.
ตะกร้า [0]






การอยู่ไฟหลังคลอด อยู่ไฟ เพื่อแม่หลังคลอด (รักลูก)
บทความ ณ. วันที่ : 24/6/2013        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 3211 ครั้ง   
 

 

  การอยู่ไฟหลังคลอด

อยู่ไฟ เพื่อแม่หลังคลอด (รักลูก)

             การอยู่ไฟ คือวิธีดูแลแม่หลังคลอดที่มีมานาน ปัจจุบันนี้มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่อยู่ไฟเพื่อสุขภาพ แต่จะมีประโยชน์อย่างไร อยู่นานแค่ไหน มีวิธีอย่างไร เราหาคำตอบมาให้คุณแล้วค่ะ

ทำไมต้องอยู่ไฟ

             ปัจจุบัน การอยู่ไฟค่อนข้างมีความแตกต่างไปจากสมัยก่อน โดยเฉพาะในเรื่องของกระบวนการ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิม ก็คือแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการอยู่ไฟค่ะ นั่นก็คือเพื่อดูแลสุขภาพของแม่หลังคลอด ทั้งการรักษา ป้องกัน ฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพ แถมยังได้ประโยชน์ในเรื่องความงามอีกด้วย

             เพราะ ช่วงตั้งครรภ์ทุกส่วนในร่างกายของคุณแม่จะขยาย การอยู่ไฟจะช่วยให้ส่วนต่างๆ กลับเข้าสู่สภาพปกติ เช่น ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ช่วยขับของเสียที่คั่งค้างภายในร่างกายหลังคลอด ช่วยรักษาแผลฝีเย็บ ป้องกันการติดเชื้อ และยังช่วยปรับระดับความร้อน ความเย็นภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งในระยะยาวจะช่วยในเรื่องของอาการหนาวสะท้ายโดยมิทราบสาเหตุ

อยู่ไฟเมื่อไหร่และนานแค่ไหน

             ใน สมัยโบราณระยะเรือนไฟคือช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอดค่ะ หมายความว่าในระยะนั้นสามารถอยู่ไฟได้ สมัยก่อนเมื่อคุณแม่คลอดเสร็จจะให้อยู่ไฟเลย แต่ปัจจุบันจะรอให้แผลหายก่อน สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติบางคนหลังคลอด 7 วันแผลหายก็สามารถอยู่ไฟได้ แต่ถ้าผ่าคลอดก็อาจต้องรอเป็นเดือน

             ทั้ง นี้ควรยืดหลักความปลอดภัยด้วยค่ะ คือดูความพร้อมทางด้านร่างกายของคุณแม่ เพราะหลังคลอดคุณแม่อาจมีไข้ ร่างกายอ่อนล้า บางคนแผลสนิทแล้วก็จริงแต่ร่างกายยังไม่พร้อม จึงไม่อาจระบุได้ชัดเจนว่าควรอยู่ไฟหลังจากคลอดแล้วกี่วัน

             ส่วน เรื่องจำนวนวันในการอยู่ไฟนั้น ในสมัยก่อนอยู่กันเป็นเดือนเลยค่ะ เพราะถือเป็นช่วงที่ต้องดูแลแม่หลังคลอดอย่างเข้มข้น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้บริการอยู่ไฟจากโรงพยาบาล หรือศูนย์บริการแพทย์แผ่นไทย จึงมีปัจจัยเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ส่วนใหญ่อาจอยู่ไฟ ได้ไม่ถึงเดือน ซึ่งระยะเวลาในการอยู่ไฟ จึงขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน แต่อย่างน้อยควรอยู่ไม่ต่ำกว่า 7 วันก็จะทำให้ได้ผลดี โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ไฟต้องดูแลให้ยาถึงจริง ๆ ค่ะ

ข้อควรระวัง

              คุณแม่หลังคลอดที่มีอาการของโรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังในการเข้ากระโจม เพราะอาจเป็นลมได้

              หลังจากเข้ากระโจมแล้วควรดื่มน้ำอุณหภูมิปกติประมาณ 1 ถ้วย

              หลังจากเข้ากระโจมควรรอให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงจนปกติแล้วจึงอาบน้ำ

วิธีการอยู่ไฟ

กระบวนการอยู่ไฟในปัจจุบันมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

             การอบ สมุนไพรหรือเข้ากระโจม จะทำให้ร่างกายขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา และยังช่วยทำความสะอาดผิวพรรณ โดยในกระโจมจะมีสมุนไพร ดังนี้

              กลุ่มที่ 1 สมุนไพรเฉพาะกลุ่มอาการ เช่น ไพล จะช่วยในเรื่องการอักเสบของมดลูก ผักบุ้ง และขมิ้น

              กลุ่มที่ 2 สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้ออ่อนๆ นำมาอบเพื่อให้มีกลิ่นหอม เช่น ใบเปล้า

              กลุ่มที่ 3 สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ช่วยทำให้ผิวสะอาด เช่น ใบมะขาม ใบส้มป่อย ผิวมะกรูด (บางคนอาจใส่น้ำมะกรูดด้วย)

              กลุ่มที่ 4 กลุ่มระเหยหอม เช่น การบูร พิมเสน ช่วยทำให้จมูกโล่ง แต่ไม่ควรใส่มากเพราะอาจทำให้แสบตา

             ควร เข้ากระโจมต่อเนื่อง 7 วัน วันละ 20 นาที และอาจประคบเปียกโดยใช้ลูกประคบ 3 ลูก จุ่มน้ำร้อนพออุ่น ลูกหนึ่งหงายขึ้นแล้วนั่งให้ตรงกับฝีเย็บ อีก 2 ลูกใช้ประคบตามตัวและศีรษะ

ข้อควรระวัง

              หลังการประคบสมุนไพรไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปซะล้างยาออกจากผิวหนัง และที่สำคัญร่างกายยังปรับตัวไม่ทัน

              ควร ระวังแม่หลังคลอดที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งอาจมีการตอบสนองช้า ดังนั้น ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป อาจทำให้ผิวหนังไหม้หรือพองได้ง่าย

              คุณแม่ที่คลอดลูกด้วยการผ่าตัดไม่ควรนานหรือทับหม้อเกลือทันที ควรทำหลังจากคลอดแล้ว 1 เดือน และควรเริ่มนาบเบาๆ ก่อน

              ไม่ ควรนาบหรือทับหม้อเกลือหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ และไม่นาบบริเวณที่เป็นกระดุก เช่น กระดูกเชิงกราน กระดูกต้นขาตรงสะโพก กระดูกหัวหน่าว กระดูกสันหลัง ชายโครง สิ้นปี่ เป็นต้น เพราะจะทำให้ระบบและพองได้

           การนวดหลังคลอดจะมีการนวดเข้าตะเกียบ เพราะช่วยที่ขึ้นขาหยั่งหรือตอนเบ่งคลอดอาจทำให้ข้อสะโพกหรือข้อกระดูกคราก ทำให้เดินปัดๆ หรือขัดๆ ตามข้อสะโพก จึงต้องนวดเข้าตะเกียบเพื่อให้ข้อต่อเข้าที่ นอกจากนวดตะเกียบแล้ว ปัจจุบันก็อาจมีการเสริมเรื่องของการนวดเพื่อสุขภาพ เช่น นวดน้ำมันงา เพื่อบำรุงผิว เป็นต้น

             การ ประคบสมุนไพร จะใช้ผ้าห่อตัวยาสมุนไพร คือไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาเอ็นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม และการบูร ทำให้เป็นลูกประคบแล้วนำไปนึ่งอบร้อน จากนั้นนำมาประคบตามร่างกายและเต้านม (ในกรณีที่คัดนม) โดยใช้ผ้ารองบริเวณที่จะประคบเพื่อไม่ให้ร้อนจนเกินไป เมื่อลูกประคบอุ่นจึงเอาผ้าออกและคลึงบริเวณที่ต้องการประคบนาน

             หลังการประคบให้ใช้น้ำยาสมุนไพรที่เหลือจากการเข้ากระโจม (โดยทิ้งไว้ให้อุ่น) มาอาบให้หมด แล้วอาบน้ำอุ่นเพื่อล้างอีกครั้งหนึ่งค่ะ

             การนาบหรือทับหม้อเกลือ ทำโดยการนำเกลือใส่ในหม้อดินขนาดเล็ก ปิดฝาแล้วนำไปตั้งเตาที่ให้ความร้อนปานกลางประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปวางบนใบพลับพลึงซึ่งวางบนผ้าผืนใหญ่อีกที แล้วรวบชายผ้ามัดเป็นกระจุกเพื่อสะดวกในการถือตอนนำไปนาบหรือทับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ สะโพก ก้น บั้นเอว หลังส่วนบน หน้าขา ต้นขาด้านใน ซึ่งก่อนนาบต้องวางทิ้งไว้ให้หม้อเกลือคลายความร้อนก่อนนะคะ และจะให้ดีต้องมีผ้ารองบริเวณที่จะนาบอีกชั้นหนึ่งด้วย

             เมื่อ นาบจนความร้อนคลายตัว ก็นำไปนาบคลึงที่หน้าท้อง เมื่อความร้อนใกล้หมดให้กดหม้อเกลือนิ่งที่บริเวณเหนือหัวหน่าว (ตำแหน่งของมดลูก) การนาบหรือทับหม้อเกลือควรทำหลังคลอดทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้ามืดและบ่าย และจะให้ดีควรทำติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือนนะคะ

             การ ประคบสมุนไพรและการนาบหรือทับหม้อเกลือจะเน้นในเรื่องของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัวเพื่อขับน้ำคาวปลาซึ่งเป็นของเสียออกค่ะ

             เพียง คุณแม่ปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง ศึกษาหาความรู้ หากมีปัญหาก็ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เท่านี้คุณแม่หลังคลอด ก็จะแข็งแรง fit & firm ได้ในเร็ววันค่ะ
 
 
 
 
 
 
 
ที่มาของบทความ: ขอบคุณข้อมูลจากรักลูก

คำถามที่พบบ่อย

ถาม : ทำไมต้องอยู่ไฟ หลังคลอดบุตร

ตอบ : เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์และอุ้มท้องเป็นเวลานานถึง 9 เดือน ในร่างกายคุณแม่มีอะไรหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่มีน้ำหนักตัว
มากขึ้น รับประทานอาหารมากขึ้น ซึ่งอาหารที่เหลือจะถูกสะสมในรูปของไขมัน เพื่อเตรียม การคลอด และสร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงดูบุตร

ผนังหน้าท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และต้นขาเกร็งตัวตลอดเวลา คุณแม่จะมีอาการปวดหลังบาง
คนมีภาวะท้องผูก หน้าท้องแตกลาย ขาบวม เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยในสมัยโบราณจึงหาวิธีแก้ไขและฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม โดยการ
อยู่ไฟ ซึ่งระยะเวลาของการอยู่ไฟ ประมาณ 7-30 วัน

ปรากฏว่า คุณแม่สมัยโบราณ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว อาการ
หนาวสะท้าน อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เลือดลมมาไม่ปรกติ

พลิกพื้นภูมิปัญญาไทย สู่คุณแม่ยุคใหม่ ที่ใส่ใจสุขภาพ ด้วยแผนฟื้นฟูสุขภาพ และความงามหลังคลอด ด้วย ภูมิปัญญาไทยสมัย
โบราณมาพัฒนาให้ทันสมัย สะดวกและไม่ยุ่งยาก

• ปัญหาหน้าท้อง และผิวแตกลาย
• ปัญหาเซลลูไลท์
• อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
• ผิวพรรณหมองคล้ำ และรอยคราบด่างดำ
• มีอาการหนาวสะท้านเมื่อเห็นฝนเริ่มตั้งเค้า
• อารมณ์แปรปรวน เลือดลมมาไม่ปรกติ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สามารถบรรเทาลงได้ด้วย การแพทย์แผนไทยผสมผสานด้วยสมุนไพรสดกับการอยู่ไฟ ครบสูตรแผนโบราณ

 

ถาม : ผู้หญิงหลังคลอดควรจะอยู่ไฟเมื่อไร
ตอบ :  หลังคลอดธรรมชาติ 7 – 10 วัน
            หลังผ่าตัดคลอด 30 – 45 วัน (ให้แผลผ่าตัดแห้งสนิทก่อนจึงค่อยทำการอยู่ไฟ)


ถาม : ประโยชน์ที่ได้รับจากการอยู่ไฟ

ตอบ : สุขภาพของมารดาแข็งแรงและฟื้นตัวเร็วเป็นการปรับสมดุลของธาตุทั้งสี่ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

ช่วยขับน้ำคาวปลาช่วยทำให้มดลูกแห้งและเข้าอู่เร็วขึ้น ทำให้ท้องยุบเร็ว หน้าท้องไม่ย้วยย้อย สะโพกคงสภาพกลมกลืน เป็นการรักษาเรือนร่าง ให้คงความอรชรสมส่วน

ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณสดใส มีน้ำมีนวล ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

สมุนไพรไฟชุดตำราหลวง ช่วยในการปรับอุณหภูมิร่างกายป้องกันการเกิดตะคริว อาการหนาวสะท้าน ปวดกระดูก ช่วยให้หน้าท้องยุบ กลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วยิ่งขึ้น

ช่วยป้องกัน กลุ่มอาการแทรกซ้อน เมื่อเข้าสู่วัยทอง ได้แก่ อาการหงุดหงิด หนาวสั่น อารมณ์ไม่คงที่ ตลอดจนอาการร้อนวูบวาบ ตามร่างกาย

การนวดเต้านมช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและเป็นการช่วยเสริมสร้างความพร้อมสำหรับมารดาที่ให้นมบุตรด้วยตนเอง

 

ถาม : วิธีการดูแลตัวเองหลังคลอดทำอย่างไร
ตอบ : หลังคลอดมดลูกจะหดตัวกลับมามีขนาดเท่ากำปั้นเหมิอนเดิม พร้อมๆ กับเคลื่อนกลับเข้าที่เดิมซึ่งจะใช้เวลา 12 -15 วัน ในช่วง
ระหว่างนี้ คุณยังต้องไปเข้ารับการตรวจหลังคลอด อยู่อีกระยะหนึ่ง

การตรวจหลังคลอด

ลักษณะคล้ายการตรวจภายใน โดยคุณหมอจะเริ่มจากตรวจสภาพภายนอกก่อนเพื่อดูว่าแผลฝีเย็บ( ในกรณีคลอดเอง ) เป็นอย่างไร
และตรวจดูแผลผ่าตัดหน้าท้อง (ในกรณีผ่าตัดคลอด ) ว่าแผลเป็นอย่างไร มีการปริแตกไหม ติดเชื้ออักเสบหรือไม่ ตรวจเบาหวานดู
ระดับน้ำตาลหลังคลอดจากนั้นจะเป็นการตรวจภายในว่า …

- มดลูกเข้าอู่หรือยัง ซึ่งปกติแล้วแล้วจะใช้ระยะเวลา 4-6 สัปดาห์หลังคลอด

- เช็คมะเร็งปากมดลูก ถุงน้ำที่รังไข่ ปีกมดลูกทั้งสองข้าง

 

ถาม :  หลังคลอดควรมีระยะพักฟื้นเท่าไร

ตอบ : หลังคลอด คุณแม่จะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลก่อน 2-3 วัน เพื่อรอดูอาการข้างเคียง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งคุณหมอจะตรวจ
ดังนี้คือ

- มีอาการไข้ตัวร้อน ซึ่งบ่งบอกว่ามีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่บริเวณแผลคลอด หรือมดลูก

- ยังมีอาการปวดบวมมดลูกอยู่หรือไม่ ซึ่งปกติแล้วอาการดังกล่าวควรจะหายไปภายใน 2 – 3 วันหลังคลอด

- น้ำคาวปลามีสีจางลง และมีปริมาณลดลงหรือไม่ ถ้าพบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น หรือสีไม่จางลงเลย อาจเป็นสัญญาบอกถึงการ
อักเสบของโพรงมดลูก หรือมีเศษรก ตกค้าง อยู่ภายใน

 

ถาม : วิธีการสร้างน้ำนมของแม่เป็นอย่างไร
ตอบ :ปกติแล้วร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะผลิตน้ำนมออกมาเพียงพอสำหรับการเลี้ยงเจ้าตัวเล็กไปนาน เป็นปีเลยทีเดียว แต่ก็มีบ้างที่
คุณแม่บางท่านประสบปัญหาน้ำนมมีน้อย ลองวิธีต่อไปนี้ดูซิคะ

- ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นที่เต้านม ก่อนให้ลูกกินประมาณ 3-5 นาที นวดเต้านมก่อน และในขณะให้นมลูก

- กระตุ้นหัวนมและลานนมเบาๆ

- ให้นมหรือบีบน้ำนมให้ลูกสม่ำเสมอประมาณ 8-12 ครั้ง ใน 24 ชม.

- ดื่มน้ำนมมากๆ โดยเฉพาะในช่วงก่อนให้น้ำนม ควรดื่มน้ำเปล่าสัก 1 แก้วเป็นประจำ

นอกจากนี้อาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ก็มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างน้ำนม ที่เต็มไปด้วยด้วยคุณค่า สารอาหาร ที่มี
ประโยชน์ ต่อการเจริญเติบโต ของทารกน้อยเช่นกัน นมแม่มีภูมิต้านทาน ช่วยป้องกันเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวน้ำนมของแม่ที่
หลั่งออกมา ในช่วงวันแรก หลังคลอดจากการศึกษา น้ำนมแม่จาก สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย พบว่าในน้ำนมแม่ มีสารอาหาร
Nucleotide ( TPAN* 68-72 มก./ลิตร ) ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำหน้าที่เปรียบเสมือนวัคซีนชนิด
แรกที่ลูกจะได้รับจากน้ำนมแม่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันป้องกันโรคต่างๆ

 

 

 
  การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
 

 

การอบสมุนไพร

เป็นการอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้มาจากการต้มสมุนไพรให้ผิวหนังสัมผัสกับไอน้ำ เป็นวิธีบำบัดรักษาอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์ การนั่งกระโจมในหญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจม หรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดคลุมไว้มิดชิด และมีหม้อต้มสมุนไพรซึ่งเดือดสามารถทำให้สามารถอบและสูดดมไอน้ำสมุนไพรได้ ผิวหนังได้สัมผัสไอน้ำด้วย ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ช่วยให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว รูขุมขนเปิด เพื่อขับถ่ายของเสียออกทางผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จะใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทย โดยมากมักใช้หลังการนวดเสร็จแล้ว ช่วยลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดหยุ่นตัว ร่างกายสดชื่น

สมุนไพรที่ใช้ในการอบ

1. สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม : สรรพคุณ เพื่อรักษาโรคผิวหนัง ปวดเมื่อย เช่น ไพล, ขมิ้น
2. สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว : สรรพคุณ ใช้ชะล้างสิ่งสกปรก เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง เช่น ใบมะขาม ใบ, ฝักส้มป่อย
3. สารประกอบที่ระเหยได้ : สรรพคุณ มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ เช่น การบูร, พิมเสน
4. รักษาเฉพาะโรค : สรรพคุณ ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น เหงือกปลาหมอ

สมุนไพรที่ใช้มี 2 ชนิด ดังนี้
1. สมุนไพรสด
2. สมุนไพรแห้ง

ตัวอย่างสมุนไพรสด : พร้อมสรรพคุณ
ไพล : สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
ขมิ้นชัน : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนังสมานแผล
ตะไคร้ : สรรพคุณ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
ใบ - ผิวมะกรูด : สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน
ใบหนาด : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย
ว่านน้ำ : สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
ใบส้มป่อย : สรรพคุณ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
กระชาย : สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ปากแตก เป็นแผล ใจสั่น
ใบเปล้าใหญ่ : สรรพคุณ ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว

ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง : พร้อมสรรพคุณ

เหงือกปลาหมอ : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพอง
ชะลูด : สรรพคุณ แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย ดีพิการ
กระวาน : สรรพคุณ แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว
เกษรทั้งห้า : สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
สมุนแว้ง : สรรพคุณ แต่งกลิ่น

ขั้นตอนการอบสมุนไพร
1. วัดความดันโลหิตก่อนทำการอบสมุนไพร
2. นำน้ำประพรมร่างกาย หรืออาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ตามรูขุมขนและเพื่อเป็นการ เตรียมเส้นเลือดให้พร้อมต่อการยืดขยาย และหดตัว แล้วแต่งกายด้วยเสื้อผ้าน้อยชิ้น
3. เข้าทำการอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที กรณีผู้ไม่เคยอบ ควรอบ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที
4. เมื่อครบจำนวนนาที ไม่ควรอาบน้ำทันที ต้องออกมานั่งพักให้เหงื่อแห้ง แล้วจึงอาบน้ำเพื่อชำระคราบเหงื่อไคลและสมุนไพร และช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงเป็นปรกติ
5. เมื่อทำการอบจนครบขั้นตอนแล้วควรปฏิบัติดังนี้
- ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่
- บันทึกการอบสมุนไพรไว้ทุกครั้งเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อเนื่องต่อไป

 รคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
1. โรคภูมิแพ้
2. โรคหอบหืดที่อาการไม่รุนแรง
3. เป็นหวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่แห้งคัน
4. โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่
5. โรคอื่นๆ ที่สามารถใช้การอบร่วมกับการรักษาแบบต่างๆ
6. เป็นการส่งเสริมสุขภาพ และมารดาหลังคลอด

ข้อห้ามในการอบสมุนไพร
1. มีไข้สูง
2. โรคติดต่อร้ายแรง
3. โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืดระยะรุนแรง ลมชัก
4. สตรีขณะมีประจำเดือน
5. มีการอักเสบจากบาดแผลเปิดและแผลปิด
6. อ่อนเพลีย อดอาหาร อดนอน หลังรับประทานอาหารใหม่
7. ปวดศีรษะ ชนิดวิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้

 
 
 
 
 
 
 
ที่มาของบทความ: สร้างโดย: นางสาวลัทธวรรณ เพ็ชรทอง และคุณครูศศนันท์ กฤษณะวนิช โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย จ.กรุงเทพฯ