UA-45803544-1
.
ตะกร้า [0]
เลือกภาษา
วันที่สร้างเว็บ :4/11/2009
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :6/3/2024
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :4413661
ร้านค้าจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กโทรนิคแล้ว
Circuit Breaker
บทความ ณ. วันที่ : 7/3/2010        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 3149 ครั้ง   

 

คำจำกัดความ

circuit breaker หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำงาน เปิดและปิดวงจรไฟฟ้า แบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแสไหลผ่าน เกินกว่าค่าที่กำหนด โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น

Circuit Breaker แรงดันต่ำ

หมายถึง breaker ที่ใช้กับแรงดันน้อยกว่า 1000 volt แบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่

Mold case circuit breaker

หมายถึง breaker ที่ถูกห่อหุ้มมิดชิดโดย mold 2 ส่วน มักทำด้วย phenolic ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถทนแรงดันใช้งานได้ breaker แบบนี้ มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือทำหน้าที่เป็นสวิทซ์เปิด-ปิดด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือเกิดลัดวงจร โดย breaker จะอยู่ในภาวะ trip ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างตำแหน่ง ON และ OFF เราสามารถ reset ใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่ ในตำแหน่ง OFF เสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่ง ON การทำงานแบบนี้เรียกว่า quick make , quick break ลักษณะของ breaker แบบนี้ที่พบเห็นโดยทั่วไปคือ

molded case circuit breaker ที่พบบ่อยในท้องตลาดมี 2 ประเภทคือ Thermal magnetic CB. และ Solid state trip CB.

Thermal magnetic molded case circuit breaker

breaker แบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ

molded case circuit breaker ที่พบบ่อยในท้องตลาดมี 2 ประเภทคือ Thermal magnetic CB. และ Solid state trip CB.

Thermal magnetic molded case circuit breaker

breaker แบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ

  • Thermal unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อมีกระแสไหลเกินอันเนื่องมาจากการใช้โหลดมากเกินไป ลักษณะการทำงานดูได้จากรูป

เมื่อมีกระแสเกินไหลผ่านโลหะ bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์ ทางความร้อน ไม่เท่ากัน) จะทำให้ bimetal โก่งตัว ไปปลดอุปกรณ์ทางกล และทำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ trip การปลดวงจรแบบนี้ ต้องอาศัย เวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับ กระแสขณะนั้น และความร้อน ที่เกิดขึ้นจนทำให้ bimetal โก่งตัว

  • Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจรหรือมีกระแสค่าสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไป ไหลผ่าน กระแสจำนวนมากจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การปลดวงจรทำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมาก โอกาสที่ breaker จะชำรุดจากการตัดวงจรจึงมีน้อยกว่า

  • Solid state trip or Electronic trip molded case circuit breaker เป็น breaker ชนิดหนึ่งที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่วิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร

จาก diagram จะเห็นว่ามี CT อยู่ภายในตัว breaker ทำหน้าที่ แปลงกระแส ให้ต่ำลง ตามอัตราส่วนของ CT และมี microprocessor คอยวิเคราะห์กระแส หากมีค่าเกินกว่าที่กำหนด จะสั่งให้ tripping coil ซึ่งหมายถึง soliniod coil ดึงอุปกรณ์ทางกลให้ CB. ปลดวงจร

ที่ด้านหน้าของ breaker ชนิดนี้จะมีปุ่มปรับค่ากระแสปลดวงจร , เวลาปลดวงจร และอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้ง อุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า amp meter & fault indicator ซึ่งสามารถแสดงสาเหตุการ fault ของวงจรและค่ากระแสได้ ทำให้ทราบสาเหตุของการปลดวงจรได้

โครงสร้างและส่วนประกอบของเบรคเกอร์

  • name plate ปรากฏที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของเบรคเกอร์ โดยมักกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเบรคเกอร์นั้นๆ เช่น จำนวนขั้ว, แรงดัน, กระแส ในส่วนของกระแสจะระบุ 3 จำนวน ประกอบด้วย ampere trip , ampere frame และ interrupting capacity
  • arcing chamber บางครั้งเรียกว่า arc chute มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่เหนือหน้าสัมผัส (contact) ของเบรคเกอร์ ทำหน้าที่ช่วยดับอาร์ก
  • หน้าสัมผัส (contact) นิยมทำด้วยทองแดงเคลือบผิวหน้าด้วยเงินเพื่อให้ทนต่อเปลวอาร์กได้ดี ประกอบด้วย fixed contact และ movable contact
  • กลไกตัดวงจร สำหรับเบรคเกอร์ขนาดเล็กทั่วไป แบ่งเป็นอาศัยความร้อนและอาศัยอำนาจแม่เหล็ก แบบอาศัยความร้อน ใช้หลักการโก่งตัวของโลหะ bimetal เพื่อปลดกลไก ส่วนแบบอาศัยอำนาจแม่เหล็ก ใช้แรงดึงดูดของแม่เหล็กไฟฟ้าของขดลวด ที่กระทำต่อแผ่นโลหะ เพื่อปลดกลไก

การวิเคราะห์กระแสของ Electronic trip CB. มี 2 วิธีคือ

  • Peak sensing เป็นการบันทึกค่ากระแสสูงสุด ( Ipk) ที่ไหลผ่านเบรคเกอร์แล้วนำมาคำนวณหากระแส RMS แต่วิธีนี้จะวัดได้ถูกต้อง เมื่อสัญญาณคลื่นกระแสเป็น sinusoidal เท่านั้น
  • True RMS sensing วิธีนี้ใช้การ sampling สัญญาณของกระแสที่ไหลผ่านเบรคเกอร์เป็นช่วงๆ เพื่อหาค่า RMS ในแต่ละช่วงแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เป็นกระแส RMS ดังรูป ซึ่งสามารถนำไปใช้กับรูปคลื่นกระแสที่ไม่เป็น sinusoidal เช่นอุปกรณ์ที่ให้กำเนิด harmonic จำพวกเครื่องเชื่อมไฟฟ้า , มอเตอร์ , converter เป็นต้น

   ตัวอย่างเปรียบเทียบการทำงานของเบรคเกอร์ที่วิเคราะห์กระแสแบบ True RMS sensing กับ Peak sensing

        

ถ้ารูปคลื่นมีลักษณะดังรูป และหากใช้ CB. ชนิด Peak sensing   จะอ่านค่าได้มากกว่า ความเป็นจริง ทำให้ CB. ตัดวงจรเร็วเกินไป

 

ถ้ารูปคลื่นมีลักษณะดังรูป และหากใช้ CB. ชนิด Peak sensing    จะมองเห็นกระแสต่ำกว่า ความเป็นจริง ทำให้เบรคเกอร์ตัดวงจรช้า หรือไม่ตัดวงจร