สินค้าในตะกร้า [ 0 ชิ้น ]
 
จินตนาการ บวก และ ลบ วัย 3-6 ปี (อ่าน
บทความ ณ. วันที่ : 24/11/2011        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 376 ครั้ง   

 

จินตนาการ + และ - ..ของวัย 3-6 ปี (รักลูก)
โดย: ธิดารัตน์

         จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัย 3-6 ปี เพราะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากลูกแยกไม่ออกว่าแบบไหนคือโลกความจริง แบบไหนคือสิ่งสมมุติ ย่อมก่อให้เกิดผลร้ายได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยดูแลและให้คำแนะนำลูกอย่างถูกวิธีค่ะ

วัยแห่งจินตนาการ

         เพีย เจย์ นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวไว้ว่า...การเล่นสมมติ จะทำให้ผู้เล่นรู้สึกพึงพอใจในตัวเอง ในการเปลี่ยนความจริงให้เป็น "ความปรารถนา" เป็นการก่อรากฐานทางอารมณ์ และพัฒนาความคิดให้กว้างไกลออกไป อันเป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อมั่นในตนเอง...

         และ ในวัยอนุบาล 3-6 ขวบนี้ เด็กจะเริ่มก้าวสู่โลกกว้าง ไปโรงเรียน มีเพื่อน มีสังคม เริ่มอ่านหนังสือได้ ดูหนังเป็นเรื่องเป็นราวเข้าใจ และสามารถนำเรื่องราวมาปะติดปะต่อเข้ากับตัวเอง สร้างเรื่อง สร้างจินตนาการ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีมากน้อยแตกต่างกันไป

         แม้ จินตนาการจะเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโต และเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี และสอนให้ลูกเรียนรู้ถึงโลกแห่งความเป็นจริง กับโลกแห่งจินตนาการด้วยนะคะ

แบบไหน...เข้าข่ายน่าเป็นห่วง

         ถ้า ลูกพูดจาเป็นตุเป็นตะเลียนแบบจากสิ่งที่ได้เห็นในละคร ภาพยนตร์ การ์ตูน ฯลฯ นั่นเป็นเพราะเขายังเด็กเกินกว่า ที่จะแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับเรื่อง สมมุติ ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมปกติของวัยนี้

         แต่ เมื่อใดที่ลูกเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง คิดว่าตัวเองเป็นฮีโร่เหมือนภาพยนตร์หรือในการ์ตูนที่ดู เช่น หยิบมีดในครัวออกมาวิ่งไล่ คล้ายจะออกรบเหมือนในหนัง ชก เตะ ต่อยคนอื่นแล้วภาคภูมิใจ หรือคิดว่าตัวเองมีความพิเศษ กระโดดตึกแล้วเหาะกลางอากาศได้ เหมือนยอดมนุษย์ในหนัง อาการแบบนี้น่าเป็นห่วงค่ะ

ตัวอย่างผลร้ายจากจินตนาการ

         กรณี ของเด็กวัย 6 ขวบ ประเทศอังกฤษ ที่สมมติตัวเองเป็นสไปเดอร์แมนไปไต่ตึก พลาดท่าหล่นลงมาจากหน้าต่างชั้นสอง จนแพทย์ต้องเอกซเรย์และสแกนสมอง

         อีกกรณีหนึ่งคือเด็กหญิง 7 ขวบ ชาวตุรกี ดูการ์ตูนโปเกม่อนแล้วกระโดดตึกลงมา ได้รับบาดเจ็บสาหัส

         เหล่านี้ล้วนเกิดจากจินตนาการและการเลียนแบบทั้งสิ้นค่ะ

จินตนาการก่อผลร้ายในเด็ก..

 1. เด็กไฮเปอร์ (Hyper Active) เผลอไม่ได้

         สำหรับ เด็กพิเศษแบบที่เรียกว่าไฮเปอร์แอ็คทีฟจะมีลักษณะเฉพาะคือ นั่งไม่ค่อยติด วิ่งเล่น ซุกซนตลอดเวลา และด้วยวัยที่โตขึ้น คล่องแคล่วมากขึ้น ชอบเล่นผาดโผนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บวกกับพลังที่มีอยู่เหลือเฟือในเด็กวัยนี้ โอกาสที่จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยจึงมีสูง คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลการเล่น การแยกแยะระหว่างจินตนาการ และความเป็นจริงในความเข้าใจของลูกด้วยค่ะ

 2. หนูชอบเก็บตัว...โลกส่วนตัวสูง

         โดย ทั่ว ๆ ไปเด็กในวัยนี้จะชอบการอยู่เป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ แม้จะเล่นคนเดียวได้แต่ก็ชอบการเล่นเป็นกลุ่มมากกว่า แต่ก็มีเด็กบางคนที่เก็บตัว ชอบเล่นคนเดียว อยู่กับทีวี หรือขอให้มีหนังสือการ์ตูนเป็นเพื่อนก็พอ เพราะมีความสุขกับการได้อยู่กับจินตนาการในโลกส่วนตัว หากเป็นหนังสือประเภทที่อ่านแล้วกล่อมเกลาจิตใจ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่หากเด็กรับเอาสื่อที่รุนแรง ก้าวร้าวมากๆ แล้วเด็กทำตาม แบบนี้น่าเป็นห่วงค่ะ

 3. เด็กโจ๋...หัวหน้าแก๊ง

         ด้วย ความสามารถในการเป็นผู้นำ ในการเล่น ช่างคิด เล่นเป็น เล่นเก่ง และมีของเล่นใหม่ ๆ มาให้เพื่อนเสมอ ๆ เด็กที่มีลักษณะเช่นนี้จึงมักจะถูกยกให้เป็นหัวหน้า "แก๊ง"

         ข้อดีคือ เขาได้ฝึกความเป็นผู้นำ แต่หากเมื่อใดที่เขาโกรธหรือไม่พอใจ ก็อาจใช้อำนาจ พละกำลัง และหากบวกเข้ากับจินตนาการ หรือลอกเลียนแบบมาจากสื่อ เช่น คิดว่าตัวเองเป็นคนมีพลังเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นยอดมนุษย์มาพิทักษ์โลก การเล่นรุนแรง ใช้กำลัง แตะต่อย หรือพูดหยาบคายแล้วไม่ใช่สิ่งผิด ก็อาจทำให้เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีตอนโตได้ค่ะ

ชวนลูกใช้จินตนาการ..บวก

         อย่าง ที่บอกค่ะว่า จินตนาการนั้นนำไปสู่พฤติกรรมของเด็ก ๆ ซึ่งก็มีทั้งบวกและลบ คุณพ่อคุณแม่คือบุคคลสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมให้จินตนาการของลูกไปสู่กิจกรรม ที่จะหล่อหลอมให้เขาเป็นเด็กดี เด็กเก่ง กล้าคิด กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นการหักหารน้ำใจลูกจนเกินไป ตัวอย่างเช่น

         คำพูดสร้างความเข้าใจ : "คำ พูด" สำหรับเด็ก ๆ วัยนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เขาสามารถเข้าใจคำพูดของผู้ใหญ่ได้ดีขึ้น พ่อแม่ควรใช้คำพูดอธิบายให้ลูกเข้าใจเหตุผลได้ว่า อะไรคือเรื่องจริง หรือสิ่งสมมติ เช่น "ที่ในหนังทำอย่างนี้ได้เพราะอะไร" "ที่เราทำไม่ได้เพราะอะไร" เนื่องจากบางครั้งการผจญภัยอันน่าตื่นเต้นของเหล่าตัวละคร การ์ตูน หรือ ซูเปอร์ฮีโร่ทั้งหลายทำให้เด็ก ๆ คาดหวังในสิ่งที่เกินความจริง

         เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์จินตนาการ :  คุณพ่อคุณแม่อาจใช้จังหวะทองที่ลูกมีความสุขกับโลกจินตนาการ ชักชวนเขาให้ทำกิจกรรมที่จะได้เพลิดเพลินไปกับจินตนาการ ได้อย่างปลอดภัย เช่น พาลูกไปเข้าค่ายต่า งๆ ที่จัดสำหรับเด็ก อาจเป็นค่ายศิลปะ แสดงละคร พากย์การ์ตูน ตามแต่ความสนใจของเขา อีกทั้งยังเป็นการให้เขาได้ค้นหาความชอบและความถนัดอีกด้วย

         จินตนาการสร้างวินัย : คุณพ่อคุณแม่ สามารถใช้จินตนาการหรือการชอบเลียนแบบของลูกสร้างวินัยให้เขาได้ เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้จะกระตือรือร้นช่วยทำงานบ้าน อยากรับผิดชอบกิจวัตรตัวเอง ก็อาจจะบอกลูกว่าเขาเป็นเด็กดี และคนเก่งที่สุดเลย แล้วคนดีคนเก่งต้องเล่นของเล่นแล้วเก็บทุกครั้ง คนเก่งต้องมีน้ำใจ ไม่ก้าวร้าว ไม่พูดคำหยาบ เป็นต้น

         จินตนาการ ของเด็กเป็นสิ่งดีและควรค่าแก่การสนับสนุน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพอเหมาะพอดี และไม่ล้ำเข้ามาในโลกของความจริงมากจนเด็กเองคุมไม่อยู่ค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก






 
 
   
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน

©2008-2009 SABUYJAISHOP All Rights Reserved