.
 สถานะของเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :17/8/2012
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :15/2/2013
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :88675
ความรู้เกี่ยวกับ LPG
บทความ ณ. วันที่ : 10/9/2012        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 978 ครั้ง   

LPG

แหล่งก๊าซ

เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ

1. โรงแยกก๊าซ ปตท. ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตที่ 54% 
2. โรงกลั่นน้ำมัน มีสัดส่วนการผลิตที่ 40% 
3. โรงงานปิโตรเคมี มีสัดส่วนการผลิตที่ 6%

หมายเหตุ การผลิต LPG มีปริมาณ 180.36 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน มาจากโรงแยกก๊าซ 96.66 ล้านกิโลกรัม จากโรงกลั่น 73.44 ล้านกิโลกรัม และจากโรงงานปิโตรเคมี 10.26 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2549)

 

คุณสมบัติ

LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งมีคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะสะสมตามพื้น เมื่อโดนประกายไฟสามารถลุกไหม้ได้

LPG เป็นก๊าซที่สามารถเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวได้ ภายใต้ความดันตั้งแต่ 6-7 บาร์ ส่วนขีดจำกัดการติดไฟจะต่ำกว่า NGV คือประมาณ 2-9.5% โดยปริมาตร ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีปริมาณก๊าซ LPG ตั้งแต่ 2% ขึ้นไป สามารถจะลุกติดไฟได้ ส่วนอุณหภูมิติดไฟจะประมาณ 480 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต่ำกว่าก๊าซ NGV

ความปลอดภัย

LPG เป็นก๊าซที่อันตรายกว่าก๊าซ NGV เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะเกิดการสะสมตัวตามพื้นล่าง และสามารถลุกติดไฟได้ถ้าเกิดประกายไฟ รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟและอุณหภูมิติดไฟต่ำกว่าก๊าซ NGV

ระบบการจัดจ่าย

LPG จะใช้การขนส่งโดยรถบรรทุกจากคลังก๊าซ แต่ละแห่ง (ปตท. มีคลังก๊าซ LPG 7 คลัง ทั่วประเทศ) ไปยังสถานีเติมก๊าซ LPG ซึ่งการขนส่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นผู้นำรถบรรทุกมาเติมก๊าซ ที่คลังเอง และรถบรรทุกที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นรถขนาด 8 ตัน

การนำมาใช้กับเครื่องยนต์

LPG สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซลเช่นเดียวกับ NGV โดยการนำมาใช้เครื่องยนต์เบนซิน จะมี 2 ระบบเช่นเดียวกับ NGV คือ

1) ระบบดูดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 15,000 – 28,000 บาท

2) ระบบฉีดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 35,000 – 43,000 บาท

ส่วนอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง LPG อยู่ที่ 11.1 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ LPG จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.92 บาท

หมายเหตุ

  • ค่าความร้อน NGV 1 กิโลกรัม เท่ากับ 35,947 BTU, ค่าความร้อน LPG 1 ลิตร เท่ากับ 25,380 BTU
  •  เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าติดตั้งและราคาขาย จะพบว่าราคาค่าติดตั้งของ NGV จะแพงกว่า LPG แต่เมื่อเทียบราคาค่าเชื้อเพลิง NGV จะถูกกว่า LPG ถึงร้อยละ 33
  • ในอนาคตรถยนต์ NGV คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำลังพัฒนาการผลิตรถยนต์ใช้ NGV จากโรงงานออกสู่ตลาดอยู่หลายราย


ส่วนประกอบของแก๊สระบบ LPGL

  • ECU ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณการฉีดแก๊สของหัวฉีดแก๊ส เพื่อให้เหมาะสมแก่ความต้องการของเครื่องยนต์ในแต่ละสภาวะการทำงาน โดยการรับสัญญาณการฉีดน้ำมันจาก ECU ของรถยนต์และนำค่าที่ได้ มาแปลงเป็นสัญญาณการฉีดแก๊ส
  • หม้อต้ม(REDUCER) ลดแรงดันของแก๊ส และเปลี่ยนสถานะของแก๊ส จากของเหลวให้กลายเป็นไอ โดยใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ หม้อต้มแต่ละรุ่นจะมีความสามารถในการจ่ายแก๊สให้กับเครื่องยนต์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับห้องลดแรงดันและห้องสำรองรองแก๊ส ซึ่งอยู่ภายในหม้อต้ม

LP3

  •     เซ็นเซอร์อุณหภูมิหม้อต้ม  ทำหน้าที่ วัดความร้อนของหม้อต้ม และส่งสัญญาณให้กับ ECU
  •     หัวฉีดแก๊ส(LPG INJECTOR) ทำหน้าที่ จ่ายแก๊สเข้าสู่เครื่องยนต์ เมื่อแก๊สถูกลดแรงดัน โดยหม้อต้มแก๊สแล้ว แก๊สจะเดินทางไปรอที่หัวฉีดแก๊สโดยมีสถานะเป็นไอ มีแรงดันประมาณ 100-120 kPa เมื่อหัวฉีดแก๊สได้รับสัญญาณจาก ECU หัวฉีดแก๊สจะเปิดเพื่อให้แก๊สเข้าสู่เครื่องยนต์ ในปริมาณที่ ECU กำหนด
  • น็อตหัวฉีด(LPG INJECTOR NOZZLE) ทำหน้าที่ กำหนดขนาดของหัวฉีด ให้เหมาะสมกับขนาดของเครื่องยนต์ การกำหนดขนาดของหัวฉีดทำได้ โดยการเจาะรูให้เหมาะสมกับขนาดของเครื่องยนต์ ขนาดของหัวฉีดมีผลกับอัตราเร่งของเครื่องยนต์ อัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิง ดังนั้นควรเลือกขนาดของหัวฉีดให้เหมาะสมกับขนาดของเครื่องยนต์ 
  • เช็นเชอร์อุณหภูมิรางหัวฉีด(LPG INJECTOR TEMPERATURE SENSOR) ทำหน้าที่ วัดอุณหภูมิแก๊ส จากรางหัวฉีดและส่งสัญญาณให้กับ ECU 
  • น็อตฝังท่อไอดี(INLET MANIFOLD LPG NOZZLE) ทำหน้าที่ เป็นทางเข้าของแก๊สสู่เครื่องยนต์โดยเจาะท่อไอดีและฝังน็อตเข้าไปที่ท่อไอดีในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับหัวฉีดน้ำมัน
  • กรองแก๊ส(LPG FILTER) ทำหน้าที่ กรองสิ่ง สกปรกที่ปะปนมากับแก๊ส ก่อนเข้าเครื่องยนต์
  • เช็นเชอร์(MAP SENSOR) ทำหน้าที่ วัดแรงดันของแก๊ส ที่อยู่ในรางหัวฉีดและวัดแรงดันในท่อไอดี เพื่อส่งสัญญาณให้กับ ECU ในกรณีที่ท่อแก๊สขาด แรงดันแก๊สที่หัวฉีดลดลง MAP SENSOR จะส่งสัญญาณให้ ECU ตัดการจ่ายแก๊สทันที
  • สวิตซ์(SWITCH) ทำหน้าที่ เปลี่ยนระบบระหว่างแก๊สเป็นน้ำมัน และบอกระดับแก๊สที่อยู่ในถัง

 

 






เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน
©2008-2010 SABUYJAISHOP All Rights Reserved