.
ตะกร้า [0]
เลือกภาษา
วันที่สร้างเว็บ :13/1/2011
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :25/3/2024
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :439500
เพิ่มเว็บฟรี
เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพงานพิมพ์
บทความ ณ. วันที่ : 22/3/2011        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 2177 ครั้ง   

เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพงานพิมพ์

วิธีการจัดเก็บกระดาษที่ถูกต้องการแก้ไขงานพิมพ์เบื้องต้น

         การแก้ไขปัญหางานพิมพ์ที่จะช่วยให้โรงพิมพ์เพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์งาน มากยิ่งขึ้น โดยการแก้ไขปัญหาระหว่างการพิมพ์มีเทคนิคเบื้องต้นดังต่อไปนี้

1. การถอนผิว (surface picking)

 เกิด ขึ้นในการพิมพ์เลเตอร์เพรสและออฟเซต ขนของกระดาษหรือสารเคลือบผิวกระดาษหลุดออกจากกระดาษขณะพิมพ์ สาเหตุมาจากการใช้หมึกพิมพ์ที่มีความเหนียวหนืดสูง หรือคุณภาพของกระดาษไม่ดี ใช้ตัวยึด (binder) ไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง

วิธีแก้ไข    - ลดความเหนียวหนืดของหมึก

                   - ลดความเร็วในการพิมพ์

                   - เพิ่มแรงกดของโมกดพิมพ์

                   - ใช้ผ้ายางที่แข็งขึ้น และเพิ่มการจ่ายน้ำ

                   - เพิ่มการจ่ายน้ำ

2. จุดในพื้นทึบ  (hickies)

                เกิดขึ้นในระบบการพิมพ์หลายระบบ มีลักษณะเป็นจุดสีดำ มีขอบขาวรอบๆจุด (halo) เกิดขึ้นเนื่องจากสะเก็ดหมึกพิมพ์ ฝุ่นผงกระดาษ เศษด้ายจากผ้าหุ้มลูกกลิ้งทำชื้น ไปติดบนแม่พิมพ์

วิธีแก้ไข      เปลี่ยนหมึกพิมพ์               

                    - ติดตั้งอุปกรณ์ขจัดฮิกกี้

                    - เปลี่ยนผ้าลูกกลิ้งทำชื้น   

                    - พิมพ์กระดาษเปล่า

3. ปัญหาการพอกของกระดาษ (lint piling)

                เกิดขึ้นในการพิมพ์เลเตอร์เพรสและออฟเซต มักพบเมื่อพิมพ์กระดาษไม่เคลือบผิว ผ้ายางจะดึงเอาเศษผงกระดาษหรือเส้นใย ทำให้พิมพ์ไปติดบนกระดาษแผ่นถัดไป

วิธีแก้ไข   - ลดความเหนียวหนืดของหมึก

                 - ลดความเร็วในการพิมพ์

                 - ใช้แปรงแบบดูดฝุ่นบนแผ่นป้อนกระดาษ หรือ

                 - เพิ่มการให้น้ำบนแม่พิมพ์

4. ซับหลัง (set-off)

                เกิดขึ้นกับระบบการพิมพ์ส่วนใหญ่ หมึกพิมพ์เปรอะติดไปบนด้านหลังของกระดาษแผ่นถัดไป ในตอนกระดาษภาครับ

วิธีแก้ไข   ลดความสูงของกระดาษภาครับ

                  - ใช้หมึกที่หมาดตัวเร็ว (quick set ink)

                  - ใช้กระดาษที่มีสมบัติการดูดซึมเร็ว

                  - ใช้สารเคมี (set-off powder) ป้องกันการซึมหลังในภาครับ

5. หมึกเลอะจากการถู (ink rub)

                มัก เกิดขึ้นกับการพิมพ์บนกระดาษเคลือบผิวด้านหรืออาร์ตด้าน เนื่องจากหมึกยังไม่แห้งทำให้เกิดซับหลังและเลอะ เกิดขึ้นในขณะอยู่ภาครับ หรือขั้นตอนหลังจากนั้น ได้แก่งานขั้นสำเร็จ การทำเล่ม

วิธีแก้ไข   -เติมสารทำให้แห้งในหมึก, พ่นแป้งป้องกันซึมหลัง

                - ลดความสูงของกระดาษภาครับ

                - ลดการจ่ายหมึกหรือเปลี่ยนหมึก

6. กระดำกระด่าง (mottle)

                เกิด ขึ้นกับการพิมพ์ทุกระบบ ภาพพิมพ์โดยเฉพาะบริเวณพื้นทึบ เป็นรอยสีไม่สม่ำเสมอ สาเหตุอาจมาจากการดูดซึมของกระดาษไม่สม่ำเสมอ หรือคุณภาพหมึกพิมพ์ไม่ดี

วิธีแก้ไข   เพิ่มความเหนียวหนืดของหมึก

                -  ลดการจ่ายหมึก และ เปลี่ยนหมึก

                - เพิ่มแรงกดระหว่างใบผ้ายางกับใบกดพิมพ์

7.รอยยับ (creasing)

                เกิด จากกระดาษมีความชื้นทั้งแผ่นไม่เท่ากัน ถ้ากระดาษขอบเป็นคลื่น รอยยับจะเกิดขึ้นที่ขอบ ถ้ากระดาษขอบหดรอยยับจะเกิดขึ้นบริเวณกลางแผ่น

วิธีแก้ไข      - ควรวางห่อกระดาษทิ้งไว้ให้เกิดการปรับสภาพ ความชื้นของกระดาษในห่อกับความชื้นในห้องก่อนแกะห่อ

 

ที่มาจากหนังสือ “สาระน่ารู้เรื่องกระดาษพิมพ์”

โดย อาจารย์อรัญ หาญสืบสายและ อาจารย์ พศทวี พึ่งรัศมี