สินค้าในตะกร้า [ 0 ชิ้น ]
 
ลูกไม่อยู่นิ่ง ใช่โรคสมาธิสั้นหรือแค่ซน?
บทความ ณ. วันที่ : 24/11/2011        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 384 ครั้ง   

 

ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง...ใช่โรคสมาธิสั้นหรือแค่ซน? (momypedia)
โดย: สุพรรณี

             คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจกำลังสงสัยในพฤติกรรมของลูกชาย-หญิงที่ซน อยู่ไม่นิ่ง พูดไม่หยุด ว่าเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า และจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นได้ไหม... ผศ.นพ.ปราโมทย์ สุคนิชย์ หน่วยจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีประสบการณ์ในการสอน และรักษาในสาขาจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นมานานกว่า 20 ปี พร้อมไขข้อสงสัยให้ค่ะ

เด็กโรคสมาธิสั้นสำคัญอย่างไร

             ปัจจุบัน โรคสมาธิสั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เพราะมีผลการสำรวจจาก WHO (World Health Organization) เมื่อปี 2006 พบว่าเด็กร้อยละ 5.9 เป็นโรคสมาธิสั้น นี่จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะมองข้ามมิได้ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาก็จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เช่น การเรียนตกต่ำ ใจร้อน ชอบชกต่อย ติดเกม ติดบุหรี่หรือยาเสพติด กลายเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับ

             โรค นี้เป็นความเสียหายของสมองมาตั้งแต่กำเนิด เด็กแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน หากสมองที่เสียหายมาก ได้รับการกระตุ้นให้เสียสมาธิบ่อย ๆ เด็กจะเสี่ยงมีพฤติกรรมแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ ก็จะช่วยพัฒนาให้เด็กสามารถเอาตัวรอดได้ เชื่อมั่นในตัวเอง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

หนูเป็นโรคนี้ได้อย่างไร...จะรักษาหายไหม

             โรค สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD) เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมในการคงความสนใจต่อการกระทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เมื่อถูกสิ่งเร้ามากระตุ้นขณะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอยู่ แล้วไม่สามารถหันกลับมาทำกิจกรรมเดิมต่อไปได้

             โรค นี้เกิดจากสมองส่วนซึ่งทำหน้าที่ไตร่ตรอง วางแผน รวบรวมข้อมูลทำงานบกพร่อง เนื่องจากพันธุกรรมหรือการเจ็บป่วยของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่เป็นโรคนี้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หรือเป็นผู้ใหญ่จะหายเป็นปกติ อีก 1 ใน 3 มีอาการอยู่บ้าง สามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น และอีกส่วนรักษาไม่หาย การรักษาจึงไม่สามารถรับรองผลได้ เพราะขึ้นอยู่กับความเสียหายของสมอง และการจัดสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดู

สำรวจ...ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

             เกณฑ์ วินิจฉัยโรค (Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorders Fourth Edition: DSM-IV) ที่ใช้อยู่ยึดตามสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ซึ่งแบ่งอาการของโรคสมาธิสั้นไว้ดังนี้

กลุ่มอาการขาดสมาธิ (Inattention)

              ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อในการทำงาน การเรียน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ

              ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น

              ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย

              ทำตามคำแนะนำไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ

              มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม

              หลีกเลี่ยงหรือไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ

              ทำของหายบ่อย ๆ

              วอกแวกง่าย

              ลืมบ่อย ๆ

กลุ่มอาการซน (Hyperactivity)

              บิดมือหรือเท้า หรือนั่งบิดไปมา

              ลุกจากที่ในห้องเรียนหรือที่อื่นที่ต้องนั่ง

              วิ่งไปมา ปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม

              ไม่สามารถเล่นแบบเงียบ ๆ ได้

              เคลื่อนไหวตลอดเวลา คล้ายขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์

              พูดมากเกินไป

กลุ่มอาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)

              ผลีผลามตอบก่อนจะถามจบ

              ไม่สามารถรอคอยในแถว

              พูดแทรกหรือก้าวก่ายเรื่องของคนอื่น

สมาธิสั้น ออทิสติก และ แอสเปอเกอร์

             ออ ทิสติกกับแอสเปอเกอร์เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน คือโรคที่มีผลต่อพัฒนาการทางด้านภาษา การเข้าสังคม เช่น เด็กที่เป็นออทิสติก จะพูดคุยได้แต่ไม่เข้าใจว่าอีกฝ่ายพูดหรือคิดอย่างไร อยู่ในโลกของตัวเอง

             แอ สเปอเกอร์จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า คือสามารถเข้าสังคมได้ มีเพื่อนฝูง แต่จะสนใจแต่เรื่องแคบ ๆ รู้เฉพาะบางเรื่องอย่างลึกซึ้ง ทั้งสองโรคนี้อาจมีอาการซนร่วมด้วย แต่ไม่ใช่อาการหลัก

             ส่วน โรคสมาธิสั้นพัฒนาการทุกด้านจะมีความสมบูรณ์ดี เขาสามารถพัฒนาตัวเองจนสามารถเรียนดีขึ้น อยู่ในสังคมได้ เพียงแต่ไม่สามารถคงสมาธิได้ยาวนานเหมือนเด็กทั่วไป

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก






 
 
   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved