.
ตะกร้า [0]
วันที่สร้างเว็บ :25/12/2013
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :1/11/2016
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :142337
วิตามินอีกับสิว
บทความ ณ. วันที่ : 16/9/2014        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 209 ครั้ง   

วิตามินอีกับสิว

 
 

 

วิตามินอีกับสิว

.....................................................................................................................................................................................

เป็นวิตามินอีกตัวที่รู้จักกันดีในเรื่องต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดริ้วรอย วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันเวลารับประทานจึงต้องใช้ความระมัดระวังกว่าวิตามินซีที่สามารถละลายในน้ำปกติได้ วิตามินอีช่วยเรื่องสิวยังไงลองมาอ่านกันดูนะครับ

วิตามินอี ช่วยป้องกันสิวอักเสบได้อย่างไร

วิตามินอีเป็นวิตามินที่หากขาดไปก็ไม่ได้ทำให้เป็นโรคใด ๆ แต่จำนวนเล็กน้อยของวิตามินอีนั้นให้ประโยชน์สูงแก่ระบบภูมิคุ้มกันในการต้านอนุมูลอิสระ เพื่อปกป้องเยื่อบุผิวจากการถูกทำลาย ขัดขวางการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในคนที่เป็นสิว ดังนั้นการรับประทานวิตามินอีจึงมีส่วนช่วยให้อาการสิวดีขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นวิตามินตัวหนึ่งในร่างกายที่ทำงานหนักมาก ช่วยปกป้องเส้นประสาท ปอด และหัวใจจากการถูกทำลายจากปฎิกิริยาทางเคมีต่าง ๆ หน้าที่เหล่านี้สำคัญมาก และยังช่วยให้อาการสิวหมดไปได้

รูปแบบของวิตามินอีมีทั้งหมด 8 ชนิด แบบที่ให้ผลต่อร่างกายดีมากที่สุดคือ อัลฟ่า-โทโคฟีรอล

ความเกี่ยวเนื่องระหว่างสิวกับวิตามินอี

สิวที่เกิดขึ้นก็มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือสภาพแวดล้อม วิตามินอีช่วยป้องกันสิวโดยการต้านอนุมูลอิสระ มีหลาย ๆ คลินิกที่ได้ตรวจสอบหาความกระจ่างของความสัมพันธ์ระหว่างสิวกับวิตามินอี ตัวอย่างเช่น Journal of Investigative Dermatology ได้ศึกษาว่าวิตามินอีช่วยป้องกันการอุดตันของน้ำมันในรูขุมขนจากการหมักหมมและจับตัวเป็นก้อน เป็นโอกาสน้อยที่จะอักเสบ อย่างไรก็ดีวิตามินอีสามารถซึมเข้าถึงชั้นผิว ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้รูขุมขนไม่อุดด้วยน้ำมัน โดยวิตามินอีสามารถทำให้น้ำมันไหลออกชั้นผิวภายนอกได้ ทำให้น้ำมันไม่อุดตัน จึงไม่เกิดสิว ได้มีการวิจัยเปรียบเทียบระดับวิตามินอีในเลือด โดยอาสาสมัคร 100 คน ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี พบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่มีระดับวิตามินอีในเลือดสูงกว่าไม่ค่อยเป็นสิว จากการค้นพบดังกล่าว และการทดสอบ ทำให้สรุปได้ว่าระดับวิตามินอีในเลือดต่ำมีโอกาสเป็นสิวได้มาก

ขนาดรับประทาน

ผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป)

ทั่วไปเข้าใจว่าได้รับปริมาณวิตามินอีเพียงพอจากอาหารต่าง ๆ ผู้ที่ควบคุมอาหาร หรือมีปัญหาลำไส้ทำงานไม่ปกติ ก็อาจต้องการอาหารเสริม ปริมาณวิตามินอีที่แนะนำต่อวันมีหน่วยที่เรียกว่า Alpha-tocopherol Equivalent (ATE) ซึ่งเสมือนกับค่า Internation Units (IU) ที่ฉลากอาหารเสริมนิยมใช้กัน ตามค่าที่กล่าวข้างต้น 1 มิลลิกรัม ATE = 1.5 IU

หญิงตั้งครรภ์ทุกวัย 15 มิลลิกรัม (หรือ 22.5 IU)

สำหรับหญิงให้นมบุตรทุกวัย 19 มิลลิกรัม (หรือ 28.5 IU)

สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถใช้ได้ที่ปริมาณสูงสุดต่อวันคือ 1,000 มิลลิกรัม (หรือ 1,500 IU) แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

เด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี)

เด็กอายุ 9-13 ปี ที่ 11 มิลลิกรัมต่อวัน (16.5 IU) ไม่ควรเกิน 600 มก. (900 IU)

เด็กอายุ 14-18 ปี รับที่ 15 มิลลิกรัมต่อวัน (22.5 IU) ไม่ควรเกิน 800 มก. (1,200 IU)

หญิงตั้งครรภ์ทุกวัย 15 มิลลิกรัม (หรือ 22.5 IU)

สำหรับหญิงให้นมบุตรทุกวัย 19 มิลลิกรัม (หรือ 28.5 IU)

ผลข้างเคียงและคำเตือน

มีรายงานว่าการใช้วิตามินอีในปริมาณสูงเป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตในอัตราที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย การใช้วิตามินอีต่อเนื่องเป็นประจำควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในปริมาณสูง ในการใช้ระยะสั้น ๆ นั้นปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่กำหนด อย่างไรก็ดี วิตามินอีนั้นอาจเป็นอันตรายได้หากกินในปริมาณมากเกินกำหนด การรับวิตามินอีทางอาหารนั้นก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประโยชน์เช่นกัน

การตอบสนองของผิวเช่น อาการผิวอักเสบ และเรื้อนกวาง สามารถบรรเทาได้โดยวิตามินอี เช่น ขี้ผึ้ง

ในกรณีที่มีอาการไม่มาก การเสริมวิตามินอีมากเกินอาจมีผลทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อวัยวะภายในทำงานไม่ปกติ ไตทำงานไม่ปกติ หรือมีไข้

อาจเพิ่มความเสี่ยงของการตกเลือด เกิดจากการขัดขวางการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้วิตามินเคไม่สามารถทำงานได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ขาดวิตามินเค) อาจทำให้เลือดออกที่เหงือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ใช้แอสไพรินร่วมด้วย และเพิ่มอัตราเสี่ยงมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับ warfarin (Coumadin®) อาการเลือดออกในผู้ป่วยนั้นเกิดขึ้นในรายที่ใช้ปริมาณสูงเกินติดต่อกันของ rac-alpha-tocopherol (เป็นวิตามินอีสังเคราะห์) จะต้องมีคำเตือนให้กับผู้ใช้ที่มีประวัติเลือดออกง่าย หรือใช้ยาที่เพิ่มความเสี่ยงของการทำให้เลือดออกง่ายขึ้น และต้องใช้ในปริมาณถูกต้อง

ในบางรายมีอาการวิงเวียน เพลีย อ่อนเพลีย สายตาพร่ามัว เมื่อใช้ในปริมาณมากเกิน ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การรับประทานวิตามินอีต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นได้ในทันที

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

วิตามินบำรุงสำหรับหญิงตั้งครรภ์หลาย ๆ ตัวมีส่วนประกอบของวิตามินอีในปริมาณน้อย วิตามินอีในรูปของธรรมชาติจะดีกว่าในรูปของการสังเคราะห์ การใช้วิตามินอีในปริมาณมากนั้นไม่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ว่าจะเป็นโดยการกินหรือฉีดก็ตาม

##เพิ่มเติม ข้อมูลจากกองโภชนาการ ประเทศไทย พ.ศ. 2546##

ปริมาณวิตามินอีอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับทารกเท่ากับ 4-5 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 1-8 ปี เท่ากับ 6-7 มิลลิกรัมต่อวัน วัยรุ่นอายุ 9-18 ปี ชายและหญิงเท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อวันตามลำดับ หญิงให้นมบุตร ควรได้รับวิตามินอีเพิ่มขึ้นวันละ 4 มิลลิกรัม

 

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ประโยชน์และนำไปใช้ในเวบหรือ blog ส่วนตัวกรุณาทำลิงค์มาที่เราด้วยนะครับ

Reference

- americanchronicle.com

- nlm.nih.gov

เรียบเรียงและแปลโดย Acnethai.com