.
 สถานะของเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :15/9/2009
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :18/1/2017
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :839043
การรักษาสิว
บทความ ณ. วันที่ : 19/3/2012        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 3443 ครั้ง   

 

การรักษาสิว

การรักษาสิวอุดตัน

1. ครีมทาสิวอุดตันกลุ่ม Tretinoin (Retin-A) เป็นยาที่เหมาะสมและใช้กันแพร่หลาย มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ตั้งแต่ 0.025-0.1% อาจอยู่ในรูปของครีม เจล หรือน้ำ โดยพบว่ายิ่งความเข้มข้นสูง ยิ่งละลายสิวอุดตันได้ดี แต่ก็จะระคายเคืองผิวหน้า และทำให้ผิวหน้าแห้งเป็นขุย ถ้าความเข้มข้นสูง แต่การละลายเคืองอาจน้อยลง ถ้าล้างหน้าก่อนทายา 10-15 นาที
2. ยารับประทานกลุ่ม retinoids เช่น Roaccutane,Isotretionoin ช่วยลดปัญหาผิวมัน และละลายสิวอุดตันได้ดี ทั้งที่ใบหน้าและสิวตามลำตัว
3. ยาลอกขุย (Keratolytic agents) และยาทำให้ผิวแห้ง เช่น Salicylic acid, Resorcinol,Sulphur,Aluminium oxide มักช่วยลอกขุย และทำให้สิวแห้งและหลุดออก มักใช้เป็นส่วนผสมของแป้งน้ำทาสิว( acne lotions)
4. การกดสิวอุดตันควรทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น
5. การทำ Peeling ด้วย 30-50% TCA,PHA จะช่วยทำให้ผิวหน้าแห้งลง ผนังสิวบางลง ทำให้สิวอุดตันฝ่อตัว และหลุดออกได้ง่าย
6. การทำ Iontophresis มักใช้ร่วมกับยากลุ่ม Tretionoin เพื่อช่วยผลักยาให้ซึมลงลึกไปละลายสิวอุดตันได้ดีกว่า การทายาปกติ

การรักษาสิวเสี้ยน

1. กรดวิตามินเอ: ที่มีบทบาทมากในการรักษาสิวเสี้ยน คือ ซึ่งมีคุณสมบัติในการเข้าไปละลายการอุดตันของต่อมไขมัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne จึงป้องกันและทำให้สิวเสี้ยนหลุดออกได้ง่าย อาจจะใช้ในรูปของยาทา หรือทำไอออนโตด้วยกรดวิตามินเอ ทากรดวิตามินเอเฉพาะบริเวณจมูก หน้าผาก หรือคางที่มีสิวเสี้ยน แล้วทิ้งไว้ 5-10 นาที หรืออาจทิ้งไว้นานกว่านี้ได้ถ้าไม่มีอาการดังกล่าว บางครั้งอาจจะผสม ไลโปโซม ซึ่งลดการระคายเคืองของกรดวิตามินเอ ทำให้สามารถทาทิ้งไว้ทั้งคืนได้ สะดวกในการใช้มากขึ้น
2. Chemical Peeling : เป็นแนวทางการรักษาอีกวิธีหนึ่งกรณีที่กรดวิตามินเอไม่สามารถทำให้หลุดได้หมด โดยใช้สารเคมีพิเศษ เช่น TCA,AHA,BHA เพื่อลอกผิวหน้า เปิดรูขุมขนหรือรูสิวเสี้ยน เพื่อง่ายต่อการกดออก หรือดึงออกด้วยครีมคีบสิวเสี้ยน


3. Scottape technique โดยอาจจะอยู่ในรูปของแผ่นแปะจมูกที่เคลือบสารที่ทำให้ติดแน่น แปะที่จมูกและทิ้งไว้ระยะหนึ่ง แล้วค่อยดึงออก แต่ก็มีข้อจำกัด คืออาจจะทำให้แพ้สารเคมีนี้ได้ และกำจัดสิวเสี้ยนได้ไม่หมด และไม่สามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้ทุกที่
4. การกำจัดสิวเสี้ยนด้วย Laser : ได้มีรายงานการวิจัยจากรพ.ศิริราช พบว่าหลังทำสิวเสี้ยนลดลงได้มากกว่า 50 % และเมื่อทำหลายๆ ครั้งสามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้เกือบหมด แต่ไม่ช่วยเรื่องรูขุมขนที่กว้างทำให้เกิดสิวเสี้ยน ผลข้างเคียงคือรอยแดงบริเวณรูขุมขนหลังทำ 2-3 วัน

รู้เรื่องยาทาสิว
ยาทาที่แพทย์มักจะจ่ายเมื่อเป็นสิวที่เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันที่ผิวหนัง มี 2 ขนานคือ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ และ กรดวิตามินเอ ชนิดทา

ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์มีขนาดตั้งแต่ 2.5%,5% จนถึง 10% มีหลายยี่ห้อ ยานี้จะช่วยละลายก้อนไขมัน และเซลที่อุดตันต่อมไขมัน ช่วยฆ่าแบคทีเรีย ที่ย่อยสลายไขมัน ควรจะเริ่มทาด้วยยาขนาด 2.5% วันละ 1-2 ครั้ง หลังล้างหน้าเช้าและเย็น ที่ต้องเริ่มขนานยาต่ำ ๆ ก็เพราะยานี้ บางคนอาจแพ้ และเกิดอาการผิวแดงหรือคันได้ ถ้าทายาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ ขนาด 2.5% วันละ 2 ครัง นาน 5-7 วัน แล้วอาการดีขึ้น ไม่แพ้ยา ก็อาจเพิ่ม เป็นขนาด 5% ได้โดยทาเช้า-เย็นเช่นเดียวกัน ทาไปเรื่อย ๆ จนอาการสิวดีขึ้นแล้วหยุดได้ ปกติอาการจะดีขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์ ถ้าสิวเริ่มขึ้นเป็นอีกก็ทายาใหม่ได้ โดยทั่วไปไม่นิยมใช้ยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ขนาด 10% เพราะแรงเกินไป ยกเว้นบางราย ที่จำเป็น

ยากรดวิตามินเอชนิดทา บางครั้งอาจจะเขียนชื่อยาเป็น เตตริโนอิล หรือ เตตริโนอิก เอซิด ยานี้ช่วยละลายสิวที่มีอาการอุดตันของต่อมไขมัน ได้ดีมาก ปกติใช้ขนาด 0.025% และจะให้ทาคนละเวลา กับยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ ที่นิยมคือจะให้ทายากรด วิตามินเอ นี้ก่อนนอน ยาทากรดวิตามินเอนี้ต้องระวังห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นถ้าจะใช้ยาทากรดวิตามินเอในผู้หญิง จะต้องแนะนำให้คุมกำเนิด ในช่วงที่ใช้ยานี้ด้วย

ยากรดวิตามินเอ ชนิดรับประทาน จะใช้ใน ขนาดยาสูงมาก ช่วยลดการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้ผิวแห้ง ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์เช่นกัน และมีผลข้างเคียง คือปวดศรีษะ และทำให้ตับอักเสบได้ จึงต้องใช้ภายใต้ คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกรเท่านั้น

สำหรับสิวอักเสบที่เป็นหนองนอกจากจะต้องทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นให้ดีแล้ว อาจจะได้รับยาทา ที่มีตัวยาปฏิชีวนะ คลินดามัยซิน (Clindamycin) เพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
อย่างไรก็ดีการใช้ยาทาสิวจะได้ผลดี ถ้ามีการดูแลรักษาใบหน้าผิวหนังรวมทั้งสุขภาพให้ดีควบคู่ไปด้วย ซึ่งการทำความสะอาดก็ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ยา ถ้าไม่ได้มีการอักเสบเป็นหนองรุนแรง ใช้เพียงสบู่อ่อน ล้างทำความสะอาด บริเวณใบหน้า หรือบริเวณที่เป็นสิว วันละ 2-3 ครั้ง แล้วใช้ผ้าขนหนูสะอาด ซับ ให้แห้ง ไม่ควรใช้ผ้าถูไปมา เพราะอาจเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การรับประทาน ผักผลไม้มาก ๆ และงดอาหารหวาน ๆ มัน ๆ รวมถึงการดื่มน้ำอัดลม ตลอดจน หลีกเลี่ยง การใช้เครื่องสำอางที่เราแพ้ หรือพยายามไม่กินยาสเตียรอยด์ (Steroid) ต่อเนื่องนาน โดยไม่จำเป็น จะช่วยลดการเกิดสิว, ลดความรุนแรงของสิว และช่วยให้ร่างกายสดชื่น แข็งแรง อีกด้วย






Home   |   My product    |   About Us   |   News    |   Web Board    |  How to Pay   |  Delivery    |   Contact Us
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน
©2008-2010 SABUYJAISHOP All Rights Reserved