.
 สถานะของเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :1/11/2012
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :21/9/2013
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :263118
ภัยร้าย เมื่อ SMART PHONE หาย และวิธีป้องกัน
บทความ ณ. วันที่ : 1/1/2013        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 492 ครั้ง   

 

บริษัท Symantac ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์หรือที่ทุกท่านรู้จักกันดีในชื่อโปรแกรม Norton Antivirus นี้เอง ได้ทำโครงการวิจัยThe Symantec Smartphone Honey Stick Project ซึ่งสำรวจวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนหาย ซึ่งพบว่าเพียงแค่ 50 % ของผู้ที่เก็บได้เท่านั้นที่มีความพยายามที่จะส่งคืนเข้าของ และ 96% ของมือถือที่หายไป จะถูกผู้ที่เก็บได้เข้าถึงข้อมูลต่างๆที่อยู่ในเครื่องนั้น!….

โดยผลลัพธ์งานวิจัยนี้มาจากการที่ทีมงาน Symantec ทิ้งมือถือสมาร์ทโฟน 50 เครื่องตาม 5 เมืองของอเมริกาและแคนาดา โดยทิ้งตามแหล่งที่มีคนไปมาจำนวนมาก เช่น ลิฟท์ ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ และสถานีขนส่งสำคัญ และภายในมือถือที่แอบทิ้งไว้มีโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์คอยติดตามตรวจสอบการใช้งานมือถือจากระยะไกลติดตั้งไว้ด้วย

-6 คนจาก 10 คนของผู้ที่เก็บได้ จะพยายามเข้าถึงข้อมูลพวก Social network และ e-mail ของเจ้าของเครื่องที่อยู่ในเครื่องนั้นๆ อันนี้อันตราย ไม่ใช่แค่เค้าจะล้วงความลับคุณได้ แต่คุณยังอาจถูกสวมรอยเป็นตัวคุณได้ง่ายๆอีกด้วย

- 8 คนจาก 10 คนของผู้ที่พบสมาร์ทโฟน จะพยายามเข้าถึงข้อมูลธนาคารของเจ้าของเครื่อง

- ผู้ที่พบสมาร์ทโฟนบางคนพยายามหาทางใช้แอพบนมือถือเพื่อทำการ Remote Acess ระยะไกล

 

ถ้าเค้าสามารถเข้า email ของเราได้:เข้า email เราได้แล้วไง? email address ของเราทุกวันนี้ทำหน้าที่เหมือน Address(ที่อยู่)ของเราจริงๆคือไม่ว่าเราจะสมัคร บริการ Online อะไรที่ไหน ไม่ว่าคุณสมัครเว็บอะไร สิ่งที่คุณต้องใช้ก็คือ … ก็คือ … ก็คือ ”email นั่นเอง” ถูกต้องแล้วครับแล้วบริการ Online พวกนี้ก็สามารถให้เราทำการ Reset หรือเปลี่ยน password ได้โดยการส่ง Password ใหม่เข้าไปใน email ของเรา , หรือทำการส่ง Link เข้าไปใน email ของเราแล้วให้เราเข้า Link ไปใส่ Password ใหม่ตามใจ … ถ้าคนที่ได้มือถือเราไปทำการ Reset password ตามที่เค้าต้องการได้ละก็ปวดหัวแน่

Facebook – แน่นอน ข้อมูลส่วนตัวทุกอย่าง รูปเรา ที่อยู่เรา ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้หญิงด้วยยิ่งอันตรายไปใหญ่

Paypal – บริการจ่ายเงิน Online เพียงแค่ใส่ email กับ Password เราเค้าก็สามารถซื้อของที่ไหนก็ได้

ถ้าเค้าสามารถเข้าไปดูข้อมูล Note ที่เราจดรายละเอียดส่วนตัวที่สำคัญ:เช่น เลขที่บัญชีธนาคาร, username และ password ของ iBanking ต่างๆ, รหัสบัตร ATM, รหัสบัตรเครดิต, เว็บต่างๆ … ยิ่งถ้าเค้ามีบัตรเราอยู่ในมือยิ่งอันตรายไปใหญ่


แล้ววิธีการป้องกันหล่ะ จะทำกันอย่างไงกันดี
1. สำหรับคนกลัว Contact หายให้ทำ Contact sync กับ Google(Gmail) ตอน add account Gmail ตอนแรกจะ set default ให้ sync contact ซึ่งข้อดีของมันคือ จะเก็บของมูลโทรศัพท์ หรือ email ของเพื่อไว้ใน Gmail account ของเรา ซึ่งมือถือหายข้อมูลพวกนี้ไม่ได้หายไปกับเครื่องด้วย
2. ไม่จดรหัสสำคัญไว้ในถือถือ:ให้ใช้วิธีจำเอาทำได้ไงมีตั้งหลายบัญชี มีตั้งหลายธนาคาร มีตั้งหลายเว็บไซด์ … อ่านนี่“ตั้ง Password อย่างไรให้ปลอดภัยและจำได้” , วิธีทางเลือกก็คือให้จดไว้ใน App ที่ต้องใส่รหัสผ่านถึงจะเปิดดูได้อีกทีแต่โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบเพราะว่าถ้ารหัสผ่านอันนั้นถูกแก้ได้แล้ว ข้อมูลเราทั้งหมดก็รั่วอยู่ดีวิธีที่ดีที่สุดก็คือไม่ต้องจด ใช้จำเอา

3. ตั้งให้มือถือเราต้องใส่รหัสผ่านก่อนเข้าใช้งานได้:

iPhone: เข้าไปที่ Settings/General/Passcode lock

Android: เข้าไปที่ Settings/Location & security/ Set up screen lock แล้วก็เลือกว่าเราอยากจะ lock แบบใช้ Pattern หรือแบบใช้ PIN หรือ แบบใช้ Password

4. ต้องตั้งให้มือถือลบข้อมูลทุกอย่างเลยถ้ามีการใส่รหัสผิดหลายๆครั้ง:แค่ตั้งรหัสผ่านก็ยังไม่พอ เพราะถ้าเค้าเกิดนั่งไล่หารหัสไปเรื่อยๆ เดี๋ยววันนึงเค้าก็เปิดได้เองแหละ เพราะฉะนั้นควรจะลบข้อมูลไปเลย ปลอดภัยที่สุด

iPhone: เข้าไปที่ Settings/General/Passcode lock เลือก Erase Data ให้เป็น On : ทีนี้ถ้ามีใครใส่ Password เกิน 10 ครั้ง ข้อมูลทุกอย่างในเครื่องเราก็จะถูกลบ
Android: ใน Android OS เองทำแบบนี้ไม่ได้ มีแต่ถ้าใส่ผิด 5 ครั้ง ก็จะให้เรารอสักพัก แต่สุดท้ายก็ใส่ใหม่ได้ … แนะนำให้ใช้ App ชื่อว่า Autowipe แทน(ฟรี) หรือเจ้า Lookout Security & Antivirus 

Mamipoko  9th, May 12

Credit : คุณ Eak500 แห่ง Techz500 (ผมได้เพิ่มเติ่มของมูลบางส่วน)

            แปลจาก Deborah Netburn, LA Tim






เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน
©2008-2010 SABUYJAISHOP All Rights Reserved