันตก โดยเฉพาะหลังจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของเกย์ที่เริ่มในปี 1969 และเมื่อผ่านอำนาจผู้มีอำนาจอย่างด้านพยาธิวิทยาหรือความป่วยทางจิตที่สามารถรักษาได้ รักเพศเดียวกันได้มีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เข้าใจทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา การเมือง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายด้านวัฒนธรรมของการปฏิบัติทางเพศและอัตลักษณ์ กฎหมายและสถานภาพทางด้านสังคมของคนที่ต่อสู้ในการกระทำของชาวรักร่วมเพศ หรือการบ่งชี้ในฐานะเกย์หรือเลสเบี้ยนแปรเปลี่ยนไปไปทั้งโลก และในบางที่ก็ยังคงต่อต้านทั้งทางด้านการเมืองและศาสนา
 เพศวิถี
 วิถีทางเพศ

วิถีทางเพศ ของรักเพศเดียวกัน อาจหมายถึง "รูปแบบความคงอยู่ของ/หรือ อารมณ์ทางเพศ หรือความสนใจด้านความรัก ต่อคนที่เป็นเพศเดียวกัน" ยังคงหมายถึง ความรู้สึกส่วนตัวต่ออัตลักษณ์และการเข้าสังคม โดยยึดจากความสนใจ พฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขา และการเป็นสมาชิกของสังคมในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา
 สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมิน
แต่ส่วนใหญ่จากการที่ศึกษาในปัจจุบันอัตราอยู่ที่ 2–7%
 โดยแบ่งแยกจากไบเซ็กชวลและรักต่างเพศ

นักวิจัยได้ดูเรื่องสาเหตุความหลากหลายที่เป็นไปได้ของวิถีทางเพศขอพวกรักเพศเดียวกัน อย่างเช่น ด้านชีววิทยา ฮอร์โมน ความเครียด ลำดับการเกิด และผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม
 โดย The American Psychiatric Association อ้างว่า "บางคนเชื่อว่า วิถีทางเพศ เกิดขึ้นโดยกำเนิดและคงเป็นอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ตาม วิถีทางเพศอาจพัฒนาเปลี่ยนไปในรอบชีวิตหนึ่ง"
 ถึงกระนั้น American Psychological Association ก็กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีความรู้สึกเกี่ยวกับวิถีทางเพศของพวกเขา"

 อัตลักษณ์ทางเพศ

อัตลักษณ์ทางเพศของ พวกรักเพศเดียวกันอาจหมายถึง อัตลักษณ์ที่ระบุว่าเป็นเกย์หรือเลสเบี้ยน ถ้าให้แคบกว่านี้ เกย์หมายถึง ผู้ชายรักเพศเดียวกัน แต่มักจะใช้ความหมายของเกย์ในทางกว้างมากกว่า โดยเฉพาะในหัวข้อหรือการรายงานจากสื่อมวลชน ความหมายของรักเพศเดียวกันโดยส่วนมาก ส่วนเลสเบี้ยนจะหมายถึงผู้หญิงรักเพศเดียวกัน

นักวิชาการอย่างเช่น เดวิด กรีน กล่าวว่า รักเพศเดียวกันในโครงสร้างสังคมตะวันตกสมัยใหม่ ไม่สามารถใช้ในความหมายเดียวกับความสัมพันธ์ชาย-ชาย ในสังคมที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก หรือ และทั้งสังคมก่อนตะวันตกสมัยใหม่

 พฤติกรรมทางเพศ
     ไม่มีข้อมูล มีกฎหมายของชาวรักร่วมเพศ      แต่งงานในเพศเดียวกัน      Civil unions หรืออย่างอื่น      ไม่มีกฎหมายในหมู่ชาวรักร่วมเพศ      Foreign same-sex marriages recognized รักร่วมเพศถือว่าผิดกฎหมาย      มีโทษน้อย      มีโทษเยอะ      ตัดสินจำคุก      ตัดสินประหารชีวิต
พูดคุยเกี่ยวกับภาพ

พฤติกรรมทางเพศของพวกรักเพศเดียวกัน หมายถึง ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างคนสองคนที่เป็นเพศเดียวกัน การศึกษาพบว่า คู่เพศเดียวกันและคู่ต่างเพศแทบจะมีจำนวนเท่ากัน เมื่อวัดจากความพอใจในความสัมพันธ์และพันธะ
 เลสเบี้ยนและผู้ชายเกย์ ก่อความสัมพันธ์ยั่งยืนขึ้น อย่างเช่นจากการศึกษาชี้ว่า ระหว่าง 18% และ 28% ของคู่เกย์ และระหว่าง 8% และ 21% คู่เลสเบี้ยนในสหรัฐอเมริกาอยู่ด้วยกัน 10 ปี หรือมากกว่านั้น

ทัศนคติทางด้านสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์เพศเดียวกัน แตกต่างกันไปทั้งสถานที่และเวลา มีตั้งแต่ความคาดหวังของผู้ชายที่จะต่อต้านความสัมพันธ์เพศเดียวกัน ถึงการรวมตัวอย่างไม่ตั้งใจ ผ่านการยอมรับของสังคม ถึงการเห็นที่การปฏิบัติในฐานะคนบาป ความอดกลั้นการบังคับใช้ทางกฎหมายและวิธีการตัดสินทางกฎหมาย และการห้ามปราม ที่อาจมีโทษถึงตาย

หลายชาติส่วนใหญ่ไม่กีดกันการอยู่ร่วมกันของคน อำนาจศาลในบางแห่งให้ความสำคัญของสิทธิเท่าเทียมกัน การปกป้องและสิทธิของโครงสร้างครอบครัวเพศเดียวกัน รวมถึงการแต่งงานด้วยกัน ในบางชาติควบคุมออกจากคนรักต่างเพศ ในบางที่ออกห้ามกิจกรรมรักร่วมเพศและถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงตายในบางที่ที่เป็นมุสลิม อยางเช่น อิหร่าน และบางส่วนของไนจีเรีย