.
ตะกร้า [0]
วันที่สร้างเว็บ :24/12/2010
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :3/10/2013
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :174877
แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
บทความ ณ. วันที่ : 2/12/2011        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 398 ครั้ง   

 

แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่สองเกิดจากการที่ร่างกายเรา ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งคือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน คำถามที่มักจะได้ยินผู้ป่วยเบาหวานถามคือ "จะรับประทานอะไรได้บ้าง"ซึ่งแพทย์ก็จะแนะนำให้ลดอาหารหวาน ลดมันและมีอาหารต้องห้ามอีกหลายรายการ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทราบว่าอาหารประเภทไหนไม่ควรรับประทาน ปัญหาคือผู้ป่วยขาดความมีวินัยนั้น

มหาวิทยาลัย Harvard ได้แนะนำวิธีรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานดังนี้

  1. ให้รับประทานอาหารหลากหลาย ไม่มีอาหารประเภทใดที่ดีสำหรับโรคเบาหวาน ต้องรับประทานอาหารหลากหลายเพราะจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
  2. รับอาหารพวกผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ส่วนพวกเนื้อสัตว์ให้ลดลง
  3. รับประทานอาหารสด หรือทำเอง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนทั้งหลาย
  4. ส่วนอาหารมันให้หลีกเลี่ยง ลดเนื้อสัตว์ ลดหนังสัตว์ นม ให้ใช้นมพร่องมันเนย stick margarine อาหารทอด ของทอดขนมขบเคี้ยว หลีกเลี่ยงอาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน tranfatty acid หากจะใช้น้ำมันให้ใช้น้ำมันมะกอกแทน
  5. อาหารจำพวกแป้งต้องเลือกรับประทาน หลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ขนมปัง หากรับขนมปังควรเลือกชนิด whole grain
  6. ดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 3 แก้ว
  7. รับประทานโปรตีนพอควรโดยเลือกโปรตีนจากเนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนัง และโปรตีนที่มีจากถั่วต่างๆ เต้าหู้
  8. ลดอาหารเค็มโดยบริโภคเกลือไม่เกิน 2300 มกต่อวันโดยการลดเครื่องปรุสรส เช่นซี่อิ้ว ซ้อส เกลือ ของดอง ซอสมะเขือเทศ ของขบเคี้ยว
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซี่ยมเพิ่มซึ่งพบในอาหาร ผัก ผลไม้ รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม เช่น นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว
  10. รับประทานอาหารธัญพืช ข้าวกล้องอย่างน้อยวันละ 6 ออนซ์(ธัญพืช 1 ถ้วย,ข้าวครึ่งถ้วยเท่ากับ 1 ออนซ์) ยิ่งรับประทานมากยิ่งดี
  11. รับประทานผักเพิ่มโดยเฉพาะผักใบเขียว และใบเหลือง โดยให้มีผักทุกมื้อ
  12. รับประทานผลไม้เพิ่ม(ต้องระวังผลไม้ไทยเพราะหวานมาก)
  13. รับประทานปลาเพิ่มน้อยสี่ตรั้งต่อสัปดาห โดยนำไปย่าง อบหรือ ต้ม
  14. หากท่านชอบเนื้อต้องลดปริมาณลง และรับอย่าถี่ไป ให้ใช้เนื้อไก่แทน
  15. ส่วนเรื่องไข่ที่ถามกันบ่อย ให้รับประทานเท่าที่จำเป็นโดยไม่มากกว่าปริมาณไข่ขาวหนึ่งฟองต่อวัน
  16. รับประทานถั่วซึ่งมีหลักฐานว่าลดการเกิดโรคหัวใจ แต่ระวังน้ำหนักเพิ่ม
  17. ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก แทนน้ำมันปามล์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ
  18. ดื่มสุราไม่เกิน 1-2 drink)์( Count 5 ounces of wine, 12 ounces of beer, or 1½ ounces of liquor as one drink)
  19. ปรับอาหารและการออกกำลังเพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่
  20. ที่สำคัญคืออย่าไปเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้มีการพิสูจน์

ถึงตอนนี้หวังว่าท่านคงจะตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ที่สำคัญต้องมีวินัยต่อตนเองนะครับ