.
 สถานะของเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :5/2/2013
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :18/5/2016
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :896252
พ่อคับ แม่ขา ยานะไม่ใช่ขนม
บทความ ณ. วันที่ : 18/11/2009        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 675 ครั้ง   

พ่อคับ แม่ขา...ยานะไม่ใช่ขนม!

คุณหมอเด็กยืนยันว่าโรคพื้นฐานบางอย่างของลูก พ่อแม่ดูแลรักษาเองเบื้องต้นได้ก็จริง แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังที่สุดคือการใช้ยา...ก็ลูกยังเล็กนัก และยาก็ไม่ใช่ขนมที่ซื้อทานเองได้ง่ายๆ
ผมเป็นหมอเด็ก รู้ดีครับว่ายามใดที่ลูกน้อยเจ็บป่วยไม่สบาย พ่อแม่จะมีความวิตกกังวลสูง เรียกว่าถ้าเป็นแทนได้ก็อยากจะเป็นแทนเลยทีเดียว แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ศึกษาดูดีๆ แล้วจะพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและโรคพื้นๆ ของลูกไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไปนัก สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ด้วยครับ

โรคที่ลูกเป็นส่วนใหญ่มักเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอย่างบ้านเรา เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอัตราป่วยและตายสูงสุด โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเสี่ยง อย่างเด็กที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อย มีภาวะทุพโภชนาการ เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ถูกเลี้ยงในเนิร์สเซอรี่หรือช่วงไปโรงเรียนใหม่ๆ นอกจากนี้ยังเกิดจากปัจจัยยอดฮิตในสังคมเมืองเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน การสัมผัสกับควันบุหรี่ มลภาวะรอบตัว และโรคภูมิแพ้ซึ่งมีมากขึ้นทุกที

ยาหลักๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักจึงเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคเหล่านี้ โรคหวัด คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมอะดีนอยด์โตและอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หืด หลอดลม หรือแม้แต่ปอดอักเสบครับ

ดูก่อนเป็นโรคจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ก่อนอื่น หมออยากอธิบายถึงโรคกว้างๆ ดังนี้ครับว่า

ถ้าเป็นโรคในกลุ่มไวรัสจะเป็นการรักษาตามอาการครับ เช่น ถ้าไอ ก็ให้ยาละลายเสมหะ ถ้ามีไข้ก็ให้ยาลดไข้ ถ้ามีน้ำมูก อาจต้องให้ยาลดน้ำมูก แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียนอกจากการรักษาตามอาการแล้ว หมอยังต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในขณะที่ถ้าติดเชื้อไวรัสไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

โดยทั่วไปแล้ว เกือบทั้งหมดของเด็กที่ป่วยจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีมากกว่า 200 ชนิด ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะในความเป็นจริง จึงมักใช้ใน 2 กรณีเท่านั้นคือ

1. เมื่อมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแบคทีเรียทั้งจากประวัติและตรวจร่างกาย หรือมีการวินิจฉัยเพิ่มเติมแล้ว เช่น มีผลเลือดมาพิสูจน์กัน

2. กรณีลูกเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะลุกลามจนมีภาวะแทรกซ้อนได้ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
คุณพ่อคุณแม่ดูได้ไม่ยากหรอกครับ เพราะอาการที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อไวรัส ได้แก่การมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูกใส เด็กเล็กจะมีจมูกตันจนหายใจลำบาก มีเสียงครืดคราดเวลาหายใจ อาจมีอาเจียนหรืออุจจาระร่วงร่วมด้วย ตาแดง ไอเสียงแหบ มีผื่นคันตามตัว อาจเจ็บคอ แต่ไม่ถึงกับกลืนแล้วเจ็บ กลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่รักษาตามอาการไปก่อนได้ครับ

ไม่ใช้ยาก็ช่วยบรรเทา-รักษาได้
(อาจแยกจัดเป็นกรอบเฉพาะเพื่อเน้น) ถ้าอาการติดเชื้อไม่รุนแรงก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็ได้ การปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมก็ช่วยได้มากครับ โดย...

* ให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างพอเพียง โดยให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ

* ให้ลูกกินอาหารอ่อนๆ ครั้งละน้อยๆ อย่าลืมว่าการได้รับสารอาหารจะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

* ทำให้เสมหะหรือน้ำมูกไม่คั่งค้าง ไม่อุดกั้นทางเดินหายใจ โดยการดื่มน้ำมากๆ การทำกายภาพบำบัดทรวงอก (หรือเคาะปอด) เพื่อช่วยระบายเสมหะ ถ้าลูกไม่มีไข้ก็ควรสวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น ถ้าเสมหะยังเหนียวและขับออกลำบากอาจจะให้ยาละลายเสมหะและอาจให้สูดดมละอองไอน้ำจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

* พยายามป้องกันลูกจากควันบุหรี่หรือมลพิษในอากาศ เพราะจะเกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจ และต่อมขับมูกจะทำงานมากกว่าปกติ

สารพัดสารพันยาที่ต้องใช้บ่อย
ทีนี้มาถึงยาที่คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสจะได้ใช้กับลูกบ่อย ๆ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ยาขยายหลอดลม ยาปฏิชีวนะ...มาดูกันครับว่ายาเหล่านี้เป็นยาที่มีสรรพคุณอย่างไร ใช้เมื่อใด มีผลข้างเคียงอย่างไร เมื่อใช้แล้วต้องมีข้อปฏิบัติอย่างไร ทั้งข้อควรระวังในการใช้ยามีอะไรบ้าง แล้วถ้าไม่ใช้ยาเหล่านี้ล่ะ..เราจะทำอย่างไรทดแทนได้บ้าง

* ยาลดไข้ ยากลุ่มนี้มีตัวยาหลัก ๆ อยู่ 3 ตัวด้วยกันได้แก่ พาราเซตามอล (Paracatamol) แอสไพริน (Aspirin) และไอบูโปรเฟน(Ibuprofen) โดยรวมแล้ว ยาลดไข้ใช้เมื่อมีไข้ ซึ่งลูกอาจมีไข้สูงใน 2-3 วันแรกของโรค แต่มีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้ไข้ลดลงด้วย ได้แก่ การเช็ดตัว (ซึ่งควรใช้น้ำประปา หรือน้ำพออุ่นเช็ดตัวลูกโดยมีทิศทางการเช็ดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมุ่งสู่หัวใจ) การดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้มีเหงื่อและปัสสาวะที่เพียงพอจะได้ระบายไข้ได้ การเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ที่ไม่หนา การไม่อยู่ในห้องที่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป กรณีการชักเนื่องจากไข้มักชักใน 24 ชั่วโมงแรกหลังไข้สูง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง ควบคุมอาการไข้และใช้ยาลดไข้อย่างเคร่งครัดใน 24 ชั่วโมง ยาแต่ละตัวมีคุณสมบัติดังนี้

พาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ประสิทธิภาพการลดไข้ โดยรวมแล้วไม่แตกต่าง แต่เด็กแต่ละคนให้ผลไม่เท่ากันได้
เริ่มออกฤทธิ์ลดไข้ 30 นาที-1ชม. 30นาที-1ชม. 3นาที-1ชม. ระดับยาสูงสุดในร่างกาย ประมาณ 2 ชม. ประมาณ 2 ชม. ประมาณ 2 ชม. ออกฤทธิ์อยู่นาน 4-6ชม. 4-6ชม. 6ชม. ฤทธิ์อื่นๆ มีฤทธิ์แก้ปวดด้วย ฤทธิ์บรรเทาอาการ ฤทธิ์แก้ปวดจากการ (แต่ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด เจ็บปวดได้ดี อักเสบดีกว่ามากจากการอักเสบเลย)

ผลแทรกซ้อนและ เกิดขึ้นน้อยส่วนใหญ่ พบได้ เช่น ท้องไส้ปั่น พบน้อย แต่อาจระคาย

ผลข้างเคียง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน ป่วน ระคายกระเพาะ กระเพาะได้ ดังนั้น สะสม 200-250mg/kg เลือดออกในกระเพาะ ต้องดื่มน้ำตามมากๆ หรือใช้ยาในระยะเวลา หรือแผลในกระเพาะ นานๆหลายๆวันต่อเนื่อง แต่ต้องใช้ติดต่อกันเป็น กันอาจมีผลต่อตับไตและ ระยะเวลานานๆ เกิดผื่นตามตัวได้

รูปแบบยา น้ำเชื่อม เม็ด เม็ด เหน็บทวาร น้ำเชื่อม เม็ดข้อห้ามใช้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา โรคกระเพาะ โรคเลือด โรคกระเพาะ อะไร ที่หยุดยาก โรคซีดจาการ โรคเลือดที่เลือด ขาดG6PD ผู้ป่วยที่กำลัง ออกง่าย ไข้เลือด จะรับการผ่าตัดภายใน ออก เวลา 1 สัปดาห์ โรคไข้เลือดออก อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่

ควรใส่ใจหมอขอเน้นนะครับว่า การใช้ยาลดไข้จะมีความสำคัญมากใน 24 ชม.แรกหลังมีไข้สูงเนื่องจากลูกอาจชักเพราะไข้สูงได้ หลังจากนั้นการใช้ยาลดไข้จะใช้ในกรณีที่มีไข้ซึ่งบางครั้งถ้าไข้ต่ำๆ ลูกไม่งอแง อาจใช้เพียงการเช็ดตัว ใส่เสื้อผ้าบางๆ การดื่มน้ำมากๆ ก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากโรคบางโรคถ้าผู้ปกครองให้ยาลดไข้พร่ำเพรื่อเกินไป อาจทำให้การวินิจฉัยและการติดตามโรคทำได้ยากขึ้นโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นต้น และถ้า 2-3 วันแล้วไข้ยังไม่ลด ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง ยิ่งถ้าลูกไม่มีอาการไอ และไม่มีน้ำมูก 2-3 วัน ยิ่งควรรีบไปพบแพทย์เลยครับ






เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน
©2008-2010 SABUYJAISHOP All Rights Reserved