.
 สถานะของเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :26/8/2011
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :17/3/2014
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :57440
สรรพคุณของสมุนไพรตังกุย
บทความ ณ. วันที่ : 27/9/2011        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 10529 ครั้ง   

"ตัง กุย” หรือในตำรับยาไทยเรียกว่า “โกฐเชียง” ในตำรับยาสมุนไพรจีนตังกุยเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันดี

และนิยมใช้กันอย่างมากเช่นเดียวกับโสม ถั่งเฉ้า และเห็ดหลินจือสูตรอาหารสมุนไพรจีนที่เก่าแก่ที่สุด

ที่จารึกไว้ในเอกสารโบราณคือ น้ำตังกุยหลีซื้อ มาตุ๋นแล้วกินเป็นกับข้าวได้เลยตามสรรพคุณตังกุย

จะได้มาจากส่วนรากของพืชวงศ์อัมเบลลิเฟอรี่ (Umbelliferae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าแองเจลิก้า

ไซเนนซิส (Angelica sinensis (Olive) Diels.) เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม รสหวานออกขมเล็กน้อย

จัดอยู่ในกลุ่มพืชสมุนไพรที่มีรสอุ่น กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต บำรุงโลหิต ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

และแก้ปวด

           โดยทั่วไปแล้ว ตังกุยก็เช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ คือ ถ้าใช้ในปริมาณที่ปกติก็ไม่พบอันตรายอะไร

แม้ในบางคนที่ได้รับตังกุยแล้วเกิดอาการผิดปกติ เมื่อหยุดยาอาการดังกล่าวก็มักจะหายไปแต่ก็ไม่ได้

หมายความว่าจะปลอดภัยเสียเลยทีเดียว ถ้าร่างกายได้รับสารในปริมาณมาก

ส่วนจะมากเท่าใดนั้นคงจะยากที่จะตอบ แต่จากการทดลองในสัตว์ โดยใช้สารสกัดด้วยน้ำปริมาณ 0.3-0.9

กรัมต่อน้ำหนักตัว 10 กรัม ฉีดเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะมีผลทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตลดลง

และกดการหายใจ และเมื่อได้รับสารมากขึ้นก็จะแสดงอาการมากขึ้นต่จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่พบว่ามีผู้ใด

ได้รับอันตรายร้ายแรงจากการรับประทาน ตังกุยเลย

        ถ้าดูจากสรรพคุณดั้งเดิมที่ว่า ตังกุยเป็นยาที่ใช้สำหรับบำรุงร่างกายทั่วไปและบรรเทาอาการปวดเมื่อย

ต่างก็น่าจะใช้ได้ดีทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะการมุ่งหวังเพื่อเป็นยาบำรุงร่างกาย เพราะในรากตังกุย

นอกจากจะมีวิตามินบี12 ในปริมาณมาก (0.25-0.4ไมโครกรัม/100 กรัม ของน้ำหนักรากแห้ง) ยังมีสารโฟลิค

และไบโอติน ซึ่งมีผลต่อการสร้างปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกาย จึงนิยมใช้เป็นยาบำรุงโลหิต

 

ยิ่งกว่านั้นยังมีการทดลองที่พบและแสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่ได้รับสารสกัดจากรากตังกุยจะมีขนาดและน้ำหนัก

ของตับและม้ามเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (macrophage)

ในการทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายได้ดีขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับซึ่งจะส่งผลถึง

การสร้างระบบภูมิต้านทาน ของร่างกายที่ดีขึ้นแต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังมีข้อมูลค่อนข้างจำกัดคงต้องรอ

ผลการวิจัยต่อไป
        ผลต่อหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต พบว่าตังกุยจะเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของโลหิต

ในหลอดเลือดหัวใจ และกระแสโลหิตในร่างกายได้โดยการทำให้หลอดเลือดขยายตัวมีผลต่อการเต้น

ของหัวใจ ทำให้ความดันสูงขึ้น

        นอกจากรายงานที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรายงานการวิจัยถึงสรรพคุณของตังกุยอื่นที่น่าสนใจอีกมาก

เช่น เป็นสารต้านการเจริญของจุลินทรีย์บางชนิด ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง เช่น แก้อาการคัน ใช้เป็นยาแก้หืด

ยาแก้ปวดใช้ลดไขมันในโลหิต โดยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลเป็นการป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

และต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด

       ในช่วงนี้วงการแพทย์แผนปัจจุบันต่างหันมาสนใจให้ความสำคัญต่อสมุนไพรมากขึ้น

และยังคงมีการศึกษาวิจัยหาคุณประโยชน์ของสมุนไพรกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง

เพื่อค้นหาความลับในการรักษาและบำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างรวมทั้งเคล็ดลับในการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง

เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดียิ่งขึ้น

 

(ที่มา : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา)

กลับสู่หน้าหลัก

 






เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน
©2008-2010 SABUYJAISHOP All Rights Reserved