.
หมอจุฬาช็อป MCL
 สถานะของเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :15/7/2011
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :27/9/2014
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :411551
แผลเป็นรักษาให้หายได้จริงหรือ?
บทความ ณ. วันที่ : 23/6/2012        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 366 ครั้ง   

 

     เมื่อเกิดรอยถลอกหรือบาดแผลขึ้น ร่างกายจะมีกระบวนการสร้างผิวใหม่ เพื่อทดแทนผิวเก่าที่ถูกทำลายไป ถ้าการส้รางผิวใหม่เป็นไปตามปกติ ผิวที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะเรียบเนียนเสมอกับผิวบริเวณข้างเคียง แต่ถ้าร่างกายสร้างผิวใหม่ในปริมาณมากเกินไป ผิวในตำแน่งนั้นก็จะนูนสูงกว่าระดับของผิวข้างเคียงค่ะ

เรียกแผลชนิดนี้ว่า แผลเป็นนูน นอกจากนี้ยังมีแผลเป็นนูนอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดของแผลเป็นนูนหนา และใหญ่มากกว่าขนาดของแผลตอนเริ่มแรก เรียกแผลเป็นชนิดนี้ว่า "คีลอยด์" (Keloid) ตัวอย่างของคีลอยด์ที่เห็นได้บ่อย ๆ เช่นคีลอยด์ที่เกิดขึ้นหลังการเจาะหูหรือการปลูกฝี ซึ่งแผลแรกเริ่มมีขนาดเท่าปลายเข็ม แต่ขนาดของคีลอยด์อาจใหญ่เท่าปลายนิ้ว

แผลเป็นรักษาหายได้จริงหรือ ?

     ถ้าเป็นแผลที่ลึกระดับชั้นหนังกำพร้าหรือชันหนังแท้ตอนบน การสมานแผลอาจเกิดเต็มร้อยและไม่เหลือร่องรอยของแผลเดิม เรียกว่า "ไม่มีแผลเป็น" แต่แผลที่เป็นลึกถึงชั้นหนีงแท้ตอนล่างมักจะเกิดแผลเป็นตามมาหลายท่านยังเข้าใจผิดว่าแพทย์สามารถรักษาแผลเป็นให้หายสนิทและเรียบเนียนเหมือนผิวหนังปกติ ที่จริงแล้วแผลเป็นคือรอยแผลถาวรและไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นเหมือนผิวปกติได้ แต่อาจทำให้แผลมีขน่ดเล็กลงหรือมีสีใกล้เคียงกับผิวหนังปกติ

อาการคันหรือรู้สึกแปล๊บ ๆ เป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า

  แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์เป็นปัญหาด้านความสวยงามมากกว่าปัญหาด้านสุขภาพ ยกเว้นถ้าแผลดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งที่อาจทำให้การเคลื่อนไหวของอวัยวะเกิดการติดขัด เช่น แผลเป็นบริเวณข้อพับหรือบรเวณนิ้วมือ คำถามยอดฮิตคือ "ถ้าปล่อยไว้และไม่รักษาจะกลายไปเป็นมะเร็งหรือไม่" ขอตอบว่า "ไม่ต้องกังวล" แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์จะไม่กลายเป็นมะเร็ง ไม่ว่าจะปล่อบไว้เป็นเวลานานเท่าไรก็ตาม

วิธีการรักษามีอะไรบ้าง

   วิธีการรักษาแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์มีหลายวิธีหลัก ได้แก่ การทายาการฉีดยาเข้าบริเวณแผลเป็น การพันผ้าหรือสวมใส่ชุดที่บีบรัดแผลเป็นไว้ และการรักษาด้วยเครื่องมือุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น การจี้ด้วยความเย็นการรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีทั่งหลายที่กล่าวมานี้ยังไม่มีวิธีไหนได้ผลถาวร ส่วนใหญ่แผลเป็นนูนหนือคีลอยด์มักกลับเป็นซ้ำ ๆ เมื่อหยุดการรักษา

   ผลการศึกษาที่รายงานในวารสารวิชาการแพทย์พบว่า วิธีการรักษาโดยการฉีดยาเข้าบริเวณแผลเป็นเป็นวิธีที่ได้ผลเร็วและเห็นผลดีที่สุด แต่มีข้อเสียบางอย่าง เช่น อาการเจ็บระหว่างฉีดยา และต้องฉีดทุุกเดือนติดต่อกันหลายครั้ง ผลข้างเคียงของการรักษาโดยการฉีดยามีหลายอย่าง เช่น สีผิวหน้าจางลง หลอดเลือดฝอยขยายตัวออก มีขนขึ้นดกบริเวณที่ฉีด ทางทีดีขอแนะนำให้ระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผลจะดีกว่าค่ะ หรือถ้าเกิดบาดแผลแล้วให้รีบปรีกษาแพทย์ทันทีค่ะ แต่ถ้ายังร่องรอยให้เห็นเล็กน้อย ๆ ก็ใช้ Makup ปกปิดก็โออยู่นะ 

Morchula-mclshop.com






เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บร้านค้าสมาชิกของ SABUYJAISHOP ผู้ให้บริการทางการตลาดออนไลน์ สำหรับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้า โฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าในร้าน
©2008-2010 SABUYJAISHOP All Rights Reserved